Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
Better Day
–
Sopon Supamangmee
Free Hugs กันไหมไทยแลนด์
เมื่อเช้าตรู่หลังจากป้อนนมลูกเสร็จเรียบร้อย กำลังเตรียมตัวเข้านอนอีกรอบ ผมกดเปิด facebook เพื่อเช็กข่าวสารเรื่อยเปื่อย จนไปเจอหน้าเพจ drama-addict ที่โพสต์เรื่องราวเกี่ยวกับดราม่าที่กลุ่มวัยรุ่นหลายคนยืนถือป้ายหน้า “กอดฟรี เพราะพ่ออยากให้รักกัน” กลางสนามหลวง โดยเฉพาะน้องผู้หญิงที่ยืนชูป้ายด้วยหน้าตายิ้มแย้ม (ตามเนื้อข่าวบอกมา ผมไม่รู้หรอกว่าแป้นขนาดไหน ) จนสุดท้ายมีคนเปิดประเด็นนี้ขึ้นมาบนพันทิปและถูกแชร์กระฉ่อนโซเชียลว่า “นี่ความคิดของคนเรียนระดับอุดมศึกษาจริงๆหรือ”
สองตาสะลึมสะลือเกิดกระตือรือร้นอ่านเนื้อข่าวจนจบ บอกตามตรงเลยครับว่าช่วงนี้ใครคิดอยากทำอะไรขอให้ตรองให้ดีอีกสิบตลบก่อนลงมือทำ เพราะจิตใจคนไทยในเวลานี้มีความอ่อนไหวมากเป็นพิเศษ (จากปกติเรื่องเกี่ยวกับราชวงศ์นั้นคนไทยถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ควรกล่าวอ้างถึง เคร่งครัดเข้าขั้นอนุรักษนิยมกันเลยทีเดียว ซึ่งเป็นขนบธรรมเนียมของบ้านเราที่รู้กันดีอยู่แล้ว)
ก่อนพูดถึงประเด็นที่เกิดขึ้นที่สนามหลวง ขอย้อนกลับไปที่อังกฤษปี 2004 มีชายออสเตรเลียคนหนึ่งชื่อ Juan Mann (ฆวน มานน์) ที่กำลังประสบปัญหาหนักในชีวิต คืนหนึ่งเขาตัดสินใจออกไปพบปะผู้คนที่ผับเพื่อคลายความเศร้าที่กำลังเผชิญอยู่ ระหว่างที่นั่งดื่มเบียร์อยู่นั้นมีชายคนหนึ่งสังเหตุเห็นความทุกข์ของฆวนผ่านทางสายตา (มึงสื่อสารกันด้วยกระแสจิต?) เขาเดินเขามากอดและตบหลังเขาเบาๆโดยไม่ได้พูดอะไรสักคำ
ไม่นานหลังจากนั้นเขาเดินทางกลับบ้านเกิดที่ออสเตรเลีย เมื่อลงเครื่องที่เมลเบิร์นเขาสังเกตเห็นผู้คนกอดกันด้วยความรัก แตกต่างจากตัวเขาที่ไม่มีใครมารับและมอบกอดอันอบอุ่นให้ ตอนนั้นเองที่เขานึกถึงชายที่ผับที่อังกฤษคืนนั้นและเกิดไอเดียแคมเปญ “Free Hugs” ขึ้นมา เขาเริ่มเขียนป้ายห้อยหน้า-หลังว่า “Free Hugs” และเดินไปตามถนนในซิดนีย์ หลายคนพยายามทำเป็นมองไม่เห็นเขาเพราะคิดว่าไอ้นี้คงบ้า บางคนมองเขาแล้วก็ยิ้มหัวเราะ บ้างมาขอถ่ายรูป แต่เมื่อเวลาผ่านไปสักพักมีหญิงคนหนึ่งเข้ามาแตะหัวไหล่เขาและบอกว่าสุนัขของเธอเพิ่งเสียชีวิตไปเมื่อเช้า และมันเป็นวันครบรอบการเสียชีวิตหนึ่งปีของลูกสาวพอดีเช่นกัน เขาคุกเข่าลงแล้วสวมกอดเธอแน่น ความโศกเศร้าของเธอถูกแทนที่ด้วยรอยยิ้มเมื่อพวกเขาจากกัน และนั้นคือจุดเริ่มต้นของแคมเปญ “Free Hugs” ที่โด่งดังเป็นพลุแตกบนโซเชียลและการเป็นกระแสชวนกอดฟรีทุกหนแห่งทั่วโลก
