เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
GOVERNANCE 101 (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง) By ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
  • รีวิวเว้ย (1384) คำหลายคำในโลกวิชาการถูกนำมาใช้บ่อยเสียจนคำเหล่านั้นกลายเป็น buzzword ที่หลายคนหยิบมาใช้กันให้เกลื่อนกราดโดยที่ใช้แบบไม่สนใจความหมาย หรือในหลาบครั้งก็ใช้เพียงเพราะเห็นเขาใช้ต่อกันมา อาทิ Soft Power ที่ในปัจจุบันเราเรียกได้ว่า Soft Power กลายเป็น buzzword ในโลกภาษาไทยไปเสียแล้ว มิพักต้องพูดถึงอีกหลายคำในโลกวิชาการที่มาถึงก่อน Soft Power ที่บางคำอาจจะไม่ได้กลายไปเป็น buzzword หากแต่ถูกใช้คนละความหมาย ให้นิยามกันคนละแบบจนในหลายครั้งคำเหล่านี้ก็ยากที่จะเชื่อมประสานหรือนำมาใช้งานร่วมกันทั้งที่มีจุดเริ่มต้นมาจากคำคำเดียวกันในภาษาอังกฤษ (หรือภาษาอื่น)
    หนังสือ : GOVERNANCE 101 (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง)
    โดย : ธีรพัฒน์ อังศุชวาล
    จำนวน : 272 หน้า
    .
    "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย (พิมพ์ครั้งที่ 2 ฉบับปรับปรุง)" ว่าด้วยเรื่องของคำว่า "Governance" ซึ่งเป็นคำที่ปรากฏขึ้นในไทยทั้งในวงวิชาการและแพร่กระจายออกสู่พื้นที่ต่าง ๆ ของสังคมและในหลายปีที่ผ่านมา "Governance" ถูกใช้อย่างแพร่หลายในหลากหลายบริบท จนหลายครั้งมันชวนให้สงสัยว่าสรุปแล้ว "Governance" มันมีนิยามหรือความหมายอย่างไรกันแน่ คล้าย ๆ กับคำว่า "Soft Power" ที่กำลังเป็นกระแสอยู่ในช่วงเวลานี้ ที่หลายคนก็ต่างพูดถึงคำดังกล่าว แต่ก็อาจจะมีความคลาดเคลื่อนในการทำความเข้าใจความหมาย นิยาม และมิติของคำคำนั้นที่บิดพริ้วไปจากจุดตั้งต้นของคำ และยิ่งกับการแปลคำภาษาอังกฤษ (ต่างประเทศ) ให้เป็นคำไทยด้วยแล้วหลายครั้งการเลือกใช้คำภาษาต่างประเทศคำนั้น ๆ ไปเลย อาจจะช่วยให้เข้าใจมากกว่า เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าในหลายหนเราต้องแปลความหมายของคำภาษาต่างประเทศที่เป็นภาษาไทย ให้เป็นภาษาที่คนปกติสามารถเข้าใจได้อีกต่อหนึ่ง
    .
    หนังสือ "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" เราในฐานะของผู้อ่านจะขอแบ่งวิธีในการนำเสนอเนื้อหาของ "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" ออกเป็น 2 ส่วนดังนี้
    .
    "ส่วนแรก" ว่าด้วยเรื่องของ "บทนำ" ซึ่งจะบอกเล่าเรื่องราว วิธีการศึกษา นิยาม-ความหมาย และรวมไปถึงการแย่งชิงพื้นที่ของการแปลความคำว่า "Governance" ได้อย่างน่าสนใจ รวมถึงในส่วนแรกผู้เขียนยังได้บอกเล่าถึง "เป้าหมายของการเขียนหนังสือเล่มนี้" และยังบอกเล่าเรื่องของหนังสืออ่านประกอบหรืออาจจะใช้คำว่าหนังสืออ่านเพิ่มเติมที่เกี่ยวโยงและเกี่ยวข้องกับเรื่องของ "Governance" สำหรับผู้ที่สนใจที่จะศึกษาลงไปในรายละเอียดของ "Governance" หลังจากได้ลองทำความเข้าใขความหมายและรูปแบบของ "Governance" ที่มีอยู่อย่างมากมายหลากหลาย
    .
