**รีวิวนี้มีการพูดถึงเนื้อหาในหนังไมรู้ว่าสปอยป่าวเพราะเป็นหนังสารคดี เเต่ถ้าอยากปล่อยใจโล่งๆไม่อยากรู้เนื้อหาในหนังมากก็อย่าอ่านเลย เตือนเเล้วนะ**
Killing Dolphins
หนังเริ่มจากการเปิดเรื่องโดยการบอก Passion ที่มีต่อทะเลของผู้กำกับ เเล้วเริ่มพูดถึงไปถึงเคสเเรกๆที่เมื่อนึกถึงการกระทำที่ไม่ดีต่อทะเล และ scandalous มากๆ ซึ่งก็คือการล่าปลาโลมานั้นเอง ซึ่งเรารู้จักจากหนังเรื่อง The Cove ที่ได้ Oscar ด้วยนะ สร้าง awareness ให้คนทั่วโลกรับรู้ถึงการกระทำของเมื่องเล็กๆในญี่ปุ่นชื่อ Taiji เเละทำให้หยุดการล่าปลาโลมาไปซักพัก จนกระทั้งเมื่อเร็วๆนี้มีข่าวว่าญี่ปุ่นประกาศกลับมาล่าปลาโลมาอีกครั้ง หนังก็แอบๆถ่ายกระบวนการที่ลึกลับซับซ้อนนี้ให้เราได้เห็นอีกครั้ง เห็นเเล้วก็เศร้าถึงจะเเค่แปปเดียว
หลังจากนั้นก็มา Discuss กันว่า ล่า/จับ/ฆ่าทำไม หนึ่งในเหตุผลนั้นก็คือเป็น supply ให้กับสวนน้ำทั่วโลกเพื่อนำมาฝึกเเล้วโชว์เพื่อความบันเทิง ซึ่งตอนเด็กๆเราก็เคยไปนะ ซาฟารีเวิลด์ก็แอบคิดในใจว่ามันไม่ทรมาณหรอ มาฝึกๆทำนู่นทำนี่ ซึ่งลางสังหรณ์วัยเด็กไม่ผิดพลาดเลย มันเศร้าจริงๆเเหละ(ขนาดพิมพ์อยู่ตอนนี้ยังเศร้าคิดถึงตอนที่ไปซาฟารีอยู่เลย) เเต่ที่เศร้ากว่านั้นหนังเปิดเผยสถิติว่าโลมา 1 ตัวที่ถูกจับไว้ชีวิต มี 12 ตัวที่ถูกฆ่า เพราะว่า......มันกินปลาเยอะไป ถุยย เเล้วหนังก็พาเราไปเมืองข้างๆที่เป็นตลาดปลาซึ่งปลาทั้งหมดที่จับได้เป็นปลาทูน่าหมดเลย รวมถึง Tuna Bluefin ที่ราคาสูงอีกด้วย สรุปเเล้วโลมาเเย่งเงินจากมนุษย์เราสินะ bad dolphin-human's greed จงเจริญ...ที่นี้เวลากินอาหารญี่ปุ่นโดยเฉพาะพวกปลาดิบ ทำให้มุมมองเราเปลี่ยนไปเลยอ่ะ
ภาพการล่าโลมา Ver.Softๆ
Fishing Industry
