เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
บทวิเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินฯ
  • รีวิวเว้ย (1307) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
    .
    กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 เป็นกฎหมายสำคัญฉบับหนึ่งที่สร้างการเปลี่ยนแปลงและส่งแรงกระเพื่อมต่อสังคมไทยในวงกว้างนับตั้งแต่ช่วงเวลนที่กฎหมายฉบับนี้ออกมาบังคับใช้ เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังการประกาศใช้กฎหมายฉบับดังกล่างได้แก่กระแสของการ "ปลูกกล้วยและมะนาว" บนที่ดินราคาหลายพันล้านบาทจนช่วงหนึ่งเรามักจะมีโอกาสได้เห็นพาดหัวข่าวในลักษณะของ "สวนมะนาว 100 ล้าน" หรือ "สวนกล้วย 1,000 ล้าน" อยู่บ่อยครั้ง ด้วยผลของการกระกาศใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 นี่เองที่ส่งผลให้การเสียภาษีที่ดินที่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ถูกเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวนภาษีที่ดินใหม่ เพื่อต้องการให้มีการใช้ประโยชน์ที่ดินในลักษณะของการทำกิจกรรมและกิจการต่าง ๆ ในที่ดินผืนนั้น ๆ เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์ สร้างรายได้หรือสร้างงานในพื้นที่มากกว่าการเก็บที่ดินเพื่อเก็งกำไรซึ่งเป็นการปล่อยให้ที่ดินผืนนั้นกลายเป็นที่รกร้างไม่ก่อให้เกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจใด ๆ เกิดการเสียโอกาสในการใช้ที่ดินและโอกาสในการเก็บภาษีเพื่อเป็นรายได้ของท้องถิ่นแต่ละแห่งที่มีที่ดินตั้งอยู่
    หนังสือ : บทวิเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562
    โดย : วีระศักดิ์ เครือเทพ, ดวงมณี เลาวกุล และ ไกรวุฒิ ใจคำปัน
    จำนวน : 88 หน้า
    .
    "บทวิเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" เป็นหนังสือที่เข้าไปศึกษาเรื่องของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ว่าในช่วงเวลาที่ผ่านมากฎหมายดังกล่าวได้ส่งผลอย่างไรในเรื่องของการจัดเก็บภาษี โดยในช่วงเวลาหลังการประกาศใช้กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ภาษี่ที่ดินตามอัตราที่กฎหมายฉบับนี้กำหนดยังไม่ได้ถูกเก็บอย่างเป็นทางการอันเนื่องมาจากผลของการระบาดของ COVID-19 ที่ทำให้กิจกรรมกรรมใช้ชีวิตและกิจกรรมทางเศรษฐกิจของโลกและของไทยหยุดชะงักลง ทำให้อัตราภาษีที่ถูกกำหนดเอาไว้ในกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 อยู่ในช่วงของการลดภาษีลงร้อยละ 90 เพื่อเป็นการแบ่งเบาภาระของประชาชนในยุคสมัยแห่งโรคระบาด (กระทั่งปัจจุบัน [พ.ศ. 2566] การเก็บภาษีที่ดินตามที่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้กำหนดไว้ได้มีการจัดเก็บในอัตราภาษีตามกรอบที่กฎหมายกำหนดและไม่ได้อยู่ในระยะของการลดภาษีแล้ว)
    .
    "บทวิเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" พาผู้อ่านไปทบทวนเรื่องของกฎหมายดังกล่าว และได้ทำการศึกษาผลกระทบของกฎหมายดังกล่าว โดยที่เนื้อหาของ "บทวิเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" แบ่งออกเป็น 3 บทดังนี้
    .
    บทที่ 1 ความเบื้องต้น พูดถึงเรื่องของกรอบของกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง ประสบการณ์ของต่างประเทศในเรื่องของการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง และผลของการจัดเก็บรายได้จากภาษีในรูปแบบเดิม
    .
    บทที่ 2 บทวิเคราะห์ข้อมูลเชิงประจักษ์ พูดถึงเรื่องของผลกระทบต่อการจัดเก็บภาษีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและประชาชนในท้องถิ่น รวมไปถึงผู้ประกอบการในท้องถิ่นนั้น ๆ และเรื่องของผลในการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในปี พ.ศ. 2563 ปัจจัยที่กำหนดภาระทางภาษี และการสำรวจในเรื่องของการจับเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างในพื้นที่ของรัฐ ผ่านพื้นที่ที่ทำการสำรวจและเก็บข้อมูลจำนวน 8 พื้นที่ ที่จำแนกออกเป็นพื้นที่เมือง พื้นื่กึ่งเมืองและพื้นที่ชนบท
    .
    บทที่ 3 ข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมาย พูดถึงเรื่องของปัญหา อุปสรรค และข้อจำกัดที่เกิดจากข้อจำกัดทางกฎหมายและการบริหารการจัดเก็บภาษี รวมถึงการนำเสนอข้อเสนอในการปรับปรุงภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง
    .
    น่าสนใจว่าในเมื่อการจัดเก็บภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างตามอัตราที่กฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ได้ดำเนินการจัดเก็บอย่างเป็นรูปธรรมและเต็มรูปแบบแล้ว เงินภาษีที่ได้จากการจัดเก็บและผลกระทบที่ตามมาเมื่ออัตราการจ่ายภาษีไม่ได้รับส่วนลดจะเป็นเช่นไร และเงินภาษี่ที่ได้จากการจัดเก็บจะสามารถสร้างกิจกรรมหรือบริการสาธารณะรูปแบบใหม่ ๆ ให้เกิดมีขึ้นได้ในแต่ละท้องถิ่นได้อย่างไรก็เป็นอีกสิ่งที่น่าติดตาม และด้วยข้อมูลต่าง ๆ ที่ปรากฎใน "บทวิเคราะห์และข้อเสนอเชิงนโยบายเพื่อปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562" น่าสนใจว่าหากมีการปรับปรุงกฎหมายภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง พ.ศ. 2562 ตามข้อเสนอของงานชิ้นนี้ความเปลี่ยนแปลงที่จะเกิดขึ้นจะเป็นอย่างไร และถ้ามองไปให้ไกลกว่านั้นในเรื่องของงบประมาณที่ท้องถิ่นสามารถใช้ในการจัดทำบริการสาธารณะ (ที่มากไปกว่ามี่กฎหมายกำหนด) ได้เองจากภาษีและรายได้ของท้องถิ่น น่าสนใจว่าเราอาจจะได้เห็นเมืองหรือท้องถิ่นที่มีความเจริญและออกแบบเมืองให้สอดรับกับวิถีชีวิตของคนและเมืองที่ดีกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in