เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
เรียนรู้..เติบโต..บอกเล่าEndless
มองแฟชั่นผ่านการเมือง
    • จะเป็นอย่างไรหากแฟชั่นกับการเมืองมีความเชื่อมโยงกันโดยตรง
    • คำนิยามของแฟชั่นในมุมมองปรัชญาบอกอะไรกับเราได้บ้าง
    • การแพร่ขยายในลักษณะ Trickle down แสดงถึงความเหลื่อมล้ำทางชนชั้นจริงหรือไม่  

         เมื่อได้ยินชื่อเรื่องหลายคนคงมีคําถามในใจว่า แฟชั่น กับ การเมือง เกี่ยวข้องกันอย่างไรและมันสามารถเชื่อมโยงกันได้ด้วยหรือ ในบทความนี้เราได้นํามุมมองหนึ่งมาบอกเล่าเพื่อให้ทุกคนเห็นความเชื่อมโยงระหว่างแฟชั่นกับการเมืองโดยเล่าผ่านประเทศที่มีความน่าสนใจอย่างมากอย่าง เกาหลีเหนือ ที่มีระบอบการปกครองทางด้านการเมืองและอุดมการณ์แตกต่างจากเกาหลีใต้อย่างสิ้นเชิง สิ่งนี้เป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้เกิดความขัดแย้งระหว่างเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้มาตลอด แต่ในช่วงเดือนเมษายน ปี พ.ศ. 2561 ได้มีบันทึกหน้าใหม่ เมื่อผู้ นําเกาหลีเหนือและเกาหลีใต้ประกาศยุติความขัดแย้งที่มีร่วมกันมานานกว่า68ปี โดยการจับมือกันที่เขตชายแดนของทั้งสองประเทศ แต่ถึงอย่างนั้นในเรื่องของวิถีการดําเนินชีวิต วัฒนธรรมของทั้งสองก็ไม่ได้มีแนวโน้มว่าจะคล้อยตามกันหรือคล้ายคลึงกันซะทีเดียว



         เกาหลีเหนือ เป็นประเทศที่มีระบบเศรษฐกิจแบบสังคมนิยม ในนิยามว่ากันว่าเป็นระบบที่จะนํามาซึ่ง ความเท่าเทียมกันของสังคมและมีความยุติธรรมในการจัดสรรทรัพยากร ประชาชนในประเทศเป็นลูกจ้างรัฐเกือบทั้งหมดไม่มีคนรวยคนจนนี่เป็นเหตุผลที่ตึกรามบ้านช่องในเกาหลีเหนือมีหน้าตาคล้ายคลึงกันหมดไม่มีตึกไหนโดดเด่นเป็นพิเศษ ทุกอย่างดําเนินไปภายใต้การควบคุมของรัฐทั้งสิ้นและสิ่งที่เราต้องการจะพูดถึง คือการแต่งกายของคนในประเทศเกาหลีเหนือที่ทุกคนจะมีเครื่องแบบและการแต่งกายไปในทิศทางเดียวกันหมดไม่ค่อยมีความหลากหลายหากเทียบกับเกาหลีใต้หรือ
    ประเทศอื่นๆ มันเป็นไปได้ยากมากที่คุณจะเห็นผู้หญิงใส่เสื้อสายเดี่ยวหรือกระโปรงที่สั้นเหนือเข่าหรือแม้แต่การสวมกางเกงยีนส์ของคนในประเทศนี้ยังพบเจอได้ยากมากหรือแทบไม่มีเลยก็ว่าได้ เมื่อคุณพิมพ์คําว่า เกาหลีเหนือ แฟชั่นเกาหลีเหนือ หรืออะไรในทํานองนี้ จะพบว่าการแต่งกายจะมีกลิ่นอายของยุค80-90อยู่มาก ซึ่งนั่นนับเป็นสเน่ห์อย่างหนึ่ง แต่คําถามที่น่าสนใจต่อประเด็นนี้ คือ อะไรที่ทําให้คนในประเทศเขามีการแต่งกายไปในทิศทางเดียวกันหมด ? ซึ่งคําตอบของคําถามนี้คือจุดเชื่อมโยงระหว่าง แฟชั่นกับการเมือง



