Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
@RT
–
น้ำนิ่งฯ
CAMP แล้วยังไง สวยแค่เปลือกแล้วมันสวยไหม? แล้วฉันไม่ใช่งานศิลปะหรอ?
"หนูจะตั้งชื่อมันว่า.. อีแต๋ว"
"นั่นมันชื่อกู!"
"ชื่อตุ๊กตาหนู"
"อ๋อออ"
"อีแต๋ว อีตอแหล"
"ฮะ! มึงด่ากูหรอ"
"หนูด่าตุ๊กตา"
"อ๋อ แล้วไป"
"อีเลว!"
"ฮะ! มึงด่ากูหรอ!!"
"หนูด่าตุ๊กตาหนูเจ๊!!"
"อ๋อ ไม่เป็นไร"
"หูอย่าหาเรื่องสิ อีสั*"
"อ๋อ มึงด่าตุ๊กตา"
"ด่ามึงอะแหละ!"
คงน้อยคนนักที่จะไม่รู้จัก dialogue อันโด่งดังข้างบนจากภาพยนตร์เรื่อง "หอแต๋วแตก แหกกระเจิง" ผลงานของพจน์ อานนท์ ผู้กำกับที่ไม่ว่าจะไปดูความคิดเห็นใต้โพสต์เกี่ยวกับภาพยนตร์เขาที่ไหนก็จะมีทำนองเสียดสีเหน็บแนมเขาตลอด ด้วยความที่ว่าตัว franchise นี้ถูก "ประเมินค่า" ต่ำในสายตาหลาย ๆ คน
อย่างที่เราหลายคนรู้ว่าผลงานในอดีตของแกก็ไม่ได้ขี้ริ้วขี้เหร่เลย ทำไมถึงมาผลิตผลงานที่ดู "ไร้แก่นสาร" ขนาดนี้ อันที่จริงแล้วผลงานอย่างหอแต๋วแตกนับว่าอยู่ในแขนงหนึ่งทางงานศิลปะที่ไม่ค่อยมีคนพูดถึงเท่าไรถ้าไม่ได้อยู่แวดวงหรือศึกษางานจริง ๆ ... ศิลปะแขนงนั้นคือ "camp"
ในโพสต์นี้จะเล่าความเป็นมาและลักษณะคร่าว ๆ ของวัฒนธรรม/ศิลปะ camp ว่ามันไม่ใช่งานที่ถูกผลิตโดยไร้ความตั้งใจ หากแท้จริงแล้วมันซุกซ่อนด้วยความตั้งใจไว้ภายในต่างหาก
camp เป็นคำที่นิยามงานศิลปะและวัฒนธรรมที่มีความงามคล้ายกันกับ kitsch (ศิลปะการเลียนแบบ ยกตัวอย่างง่าย ๆ คือสินค้าเลียนแบบแบรนด์ดังในราคาถูกกว่า) มีรากศัพท์มาจากคำว่า se camper ที่มีความหมายว่า "โอ้อวด, คุยโต" ถูกใช้ราวต้น 1900s เพื่อเรียกผู้ชายที่มาอากัปกิริยา "ตุ้งติ้ง" โดยเฉพาะกับผู้ชายรักเพศเดียวกันในชนชั้นกรรมาชีพ
นั่นจึงทำให้ camp มีความยึดโยงกับวัฒนธรรมกลุ่มคนรักเพศเดียวกัน
ในปี 1964 นักเขียนและนักเคลื่อนไหวทางการเมือง Susan Sontag ได้กล่าวไว้ในหนังสือของเธอ 'Notes on Camp' ว่าแม้ camp จะเกี่ยวพันกับกลุ่มคนดังกล่าวแต่มันเป็นมากกว่ารสนิยมทางเพศ แม้ว่าพวกเขาจะทำให้เกิดคำพวกนี้
ลักษณะงานศิลปะแบบ camp สามารถพบเห็นได้ชัดเจนเลยคือ การแต่ง drag หรือแม้แต่ศิลปินสาวชื่อดัง Lady Gaga การแต่งตัวและนำเสนอตัวตนของเธอก็ถือว่า camp
camp เป็นงานศิลป์ที่ไม่เน้นธรรมชาติ กล่าวคือตรงกันข้ามกับความเป็นจริงไม่อิงใด ๆ เป็นการประดิษฐ์ (artifical) เกินจริง (exaggeration) เพื่อท้าทายรสนิยมหรือเรื่องเล่าหลัก (grand narrative) ในสังคมที่กำลังมีอิทธิพลอยู่ ณ ตอนนั้น
ความงามของศิลปะชนิดนี้คือเน้นแบบผิวนอก (surface) ไม่ได้มีความลุ่มลึก ตัวตน camp (camp persona) นี้เองถูกนำไปใช้ในกลุ่มรักเพศเดียวกันหรือแม้กระทั่งกลุ่มคนที่มีความหลากหลายทางเพศเพื่อขับเน้นว่าเรื่องของเพศสภาพเป็นการประกอบสร้าง เป็นเพียงการแสดง (performance) เท่านั้น นอกจากนั้นด้วยการเป็นคนชายขอบทำให้พวกเขาไปสนใจในสิ่งที่สังคมไม่ได้ให้ค่านักอย่างเช่น ศิลปะแบบ kitsch อันชนชั้นศิลปะอยู่ระดับที่ต่ำกว่า (เราส่วนใหญ่คงไม่ได้ให้ค่าสินค้าเลียนแบบมากกว่าภาพวาด Mon Lisa หรอกจริงไหม?)
เราสามารถบอกได้ว่า camp คือศิลปะที่ถ่ายทอดอัตลักษณ์ที่ซุกซ่อนออกมาได้มากขึ้น
ผลงานภาพยนตร์ที่ 'camp' นอกจากหอแต๋วแตกแล้ว ภาพยนตร์อย่าง Charlie's Angels 2 ภาคแรกก็ถือว่าเป็น camp, Moulin Rouge! ที่ Nicole Kidman แสดงนำก็นับ เพียงแต่จะประเภทหนึ่งของงาน camp คือ pop camp คือไม่ได้ตั้งใจ camp... งานที่ตั้งใจให้ camp ก็ยกตัวอย่างเช่น Pink Flamingos หรือผลงานแต๋วหนีผีที่เราเห็นกันนั่นแหละ
ยังคงมีรายละเอียดมากมายเกี่ยวกับศิลปะแขนงนี้ เอาเป็นว่าเราต้องมองว่าหากเรามองภาพยนตร์คืองานศิลปะ ดังนั้นการจะมองด้วยแว่นว่า "ต้องสนุก" "สมจริง" เท่านั้นอาจทำให้เกิดการตีกรอบประเภทของความงามทางศิลปะ (aesthetics) เรื่องความชอบไม่ชอบก็ละไว้ในฐานที่เข้าใจ แต่ภาพยนตร์มีกลวิธีมากกว่าวิธีสองวิธี ยิ่งรู้มากยิ่งเข้าใจมากขึ้นว่าศิลปะมันแทบจะไร้ขอบเขตประเภทในการสร้างสุนทรีย์ (แต่เรื่องถูก-ผิดทางศีลธรรมและรับผิดชอบต่อสังคมเนี่ยค่อยคุยกันอีกทีนะ555555)
#movietwit
#art
#หนัง
#Movieจิปาถะ
#movie
น้ำนิ่งฯ
Report
Views
@RT
–
น้ำนิ่งฯ
View Story
subscribe
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in