เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
movies statecerealqute
The raincoat killer : รัฐกับฆาตกร




  •          ในบทความรีวิวสารคดี The raincoat killer ผลงานของ Netflix ผู้เขียนไม่ได้ต้องการจะบอกถึงคุณงามความดีของฆาตกรแต่หากอยากชวนทุกท่านมาลองชมสารคดีที่ทำให้เรามองเห็นถึงการปรับตัวของหน่วนงานรัฐในเกาหลีใต้ที่มีประสิทธิภาพในการจัดการปัญหาอาชญกรรมอย่างฆาตกรต่อเนื่องและเป็นประเทศประชาธิปไตยที่น่าศึกษาในแง่ของการปรับตัวและทำงานเพื่อป้องกันการวิพาษณ์วิจารณ์จากสื่อและสังคม ทำให้เราผู้เขียนได้ตกตะกอนขบคิดว่าแล้วประเทศไทยหากเกิดเหตุการณ์ดังกล่าวนั้นเราควรศึกษากรณีตัวอย่างและนำสิ่งใดไปปรับใช้เนื่องจากเราไม่รู้จิตใจของมนุษย์และอนาคตโลกของหลังโควิด 19 ที่ช่องว่างโครงสร้างทางสังคมเริ่มห่างมากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดและในสภาพดังกล่าวจิตใจของมนุษย์จะแปรเปลี่ยนเป็นสิ่งใดและจะเกิดช่วงเวลาที่น่าหวาดผวาในสังคมใดๆหรือไม่

         The raincoat killer เป็นสารคดีที่ตีแผ่การทำงานของตำรวจและระบบนิติเวชในการตามล่าหาฆาตกรต่อเนื่องที่สะเทือนประวัติศาตร์เกาหลีใต้อย่าง ยูยองชอล โดยเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นในปี 1997 ซึ่งเป็นช่วงวิกฤติการเงินโลกที่ส่งผลกระทบต่อภูมิภาคเอเชียตะวันออกและเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ส่งผลให้เกิดปัญหาทางเศรษฐกิจคนตกงานและเกิดช่องว่างของโครงสร้างทางสังคม โดยในช่วงเวลาดังกล่าวเกาหลีใต้ได้เกิดปัญหาทางสังคมมากมายอาทิ โจรกรรม การปล้น ลักพาตัวเรียกค่าไถ และสิ่งที่ไม่เคยเกิดขึ้นในประวัติศาสตร์เกาหลีใต้เลยคือ “ฆาตกรต่อเนื่อง” ที่จะถูกบันทึกไว้ในความทรงจำและประวัติศาสตร์ของเกาหลีอย่าง “ยูยองชอล” 

              ฆาตกรเสื้อกันฝนหรือยูยองชอล เป็นหนึ่งในความวิปริตและบิดเบี้ยวของสภาพจิตใจที่อาจจะเป็นที่ยีนส์ของเขาหรือโครงสร้างทางสังคมหรือสภาพแวดล้อมเราก็ไม่อาจจะโทษปัจจัยอันใดอันหนึ่งได้อย่างมากนักในการจะบอกว่าคนๆหนึ่งเป็นแบบนี้เพราะอะไร เขาอาจได้เป็นนักวาดการ์ตูนชื่อดังที่ตนเองใฝ่ฝันแต่สุดท้ายก็จบลงที่ฆาตกร ในสารคดีนั้นได้เปิดเผยบันทึกและภาพวาดของเขาที่อิงถึง เสียงกระซิบในหัวที่กระตุนให้ตัวเขาออกล่าโดยใช้ค้อนในการทุบศีรษะเหยื่อก่อนจะชำแหละและนำใส่ถุงเดินออกมายามราตรี เหยื่อของเขาส่วนมาเป็นโสเภณีสาวซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวอาชีพการค้าบริการได้เกิดขึ้นมากในเกาหลีใต้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจแม้จะผิดกฎหมายแต่มาเฟียและตำรวจต่างก็อยู่เบื้องหลังของธุรกิจค้าประเวณี การที่โสเภณีสักคนสองคนหายไปไม่ใช่เรื่องแปลกและไม่มีใครคิดจะสนใจทำให้เป็นเหยื่อของยูยองชอลส่วนมากคือกลุ่มดังกล่าว
     
