แนวทางการกำกับดูแลตนเองของสื่อในประเทศไทยต้องถือว่าเป็นแนวทางใหม่แม้ว่าจะมี การกล่าวถึงจรรยาบรรณหนังสือพิมพ์มานานแล้ว แต่ในขั้นตอนการปฏิบัติจริงจรรยาบรรณที่ พยายามเขียนไว้นั้นก็ไม่เคยปรากฎว่าใช้บังคับได้อย่างได้ผลแต่อย่างใดไม่เว้นแม้แต่กรณีของ หนังสือพิมพ์มติชนที่เกิดเมื่อกันยายน พ.ศ. 2554 ทีมมติชนและสื่อในเครือได้ยื่นลาออกจากการเป็นภาคีสมาชิกของสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติเมื่อปรากฎเป็นข่าวพัวพันกับการรับประโยชน์ และในหนังสือลาออกก็ได้กล่าวอ้างว่า หลักการของการส่งเสริมเสรีภาพควบคุมกันเอง และยกระดับวิชาชีพมิได้รับการรงรักษารวมถึงสื่ออื่นในหมู่ภาคีสมาชิกได้ยอมตัวเป็นเครื่องมือ การเมืองเมื่อสื่อที่มีปัญหาลาออกจากองค์กรวิชาชีพโดยที่องค์กรวิชาชีพไม่สามารถทำอะไรได้กรณีนี้ จึงเป็นตัวอย่างที่เห็นชัดตัวอย่างหนึ่ง ของความไม่สำเร็จในการกำกับดูแลกันเองที่สะท้อนผ่านสื่อหนังสือพิมพ์ที่เก่าแก่ ดังนั้นในกรณีของสื่อวิทยุโทรทัศน์ที่เป็นสื่อใหม่กว่าและมีการรวมตัวกันในลักษณะสถาบันวิชาชีพมาไม่นาน การบังคับใช้จรรยาวิชาชีพจึงยิ่งเป็นไปไม่ได้เนื่องจาก "สื่อ" ในเชิงทฤษฎีสากลนั้น สามารถสร้างผลกระทบอย่างรุนแรงหากผู้เป็น เจ้าของหรือผู้ครอบครองสื่อ (Ownership) นำไปใช้ในทางไม่เหมาะสมหรือได้รับสิทธิพิเศษจากการกำกับดูแลย่อหย่อนและไม่อยู่ภายใต้เกณฑ์มาตรฐานเดียวกับผู้ประกอบการรายอื่นในกิจการเดียวกันพิรงรอง รามสูต รณะนันทน์ (2546) กล่าวว่าปัญหาของกลไกการกำกับดูแลเนื้อหาของสื่อวิทยุและโทรทัศน์ไทยคือ การขาดกลไกที่มีประสิทธิภาพในการดูแล ติดตาม และตรวจสอบ ผลกระทบของโครงสร้างความเป็นเจ้าของโดยรัฐและลักษณะทางธุรกิจโทรทัศน์มีผลต่อเนื้อหาและการขาดเอกภาพ ทางอุดมการณ์วิชาชีพของผู้ประกอบอาชีพวิทยุและโทรทัศน์ มีองค์กรภาคประชาสังคมหลายองค์กรที่เข้ามามีกบาทในการสร้างความตระหนักรู้ในเรื่องความรู้เท่าทันสื่อ เชนสสส. มูลนิธิอินเทอร์เน็ตร่วมพัฒนาไทย เป็นต้นและปัจจุบันมีการผลักดันให้ จัดตั้ง"องค์กรเพื่อคุ้มครองผู้บริโภคด้านสื่อในประเทศไทย"โดยมีแผนงานสื่อสุขภาวะเยาวชน (สสย.)ซึ่งเป็นแผนงานภายใต้นโยบายของสำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพและสร้างความร่วมมือระหว่างภาคีเพื่อให้องค์กรของผู้บริโภคสื่อที่ทำหน้าที่ในการปกป้องคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภครวมทั้งการส่งเสริมพัฒนาให้เกิดสื่อที่สร้างสรค์และส่งเสริมการรู้เท่ทันสื่อในสังคม
สนับสนุนโดย 918kiss
นอกจากนี้มีมูลนิธิสื่อมวลชนศึกษา (Foundationfor Media Literacy) จัดทำโครงการเสริมสร้างสื่อมวลชนศึกษาเพื่อสุขภาวะ (media monitor) เพื่อกระตุ้นผู้รับสื่อและสังคมให้ตื่นตัวสนใจในการศึกษาวิเคราะห์เนื้อหาที่สื่อมวลชนนำเสนอ และการกำหนดประเด็นที่จะศึกษาทีสอดคล้องกับสภาพปัญหาและความสนใจในเรื่องสื่อของสังคมรวมทั้งสถานการณ์สำคัญของประเทศ เพื่อพัฒนาศักยภาพแห่งความรู้ความเข้าใจสื่อ (MediaLiteracy) รวมทั้ง ยังมีการจัดตั้งแหล่งเรียนรู้เท่าทันสื่อและสารสนเทศแห่งประเทศไทย (Media and Information LiteracyThailand) เพื่อขับเคลื่อนและรณรงค์เกี่ยวกับการรู้จักใช้สื่อรู้ใช้สารอย่างสร้างสรรค์เพื่อสร้างสังคมความรู้ให้กับ ชุมชนทุกกลุ่มทั่วประเทศนอกจากนี้มีผลงานวิจัยและเอกสารผยแพร่ที่เกี่ยวข้องกับเรื่องความรู้เท่าทันสื่ออยู่บ้างได้แก่ การศึกษาวิจัยเรื่อง เด็กกับการรู้เท่าทันสื่อโทรทัศน์ ของ เมสิริณ ขวัญใจ(2551) พบว่า เด็กมีทักษะ และความสามารถในการวิเคราะห์ตีความหมาย และประเมินคุณค่าเนื้อหารายการโทรทัศน์ทุก ประเภทได้อีกทั้งมีการศึกษาเรื่องการสื่อสารมวลชนในบริบทต่าง ๆที่เกี่ยวข้องกับการรู้เท่าทันสื่อพบว่าความตระหนักในผลของกระบวนการสื่อสารมวลชนในลักษณะผลกระทบและอิทธิพลที่มีต่อบุคคลและสังคม จนเกิดความตื่นต้ในการให้การศึกษาเรื่องสื่อ (MediaEducation)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in