หากงานศิลปะคือภาพแทนตัวตน ความคิด ทัศนคติ อุดมการณ์ และมุมมองต่อโลกของศิลปินคนหนึ่ง ผลงานภาพการ์ตูนที่มีสีสันสดใสมีชีวิตชีวาราวกับมีการขยับไหว รายละเอียดถูกตัดทอนให้ภาพดูง่ายขึ้น ทำให้เข้าถึงได้ง่ายไม่ว่ากับใครก็ตาม ทั้งยังมีความหมายบางอย่างที่เชื่อมโยงกับคนบางกลุ่ม คงเป็นตัวตนของฟ้า—พัชชา ชัยมงคลทรัพย์
และนั่นก็คือครั้งแรกที่เราได้รู้จักฟ้าผ่านลายเส้นและสีสันของเธอ
แต่แล้วฟ้าก็ทำให้เราค้นพบว่านั่นอาจเป็นการรู้จักเพียงผิวเผิน หรือไม่ก็คงเป็นการรู้จักตัวตนเพียงด้านเดียวของเธอเท่านั้น เพราะเมื่อเรารู้ตัวอีกที บทบาทในฐานะ “นักวาด
“แล้วเราก็รู้สึกว่าในจุดนึงเราไม่ได้อยากเป็นแค่ผู้ที่ติดตาม ด้วยความที่เราจบด้านการสื่อสารมา เราเลยรู้สึกว่าจริง ๆ แล้วคนเรียนสื่อสาร เรียนนิเทศ เรียนออกแบบวาดรูป มันเรียนมาเพื่อแก้ปัญหา แล้วเราก็รู้สึกว่าเรามีศักยภาพพอที่จะช่วยทำให้การสื่อสารประเด็นหรืออุดมการณ์บางอย่างมันมีประสิทธิภาพมากขึ้น มันสร้างสรรค์มากขึ้น ดึงคนจากกลุ่มที่เขาไม่สนใจให้เขามาสนใจได้ นั่นเป็นเรื่องที่เราอยากทำ”
เมื่อเราถามถึงจุดเปลี่ยน หรืออะไรที่ทำให้ฟ้าตัดสินใจย้ายจากงานประจำเดิมของเธอไปทำงานที่โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อประชาชน หรือ iLaw ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงผลกำไร ฟ้านิ่งคิดไปก่อนตอบเรา
"จริง ๆ ตอนนั้นเราก็ไม่รู้นะว่าเราไปแล้วเราจะได้อะไร แต่อย่างน้อย ๆ ก็คิดว่ามันเป็นโอกาสที่ดีที่ได้เรียนรู้อะไรใหม่ ๆ คิดถึงเรื่องที่ตัวเองอยากทำ กับเรื่องส่วนตัวของตัวเองที่ว่าเราก็อยากพัฒนาตัวเองในด้านทักษะต่าง ๆ ซึ่งเราก็คิดว่าถ้าเราอยากขยายตัวเองที่จะเป็นคนพูดประเด็นสังคมได้ เป็นคนที่มีความรู้ด้านนี้ เราก็ต้องลงไปทำงานกับคนกลุ่มนั้น"
“การสื่อสารมันไม่ใช่แค่พูดยังไงให้คนกดไลค์กดแชร์ การสื่อสารที่มีคุณภาพบางทีมันอาจจะเป็นการที่เราค้นคว้า เราค้นพบบางอย่างแล้วเราสื่อสารมันออกมา มันอาจจะเป็นหน้าที่ของเราในแบบนั้น ที่จะทำให้ก้าวไปมากกว่าการสื่อสารเชิงพาณิชย์ที่ต้องขายของชิ้นนึงให้ได้ แต่อันนี้มันคือเราต้องพูดอะไรมากกว่านั้นได้”
แม้จะพอเดาได้ราง ๆ ถึงจุดยืนในการเป็นนักวาดของฟ้า กระนั้นเราก็ยังโยนคำถามไปกว้าง ๆ ว่าฟ้าคิดว่าตัวเองวาดเพื่ออะไร และนี่คือคำตอบของเธอ