               "การเมืองการปกครองไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนในสังคม                   แถมยังเป็นตัวกําหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมอีกต่างหากและไม่ได้มีผลแค่การกิน     การอยู่แต่มันรวมไปถึงการแต่งกายด้วย" 

              
             ถึงแม้เกาหลีเหนือจะใช้ระบบสังคมนิยมที่บอกว่าทุกคนมีความเท่าเทียมไม่มีจนไม่มีรวยแต่ระบบการปกครอง ของเกาหลีเหนือนับได้ว่าลิดรอนสิทธิมนุษยชนมากเลยทีเดียวไม่ว่าจะเป็นการห้ามเสพสื่อที่มาจากต่างประเทศ ต้องฟังเพลงที่มีความหมายเทิดทูนท่านผู้นําเท่านั้น และยังมีข้อห้ามอื่นอีกมากมายที่ตีกรอบและจํากัดสิทธิ สิ่งพวกนี้ทําให้คนในประเทศเกาหลีเหนือส่วนใหญ่ไม่รับรู้เกี่ยวกับโลกภายนอก รวมไปถึงการแต่งกายด้วย แล้วการแต่งกายหรือเทรนด์ต่างๆพวกเขาได้รับอิทธิพลมาจากไหนกัน 
    คําตอบคือ ท่านผู้นําของพวกเขาหรือที่เราทุกคนรู้จักกันในชื่อ คิมจองอึน นั่นเอง จะเห็นว่าการเมืองการปกครองไม่ใช่เรื่องไกลตัวของคนในสังคมเลยแถมยังเป็นตัวกําหนดวิถีชีวิตของคนในสังคมอีกต่างหากและไม่ได้มีผลแค่การกินการอยู่แต่มันรวมไปถึงการแต่งกายด้วย คนในประเทศเกาหลีเหนือไม่สามารถเข้าถึงเทรนด์อื่นๆได้เลยนอกจากเทรนด์ที่มาจากท่านผู้นําหรือสิ่งที่ท่านผู้นําต้องการให้ทําตามเท่านั้นเรียก ได้ว่าเป็นการมีระเบียบบนความตลกร้ายอย่างหนึ่ง ซึ่งแตกต่างจากรูปแบบการปกครอบในระบบอื่นที่มีความเสรีนิยมให้สิทธิกับคนในประเทศทั้งเรื่องของการแต่งกายและการใช้ชีวิตจึงเป็นสาเหตุให้เกิดเทรนด์ใหม่ๆและความหลากหลายขึ้นซึ่งหาได้ยากในเกาหลีเหนือ



           

           "แฟชั่นมีอิทธิพลในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านคุณธรรม ดนตรี รวมไปถึงวิถีชีวิต หรือแฟชั่นนั้นแทบจะหมายถึงทุกสิ่งอย่างที่เราจับต้องได้"

          

           แฟชั่นนั้นสําคัญไฉน ตามมุมมองของ Adam Smith ในปรัชญาแฟชั่นได้ให้นิยามของแฟชั่น         ไว้ว่า "แฟชั่นมีอิทธิพลในหลายด้านไม่ว่าจะเป็นด้านคุณธรรม ดนตรี รวมไปถึงวิถีชีวิต หรือแฟชั่นนั้นแทบจะหมายถึงทุกสิ่งอย่างที่เราจับต้องได้"  เพราะฉะนั้นคนในแต่ละท้องถิ่นมีแฟชั่นหรือการแต่งกายอย่างไรมันก็สะท้อนให้เห็นวิถีชีวิตและแนวคิดของคนในท้องถิ่นนั้นๆด้วย ดังเช่นการแต่งกายของคนในประเทศเกาหลีเหนือที่กําลังสะท้อนความคิดบางอย่างให้เราได้เห็น หากแฟชั่นของผู้ชายมาจากท่าน     ผู้นําสูงสุดแฟชั่นของผู้หญิงก็ได้รับอิทธิพลมาจากภรรยาของผู้นําเช่นกัน เช่น เสื้อ ที่กลายมาเป็นที่นิยมในภายหลังอย่าง Polka dot หรือลายจุดที่นาง รีซอลจู ภรรยาของท่านผู้นํามักใส่ออกงาน สาธารณะอยู่บ่อยครั้งทําให้เป็นที่ต้องตาต้องใจจนมีการนํามาใส่ตามอย่างแพร่หลายและผู้หญิงเกาหลีเหนือมักมี     ไอเทมคู่ใจอย่างรองเท้าส้นสูงและร่มลายลูกไม้ที่นิยมกันมากๆ ที่สําคัญไอเทมที่ต้องมีทั้งหญิงและชายขาดไปไม่ได้เลย นั่นคือ เข็มกลัดท่านผู้นําที่ต้องมีปักอกตลอดเพื่อแสดงถึงความจงรักภักดีต่อท่านผู้นํา 


