1. ทักษะการทำงานภายใต้สภาพแวดล้อมอุตสาหกรรม
ไม่ใช่ทุกคนที่สามารถทำงานในโรงงานได้ และไม่ใช่คนที่ทำโรงงานอุตสาหกรรมประเภทหนึ่งได้จะไปทำโรงงานอุตสาหกรรมรูปแบบอื่นได้เช่นกัน ความพร้อมและความสามารถในการทำงานในพื้นที่ที่มีอุณหภูมิสูงหรือเย็น รวมไปถึงการทำงานในพื้นที่ที่สกปรก ทั้งยังมีความพร้อมในช่วงเวลาการทำงานที่อาจยาวนานหรือมีช่วงเวลาที่แตกต่างจากการทำงานอื่น ๆ รวมถึงมีทักษะและความตั้งใจในการทำงานที่ซ้ำ ๆ ในขณะที่ยังคงรักษามาตรฐานของการทำงานเอาไว้ได้อย่างดี
2.ทักษะด้านการแก้ไขปัญหา
ทักษะสุดฮิตอย่างการแก้ไขปัญหานั้นเป็นิส่งที่จำเป็นอย่างมากในโรงงานอุตสาหกรรม ความสามารถในการเข้าใจถึงโครงสร้างปัญหาและวิเคราะห์ต้นเหตุได้อย่างชัดเจน พร้อมที่จะเผชิญหน้ากับปัญหาและสามารถจัดการปัญหาตามหลักเหตุผลอย่างถูกต้องตามตรรกะเพื่อให้เกิดโซลูชันที่มีประสิทธิภาพ
3. ทักษะในการเผชิญหน้ากับความเครียด
ความสามารถในการเผชิญหน้ากับความเปลี่ยนแปลงและสถานการณ์่ล่วงหน้าไม่ว่าจะเป็นด้านอุปกรณ์ มาตรฐาน คน ขั้นตอนกระบวนการโดยยังคงความสามารถในการพัฒนาการทำงานอย่างต่อเนื่อง ต้องสามารถยอมรับคำวิจารณ์ที่มีหลักการณ์และเหตุผลได้โดยไม่เก็บมาเป็นปัญหาส่วนตัว และมีความตั้งใจที่จะเรียนรู้และค้นหาโอกาสจากความผิดพลาดที่เกิดขึ้น
4. ทักษะการบริหารจัดการเวลา
มีความสามารถในการบริหารจัดการหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายให้สำเร็จลุล่วงตามเวลาที่กำหนด มีความเข้าใจความสำคัญของแผนระยะเวลาและมองเห็นถึงผลประโยชน์ขององค์กรที่จะเกิดขึ้นได้จากความสำคัญของแผนระยะเวลานั้นไม่ว่าจะเป็นแผนระยะเวลาในภาพรวม หรือแผนระยะเวลาการทำงานของตัวเอง
5. ความรับผิดชอบในหน้าที่
มีความตั้งใจที่จะก้าวออกมาข้างหน้าให้เติบโตในหน้าที่การงาน สามารถตั้งคำถามในเชิงรุกสำหรับหน้าที่ของตนได้ มีความสามารถในการบริหารจัดการหน้าที่ตัวเองให้มีประสิทธิภาพ มีความมั่นใจและกล้าแสดงออกในการมีปฏิสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานและหัวหน้าเพื่อให้เกิดการพัฒนาและต่อยอดในสิ่งที่รับผิดชอบ
6. ทักษะด้านความปลอดภัย
มีความรู้สึกเป็นเจ้าของร่วมในด้านความปลอดภัยของตัวเองและผู้อื่น มีแนวคิดด้านความปลอดภัยแบบเชิงรุกที่สามารถระบุปัญหาและมีความตั้งใจที่จะค้นหาปัญหาให้เจอ
7. ทักษะการสื่อสาร
คนเก่งหลายคนกลับพลาดเรื่องการสื่อสารไปอย่างน่าเสียดายเพียงเพราะไม่เข้าใจถึงความสำคัญของการสื่อสารที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ และความเป็นมืออาชีพในการสื่อสาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเวลาพูดถึงเรื่องเทคนิคหรือสิ่งเฉพาะทางที่มันซับซ้อนอยู่แล้วให้เข้าใจหรือเข้าถึงได้ยากยิ่งขึ้น แต่ด้วยการมีทักษะการสื่อสารที่ดี เรื่องยากจะกลายเป็นเรื่องง่าย อาจเริ่มต้นด้วยการเป็น ‘ผู้ฟังที่ดี’ เพื่อทำให้สามารถรับข้อมูลได้อย่างครบถ้วนและถูกต้องเสียก่อน
8. ทักษะด้านความคิดสร้างสรรค์
การผลักดันนวัตกรรมและสร้างการเปลี่ยนแปลงให้เกิดมูลค่านั้นมาจากความคิดสร้างสรรค์ ซึ่งเป็นหัวใจหลักของความสำเร็จและการสร้างความแตกต่างเลยก็ว่าได้ แต่รู้ตัวกันหรือไม่ว่าจริง ๆ แล้ววิศวกรนั้นดึงเอาความคิดสร้างสรรค์มาใช้แทบทุกวันในการการคิดและแก้ปัญหา แต่ในขณะเดียวกันการแก้ปัญหาที่ไม่แตกต่างจากเดิมมากนักอาจกลายเป็นหินปูนที่อุดตันความคิดที่ทำให้เกิด ‘รูปแบบ’ ที่ตายตัวและฆ่าความคิดสร้างสรรค์ของคุณอย่างช้า ๆ ดังนั้นอย่าลืมว่าภารกิจหลักของวิศวกรทุกคน คือ หน้าที่ในการยกระดับการทำงานของสิ่งต่าง ๆ ออกแบบผลิตภัณฑ์หรือระบบที่สามารถแก้ไขปัญหาได้ดีกว่า เร็วกว่า และถูกกว่า ไม่ใช่เพียงการแก้ปัญหาไปวัน ๆ หรือการทำงานที่เป็นการลดคุณค่าของความสามารถตัวเอง’
ซึ่งการคำนึงถึงบทบาทหน้าที่หลักและผลลัพธ์ที่ดีกว่าเดิมจะทำให้สามารถคิดทลายรอบเดิม ๆ ที่เกิดจากการถูกบังคับให้ทำสิ่งซ้ำ ๆ จนกลายเป็นความเคยชินได้เช่นกัน
ขอบคุณความรู้ดีๆจาก https://www.mmthailand.com/11-%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0-soft-skills-%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%A7%E0%B8%81%E0%B8%A3/
#CSM6withKruFang
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in