หนังสือ : การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย
โดย : ทวิดา กมลเวชช และคณะ
จำนวน : 232 หน้า
.
หนังสือ "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" ปรับปรุงมาจากงานวิจัยขนาดยาวที่ยาวเท่ากับชื่อหัวข้อวิจัย "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" ตอนที่ฟังชื่องานวิจัยจากอาจารย์ครั้งแรกตั้งแต่เริ่มเปิดโครงการ จนถึงวันที่แล้วเสร็จออกมาเป็นเล่ม เราเองก็ยังจำชื่อเต็ม ๆ ของงานวิจัยไม่ได้อยู่ดี
.
หนังสือเล่มนี้ "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" พยายามพูดถึงการรับมือกับภัยแผ่นดินไหวในประเทศไทย ที่อาจจะไม่ได้รับความสนใจมากนักหากบอกว่างานวิจัยมุ่งศึกษาถึงกลไกในการจัดการอาคารถล่มจากภัยแผ่นดินไหว ดังนั้นทีมวิจัยจึงได้ดำเนินการเพิ่มเติมในส่วนของภัยอาคารถล่มที่อาจจะเกิดจากแผ่นดินไหวและอัคคีภัยเข้าไป เพื่อให้ภัยดังกล่าวดูใกล้ตัวคนไทยมากยิ่งขึ้น (เรื่องไม่ใกล้เราไม่ทำ-ไทยแท้)
.
โดยเนื้อหาภายในหนังสือได้บอกเล่าถึงเรื่องราวของการจัดการรับมืออาคารถล่มจากอัคคีภัยและภัยแผ่นดินไหว ผ่านเครื่องมือสำคัญ 4 ชิ้น คือ (1) กฎหมาย (2) ภาษี-กองทุน (3) การมีส่วนร่วมของประชาชน และ (4) กลไกการบริการจัดการ โดยแนวทางทั้ง 4 ได้พูดถึงกลไกในการจัดการรับมือภัยพิบัติใน 3 ระยะ อันได้แก่ ระยะก่อนเกิดภัย ระหว่างเกิดภัย และหลังเกิดภัย เอาไว้ได้อย่างน่าสนใจ
.
ซึ่งสำหรับหนังสือเล่มนี้ "การออกแบบมาตรการไม่ใช่เชิงโครงสร้างในการลดความเสี่ยงภัยพิบัติแผ่นดินไหวและอาคารถล่มสำหรับประเทศไทย" กลไกที่ได้จากการศึกษาเครื่องมือทั้ง 4 ชิ้น คือ การออกแบบนโยบายและจัดทำเครื่องมือในการจัดการเรื่องของอาคารถล่มจากกลไกทั้ง 4 เพื่อให้มีการเตรียมความพร้อมและเพื่อให้สอดรับกับการเปลี่ยนแปลงของบริบทของสังคมที่ค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไป
.
หลังจากอ่านหนังสือเล่มนี้ (และทำงานวิจัยชิ้นนี้) จบลง เราเองพบว่าทัศนะคติที่เรามีต่อเรื่องของภัยพิบัตินั้นเปลี่ยนแปลงไปอย่างสิ้นเชิง ทั้งเรื่องของการจัดการ ก่อน ระหว่าง หลังการเกิดภัย รวมไปถึงข้อสรุปสำคัญต่อการรับมือภัยพิบัติทุกรูปแบบที่อาจเกิดขึ้น คือ "เราควรเริ่มจากการจัดการและรับผิดชอบตัวเองให้ได้ก่อน (ในกรณีของคนที่ไม่ใช่กลุ่มเปราะบาง) เพื่อที่จะลดภาระการช่วยเหลือของรัฐเพื่อให้รัฐนำเอาทรัพยากรที่จำกัดไปช่วยเหลือกลุ่มเปราะบางก่อน และการรับมือภัยพิบัติที่ดีที่สุด คือ การเตรียมพร้อมรับมือก่อนการเกิดภัย (ด้วยตัวเอง/ให้ช่วยเหลือตัวเองได้)" รวมถึงในหลายครั้งการรับมือภัยพิบัติบอกกับเราว่า "ประชาธิปไตย อาจจะไม่ใช่คำตอบของทุกเหตุการณ์ โดยเฉพราะในเรื่องของการรับมือภัยพิบัติ" (การจัดการภัยพิบัติไม่เป็นประชาธิปไตย--อาจารย์ผู้ใหญ่ท่านหนึ่งเคยกล่าวไว้เมื่อนานมากแล้ว)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in