เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 14 (ฉบับปรับปรุงใหม่)
  • รีวิวเว้ย (1323) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    ย้อนกลับไปในปี พ.ศ. 2557 ปีแรกที่หนังสือ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" ตีพิมพ์ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 1 ในภาษาไทยออกมาในช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางการเมืองอยู่ในช่วงเวลาของสถานการณ์ทางการเมืองที่นำไปสู่เหตุการณ์สำคัญทางการเมืองไทย ซึ่งในเวลาต่อมามันจะกลายมาเป็นประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงสำคัญช่วงหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์ ในหนแรกที่มีโอกาสได้อ่าน "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" และเมื่อมีโอกาสได้แลกเปลี่ยนกับหลายคนที่ได้อ่าน ทุกคนพูดไปในทิศทางเดียวกันว่าหนังสือเล่มนี้เหมาะกับการเป็นแบบเรียนในโรงเรียนมากกว่าการเป็นหนังสืออ่านในระดับมหาวิทยาลัย อาจจะด้วยความครอบคลุมหรือความจำเป็นของเนื้อหาก็ตามแต่ หากวันหนึ่งวันใดที่หนังสือเล่มนี้กลายไปเป็นหนังสือเรียนสำหรับนักเรียนในโรงเรียน น่าสนใจว่าวิชาสังคมศาสตร์โดยเฉพาะเรื่องของ "ประวัติศาสตร์การเมืองไทย" จะเปลี่ยนรูปแบบและวิธีการในการจัดการเรียนการสอนไปเช่นไร และเราจะได้สังคมแบบไหนในวันที่เด็กและเยาวชนมีโอกาสได้เรียนรู้ประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่กว้างไปกว่าที่ระบบการศึกษาในปัจจุบันออกแบบเอาไว้
    หนังสือ : A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย พิมพ์ครั้งที่ 14 (ฉบับปรับปรุงใหม่)
    โดย : คริส เบเคอร์ และผาสุก พงษ์ไพจิตร
    จำนวน : 504 หน้า

    "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" (พิมพ์ครั้งที่ 14) สำหรับเราแล้วหนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือพื้นฐานความรู้ด้านประวัติศาสตร์ไทยที่ดีมาก ๆ เล่มหนึ่ง หากมีใครให้แนะนำหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการเมืองไทยที่ต้องอ่าน 3 เล่ม "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" จะติด 1 ใน 3 หนังสือที่ต้องอ่านหากให้แนะนำ ด้วยความที่หนังสือเล่มนี้ถูกเขียนขึ้นในฐานะหนังสือเรียนในด้านที่เกี่ยวข้องกับประเทศไทยสำหรับนักศึกษาที่เรียนเรื่องไทยในต่างประเทศ ทำให้วิธีเขียนและวิธีในการนำเสนอของหนังสือ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" วางตัวอยู่บนวิธีเขียนที่ต้องทำให้ผู้อ่านเข้าใจง่าย เข้าใจได้และต้องครอบคลุมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของไทยที่ครอบลุมทั้งเหตุการณ์ในครั้งอดีตและปัจจุบันในฐานะของหนังสือที่บอกเล่าเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ร่วมสมัยของไทย เหตุนี้ในมุมมองของเราหนังสือ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" จึงเหมาะสมอย่างยิ่งสำหรับทุกคนโดยเฉพาะ "คนไทย" 
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" แบ่งวิธีการเล่าเนื้อหาของหนังสืออกเป็น 10 ช่วงเวลาทางประวัติศาสตร์ ที่ในแต่ละช่วงเวลาจะมีการบอกเล่าถึงเหตุการณ์ประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงเวลา พัฒนาการ ความขัดแย้ง เหตุการณ์สำคัญ ๆ และในทุกส่วนจะปิดท้ายช่วงเวลาด้วย "บทสรุป" ที่ทำหน้าที่ในการขมวดปมของเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในแต่ละช่วงเวลาให้มีความชัดเจนและเพื่อให้ผู้อ่านได้เห็นความเชื่อมโยงของแต่ละเหตุการณ์ในแต่ละช่วงเวลา โดยเนื้อหาทั้ง 10 ช่วงเวลาของ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" แบ่งเป็นดังนี้
    .
    (1) ก่อนกรุงเทพฯ
    .
    (2) การเปลี่ยนผ่านของระบบดั้งเดิมทศวรรษ 2320 ถึงทศวรรษ 2400
    .
    (3) การปฏิรูปทศวรรษ 2400 ถึงทศวรรษ 2450
    .
    (4) ชาวนา พ่อค้า และข้าราชการ ทศวรรษ 2410 ถึงทศวรรษ 2470
    .
    (5) ชาตินิยมหลายมิติ ทศวรรษ 2450 ถึงทศวรรษ 2480
    .
    (6) สมัยอเมริกันและพัฒนาการ ทศวรรษ 2480 ถึงทศวรรษ 2510
    .
    (7) อุดมการณ์หลากหลาย ทศวรรษ 2480 ถึงทศวรรษ 2510
    .
    (8) โลกาภิวัฒน์และสังคมมวลชน
    .
    (9) การเมือง จาก พ.ศ.2519
    .
    (10) ความวุ่นวาย พ.ศ. 2548-2564
    .
    ปัจฉิมบท อนาคตประเทศไทย
    .
    "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" (พิมพ์ครั้งที่ 14) ได้มีการปรับปรุงและเพิ่มเติมเนื้อหาในส่วนต่าง ๆ ขึ้นมาจากฉบับพิมพ์ก่อนหน้า โดยเฉพาะในส่วนที่ว่าด้วยเรื่องของ "ความวุ่นวาย พ.ศ. 2548-2564" ที่เขียนขึ้นใหม่ในฉบับพิมพ์ครั้งที่ 14 ในฐานะของคนที่เคยอ่านหนังสือ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" ฉบับพิมพ์ 1 (2557) กระทั่งได้กลับมาอ่านอีกครั้งในฉบับพิมพ์ 14 ปรับปรุงใหม่ (2566) เรายังยืนยันคำเดิมว่าหนังสือ "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" เหมาะที่จะเป็นหนังสือที่ทุกคนควรอ่าน โดยเฉพาะในฐานะของแบบเรียนวิชาสังคมศาสตร์ในระดับมัธยมศึกษา ด้วยแนวทางการเขียนที่ไม่ยาก การวางโครงเรื่องและวิธีเล่าเรื่องที่เป็นมิตรกับผู้อ่าน เช่นนั้นการทำความเข้าใจประวัติศาสตร์ไมยร่วมสมัยในมุมที่แตกต่างหลากหลายจึงเป็นสิ่งสำคัญและจำเป็น โดยเฉพาะการปรับปรุงวิชาสังคมศาสตร์ให้เป็นวิชาที่เป็นบทสนทนาระหว่างผู้เรียนกับผู้เรียนและผู้เรียนกับผู้สอน "A HISTORY OF THAILAND ประวัติศาสตร์ไทยร่วมสมัย" เหมาะสมกับการออกแบบการเรียนการสอนในลักษณะดังกล่าวอย่างยิ่ง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in