ที่กล่าวมาเป็นเเค่ Tip of the Iceberg เท่านั้น สัดส่วนการล่าสังหารปลาโลมาเทียบอะไรไม่ได้เลยกับการที่ จำนวนสัตว์น้ำที่เสียชีวิตจากการประมงที่ใช้อวนลากขึ้นมาเเล้วไม่ใช่สัตว์ที่ต้องการหรือที่เรียกว่า "ฺBycatch" ซึ่งมันก็ดูเหมือนการฆ่าสัตว์มากมาย ซึ่งผู้คนในอุตสาหกรรมนี้ดูเหมือนจะ overlooked ปัญหานี้อย่างจริงจังเเละสิ่งที่เกิดขึ้นบนเรือเป็นสิ่งที่ไม่มีใครรู้นอกจากคนบนเรือ กรณีที่มีผู้ตรวจสอบบนเรือมันก็มีเคสผู้ตรวจสอบถูกฆ่าหรือหายตัวไปได้อย่างง่ายดายเหลือเกินอาหารที่เรารับประทานทุกวันไม่มีใครรู้ว่าต้องแลกมากี่ชีวิต มันไม่สามารถ trace ออกมาได้ ซึ่งเป็นหนึ่งในเหตุผลที่มีผู้คนจำนวนมากเหมือนจะไม่เข้าใจ ปรากฏการณ์หรือ impact ของสิ่งที่เป็นหนึ่งในพื้นฐานของชีวิตประจำวันเราว่ามันมีความร้ายแรงเเค่ไหน
ผลกระทบเหล่านี้ยังไม่รวมถึงขยะที่ทางอุตสาหกรรมประมงสร้างขึ้นนะ ในหนังได้กล่าวว่า Great Pacific garbage patch (ขยะพลาสติกที่ลอยอยู่ในทะเล Pacific มีขนาดประมาณระหว่างรัฐเท็กซัสที่ US ถึงขนาดของประเทศรัสเซีย) โดย 47% ของพลาสติกนั้นมาจาก fishing net what?! หนังเลยตั้งคำถามถึงองค์กร NGO ว่าทำไมส่วนใหญ่ถึงมีการรณรงค์ให้ลดการใช้ single use พลาสติก(ซึ่งก็ไม่ใช้สิ่งที่เลวร้ายอะไร) เเต่เเค่ไม่ได้มองและนำเสนอถึงหนึ่งในปัญหาใหญ่ซึ่งเป็นต้นตอของปัญหาพลาสติกในทะเลเลยด้วยซ้ำ บทสัมภาษณ์ในหนังของเเต่ละองค์กรได้แสดงถึงพลังของ Indifference NGO ซึ่งตอนนี้เราได้มองว่าเป็นหนึ่งในส่วนธุรกิจไปเเล้ว ช่วยเท่าที่พอทำได้ เเต่ไม่เเก้ปัญหาที่ต้นเหตุ เพราะ funding ส่วนหนึ่งก็มาจากบริษัทใหญ่ซึ่งก็เป็น vary catalyst ของอุตสาหกรรมประมงนั้นเอง
เมื่อเราดูหนังมาถึงตรงนี้เราก็ได้เเต่คิดในใจว่า เเล้วการเลี้ยงปลาหล่ะ จะช่วยไหม โดยหนังยังได้ตอบคำถามประเด็นนี้โดยยกตัวอย่างฟารม์ปลาเเซลมอน ที่ Scotland ที่นอกจากจะสร้าง organic waste จากการที่ปลาจำนวนมากอาศัยอยู่ในพื้นที่จำกัน ส่งผลต่อระบบนิเวศรอบข้าง ยังจะมีเรื่องของสาธารณสุขของปลาที่ถูกเลี้ยงในกระชังซึ่งในหนังได้กล่าวว่า 50% ของปลาเเซลมอนที่เลี้ยงตายด้วยโรคต่างๆระบาด ปรสิท etc. ก่อนที่จะถูกส่งออกไปขายเสียอีก สรุปเเล้วปลาเเซลมอลที่เราได้กิน 1 ตัวมีเพื่อนมันที่จะต้องตายก่อนที่จะมาให้เรากินเสียอีก tragic
Sustainable Seafood?