     การแต่งกายที่ดูไม่สากลไม่แฟชั่นหมายความว่าคนในประเทศเกาหลีเหนือไม่สนใจแฟชั่นงั้นหรือ?  Choe Un Jong พนักงานขายที่ห้างสรรพสินค้าได้ให้ คําตอบในบทความ แฟชั่นเกาหลีเหนือของ Kate Whitehead ว่า “ในเกาหลีเหนือผู้หญิงใส่ใจแฟชั่นพวกเขาใส่ใจเกี่ยวกับสไตล์และมีความมั่นใจ แต่แทนที่จะติดตามเทรนด์แฟชั่นจากแบรนด์ต่างประเทศชั้นนําพวกเขาสร้างสไตล์ของตัวเองที่เหมาะกับบุคลิกของพวกเขาจริงๆ” แต่ในอีกมุมหนึ่งจาก Nara Kang ผู้อพยพจากเกาเหนือมายังเกาหลีใต้ได้ ให้ความเห็นว่า “ฉันไม่สามารถไว้ผมอย่างที่ฉันต้องการได้ ใส่กางเกงยีนส์ก็ไม่ได้ ใส่เสื้อยืดที่มีตัวอักษรภาษาอังกฤษก็ไม่ได้ซึ่งในการที่ฉันเป็นวัยรุ่นฉันก็อยากที่จะแต่งตัวให้ตัวเองดูดีที่สุดนี่คือสิ่งที่ฉันไม่ชอบในการใช้ชีวิตที่นั่น” เพราะในเกาหลีเหนือนอกจากการใช้ชีวิตและการแต่งกายที่ต้องอยู่ในแบบแผนที่มีทางเลือกไม่มากแล้ว ทรงผม ยังมีข้อกําหนด และทรงบังคับอีกด้วย โดยผู้หญิงมีให้เลือก 18 ทรงแถมยังมีการตั้งกฎให้ทรงผมของผู้หญิงเป็นสิ่งบ่งบอกสถานภาพ ของผู้หญิงคนนั้นว่าแต่งงานแล้วหรือไม่ด้วย โดยผู้หญิงที่แต่งงานแล้วจะไว้ทรงผมสั้น ส่วนยังไม่ได้แต่งงานรวมทั้งเด็ก ๆนั้น จะสามารถไว้ผมยาวได้ ส่วนผู้ชายมีให้เลือกเพียง10 ทรงเท่านั้นและในภายหลังช่วงพ.ศ.2015 ได้มีการ ออกกฎที่สั่งให้ชายหนุ่ม ต้องตัดผมทรงเดียวกับท่านผู้นํา คิมจองอึน เพื่อเป็นการแสดงความจงรักภักดีต่อท่านผู้นําอีกด้วย   ความคิดของแต่ละบุคคลก็แตกต่างกันออกไปบางคนคิดว่าที่นี่ตอบสนองต่อการดําเนินชีวิตของเขา แต่สําหรับบางคนที่นี่ก็ไม่ใช่พื้นที่สําหรับเขา


             

         “ในเกาหลีเหนือผู้หญิงใส่ใจแฟชั่นพวกเขาใส่ใจเกี่ยวกับสไตล์และมีความมั่นใจ แต่แทนที่จะติดตามเทรนด์แฟชั่นจากแบรนด์ต่างประเทศชั้นนําพวกเขาสร้างสไตล์ของตัวเองที่เหมาะกับบุคลิกของพวกเขาจริงๆ”