“วาดเพื่อให้สื่อสารได้เข้าใจง่ายมั้ง”
นอกจากการทำงานประจำที่ iLaw แล้ว ฟ้ายังวาดรูปให้กับ The Potential ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอีกด้วย เธอจึงถือโอกาสยกตัวอย่างงานของเธอ และเล่าถึงการสร้างผลงานในฐานะนักวาดไปพร้อมกัน
“อย่างงานของ
ได้ยินดังนั้น เราจึงอดเล่าให้ฟ้าฟังไม่ได้ว่าเราสัมภาษณ์เธอเพื่อส่งงานวิชาอะไร ฟ้าตอบกลับมาด้วยน้ำเสียงเจือความสนใจ "ดีจัง เราก็อยากเรียนเขียนบ้างนะ"
มาถึงตรงนี้ เราอยากฟังนิยามตัวเองในฐานะนักวาดหรือศิลปินจากฟ้าดูบ้าง
“เราอาจจะไม่ได้นิยามตัวเองว่าเป็นคนสร้างงานศิลปะขนาดนั้นนะ" ฟ้าตอบอย่างไม่ลังเล "เราเองก็ไม่ใช่สายอาร์ติสที่เพียวอาร์ติสขนาดนั้น
แล้วศิลปะสำหรับตัวเองล่ะคืออะไร เราถาม
“เราคิดว่าเป็นงานออกแบบ
“ศิลปะมันเป็นเรื่องของหลายอย่าง เป็นเรื่องของคอนเทนต์ เวลา แนวคิดในการสร้าง ที่มาด้วย บางทีมันก็ไม่ได้ทำงานแค่กับคนทำด้วย บางทีก็เป็นคนดูด้วยที่ทำงานชิ้นนั้นแล้วมันมีคุณค่าขึ้นมา อย่างเช่นเดี๋ยวนี้พอมีโซเชียล อะไรหลายๆอย่างมันก็ไปได้ไกลขึ้น คนที่ร่วมสร้างงานศิลปะก็คือผู้ชมด้วยเหมือนกันที่จะสร้างความหมายให้กับมัน เมื่องานศิลปะมีปฏิสัมพันธ์กับโซเชียลมีเดียก็ทำให้เกิดคุณค่าอื่น ๆ เพิ่มขึ้นมาจากการสร้างงานศิลปะโดยไม่ใช่แค่เกิดจากคนที่สร้างแต่มันเกิดการวิพากษ์วิจารณ์กันอย่างกว้างขวางกว่าสมัยก่อน เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ในวงกว้างแบบทุกคนแลกเปลี่ยนคำวิพากษ์วิจารณ์กัน ได้มุมมองใหม่ๆ ได้อะไรมากขึ้น เลยคิดว่าบางทีงานศิลปะงานหนึ่ง ผู้สร้างอาจจะเป็นผู้ชมด้วยก็ได้
เมื่อคุยกันมาถึงตรงนี้เราจึงเกิดคำถามว่าฟ้ามีความคิดเห็นต่องานศิลปะที่อินดี้เกินไปจนผู้ชมเข้าไม่ถึงอย่างไรบ้าง
“เราเข้าใจตรงนี้มาก
“ในงานศิลปะ เราก็ไม่ได้รู้ลึกซึ้งขนาดนั้น เราก็เคยไปดูแกลเลอรีแล้วเราไม่เข้าใจ แต่เราก็ได้รู้สึกแล้วแหละ รู้สึกว่ามันประหลาดดี งานชิ้นนี้มันมีการปรากฎอยู่ในพื้นที่นั้นแล้ว แล้วเราก็ได้รับรู้ ได้เห็น ได้สัมผัส ได้รู้สึกบางอย่างกับมัน แค่นี้มันก็ทำงานแล้ว หรือบางทีพอมันอยู่ในความคิด พอเราเห็นแล้วเราสงสัย เขาก็อาจจะอยากให้เราสงสัยแหละ เพราะว่าการสงสัยมันนำไปสู่การคิดต่อหรือเชื่อมโยงกับประสบการณ์ส่วนตัวของตัวเอง แล้วเราก็ได้ทำงานบางอย่างกับตัวเอง มันเหมือนได้มวลความคิดบางอย่างเคลื่อน แค่นั้นก็คือการทำงานของศิลปะ”
