เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2
  • รีวิวเว้ย (1352) การช่วงชิงความหมายของคำต่าง ๆ เพื่อสร้างความชอบธรรให้กับปรากฏการณ์ในหลาย ๆ เรื่องของสังคม อาทิ คำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ถูกแย่งชิงและฉวยใช้จนงอกลูกออกหลานมาเป็นคำที่หลายคนไม่แน่ใจว่าคำเหล่านั้นจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ดังตัวอย่างที่ปรากฏขึ้นในสังคมไทยเมื่อไม่นานมานี้ จากกรณีที่มี สว. ท่านหนึ่งกล่าวในที่ประชุมรัฐสภาว่า "ผมนิยมเผด็จการประชาธิปไตย แต่ไม่นิยมประชาธิปไตยจอมปลอม" เช่นนี้เองการทำความเข้าใจ "คำ" และใช้มันให้ถูกความหมายจึงสำคัญและจำเป็นยิ่ง
    .
    ทำไมเราต้องให้ความสำคัญกับการใช้คำให้ถูกความหมาย (?) คำถามดังกล่าวเราอาจจพได้ยินมันอยู่บ่อยครั้งโดยเฉพาะเมื่อประโยคคำถามข้อนี้แทรกตัวอยู่มนบริบทของกิจกรรมที่มีลักษณะเฉพาะ อาทิ กิจกรรมทางวิชาการ หรือกิจกรรมที่มุ่งเน้นในเรื่องของการใช้คำศัพท์เฉพาะทาง การทำความเข้าใจความหมายของคำเป็นสิ่งหรนึ่งที่จำเป็นยิ่งที่พึงกระทำเพื่อการขยายบริบทหรือทำความเข้าใจกับบริบทที่ถูกที่-ถูกทาง มิเช่นนั้นเราจะพบความผิดพลาดดังที่ปรากฏอยู่ในหลายเหตุการณ์ในประเทศไทยที่มีการหยิบยืมเอาคำทางวิชาการมาใช้แบบผิดฝาผิดตัวอยู่บ่อย ๆ อย่างกรณีล่าสุดที่เกิดขึ้นกับคำว่า Soft Power คำของ Joseph Nye ที่ใช้กันไปไกลจนผิดจากรูปความหมายเดิมจนจำแทบไม่ได้ การช่วงชิงความหมายของคำต่าง ๆ เพื่อสร้างความชอบธรรให้กับปรากฏการณ์ในหลาย ๆ เรื่องของสังคม อาทิ คำว่า "ประชาธิปไตย" ที่ถูกแย่งชิงและฉวยใช้จนงอกลูกออกหลานมาเป็นคำที่หลายคนไม่แน่ใจว่าคำเหล่านั้นจะอยู่ด้วยกันได้อย่างไร ดังตัวอย่างที่ปรากฏขึ้นในสังคมไทยเมื่อไม่นานมานี้ จากกรณีที่มี สว. ท่านหนึ่งกล่าวในที่ประชุมรัฐสภาว่า "ผมนิยมเผด็จการประชาธิปไตย แต่ไม่นิยมประชาธิปไตยจอมปลอม"
    หนังสือ : คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย เล่ม 2
    โดย : เอก ตั้งทรัพย์วัฒนา สิริพรรณ นกสวน และ ม.ร.ว.พฤธิสาณ ชุมพล บรรณาธิการ
    จำนวน : 433 หน้า
    .
    หนังสือ "คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัยเล่ม 2" เป็นหนังสือที่ทำการรวบรวมเอาคำศัพท์ทางรัฐศาสตร์และสังคมศาสตร์ที่สำคัญหลาย ๆ คำมารวมเข้าไว้ด้วยกันในลักษณะเดียวกันกับพจนานุกรมทางด้านรัฐศาสตร์ หากแต่คำที่ถูกหยิบยกขึ้นมาในหนังสือ อาจจะมิใช่คำที่เราสามารถพบได้ทั่ว ๆ ไป หากแต่เป็นกลุ่มคำที่ในหลายหนมักปรากฏอยู่ในหนังสือ เอกสารราชการ หรือเอกสารทางวิชาการหลาย ๆ ชิ้น กระทั่งเมื่อคำเหล่านั้นถูกแปลเป็นภาษาไทย ในหลายหนมันมักสร้างความงุนงงให้กับผู้อ่าน จนหลายครั้งมีคำเรียกสิ่งเหล่านี้ว่า "แปลไทยเป็นไทย" ซึ่งเป้าประสงค์หลักของ "คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัยเล่ม 2" คือการพยายามทำหน้าที่ในการแปลไทยเป็นไทย ให้กับเหล่าคำและแนวคิดทางรัฐศาสตร์หลาย ๆ คำ
    .
    "วิธีใช้ หนังสือเล่มนี้เสนอคำต่าง ๆ ที่ได้ใช้กันอยู่ในรัฐศาสตร์ร่วมสมัย ซึ่งอาจไม่ได้เป็นศัพท์เทคนิคทางรัฐศาสตร์ หากแต่เป็นศัพท์ธรรมดา หรือศัพท์เทคนิคของสังคมศาสตร์สาขาอื่น ๆ ก็ได้ คำเหล่านี้ซึ่งเป็น entry หริอ "คำที่จะอธิบาย" เรียงตามลำดับอักษรภาษษอังกฤษ กังในพจนานุกรมหรือสารานุกรมภาษาอังกฤษ-ไทย ทั่วไป และมีคำอธิบายความคิดที่อยู่เบื้องหลังคำนั้นอย่างละเอียดพอสมควรตามหลัง ท่านผู้อ่านสนใจที่หาความหมายของแนวคิดหลังคำใดก็สามารถเปิดหาคำนั้นได้เลย และเปลี่ยนไปหาคำอื่น ๆ เรื่อย ๆ ตามความสนใจไม่จำเป็นต้องอ่านตามลำดับอักษร เพราะคำและแนวคิดต่าง ๆ มีความเป็นเอกเทศจากกันพอสมควร ... นอกจากนั้นหนังสือเล่มนี้มีระบบการอ้างอิงข้ามคำ (cross reference) ของคำที่จะอธิบายไว้ด้วย เพื่อแส้งให้เห็นความเกี่ยวข้องของคำและความคิดที่มีความสัมพันธ์กัน ..."
    .
    "คำและความคิดในรัฐศาสตร์ร่วมสมัยเล่ม 2" เป็นเล่มต่อตาจเล่มแรก โดยที่เนื้อหาในแต่เล่มจะประกอบไปด้วย "คำ" ต่าง ๆ เล่มละ 68 คำโดยประมาณ อาทิ Power, Public Sphere, Rule of Law, Social Capital, State, Ontology, Network, Patron-client Relation, Bureaucracy, Civil Society, Corporatism

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in