            การแพร่ขยายแฟชั่นของคนในเกาหลีเหนือเรียกได้ว่าเป็น trickle down หรือไม่

    ก่อนอื่นต้องทําความเข้าใจคําว่า trickle down กันก่อน ในปรัชญาแฟชั่นหรือในวงการแฟชั่นเองได้มีคํานี้บรรจุอยู่ด้วยเพื่อใช้อธิบายการแพร่ขยายของแฟชั่นจากชนชั้นบนสุดลงมาสู่ชนชั้นถัดลงมา หากความหมายตามสมัยก่อน ชนชั้นบนสุดเทียบได้กับกษัตริย์ ราชินีและราชนิกุลหรือผู้นําชั้นสูง แต่ในสมัยนี้ไม่ได้หมายถึงคนในชนชั้นเหล่านั้นเพียงอย่างเดียวแต่กลับหมายถึงคนที่มีอิทธิพลทางด้านสื่อหรือคนที่รวยพื้นที่สื่ออย่างที่เราเห็นชัดในปัจจุบันก็คือเหล่า ดารา นักร้องหรือแฟชั่นอินฟลูเอนเซอร์ ที่เมื่อหยิบจับอะไรมาใส่ก็กลายเป็นกระแสตามมาในอีกไม่ช้าทําให้คนในชนชั้นต่างๆหันมาให้ความสนใจในไอเทมเหล่านั้น แล้วคนในประเทศเกาหลีเหนือที่มีแฟชั่นหรือเทรนด์ตามผู้นําและภรรยาของผู้นํา เรียกว่าเป็น trickle down ด้วยหรือไม่ สําหรับเราแล้ว สิ่งนี้เรียกได้ว่าเป็นtrickle down ทั้ง ในความหมายเดิมและความหมายใหม่เพราะ คิมจองอึนและภรรยา เป็นทั้งผู้นําที่ทุกคนให้ความเคารพนับถืออีกทั้งยัง เป็นบุคคลที่รวยพื้นที่สื่อเพราะไม่ว่าจะมองไปทางไหนก็ต้องมีหน้าของท่านผู้นําปรากฏอยู่ตลอดนั่นจึงเป็นสาเหตุที่ทําให้ท่านผู้นําและภรรยามีอิทธิพลต่อคนในประเทศในเรื่องของเทรนด์ต่างๆ เช่น นางรีซอลจูใส่เสื้อลายจุดสีแดงออกงานกับท่านผู้นํา อีกไม่นานเสื้อลายจุดก็ได้รับความสนใจจากผู้หญิงเกาหลีเหนือ แต่ก็ไม่ใช่ทุกเทรนด์ที่คนธรรมดาจะแต่งตามได้ เพราะต้องยอมรับว่าในหลายครั้งนางรีซอลจู ก็ได้รับคําวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากคนในประเทศเช่น กัน เนื่องจากมีภาพการใช้กระเป๋าแบรนด์หรู และมีการแต่งกายที่ออกแนวตะวันตกจนแปลกตาไปจากสาวเกาหลีเหนือทั่วไป แต่เธอก็ได้ชื่อว่าเป็นส่วนหนึ่งในการมอบอิสระให้กับผู้หญิงเกาหลีเหนือที่สามารถสวมถุงน่องสีดําและ รองเท้าส้นสูงได้ รวมถึงอนุญาตให้พวกเขาสามารถขี่จักรยานได้ เช่นเดียวกับท่านผู้นํา ที่มีการไว้ทรงผมไถจอนสองข้างออก แล้วหวีผมเสยขึ้น ทําให้ผู้ชายหลายคนตัดผมทรงนี้ตาม และมีกฎออกมาในภายหลังว่าให้ตัดผมทรงนี้เพื่อเป็นการแสดงถึงความเคารพต่อท่านผู้นํา เป็นต้น


         “ถ้าในสังคมมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นมันจะก่อให้เกิดความเท่าเทียมและส่งผลให้การแพร่ขยายแฟชั่นในลักษณะ trickle down ลดน้อยลง”

             