แล้วกับคนที่ไม่รู้สึกอะไรเลยกับงานศิลปะนั้นล่ะหรือกับคนที่รู้สึกเฉย ๆ กับงานนั้นล่ะ เราโยนคำถามไปอีก
“ไม่เป็นไรหรอก
เราอดไม่ได้ที่จะหันกลับมามองตัวเอง ซึ่งก็จริงอย่างที่ฟ้าบอก เราถูกอะไรบางอย่างมากรอบให้ต้องเข้าใจสื่อทุกอย่างที่ได้รับมาจนบางครั้งเราก็ลืมไปว่าการไม่เข้าใจไม่ใช่เรื่องผิด และเราก็ไม่ต้องรู้สึกแย่กับตัวเองแค่เพียงเพราะเราไม่เข้าใจบางอย่างก็ได้
อย่างที่ทราบในตอนต้นว่านอกจากการเป็นนักวาดเพื่อสื่อประเด็นสังคมเกี่ยวกับสิทธิเสรีภาพแล้ว ฟ้ายังเป็นนักวาดภาพประกอบให้กับ The Potential ที่นำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับเด็กและเยาวชนอีกด้วย อะไรที่ทำให้ฟ้าสนใจทำงานในด้านนี้ เราถาม
“พอมาเรียนออกแบบก็เลยจะอินกับภาพประกอบเด็ก รู้สึกว่าการรับรู้ของเด็กกับสิ่งที่เรารับรู้ตั้งแต่เด็กมันจำฝังใจ จำยันโต อย่างเช่นการปลูกฝังเรื่องการยอมรับในความหลากหลายทางเพศ ทางชาติพันธุ์ สีผิว มันต้องปลูกฝังตั้งแต่เด็ก ถ้าเราโตมากับครอบครัวหรือสังคมที่มันหลากหลายเราก็จะเข้าใจมันโดยที่เราไม่ต้องมานั่งทำความเข้าใจกับมัน เราแค่เข้าใจมันด้วยตัวเอง เราก็เลยจะชอบจะอินกับงานที่มันเป็นคอนเทนต์ที่เกี่ยวกับเด็ก เกี่ยวกับการศึกษาด้วย”
แม้ทุกวันนี้ฟ้าจะไม่ได้เป็นครูอย่างที่เธอคิดไว้เมื่อยังเด็กแต่เมื่อถามถึงสิ่งที่ต้องการจะทำจริง ๆ ฟ้าก็ตอบอย่างไม่ลังเล
“เราจำได้ว่าตอนที่เราโพสต์การ์ตูน The Potential ลงทวิตเตอร์” ฟ้าเล่าถึงผลงานหนึ่งของเธอเมื่อไม่นานมานี้ “มีคนไปพิมพ์ในทวิตตัวเองว่า ‘คุณรู้ไหมว่าการวาดของคุณมันพิเศษขนาดไหนต่อโลกใบนี้’
แบบนี้ฟ้าก็ดูเป็นคนที่สุดยอดไปเลยใช่ไหมที่ทำอะไรได้ขนาดนี้ ทั้งเป็นแรงบันดาลใจให้ใครหลาย ๆ คน ทั้งยังทำงานเพื่อสังคมในองค์กรไม่แสวงผลกำไรด้วย เรายิงคำถามไปอีก
