เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เทพเจ้าจีนในกรุงเทพ By อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
  • รีวิวเว้ย (1814) เวลาไปไหว้เจ้าหรือไปศาลเจ้าจีนในที่ต่าง ๆ ในไทย คำถามหนึ่งที่เกิดขึ้นในหัวคือ "นี่คือศาลเทพอะไร และเทพประธานของศาลแห่งนี้คือองค์ไหน ?" เพราะเทพเจ้าของจีนเรียกได้ว่าน่าจะมีจำนวนมากกว่าเทพจากหลายศาสนา อาจจะด้วยการที่ศาสนาที่มีอิทธิพลในวัฒนธรรมจีนมีอยู่ด้วยกันหลายศาสนาและลัทธิ อาทิ ลัทธิขงจื่อ ศาสนาเต้า พุทธศาสนา และเทพของแต่ละศาสนายังมีความสามารถในการหยิบยืมกันใช้ข้ามไปมาทำให้หลายครั้งเทพของศาสนาหนึ่งก็อาจจะเป็นเทพของอีกศาสนาหนึ่งได้ด้วยเช่นกัน นี่ยังไม่นับรวมกรณีของการสถาปนา (คนธรรมดาขึ้นเป็นเทพ) ดังที่ปรากฏในนิยายจีนเรื่องห้องสิน นั่นยิ่งทำให้ความซับซ้อนและจำนวนของเทพเจ้าจีนยิ่งทวีจำนวนขึ้นไปอีก
    หนังสือ : เทพเจ้าจีนในกรุงเทพ
    โดย : อชิรัชญ์ ไชยพจน์พานิช
    จำนวน : 296 หน้า 
    .
    "เทพเจ้าจีนในกรุงเทพ" หนังสือที่พาไปสืบรากของศาลเจ้าจีนและเทพเจ้าจีนในกรุงเทพฯ โดยการคัดเลือกเอาศาลเจ้าจีนแห่งต่าง ๆ ที่ปรากฏอยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งศาลของลัทธิขงจื่อ ศาสนาเต้า พุทธศาสนา และศาลเทพเจ้าจีนที่เกิดการผสมผสานความเชื่อระหว่างกัน อีกทั้งยังหมายรวมถึงศาลเทพเจ้าของคนจีนกลุ่มต่าง ๆ ที่อยู่ในกรุงเทพฯ ทั้งชาวจีนแต้จิ๋ว ชาวจีนฮกเกี้ยน ชาวจีนไหหลำ และชาวจีนแคะ ที่คนแต่ละกลุ่มต่างก็มีรูปแบบความเชื่อและวัฒนธรรมของกลุ่มตนที่สะท้อนออกมาในแต่ละศาสนาและศาสนสถาน รวมถึงชุดความเชื่อ พิธีกรรม ประเพณีของคนแต่ละกลุ่มแต่ละศาสนายังมีการปะทะสังสรรค์ กระทั่งกลายเป็นการรวมเอาหลากวัฒนธรรมของกลุ่มคนและหลายชุดความเชื่อเข้าไว้ด้วยกันกระทั่งผสมรวมกันจนแยกขาดจากกันได้ยาก และปรากฏออกมาเป็น "เทพเจ้าจีนในกรุงเทพ" ที่อพยพเข้ามาพร้อมกับการอพยพของคนจีนในสยาม-ไทย
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "เทพเจ้าจีนในกรุงเทพ" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 5 บทดังนี้
    .
    บทที่ 1 บทนำ
    .
    บทที่ 2 ความเชื่อของชาวจีนอพยพในกรุงเทพฯ
    .
    บทที่ 3 รูปแบบประติมากรรมเทพเจ้าประธานในศาลเจ้าจีน กรุงเทพฯ
    .
    บทที่ 4 เอกลักษณ์ความเชื่อของชาวจีนอพยพในกรุงเทพฯที่สะท้อนผ่านเทพเจ้าประธาน
    .
    บทที่ 5 บทสรุป
    .
    "เทพเจ้าจีนในกรุงเทพ" ทำให้ผู้อ่านได้เห็นถึงความหลากหลายของเทพเจ้าจีนที่อพยพเข้ามาในสยาม-ไทย พร้อมกับการเข้ามาของคนจีนกลุ่มต่าง ๆ ที่นอกจากแรงงานแล้วพวกเขายังหยิบเอาวัฒนธรรม ความเชื่อ ประเพณี เข้ามาพร้อมกันและปรับสิ่งเหล่านั้นเข้ากับความเป็นสยาม-ไทย ทำให้การแยกยิ่งเหล่านี้ออกจากกันในสังคมไทยเป็นไปได้ยากยิ่งเพราะวัฒนธรรมของคนกลุ่มต่าง ๆ ได้กลืนและกลายไปเป็นวัฒนธรรมร่วมของคนทั้งสังคม เทพเจ้า ศาลเจ้าจีน และวัดจีนเองก็กลายเป็นส่วนหนึ่งของชุมชนและวัฒนธรรมไทย ที่เรียกได้ว่าเช้าวันขึ้นปีใหม่ (1 มกราคม) คนไทยสามารถเข้าวัดใส่บาตรตกบ่ายไปต่อที่วัดจีนเพื่อแก้ชง (ทั้งที่ยังไม่ผ่านวันตรุษจีน)

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in