ฆวนให้สัมภาษณ์ว่า “แคมเปญนี้ไม่ได้เป็นของผม มันเป็นของทุกคน ทุกคนทำได้ผมไม่มีสิทธิ์อะไรเลยที่จะบอกว่าผมเป็นเจ้าของสิ่งนี้ ผู้คนบนโลกต่างหากที่เป็นเจ้าของ” และถ้าเราเข้าไปที่เว็บไซต์ [http://www.freehugscampaign.org] จะเห็นว่ามีผู้เข้าร่วมในแคมเปญนี้ตามเมืองใหญ่ๆทั่วโลก (Sydney, LA, Tokyo, London, Paris) และคุณเองก็สามารถเข้าร่วมได้ด้วยตัวเองเหมือนกัน
นี้ไม่ใช่ครั้งแรกที่ผมเห็นคนถือป้าย "Free Hugs" ไปตามถนน เมื่อครั้งที่ผมทำงานอยู่ Seattle ตอนนั้นกำลังเดินออกมาทานข้าวกลางวันที่ร้านอาหารข้างๆออฟฟิศใน Downtown ระหว่างที่เคี้ยวแซนวิชก็เห็นผู้ชายคนหนึ่งแต่งตัวดูดีสะอาดสะอ้านเหมือนพนักงานบริษัททั่วไป แขวนป้ายกระดาษหน้าหลังว่า "Free Hugs" ตอนนั้นผมยังคิดเลยว่า "ไอ้นี้มันคิดบ้าอะไรอยู่วะ ใครจะมากอดมึง แล้วถ้าเป็นคนจรจัดพวก Homeless มาขอกอดมึงจะยอมไหม?" ผ่านไปไม่นานคำตอบที่ทำให้ผมต้องแปลกใจก็เกิดขึ้น มีคนมาขอกอดเขาแทบตลอดเวลา แต่ละคนมีแต่ใบหน้ายิ้มแย้มและเสียงหัวเราะ แม้กระทั่งเมื่อคนจรเนื้อตัวสกปรกเหมือนไม่ได้อาบน้ำมาสักสามสี่ฤดูหนาวขอกอดเขา เขาค่อยๆย่อตัวลงมากอดอย่างเต็มใจพร้อมรอยยิ้มด้วยอีกต่างหาก นั้นเป็นประสบการณ์ตรงครั้งแรกที่ผมเห็นพลังของการสวมกอด บางทีเราไม่รู้หรอกว่าคนที่เดินอยู่บนท้องถนนนั้นกำลังเผชิญกับปัญหาชีวิตแบบไหนอยู่ การมีใครสักคนมาแสดงความรักความใส่ใจอาจเปลี่ยนแปลงวันแย่ๆวันนั้นให้กลายเป็นวันที่ดีได้เลยเช่นกัน
แน่นอนว่าวัฒนธรรมตะวันตกการสวมกอดเป็นเรื่องธรรมดาและไม่ได้เกี่ยวข้องกับเรื่องทางเพศเสมอไป ต่างจากขนบธรรมเนียมประเพณีไทยที่การสวมกอดนั้นเกิดขึ้นได้กับคนที่ใกล้ชิดสนิทครอบครัวคนรักสามีภรรยาเท่านั้น ถ้าเป็นผู้หญิงแล้วย่ิงไปกันใหญ่ ต้องรักนวลสงวนตัวกอดผู้ชายเรื่อยเปื่อยมันเปลืองตัวและดู “ร่าน” เกินสวยงาม
ครับ...เราถูกสอนมาแบบนี้จริงๆ มันเป็นมุมมองที่แตกต่างในเรื่องวัฒนธรรมที่ทำให้คนสองกลุ่มมอง “การสวมกอด” เป็นสองอย่างต่างกันไป