    ใน "ส่วนที่สอง" ของหนังสือ "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" เล่มนี้จะว่าด้วยเรื่องของ คำและความหมายของ "Governance" ที่เราขอใช่คำว่ามันคือ "Governance" ที่ตามมาด้วยคำคุณศัพท์ (Adjective) ถ้าลองเอามาเขียนเป็นโครงสร้างอาจจะได้ว่า [Governance+Adjective] ที่คำเหล่านี้จะกลายเป็นคำที่มีความหมายและนิยามขยายออกไปจากเดิม ซึ่งการขยายขอบเขตของคำในลักษณะนี้ก็ยิ่งทำให้คำว่า "Governance" มีมิติที่เพิ่มมากขึ้นไปกว่าเดิม
    .
    ลำพังในช่วงหลายปีที่ผ่านมาในประเทศไทยก็มีการถกเถียงกันถึงความหมาย คำแปลและอื่น ๆ ของคำว่า "Governance" อยู่มากมาย และ [Governance+Adjective] อย่าง "Good Governance" ก็ดูจะเป็นที่ถกเถียงกันถึงคำแปล-คำเรียก อยู่มิใช่น้อย เมื่อเป็นเช่นนั้นในส่วนที่สองของ "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" จึงได้หยิบยกเอา [Governance+Adjective] มาให้ผู้อ่านได้ทำความรู้จักและทำความเข้าใจกันมากขึ้น โดยคำต่าง ๆ มีดังนี้
    .
    (1) Collaborative Governance, (2) Critical Governance, (3) Studies Decentered Governance, (4) Delegated Governance, (5) Global Governance, (6) Good Governance, (7) Governance Failure, (8) Governance Network, (9) Governance Tools, (10) Hierarchical Governance, (11) Interactive Governance, (12) Local Governance, (13) Market Governance, (14) Metagovernance, (15) Multi-level Governance, (16) Network Governance, (17) New Public Governance, (18) Participatory Governance, (19) Public Governance, (20) The New Governance
    .
    "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" ชี้ชวนให้ผูอ่านมองหาและตั้งคำถามต่อการให้ความหมายของคำว่า governance ในภาษาไทย ว่าข้อถกเถียงหรือการแย่งชิงความหมายของคำนี้ในกลุ่มต่าง ๆ นั้นส่งผลกระทบ หรือสร้างข้อจำกัดต่าง ๆ อย่างไรต่อโลกวิชาการที่ศึกษาเรื่องของ governance ซึ่งปัญหาดังกล่าวมิได้เกิดมีเฉพาะในประเทศไทยเท่านั้น ดังที่ปรากฏในเนื้อหาในส่วนแรกของ "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" แต่ความน่าสนใจอีกประการของข้อจำกัดในการสร้างความหมายของ governance ในภาษาไทยคือความพยายามสร้างคำจำกัดความผ่านคำว่า "ธรรมะ" กระทั่งกลายมาเป็น "ธรรมาภิบาล" ซึ่งการเอาคำว่า "ธรรมะ" เข้ามาเป็นเงื่อนไขกำกับของภาษาไทยทำให้สถานะของคำว่า governance ก้าวขามจากโลกวิชาการและโลกของนักปฏิบัติมาสู่โลกของความศักดิ์สิทธิ์และโลกของความดีงาน ในหลายครั้งการเลือกใช้คำแปลอย่าง ธรรมาภิบาลจึงเกิดสภาวะอิหลักอิเหลือที่คนใช้ก็ไม่กล้าชี้ว่าคือสิ่งใดส่วนคนได้ฟังก็ไม่กล้าตั้งคำถามถึงความเหมาะสมว่าใช่ใช่ไหม เมื่อเป็นเช่นนั้นชุดคำที่ปรากฏอยู่ใน "GOVERNANCE 101: ความหมายและรูปแบบที่หลากหลาย" คือการชี้ชวนให้ผู้อ่านได้เห็นถึงหลักฐานเชิงประจักษ์ของความอิหลักอิเหลื่อในโลกวิชาการเมื่อต้องสร้างความหมายของคำเหล่านั้นให้เป็นภาษาไทย

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in