เรารู้สึกโอเคนะกับ Definition ของ Sustainable Seafood ที่ทาง EU ให้ที่กล่าวว่ามีเงินไปลงทุน 100 เเล้วกินเเค่ตอกเบี้ยไปใช้เงินต้น ซึ่งในทางปฎิบัติเเทบจะทำไม่ได้เลย การที่จะสร้างระบบการบังคับใช้กฏหมายมันคือยังไงหรือ ต้องมีคนไปเฝ้าเรือที่ตกปลาทุกครั้งที่เรือออกหาปลาเรอะ สถานการณ์ปัจจุบัน Overfishing มันถือเป็นหนึ่งปัญหาทางสิ่งเเวดล้อมที่ร้ายเเรงที่สุดเลยนะ เเต่ perception ของคนทั่วไปไม่ค่อยรู้ผลกระทบเท่าไหร่เพราะอาหารมันเป็นปัจจัยสี่ ปลาถูก Marketing ว่าเป็น Healthier, Environmental Friendly alternative เมื่อเทียบกับสารพัดเนื้อ เเต่เเท้จริงเเล้วมันอาจจะเลวร้ายเทียบเท่า หรือเลวร้ายกว่าก็เป็นได้
เมื่อหนังดำเนินเรื่องมาถึงเเถบ แอฟริกา เเละประเทศไทย ทำให้เราได้รู้ว่าเรือประมงทำงานกันแบบสีเทามาก เมื่อปลาในน่านน้ำประเทศตัวเองหมดก็ต้องมาหาปลาไกลมากขึ้นเรื่อยๆเเย่งปลาจากประเทศอื่น ซึ่งในหนังยกตัวอย่างน่านน้ำในทวีปแอฟริกาซึ่งเรือประมงผิดกฎหมายซึ่งเเย่งอาหารของคนท้องถิ่นที่เค้าดำรงชีวิตกันอย่างนี้มานานเเสนนานซึ่งปัจจุบันเเทบจะไม่มีปลา หรือประเด็นเเรงงานทาสของประเทศไทยซึ่งเรารู้สึกว่าหนังจับจุดนี้น้อยไปหน่อย เพราะตำรวจมาตามรึ
ทั้งหมดนี้ทางการไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลรือ บริษัทใหญ่ร่วมมือกันปกปิดเเละ Subsidize กันไปมา อย่างนี้มันก็เเอบยากนะดูเป็นปัญหาเชิงโครงสร้างที่เเก้ได้ยากอ่ะ ตราบใดที่ยังมีคนพร้อมบริโภค มันก็ยังมีเหตุการณ์เหล่านี้ไม่ว่าจะเป็นชีวิตของสัตว์น้ำ ผู้คนที่ทำงานในอุตสาหกรรมยังตกอยู่ในอัตรายต่อไป เเละยังไม่รวมถึงผลกระทบทางสิ่งเเวดล้อมที่ใหญ่มากๆอีกด้วย ดูตัวอย่างใกล้ตัวง่ายๆเลยตอนนี้การรีวิวร้านอาหารยิ่งร้านอาหารญี่ปุ่นร้านไหนให้เเซลมอล ในโปรบุฟเฟต์ พลังของ Social media คนเเทบจะกระโจนเข้าไป หรือร้านซูชิสายพานที่เพิ่งเปิดใหม่คนน่าจะระเบิดเเล้วมั้ง ตอนนี้ Taste ของผู้บริโภคในประเทศไทยยังเป็นเช่นนี้อยู่เลย ถ้าเราปรับเปลี่ยนพฤติกรรมหาความสุขการกินจากอาหารประเภทอื่นที่ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมาก โลกอาจจะน่าอยู่ขึ้นกว่านี้ก็ได้
What can we do?
ก็นะมี Supply ได้มันก็มาจาก Demand ทั้งนั้น ฉะนั้นทุกอย่างเริ่มจากที่ตัวเรา (เราก็อยากจะเเนะนำ Alternative ที่สุดโต่งไปหน่อยซึ่งก็คือ Vegan เเต่มันก็คงเป็นไปได้อยากเพราเเม้เเต่นักเขียนเองยังทำไม่ได้ รอบตัวเราสิ่งที่สะดวกสบายมักจะเป็นสิ่งที่ทำลายธรรมชาติมากที่สุดสินะ) เเต่ก็พยายามกินให้น้อยลงก็เเล้วกันหันมากิน Plant base food กันมากขึ้นเพราะสิ่งที่มีประโยชน์ในปลามันก็มาจากพืชทะเลที่ปลากินนั้นเเล ถ้าเราเลิกกินปลาเราจะเลิกกินสารเคมีที่อยู่ในตัวปลาได้อย่างทันที เลือกกินพืชทะเลที่เป็นส่วนที่มีประโยชน์เเละเป็นหนึ่งในสาเหตุที่เรากินปลาตั้งเเต่เเรกกันเถิดนา
อย่างที่สองก็คือ Create Awareness ทำให้คนรอบตัวเรารับรู้ถึงปัญหานี้มากที่สุด เหมือนกับที่เรากำลังนั้งเขียนอยู่นี่ไง ยิ่งเยอะยิ่งดียยย ไปดูหนังนะสำหรับคนที่ยังอ่านจนถึงตรงนี้เเล้วไม่ได้ดู
TMI: หนังเรื่องนี้ทำให้เราอยากทำธุรกิจ Plant base Seafood เลยอ่ะ มันดูเป็นสิ่งที่ใหม่เเละยังไม่มีคนทำ ประกาศรับ Partner ค่ะ 555
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in