วันศุกร์ที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2563
เวลา 11.00 น.
ณ ห้องพักครูสาขาวิชาวรรณกรรมสำหรับเด็ก
ประเด็นที่คุย
1. หาข้อมูลจากสถานที่จริง เพื่อให้ทราบเด็ก และความเป็นไปได้ในการจัดกิจกรรม
2. หากิจกรรมที่ส่งเสริมทักษะทางภาษาควบคู่ไปกับการคำนวณ (อ่าน เขียน)
3. ลองทำ Action Plan เพื่อไปคุยกับมูลนิธิ หรือสถานสงเคราะห์ (หาไอเดียเสนอความเป็นไปได้ + ถามถึงการปรับใช้ให้เข้ากับเด็กกลุ่มเป้าหมาย)
4. โครงการที่เราทำเป็นโครงการแนวสาธิต ทำประมาณ 2-3 เดือน เพื่อปรับเปลี่ยนทัศนคติเด็กให้มีความรักต่อการเรียนมากยิ่งขึ้น
5. อาจารย์แนะนำหนังสือ "More Story Stretchers : Activities to Expand Children's Favorite Books"
หนังสือเล่มนี้เป็นการแนะนำการจัดกิจกรรมที่ดำสำหรับเด็ก เลือกวรรณกรรมมาหนึ่งเรื่อง สามารถนำมาปรับเป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการเรียนรู้เด็กได้ถึง 12 หน่วยการเรียนรู้
6. กิจกรรมใช้วรรณกรรมเป็นฐาน (อาจารย์ให้ออกไปเขียนความประทับใจ ขั้นตอนการทำงาน และปรับใช้อย่างไร)
ความประทับใจ
- เห็นถึงพลังของวรรณกรรมที่ดี ส่งผลกระทบต่อเด็กทั้งในด้านทักษะทางการอ่าน พูดืฟัง เขียน
- เห็นเด็ก ๆ รักการอ่านมากยิ่งขึ้น
- ความดีเอาชนะความชั่ว เด็กจะสะใจเวลาธรรมมะชนะอธรรม
ขั้นตอนการทำงาน
- สังเกตความสนใจเด็กว่าสนใจนิทานเรื่องใดเป็นพิเศษ
- อ่านนิทานให้เด็กฟัง
- จัดกิจกรรมร่วมกับเด็ก เกี่ยวกับตัวละคร ฉาก และลำดับเหตุการณ์
- ให้เด็กแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสิ่งที่เด็กต้องการจากนิทาน เช่น วาดรูป เอาตุ๊กตามา สร้างฉากตามนิทาน
ปรับใช้
- ทำตามขั้นตอนการทำงาน
- ดูความต้องการของเด็ก
- หารูปแบบกิจกรรมที่ตอบสนองความต้องการ
การบ้านครั้งที่ 2
1. ออกแบบกิจกรรมในฝัน อยากให้ออกมาในรูปแบบไหน (อิงจากหนังสือ More Story Stretchers ได้)
2. ทำบรรณานิทัศน์ หานิทานประมาณ 40 เรื่อง เพื่อคัดมาให้เหลือ 10 เรื่อง
ปล. ถ้าทำกับกลุ่มเป้าหมาย เด็กกำพร้า เด็กเร่ร่อน ไม่แนะนำให้นิทานเกี่ยวกับครอบครัวสุขสันต์ เน้นไปที่นิทานสร้างแรงจูงใจฝ่ายสัมฤทธิ์ (ความภาคภูมิใจในตนเอง สร้างประโยชน์ เป็นต้น)
3. สั่งซื้อหนังสือ More Story Stretchers
4. ขอข้อมูลเกี่ยวกับ "วรรณกรรมบำบัด - Bibliotherapy"
5. ทำบันทึกการทำงานลงใน Blog
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in