Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ
รีวิวเว้ย (1451) "นิติรัฐนิติธรรม" คำเจ้าปัญหาที่ครั้งหนึ่งเคยสร้างปรากฏการณ์และจ้อถกเถียงสำคัญในสังคมไทยครั้งใหญ่ว่า "นิติรัฐ" และ "นิติธรรม" ต่างกันอย่างไร รสมไปถึงการเลือกใช้คำอย่างนิติธรรมนั้นจะส่งผลให้ผู้คนเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องของคนดีและความดีหรือไม่ เพราะการที่คัดเลือกเอาคำว่า "ธรรม" เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการนิยามศัพท์โดยเฉพาะในสังคมไทยที่ศาสนาพุทธมีบทขาทสพคัญอาจจะสร้างความสับสนงุนงงให้กับผู้คน ซึ่งในท้ายที่สุดแล้ว "นิติธรรม" ก็สร้างความสับสนงุนงงขึ้นจริงอย่างที่มีการตั้งข้อสังเกตโดยเฉพาะในช่วงหลัง พ.ศ. 2549 ที่คำว่านิติธรรมกลายมาเป็นคำ "ติดปาก" ของสังคมไทยที่ใช้กันแทบทุกวงการ ใช้กันบ่อยเสียจนไม่แน่ใจว่าผู้ใช้คำเข้าใจความหมายของคำดังกล่าวแค่ไหน กระทั่งนำไปสู่การไหลเลื่อนของการนิยามคำว่านิติธรรมในสังคมไทย ที่อาจจะเรียกได้ว่าอยู่ในสภาพไปไม่กลับเพราะกลายเป็นว่า "นิติธรรม" ดันถูกเข้าใจไปในทิศทางของกฎหมายกับความดีย์ไปเสียอย่างนั้น
หนังสือ : นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ
โดย :
เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
จำนวน : 296 หน้า
.
"นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ" ในคำโปรยของหนังสือได้ทำหน้าที่ในการเขียนแนะนำหนังสือเล่มนี้เอาไว้อย่างครบถ้วนกระบวนความ ความว่า
"
สำรวจที่มาและความหมายของหลักนิติธรรมหรือหลักการชื่ออื่นที่มีเนื้อหาใกล้เคียงกัน ก่อนจะยกกรณีศึกษาจากคดีสำคัญในแต่ละเขตอำนาจมาเพื่อให้ผู้อ่านได้เข้าใจหลักการและแนวปฏิบัติเกี่ยวกับหลักนิติธรรมของนานาอารยประเทศ ... ปิดท้ายด้วยการสำรวจหลักนิติธรรมในไทยผ่านศาลรัฐธรรมนูญ" แน่นอนว่าหนังสือ "
นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ" มุ่งนำเสนอมุมมองในเรื่องของนิติรัฐนิติธรรม ในลักษณะของการเปรียบเทียบกับอารยะประเทศผ่านหลักการและแนวคิดที่เป็นรากฐานของนิติรัฐนิติธรรม และปิดท้ายด้วย "หลักนิติธรรมไทย" โดย "ศาลรัฐธรรมนูญ"
.
โดยเนื้อหาของ "
นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ" แบ่งออกเป็น 5 บทหลัก และ 1 บทคำนำที่จะพาผู้อ่านไปย้อนทวนดูพัฒนาการของสิ่งที่เรียกว่า "นิติธรรมไทย" ที่ช่วยฉายให้เห็นการเกิดขึ้น การขยายตัวและการถูกฉวยใช้ของคำดังกล่าว และในส่วนของ 4 บท ที่นับเป็นการแสดงให้เห็นถึงแนวคิดของอารยะประเทศในเรื่องของหลักนิติรัฐนิติธรรมหรือหลักการที่คล้ายและใกล้เคียง และที่ขาดไปไม่ได้คือบทสุดท้ายที่ว่าด้วยเรื่องของ "ศาลรัฐธรรมนูญไทย" กับการครอบงำความหมายของนิติธรรมแบบไทย ๆ เอาไว้กับตัว
.
คำนำ: นิติธรรมไทย: เฟื่องฟู และล้มเหลว
โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
.
บทที่ 1 พัฒนาการของหลักนิติธรรมในอังกฤษ โดย เข็มทอง ต้นสกุลรุ่งเรือง
.
บทที่ 2 แนวคิดเรื่อง État de droit ในระบบกฎหมายฝรั่งเศส โดย วริษา องสุพันธ์กุล
.
บทที่ 3 หลักนิติรัฐในประเทศสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี โดย ศศิภา พฤกษฎาจันทร์
.
บทที่ 4 นิติธรรมในสหรัฐอเมริกา โดย อภินพ อติพิบูลย์สิน
.
บทที่ 5 ศาลรัฐธรรมนูญกับการแปลความหมาย สร้าง และบังคับใช้ "หลักนิติธรรมไทย" โดย กล้า สมุทวณิช
.
แน่นอนว่า
"
นิติรัฐนิติธรรม: ประวัติศาสตร์ภูมิปัญญาเปรียบเทียบ" ทำหน้าที่เป็นเครื่องมือในการพาผู้อ่านไปทำความเข้าใจ ทบทวน เรียนรู้และสอดส่งดูในเรื่องของหลักการและกรณีศึกษาในเรื่องของ "นิติรัฐนิติธรรม" ของประเทศอื่น ๆ ที่หลักการเหล่านี้เป็นเครื่องมือในการขับเคลื่อนชิ้นสำคัญของกระบวนการยุติธรรมในสังคม ซึ่งแน่นอนว่ากับบางประเทศหลักการเหล่านี้ก็ถูกออกแบบมาเพื่อวัตถุประสงค์บางประการ นับตั้งแต่หลักการและตัวหน่วยงานที่บังคับใช้กลไกลทางอำนาจเหล่านี้
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in