เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
นิทานการเงิน By ยังชิน แก้วชัยเจริญ
  • รีวิวเว้ย (1625) "กาลครั้งหนึ่ง ... นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า" ข้อความทั้ง 2 นี้แทบจะเป็นข้อกำหนดของการเล่านิทานหรือเขียนหนังสือนิทานในไทย แน่นอนว่าข้อความทั้ง 2 มีที่มาจากขนบนิทานของต่างชาติ น่าสนใจว่าเราจำเป็นไหมที่ต้องรู้ว่า "นิทานเรื่องนี้สอนอะไร ?" เพราะหลายครั้งเราก็แค่อยากอ่านนิทานในฐานะของนิทาน ไม่ได้อยากได้บทเรียนหรืออะไรนอกไปเสียจากความเพลิดเพลิน พอโตขึ้นเราอ่านนิทานน้อยลงมาก ส่วนหนึ่งเพราะต่อต้านความไม่สมเหตุผลของการขมวดปมจบตอนสุดท้ายแบบยัดเยียดที่บอกว่า "นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า" ทั้งที่ความจริงแล้วคนเราไม่จำเป็นต้องได้รับข้อคิดของตอนจบนิทานในแบบเดียวกันทุกคนไป
    หนังสือ : นิทานการเงิน
    โดย : ยังชิน แก้วชัยเจริญ
    จำนวน : 136 หน้า
    .
    "นิทานการเงิน" ฉบับพิมพ์ครั้งที่ 13 และข้อความบนปกหน้าของหนังสือเขียนเอาไว้ว่า "หนังสืออ่านนอกเวลาระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4-6 (พ.ศ. 2554)" โดยที่เนื้อหาของนิทานบอกเล่าเรื่องราวของสังคมสัตว์ ที่จำลองรูปแบบของสังคมยุคก่อนที่ระบบการเงินจะเข้าไปมีบทบาท และค่อย ๆ พัฒนาไปสู่การเป็นสังคมที่มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างคนในสังคมและคนต่างสังคมผ่านกลไกของระบบการเงิน เริ่มต้นตั้งแต่จุดตั้งต้นของระบบของแลกของมาสู่ระบบของแลกเงิน และเงินต่างพื้นที่แลกกับเงินต่างพื้นที่ ด้วยการบอกเล่าผ่าน 10 นิทาน ที่ร้อยเรียงกันตั้งแต่ยุคเริ่มต้นของสังคมสัตว์ป่า-สัตว์ทะเล ไปจนถึงเรื่องของการควบคุมการค้าผ่านกลไกราคาและระบบแลกเงิน
    .
    ในมุมของคนที่เรียนเรื่องของระบบการเงิน การธนาคารในวิชาเศรษฐศาสตร์มาบ้างในระดับมหาวิทยาลัย ทำให้การเล่าเรื่องของ "นิทานการเงิน" น่าสนใจ เพราะสามารถย่อยเอาเรื่องของพัฒนาการของระบบการเงินให้เป็นเรื่องเล่าผ่านรูปแบบของนิทาน ที่ช่วยให้คนอ่านเห็นถึงพัฒนาการของสังคมของแลกของ (Barter System) มาสู่ระบบการเงินที่ใช้สิ่งทดแทนเงินตราที่กำหนดค่ากลางในการแลกเปลี่ยนของทั้งสังคม รวมไปถึงบอกเล่าการเกิดขึ้นของระบบการสำรองเงินตราที่ในปัจจุบันเรียกกันว่า "เงินสำรองระหว่างประเทศ" และรวมไปถึงการเกิดขึ้นของระบบธนาคารและภาษี
    .
    หากแต่คำถามสำคัญประการหนึ่ง คือ ถ้าคนอ่าน "นิทานการเงิน" ไม่ได้มีความรู้พื้นฐานในเรื่องนี้มาบ้างอาจจะสับสน โดยเฉพาะเมื่ออ่านในส่วนท้ายของนิทานในแต่ละบทที่เขียนขมวดปมเอาไว้ในนามของ "นิทานเรื่องนี้สอนให้รู้ว่า" เพราะในมุมของคนอ่านเมื่ออ่านมาถึงข้อความในส่วนท้ายมันทำให้อรรถรส และความเข้าใจในเนื้อเรื่องที่อ่านมาหายไปพร้อมกับคำพูดดัง ๆ ในใจว่า "ห่ะอะไรนะ"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in