“ถ้ารู้สึกว่าอยากทำ อยากเอาตัวเข้ามาตรงนี้ หาโอกาสของตัวเองแล้วก็ลองดู มันมีแหละ แต่ถ้าคุณชื่นชมแต่ไม่ได้อยากทำหรอก เราก็อาจจะเป็นคนที่แสดงออกในแบบของตัวเอง เราว่ามันมีหลายทางมากที่ไม่ต้องลงมาทำงานก็สนับสนุนได้ พูดในแบบของตัวเองได้ เอาที่ตัวเองสบายใจ ไม่ต้องไปซัฟเฟอร์กับตัวเองว่าเราต้องทำแบบนี้แบบนั้น ลองดูว่าอะไรเป็นบทบาทที่ตัวเองชอบแล้วก็ทำมันดีกว่า
ก่อนจะจบการสัมภาษณ์ เราพลันนึกได้ว่าศิลปินแต่ละคนต่างก็มีผลงานชิ้นเอกหรือมาสเตอร์พีซของตัวเอง แม้ฟ้าจะไม่ได้นิยามตัวเองว่าเป็นศิลปินมากขนาดนั้น
“คิดแป๊บนะ
“เป็นงานตั้งแต่สมัยเรียนแล้ว อาจารย์ให้โจทย์ไปวาดรูปประกอบเพลงเพลงเดียว วาด 3 รูป เราใช้เวลากับมันมาก คิด และก็ชอบ มันมาจากเพลง Tree Hugger ของ
เราไม่แน่ใจว่าการจะชอบอะไรสักอย่างเราจำเป็นต้องมีเหตุผลไหม แต่เราก็ตัดสินใจถามฟ้าถึงเหตุผลที่ยกให้งานชิ้นนี้เป็นงานที่ชอบที่สุด
“งานที่มีสตอรี่เกี่ยวกับมัน ใช้ความคิดมีที่มาเกี่ยวกับมันก็จะชอบ เราใส่ตัวเองลงไปในงาน มีเรื่องราวบางอย่าง พอเรานึกถึง เราก็จะนึกถึงช่วงเวลานั้นที่เราทำงานนี้ นึกถึงว่าตอนนั้นเราคิดอะไรอยู่ ซึ่งเป็นเรื่องที่คนดูงานเราอาจไม่รู้เพราะไม่ได้มีประสบการณ์ตรงนั้นร่วมกันกับเราแต่เรารู้สึกเวลาเราเห็นงานชิ้นนั้นชิ้นนี้ ว่าอันนั้นทำตอนไหน ทำตอนรู้สึกยังไง” ฟ้าเล่า
จนเมื่อเราคุยกันเสร็จ ฟ้าก็เปิดเพลงที่เธอเลือกทำงานส่งให้เราฟัง ทำนองแบบเด็ก ๆ กับเนื้อเพลงที่ฟังไม่ยากพาเราค่อย ๆ ซึมซับบทเพลงกับงานวาดของฟ้าไปด้วยกัน
หากผลงานศิลปะคือภาพแทนตัวตนความคิด ทัศนคติ อุดมการณ์ และมุมมองต่อโลกของศิลปิน ผลงานภาพการ์ตูนหน้าตาน่ารักสีสันสดใสของฟ้าก็คงเป็นตัวตนของเธอโดยไม่ต้องสงสัย ทั้งลักษณะที่เป็นมิตร เข้ากับคนได้ง่ายแต่ก็ยังแฝงการวิพากษ์วิจารณ์ประเด็นสังคมที่ถูกมองข้ามอย่างตรงไปตรงมา นั่นแหละคืองานของฟ้าและตัวตนของเธอ อย่างน้อยก็ในตอนนี้
เราคิด
และดีใจที่วันนี้ได้มีโอกาสพูดคุยกับเธอ
© สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น
ผู้ให้สัมภาษณ์: พัชชา ชัยมงคลทรัพย์
ผู้สัมภาษณ์และเรียบเรียง: ชญามญช์ เพิ่มประโยชน์
ภาพประกอบ: ชญามญช์ เพิ่มประโยชน์, ภาพจากเพจ PHAR, iLaw, The Potential
ติดตามผลงานอื่น ๆ ของฟ้าได้ที่เพจ PHAR
ผลงานสืบเนื่องจากรายวิชาศิลปะการเขียนร้อยแก้ว ปีการศึกษา 2562
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in