                ในช่วงเวลาดังกล่าวศาสตร์ของการวิเคราะจิตใจของฆาตกรยังไม่บูมมากและไม่เป็นที่รู้จักนักแต่ในสารคดีดังกล่าวได้ให้การสัมภาษณ์นักจิตวิเคราะห์อาชญกร (Profiler) คนแรกของประเทศเกาหลีใต้ที่ในช่วงเวลาดังกล่าวได้มีส่วนช่วยเหลือในการทำคดีและในท้ายที่สุดก็ได้ใช้ประสบการณ์ที่ไม่อาจเรียกได้ว่าประสบความสำเร็จในคดีนี้นักมาช่วยในการจับกุมฆาตกรต่อเนื่องของเกาหลีใต้อีกต่อไป ในสารคดีจะเล่าไปถึงการทำงานของตำรวจสืบสวนสอบสวนและนิติเวชหญิงที่ในช่วงเวลาดังกล่าวมีจำนวนน้อยมากและเป็นเพียงคนเดียวในทีมสืบสวน โดยสังคมของเกาหลีใต้ในสมัยนั้นมีลักษณะ ปิตาธิปไตย จึงไม่แปลกที่ตัวเธอเองได้รับคำทักทายว่า “ผู้หญิงมาทำอะไรในที่เกิดเหตุ” แต่สิ่งที่เกิดในช่วงเวลาที่เลวร้ายเหล่านั้นคือหลังจากปิดคดียูยองชอลแล้ว วงการตำรวจและนิติเวชของเกาหลีเกิดการปฏิรูปและพัฒนาครั้งใหญ่จนทำให้ปัจจุบันสามารถปิดคดีได้ถึง 98-99% รวมทั้งกฎหมายล่าสุดที่ออกมาให้คดีความเก่าไม่หมดอายุความทำให้ตำรวจเกาหลีสามารถรื้อคดีที่นานมาแล้วนำมาสืบสวนใหม่จนสามารถปิดคดีได้ ซึ่งความสำเร็จที่ว่าก็ต้องขอบคุณการพัฒนาของระบบนิติเวชที่ก้าวหน้ามากขึ้น สามารถดูช่วงเวลาดังกล่าวได้จากภาพยนตร์เรื่อง the memorie of murders (2003) ซึ่งคดีในภาพยนตร์ดังกล่าวพึ่งสามารถจับฆาตกรตัวจริงได้ในปี 2019 โดยใช้ความสามารถของระบบนิติเวชที่ทันสมัย

        อันที่จริงแล้วสิ่งที่น่าสนใจคือสารคดีดังกล่าวได้บอกเล่าถึงความล้มเหลวและระบบราชการที่มีตำแหน่งและการเลื่อนยศเป็นแรงจูงใจในการปฏิบัติงานจนส่งผลให้รูปคดีนั้นล่าช้ากว่าที่ควรจะเป็นความอาวุโสในระบบสังคมเกาหลีรวมไปถึงเส้นสายบังคับบัญชาในกรมตำรวจการบังคับให้ฆาตกรยอมรับผิดในคดีที่ไม่ได้ก่อเพื่อผลงานและการละเมิดสิทธิของฆาตกรตั้งแต่การทำร้ายร่างกายไปจนถึงข่มขู่มีผลทำให้การจับกุมผู้ร้ายเพื่อความปลอดภัยของพลเมืองนั้นอาจไม่ใช่สาเหตุหลักของการจับกุมหากแต่เป็นเส้นสายและตำแหน่งต่างหากจุดนี้ไม่ต่างอะไรกับบ้านเราที่มีระบบราชการและการเล่นเส้นสายรวมทั้งความละโมบในตำแหน่ง

     ในสารคดีนั้นไม่ได้ทำให้เราเห็นแต่แต่เหยื่อและฆาตกรอย่างเดียวแต่ยังให้ความสนใจไปที่ผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวอย่างครอบครัวของเหยื่อ น้องชายของผู้ตายรายหนึ่งได้ชีชีวิตอันทรมานจากการจากไปของพี่ชายโดยพยายามการุณฆาตหลายครั้งและบอกเล่าเรื่องราวที่เจ็บปวดใจจากการเป็นหนึ่งในครอบครัวอีกหลายครอบครัวที่ถูกฆาตกรรมโดยยูยองชอล ซึ่งเกาหลีใต้ก็ได้มีนโยบายที่จัดตั้งการดูแลครอบครัวของเหยื่อในด้านการให้ความช่วยเหลือด้านสภาพจิตใจและให้ความช่วยเหลือกลุ่มคนเหล่านี้จนถึงปัจจุบัน 

     ดังนั้นการเกิดฆาตกรเสื้อกันฝนหรือยูยองชอลทำให้หน่วยงานรัฐของเกาหลีใต้ได้พัฒนาและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเพื่อการจับตัวคนร้ายและอาชญากรจนกล่าวได้ว่าเป็นเหมือน FBI สาขาตะวันออกและผู้เขียนจะทำการรีวิวซีรียส์น้ำดีอย่าง Mouse ต่อไปในประเด็นที่ว่าแล้วรัฐนั้นควรจัดการกับชีวิตของฆาตกรมากขนาดไหน? ซึ่งเป็นประเด็นที่กระทบไปยังศีลธรรมของมนุษย์
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in