เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา By เมริษา ยอดมณฑป
  • รีวิวเว้ย (1285) เราเติบโตมาในครอบครัวที่ไม่ได่สมบูรณ์ตามคุณค่าลุดหนึ่งที่สังคมยึดถือและเชื่อมั่น ย้อนกลับไปสัก 20 ปีก่อน การที่ผู้ใหญ่หลายคนรู้ว่าเราเป็นเด็กที่พ่อแม่แยกทางกัน คำพูดหนึ่งที่เรามักจะได้รับอยู่เสมอคือ "น่าสงสาร ที่ครอบครัวไม่สมบูรณ์" โชคดีที่เกิดมาเป็นเด็กกวนตีน เราเลยมักตั้งคำถามเสมอว่า "สงสารทำไม" เพราะเอาเข้าจริงเด็กในช่วงเวลานั้นเขาอาจจะไม่ได้รู้สึกมีปัญหาด้วยตัวเอง หากแต่ปัญหาในหลายเรื่องกลับเกิดขึ้นจากชุดข้อมูลหนึ่งที่สังคมป้อนใส่หัวของเขาตลอดเวลา กระทั่งเด็กคนหนึ่งกลายเป็น "เด็กมีปัญหา" อันเป็นผลสืบเนื่องจากการผลิตซ้ำชุดความเชื่อหนึ่งของสังคมซ้ำ ๆ จนเด็กคนนั้นมีปัญหาไปโดยปริยาย ภาพจำและการเหมารวมของสังคม (stereotype) ในหลายหนตันมันเองนั่นแหละที่สร้างปัญหาให้กับสังคม ผู้คน หรืออย่างในกรณีของเด็ก การเหมารวมและผลิตซ้ำของสังคมมักสร้างผลกระทบเสมอ โดยที่สังคมไม่รู้ด้วยซ้ำไปว่าภาพที่สังคมผลิตซ้ำขึ้นมานั้นแหละที่เป็นปัญหาสังคม
    หนังสือ : ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา
    โดย : เมริษา ยอดมณฑป
    จำนวน : 410 หน้า
    .
    "ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา" หนังสือที่เป็นผลผลิตของนักจิตวิทยาจากเพจ "ตามใจนักจิตวิทยา" ที่มักบอกเล่าเรื่องราวของการเลี้ยงดู การเติบโต และการพาสังคมย้อนกลับมาทบทวนปัญหาในหลาย ๆ เรื่องผ่านมุมมองทางจิตวิทยา โดยที่หนังสือ "ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา" บอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับ "ความเข้าใจผิด" ที่สังคมส่งต่อกันมาในเรื่องของการเลี้ยงดูและการใช้ชีวิตร่วมกันในครอบครัว
    .
    ซึ่งเนื้อหาของ "ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา" จะช่วยคลี่และคลายประเด็นที่สังคมเคยมองข้ามหรือหลายครั้งเลือกจะละเลย ว่าสิ่งเหล่านั้นจะเป็นตัวต้นเหตุของการสร้างผลกระทบที่อาจจะตามมาในอนาคตให้กับชีวิตของคนคนหนึ่ง โดยเฉพาะเมื่อคนคนนั้นคือเด็กที่เติบโตมาในครอบครัวที่ยึดถือและใช้คติแห่งความเข้าใจผิดเป็นเครื่องมือในการเลี้ยงดูคนหนึ่งคนให้เติบโตขึ้นมา โดยเนื้อหาของ "ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา" แบ่งออกเป็น 16 บท ดังนี้
    .
    บทที่ 1 พ่อแม่ที่รักลูกของตัวเองไม่เท่ากันเพราะความรักเป็นเรื่องไม่อาจฝืน
    .
    บทที่ 2 ลำดับการเกิดที่แตกต่าง มาพร้อมความคาดหวังและภาระที่ต้องแบกรับไม่เท่ากัน
    .
    บทที่ 3 ด้วยรัก ภาระ และบาดแผล จากการเติบโตในครอบครัวใหญ่
    .
    บทที่ 4 ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมา "การขู่ การหลอก การแหย่ และการล้อเลียน"
    .
    บทที่ 5 ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมา "การลงโทษ"
    .
    บทที่ 6 ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมา "การชื่นชมเด็ก"
    .
    บทที่ 7 ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมา "การแสดงออกซึ่งความรัก"
    .
    บทที่ 8 ความเข้าใจผิดที่ส่งต่อกันมา "ผู้ใหญ่ควรอนุญาตให้เด็กมีอารมณ์โกรธและเสียใจได้"
    .
    บทที่ 9 ความเข้าใจผิดเรื่องการเลี้ยงลูก "พ่อแม่ลิคอปเตอร์"
    .
    บทที่ 10 ความเข้าใจผิดเรื่องการเลี้ยงดู "การเลี้ยงลูกเป็นเทวดา"
    .
    บทที่ 11 ความเข้าใจผิดเรื่องการเลี้ยงดู "ความรักที่ไม่เคยได้รับในวัยเยาว์บสดแผลทางใจที่รอการเยียวยา"
    .
    บทที่ 12 ความเข้าใจผิดเรื่องการเลี้ยงดู "พ่อแม่แยกทางกัน ความรักที่มีให้ลูกไม่ควรหารครึ่ง"
    .
    บทที่ 13 ภาพในความคิดแบบเหมารวมของสังคมที่มีต่อเพศชายหญิง และกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQ+) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการเลี้ยงดูเด็ก
    .
    บทที่ 14 ในวันที่ลูกถูกทำร้ายทางใจหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศ
    .
    บทที่ 15 ลูกไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ (พ่อแม่ก็เช่นกัน)
    .
    บทที่ 16 "ลูก...คนพิเศษ"
    .
    เมื่ออ่าน "ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา" จบลง 2 สิ่งที่เกิดขึ้นในหัวเรา คือ (1) เราเติบโตขึ้นมาในสังคมและผ่านกรณีอย่างที่ปรากฏอยู่ในหนังสือเล่มนี้หรือไม่ และ (2) พอเราโตขึ้นมาเป็นผู้ใหญ่ (ที่อายุมากขึ้น) เราได้สร้างและผลิตซ้ำความเข้าใจผิดแบบนี้กับคนอื่น ๆ โดยเฉพาะเด็ก ๆ หรือเปล่า คำถามทั้ง 2 ข้อคือสิ่งกระตุ้นเตือนให้เราลองหันกลับมาดูตัวเอง และคั้งคำถามกำสังคมแห่งนี้ไปพร้อม ๆ กันว่าในท้ายทร่สุดแล้ว "ความเข้าใจผิดในครอบครัวที่ส่งต่อกันมา" มันส่งผลอะไรบ้างและมันการผลิตซ้ำวิธีการ วิธีคิดแบบนี้จะไปหยุดลงที่ตรงไฟน

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in