(5) การกำหนดรูปแบบของการแต่งกายของนักศึกษา แล้วเทียบกับระเบียบอื่นๆ แล้ว เช่น ระเบียบสำนักอบรมฯ ว่าด้วยการสอบความรู้ชั้นเนติบัณฑิต หรือ ระเบียบฯ ว่าด้วยการเป็นนักศึกษา การสอน การสอบไล่ วินัยและมรรยาท เราตั้งข้อสังเกตว่าระเบียบนี้อาจ “ไม่ได้เป็นระเบียบแบบที่เป็นทางการ” ซึ่งดูเหมือนจะไม่มีผลบังคับใช้และดูไม่น่ากังวล
แต่สถานการณ์ที่เกิดขึ้นคือระเบียบที่ไม่เป็นทางการนี้เป็นสิ่งที่สะท้อนถึงการทำให้กลายเป็นขนบ (normalization) ของสิ่งที่ระเบียบไม่ได้กำหนดไว้ แต่กลับถูกทำซ้ำจนกลายเป็นกรอบพฤติกรรมของผู้คนที่จะมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเรียนในชั้นเนติบัณฑิต
ระเบียบที่ไม่เป็นรูปธรรมเหล่านี้มีอำนาจผ่านการประพฤติอย่างซ้ำๆ แล้วมีผู้ที่คอยกำกับควบคุมตรวจสอบการปฏิบัติตามระเบียบนั้น เพื่อระบุบ่งชี้ว่าใครเป็น “นักกฎหมาย” ใครคือผู้เป็น “นักศึกษา” บรรดาเจ้าหน้าที่สวมบทเสมือนตำรวจที่คอบกำกับการรักษาให้นักศึกษาต้องทำตัวและแสดงตนให้เป็นไปตามกรอบของระเบียบลักษณะเช่นนี้ ผู้ที่ไม่ปฏิบัติตามหรือพยายามจะตั้งคำถามสามารถถูกโจมตีโดยทั้งบรรดาเจ้าหน้าที่หรือน้กกฎหมายผู้ยึดมั่นในขนบธรรมเนียมแบบนี้ พร้อมถูกผลักออกไปให้ไร้ตัวตนจากพื้นที่ของนักกฎหมายได้ กระบวนการเช่นนี้สะท้อนให้ความสำคัญของตัวตนของผู้เป็นนักกฎหมายที่เกิดขึ้นจากการเลือกสรรและกำหนดไว้แล้วในวงการกฎหมาย
เมื่อย้อนทบทวนระเบียบของสำนักอบรมฯ อีกสักครั้ง ข้อ 11 ของระเบียบก็รวบยอดข้อเสนอว่าด้วยกลไกการกลายเป็นขนบ ให้กลายเป็น “เกียรติของนักศึกษา” ที่สะท้อนการกำกับควบคุมตัวตนของนักศึกษากฎหมายด้วย นี่คืออำนาจที่ลื่นไหล ไร้ตัวตน แต่กลับควบคุมตัวตนของเราในพื้นที่ๆ หนึ่งเท่านั้น
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in