แต่ถ้าแค่วัฒนธรรมที่แตกต่างมันคงไม่เป็นประเด็นขนาดนี้หรอก มันยังมีเรื่องของเวลา สถานที่ ความเหมาะสม และสุดท้ายเจตนารมณ์เข้ามาเกี่ยวข้องอีกด้วย
เอาหล่ะ...กลับมาบ้านเราต่อ แต่ขอเลี้ยวไปที่อื่นก่อนยังไม่ใช่สนามหลวง
ในรั้วมหาวิทยาลัยจุฬาฯ มีเพจชื่อ Humans of Chula ที่รุ่นน้องคนหนึ่งส่งมาให้ผมอ่านเกี่ยวกับกิจกรรม “Human of Chula x Free Hugs” ซึ่งเป็นกิจกรรมที่พวกเขาจัดขึ้นมาได้แล้วสักพักใหญ่ๆ ซึ่งผู้เข้าร่วมก็ไปเดินชูป้าย “Free Hugs” แล้วก็สวมกอดเพื่อนๆพี่ๆน้องๆเด็กมหาวิทยาลัย ภาพถ่ายที่พวกเขาโพสต์เห็นทุกคนมีแต่รอยยิ้มและความสุขทั้งคนกอดและคนถูกกอด มันเป็นกิจกรรมที่พยายามก้าวข้ามกำแพงแห่งวัฒนธรรมที่ถูกตีกรอบโดยมีความบริสุทธิ์ใจเป็นไกด์นำทาง พวกเขาบอกว่า
“We just want to share happiness among our human friends”
“เราแค่ต้องการอยากแบ่งปันความสุขระหว่างเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน”
ถ้ามีใครถามความเห็นของผมตรงนี้ ผมรู้สึกว่าสิ่งที่น้องๆทำเป็นเรื่องน่าสนใจและน่าชื่นชม บางครั้งเรามัวแต่พะวงกับกำแพงเหล่านั้นจนไม่กล้าลุกขึ้นมาทำสิ่งดีๆ กลัวว่าสังคมจะมองเราในด้านที่ไม่ดีทำเรื่องแปลกบ้าบอ แต่ผมกลับเชื่อว่าตราบใดที่ “จิตใจ” ของเราไม่มีสิ่งแอบแฝงเจือปน กำแพงวัฒนธรรมเหล่านี้อาจลดลงได้บ้างไม่มากก็น้อย
แต่ที่สนามหลวง เป็นอย่างนั้นจริงๆนะเหรอ?
ตั้งแต่ข่าวแห่งความโศกเศร้าวันที่ 13 ตุลาคมที่ผ่านมา หน้าเฟสบุ๊คส์ผมเต็มไปด้วย
1.ภาพผู้คนร่ำไห้ เสียใจ และข้อความแสดงความโศกเศร้า
2.ข่าวการทำงานหนักของในหลวงสมัยท่านยังสุขภาพแข็งแรง
3.พวกฉกฉวยโอกาสสร้างกระแสให้ตัวเอง ยกตัวอย่างง่ายๆเพจที่บอกให้กดไลค์และจะส่งเสื้อสีดำไปให้ หรือพวกพ่อค้าแม่ค้าที่อัพราคาเสื้อสีไว้ทุกข์ได้อย่างไร้ยางอาย
อย่างที่ผมบอกไปตอนต้น ใครจะทำอะไรในช่วงนี้ให้คิดซ้ำอีกสิบตลบ ประการกอดฟรีแบบนี้จะไม่เป็นเรื่องเป็นราวใหญ่โตเลยถ้าสองสิ่งนี้เปลี่ยนไป - เหตุการณและสถานที่
ถ้าตัดเรื่องเจตนารมณ์ออกไป (เพราะผมไม่รู้จริงๆว่าพวกน้องๆเขาต้องการแสดงความรักจริงๆ ช่วยปลอบโยนคนโศกเศร้า หรือแค่ต้องการคว้าโอกาสมาสร้างกระแสข่าวให้ตนเอง คนที่ตอบได้ดีที่สุดคือตัวพวกเขาเองนั้นแหละ) เราจะแคร์ไหมถ้าในหลวงยังทรงมีพระชนอยู่แล้วน้องๆเขาเอาป้ายมาชูบอกว่า “กอดฟรี เพราะพ่ออยากให้รักกัน” สำหรับผมไม่เลย จะเข้าไปกอดเลยด้วยซ้ำ และถ้าน้องเขาไม่ไปทำในสนามหลวงหล่ะ? คงไม่มีใครเห็นหรอกมั้งและคงไม่เป็นข่าวใหญ่โตขนาดนี้