          สําหรับบางคนมองว่าการแพร่ในลักษณะ trickle down มันแสดงให้เห็นถึงความเหลื่อมล้ํามากเกินไป จะดีกว่าไหมถ้าไม่มีการแพร่ขยายของแฟชั่นในลักษณะนี้ Herbert Spencer นักปรัชญาแฟชั่นได้เสนอนิยามในการ ลดการแพร่ขยายของแฟชั่นในลักษณะ trickle down ว่า “ถ้าในสังคมมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นมันจะก่อให้เกิดความเท่าเทียมและส่งผลให้การแพร่ขยายแฟชั่นในลักษณะ trickle down ลดน้อยลง” ทุกคนมีความคิดเห็นต่อคํานิยามนี้อย่างไร สําหรับเราเองขอเสนอในมุมมอง   ที่ว่า ทุกสังคมย่อมมีความเหลื่อมล้ำกันในทางชนชั้นไม่มากก็น้อยการเข้าถึงในเรื่องต่างๆของคนแต่ละชนชั้นก็แตกต่างกันคนที่มีอํานาจทางการเงินสูงย่อมเข้าถึงทุกสิ่งได้เร็วและดีกว่าคนที่ไม่มีอํานาจทาง การเงิน จึงเป็นไปได้ยากที่การแพร่ขยายในลักษณะ trickle down จะหายไปอย่างสิ้นเชิง แต่การที่สังคมมีความเป็นประชาธิปไตยมากขึ้นอาจจะช่วยให้ trickle down ลดลงตรงที่ว่า เราต่างยอมรับจุดยืนที่แตกต่างของตัวเองและบุคคลอื่นมากขึ้น ไม่ได้ตัดสินตัวบุคคลจากสิ่งที่เขาสวมใส่ หากทุกคนมีทัศนคติแบบนี้ การตามแฟชั่นของคนชนชั้นเหนือกว่าเราเพื่อนํามาซึ่งจุดยืนในสังคมคงลดน้อยลงและหันมาให้ความสําคัญกับจุดยืน ตัวเองมากขึ้น สิ่งที่ Hebert Spencer กล่าวไว้ก็อาจจะถูกต้องก็ได้

         การที่เราหยิบยกประเด็นแฟชั่นผ่านการเมืองขึ้นมาไม่ได้เป็นการตัดสินว่าแฟชั่นของประเทศไหนทันสมัย หรือดีกว่ากัน เพราะรูปแบบการปกครองและการจัดสรรที่แตกต่างกันของแต่ละประเทศมันส่งผลต่อสิ่งอื่นให้แตกต่างกันด้วย สําหรับบางพื้นที่แฟชั่นไม่ใช่แค่การแต่งกายหรือการใช้สิ่งต่างๆเพื่อตามเทรนด์เท่านั้นแต่มันหมายถึงการแสดงออกถึงความเคารพนับถือ แฟชั่นทั้งในด้านเสื้อผ้า เครื่องประดับหรือแม้แต่ทรงผมมันสะท้อนได้หลายอย่างและ การมองแฟชั่นผ่านการเมืองก็เป็นอีกมุมมองหนึ่งที่น่าสนใจทีเดียว


    ภาพ : https://www.telegraph.co.uk/travel/destinations/asia/north-korea/galleries/amazing-   images-of-north-  korea/dprk-pyongyang-945/.                                                                                                           : http://www.fubiz.net/2011/06/03/welcome-to-pyongyang/                                                                                     : https://www.buzzfeednews.com/article/javiermoreno/this-photographer-traveled-to-north-korea-to-show-its-many-f#.bxxLDP8rDq                                                                                                                                             : https://www.independent.co.uk/news/world/asia/north-korea-inside-pyongyangs-annual-fashion-show-9833373.html?amp                                                                                                                       : https://apnews.com/418c2d6d02afceeb3cfca3d7ada77a18/gallery/cc02cb5a3cb342a1acb4530f8e41726c.                   : https://www.dailymail.co.uk/femail/article-3264959/The-natural-beauty-North-Korea-Photographer-takes-stunning-images-women-live-different-world-without-cosmetics-love-wearing-high-heels-colorful-outfits.html.                    : instagram @pierredepont
    อ้างอิง : https://www.silpa-mag.com/history/article_34835                                                                             : https://www.moneybuffalo.in.th/ธุรกิจและเศรษฐกิจ/2-เกาหลี-จับมือกัน                                                              : http://www.popcornfor2.com/content/-news-27466                                                                                : http://www.hongkongkate.com/319/the-north-korean-fashion-customer.htm                                                  : https://www.youtube.com/watch?v=8m2ctpjIhwQ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in