รีวิวเว้ย (1305) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
.
Sustainable Development Goals (SDGs) เป็นหนึ่งในแนวคิดหลักของ UN ที่ในรอบหลายปีมานี้ได้กลายมาเป็นแนวปฏิบัติ ข้อบังคับและนโยบายของหลายหน่วยงานในหลายประเทศไม่เว้นแม้แต่ประเทศไทยที่ SDGs ได้กลายมาเป็นตัวชี้วัดสำคัญในการขับเคลื่อนหลายหลายนโยบายของหน่วยงานรัฐ อาจจะด้วยแนวคิดของ SDGs เกีายวข้องกับเรื่องของ "ความยั่งยืน" ที่สามารถปรับให้สอดรับกับแนวทางการปฏิบัติเชิงนโยบายของรัฐไทยที่มุ่งเน้นในเรื่องของการขับเคลื่อนนโยบายผ่านแนวคิดเรื่องของเศรษฐกิจพอเพียงที่สามารถสอดรับและปรับให้เดินคู่กันไปได้กับแนวคิดเรื่องของ SDGs เหตุนี้ SDGs จึงกลายมาเป็นเป้าหมายเชิงนโยบายของหลายหน่วยงานของรัฐที่ผลักดันและดำเนินนโยบายในเรื่องของ SDGs อย่างขันแข็ง แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาก็มักมีคำถามตามมาเสมอว่าแนวคิดในเรื่อของ Sustainable Development Goals (SDGs) ของไทยนั้นเป็น SDGs แบบไทยหรือไม่และปัญหาสำคัญของการประยุกต์ใช้ SDGs ในสังคมไทยในช่วงเวลาที่ผ่านมามีปัญหา อุปสรรคและข้อจำกัดอย่างไร
หนังสือ : นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม
โดย : พบสุข ช่ำชอง บก.
จำนวน : 128 หน้า
.
"นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม" (Public Policy for Just Sustainable Futures) หนังสือเล่มเล็ก ๆ ที่รวมเอาบทความของนักวิชาการรุ่นใหมที่ศึกษาด้านนโยบายในประเทศไทยมาทำงานร่วมกันภายใต้เครือข่ายของนักวิชาการ TPPN ดังข้อความที่ปรากฏในส่วนนำของหนังสือว่า "หนังสือเล่มนี้เรียบเรียงมาจากเวทีเสวนาระหว่างนักวิชาการด้านนโยบายสาธารณะรุ่นใหม่ในเครือข่าย Thailand Public Policy Network (TPPN) ... โดยเป็นส่วนหนึ่งของโครงการวิจัยชื่อว่า จากวิจัยสู่นโยบาย: ศึกษาเชิงสังเคราะห์งานวิจัยที่เชื่อมโยงกับประเด็นการพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อสร้างชุดข้อเสนอเชิงนโยบายที่เป็นรูปธรรม"
.
ดังนั้นเนื้อหาของ "นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม" จึงเป็นการรวบรวมเอาประเด็นที่เกิดขึ้นจากเวทีเสวนาของเครือข่าย TPPN มานำเสนอผ่านแนวคิดในเรื่องของ นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม (Public Policy for Just Sustainable Futures) โดยเนื้อหาในเล่มประกอบไปด้วย 6 บทความดังนี้
.
(1) Critical Reflection ต่อ SDGs แบบไทย ๆ: อารมณ์ ความรู้สึก การมองเห็น และความทรงจำกับนโยบาย SDGs ของประเทศไทย [วศิน ปั้นทอง]
.
(2) ไปให้ไกลกกว่า SDGs แบบไทย ๆ: สังเคราะห์ข้อเสนอเชิงนโยบาย จากงานวิจัยสำหรับการพัฒนาอนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม [ปิยะพงษ์ บุษบงก์]
.
(3) ถกคิดเรื่องความยั่งยืนในนโยบายสาธารณะและประชาสังคม: เราจะสร้างการอภิบาลเพื่อความยั่งยืนได้อย่างไร? [ธีรพัฒน์ อังศุชวาล]
.
(4) การพัฒนานโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรมผ่านการต่อยอดทุนวัฒนธรรมของพื้นที่ [สิริวิท อิสโร]
.
(5) การประกันคุณภาพอุดมศึกษาไทยกับการพัฒนาที่ยั่งยืน? [วรุตม์ อิงคถาวรวงศ์]
.
(6) ยกระดับกลไกการบริหารจัดการภาครัฐผ่านการจัดทำงบประมาณแบบมีส่วนร่วมในไทย [ศิริพร จันทนสกุลวงศ์]
.
เมื่ออ่าน "นโยบายสาธารณะเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรม" จบลง เราเกิดคำถามขึ้น 2 ประการ ได้แต่แนวทางของนโยบายในเรื่องของ "ความยั่งยืน" ในสังคมไทยดูจะแปลกแยกจากความวามารถในการนำเอานโยบายไปปฏิบัติได้อย่างต่อเนื่องและยังยืน และ ประการต่อมาคือคำถามในเรื่องของแนวทางและการนำเอานโยบายไปปฏิบัติเพื่อให้นโยบายเพื่ออนาคตที่ยั่งยืนอย่างเป็นธรรมเป็นไปได้โดยตลอดรอดฝั่งในกระบวนนโยบายของรัฐไทย
.
ดาวน์โหลด e-book ฟรีได้ที่: https://spp.cmu.ac.th/wp-content/uploads/2023/04/Public-Policy-for-Just-Sustainable-Futures-1.pdf
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in