มันกลายเป็นเรื่องของ “กาลเทศะ” มากกว่า “วัฒนธรรม” ที่แตกต่างกัน
แคมเปญ “Free Hugs” เป็นการแสดงความรักความอบอุ่นที่เริ่มต้นด้วยผู้ชายคนหนึ่ง เขาเพียงต้องการเปลี่ยนวันแย่ๆของใครสักคนให้ดีขึ้น แค่นั้นเขาก็บอกว่าชีวิตแย่ๆของเขาก็ดีขึ้นด้วย มันได้กลายเป็นกระแสที่ทำตามๆกันมาเป็นสิบปีและไม่ได้มีพิษมีภัยอะไร (อย่างที่บอก ตราบใดที่เจตนารมณ์บริสุทธิ์) เด็กไทยรุ่นใหม่ที่หยิบเอาแคมเปญนี้มาทำเพราะรู้สึกว่ามันเป็นสิ่งที่ดีน่าเอาอย่าง แม้ว่าวัฒนธรรมไทยเรานั้นไม่ได้เกื้อหนุนให้ก็ตาม แต่สำหรับตัวผมเองมันไม่ได้เลวร้ายอะไรสักนิดหากว่ามันเกิดขึ้นในสถานการณ์และสถานที่ที่เหมาะสม เพราะฉะนั้นสิ่งที่พวกน้องๆที่ชูป้าย “กอดฟรี เพราะพ่ออยากให้รักกัน” ขาดไป ไม่ใช่หัวก้าวหน้า ไม่ใช่ความคิดที่แตกต่าง ไม่ใช่จิตใจที่อยากปลอบประโลมคนเศร้า แต่เป็นความยั้งคิดไตร่ตรอง เลือกทำในสิ่งที่อยากทำแต่ลืมคิดถึงผลของการกระทำที่ตามมาภายหลังซะมากกว่า
มีครั้งหนึ่งที่ผมเกิดไม่พอใจพี่สาวของตัวเองอย่างรุนแรง ผมไปนั่งระบายบ่นให้เตี่ยฟังอยู่หลายชั่วโมง เขารับฟังปัญหาต่างๆจนจบแล้วพูดขึ้นมาคำหนึ่งว่า
“วันหนึ่งที่เตี่ยไม่อยู่แล้ว คงไม่มีโอกาสได้มาบอกให้ลูกๆเลิกทะเลาะกันเถอะ อย่าถือสาหาความกันให้เรื่องราวใหญ่โตไปกว่านี้เลย และคงไม่มีโอกาสมาบอกให้เรากอดกันคืนดีกันและรักกันให้มากๆ แต่ให้โสภณจำเอาไว้นะ ไม่มีพ่อคนไหนมีความสุขถ้าลูกๆของพวกเขาทะเลาะกัน ไม่ว่าพ่อคนนั้นจะอยู่ที่ไหนก็ตาม”
ผมคิดว่า “พ่อ” ทุกคนคงคิดไม่ต่างกัน
ปล. สุดท้ายเรื่องของน้องผู้หญิงที่ชูป้ายที่โดนถ่ายมาถูกโจมตีอย่างหนักเพราะตัวเองเป็นหญิง อย่างที่บอกเราถูกสอนมาว่ามันดูไม่งาม น้องเขาบอกอยู่แล้วว่ามาช่วยพวกเพื่อนๆชายหนุ่มถือป้ายแค่นั้นไม่ได้ไปกอดกับใคร เธอเป็นเหยื่อของตากล้องมือไวและโพสต์ไวเพียงเท่านั้น อย่าเพิ่งว่าน้องเขาเสียๆหายๆนะครับ
#culture
# difference
# freehugs
# love
# problem
# thailand
# ความแตกต่าง
# วัฒนธรรม
# สังคม
Sopon Supamangmee
Report
Views
Better Day
–
Sopon Supamangmee
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in