หลังจากที่ได้คำความรู้จักกับความแตกต่างระหว่าง "องค์การ" กับ "องค์กร" ไปแล้ว ในตอนที่ผ่านมา ผู้อ่านหลายท่านอาจจะพอเข้าใจความหมายและความต่างของคำทั้ง 2 ขึ้นมาบ้างแล้ว แต่ถ้ายังไม่เข้าใจก็ไม่เป็นไร ก็ขอให้ทิ้งมันเอาไว้กลางทาง และมาเริ่มทำความรู้จักกับ "องค์การระหว่างประเทศ" กันเลยดีกว่า
ในตอนที่ 2 นี้จะว่าด้วยเรื่องของแนวคิดที่ส่งผลหรือก่อให้เกิด แนวความคิดในการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นในโลกกลม ๆ ใบนี้ เพราะถ้าเราย้อนหลับไปอ่านประวัติศาสตร์ในยุคอดีต เราจะพบว่า "องค์การระหว่างประเทศ" นี้แทบจะเป็นสิ่งที่ถูกสร้างขึ้นมาใหม่บนโลก อาจจะยังไม่ถึง 200 ปีเลยด้วยซ้ำไป
สำหรับเนื้อหาในตอนนี้ จะขอพาคุณผู้อ่านไปหาคำตอบว่าเหตุใดองค์การระหว่างประเทศถึงถือได้ว่าเป็นของใหม่ในหน้าประวัติศาสตร์ของโลกใบนี้ และอะไรเป็นปัจจัยที่ทำให้ต้องมีองค์การระหว่างประเทศ อีกทั้งขอบเขตอำนาจหน้าที่ขององค์การระหว่างประเทศนั้นมีขึ้นเพื่อสิ่งใดกัน
หากย้อนกลับไปสักประมาณศตวรรษที่ 1 หรือเอาง่าย ๆ และไม่ต้องไปไกลขนาดนั้น เอาแค่ย้อนกลับไปตั้งแต่มีการก่อตั้งรัฐสมัยใหม่ก็ควพอ ในทางรัฐศาสตร์นับเอาการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่จากการลงนามในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลีย (Treaty of Westphalia) ในปี 1648 พร้อมกับการเกิดเป็น “รัฐสมัยใหม่” (modern state) โดยที่ผู้ครองรัฐต่าง ๆ สามารถกำหนดนิกายศาสนาด้วยตนเอง ไม่จำต้องขึ้นกับศาสนจักรอีกต่อไป เป็นการยุติอำนาจฝ่ายโลกของคริสตจักรโรมันคาทอลิกที่มีมาตั้งแต่ยุโรปสมัยกลาง
การลงนามในสนธิสัญญาเวสฟาเลีย
ผู้ปกครองหรือศูนย์กลางอำนาจของรัฐ จึงมีใช้อำนาจสูงสุดภายในขอบเขตรัฐหรือดินแดนของอิทธิพลของตน คำว่าอธิปไตย (Sovereignty) ในสมัยนั้นจึงมีความมุ่งหมายสำคัญที่ว่าผู้ปกครองฝ่ายโลกหรือกษัตริย์ได้แยกตัวตนออกจากอำนาจของสันตะปาปา รัฐที่ยึดมั่นหลักการนี้จะไม่มีระบบ 2 ผู้นำ คือ ผู้นำศาสนากับผู้ปกครองฝ่ายโลกที่ทับซ้อนกัน ผู้ปกครองฝ่ายโลกมีอำนาจสูงสุดในขอบเขตอิทธิพลทางการเมืองของตน (หรือขอบเขตประเทศหรือดินแดนของตนนั่นเอง) เว้นแต่บางเมืองบางรัฐที่ยังคงอยู่ใต้อิทธิพลของศาสนจักรต่ออีกระยะหนึ่ง
ข้อตกลงสันติภาพเวสฟาเลียยังเป็นที่มาของหลักการไม่แทรกแซงกิจการภายในของอีกฝ่าย เขตแดนกลายเป็นเรื่องสำคัญยิ่งกว่าอดีต เพราะผู้ปกครองแต่ละคนมีอำนาจสูงสุดเหนือดินแดน รวมถึงทุกสิ่งทุกอย่างในดินแดนนั้นด้วย ไม่ว่าจะเป็นประชากร ทรัพยากรต่างๆ
ด้วยข้อตกลงดังกล่าวทำให้มีการเกิดขึ้นของรัฐสมัยใหม่ และในระยะเวลาอีกไม่กี่ร้อยปีต่อมา หลังจากการเกิดขึ้นของสนธิสัญญาเวสฟาเลีย แนวคิดในเรื่องของการไม่แทรกแซงภายในก็ดูจะไม่เป็นผลบังคับใช้ที่มีความศักดิ์สิทธิ์อีกต่อไป
เมื่อโลกได้รู้จักคำว่าการปฏิวัติอุตสาหกรรม ที่ทำให้ประเทศบางประเทศมีความสามารถในการผลิตสินค้าในปริมาณมาก และเมื่อสิ้นค้าสามารถผลิตได้ในปริมาณมากแล้ว ก็มีความต้องการปัจจัยการผลิตที่เพิ่มมากขึ้น ด้วยเหตุนี้ส่งผลให้เกิดการล่าอาณานิคมที่ยิ่งทวีความเข้มข้นมากขึ้น(เริ่มต้นตั้งแต่ ศ.16 ก่อนการปฏิวัติอุตสาหกรรม) ของเหล่าประเทศมหาอำนาจ เพื่อที่จะใช้ประเทศอาณานิคมเหล่านี้เป็นฐานในการผลิตปัจจัยการผลิต เช่น การใช้ประเทศอาณานิคมเป็นพื้นที่ในการปลูกฝ้าย เพื่อส่งฝ้ายมาให้ประเทศเจ้าอาณานิคมท่อเป็นเสื้อผ้าผ่านเครื่องจักรที่ได้มาจากการปฏิวัติอุตสาหกรรม
เครื่องจักรกลในสมันการปฏิวัติอุตสาหกรรม
นอกจากนี้ประเทศเจ้าอาณานิคมยังใช้ประเทศอาณานิคมเป็นฐานลูกค้าที่จะรับซื้อผลผลิตจากประเทศเจ้าอาณานิคมด้วย เช่น หลังจากท่อฝ้ายเป็นเสื้อผ้าเสร็จ ประเทศเจ้าอาณานิคมก็จะส่งเสื้อผ้าไปขายในประเทศอาณานิคม และระบบดังกล่าวก็จะวนเป็นลูบนรกแบบนี้ไปไม่จบไม่สิ้น
แผนที่แสดงประเทศอาณานิคม ค.ศ.1945
ด้วยเหตุแห่งนโยบายการล่าอาณานิคมนี้เองก็ถือได้ว่าเป็นชนวนหนึ่งที่จะจุดกระแสให้เกิดแนนคิดในเรื่องขององค์การระหว่างประเทศที่กำลังจะอุบัติขึ้นมาในโลก
นอกจากเรื่องของการล่าอาณานิคม เพื่อตอบสอนการผลิตสินค้าของประเทศเจ้าอาณานิคมแล้ว อีกชนวนหนึ่งที่ส่งผลให้เกิดแนวคิดเรื่องขององค์การระหว่างประเทศก็คือ เรื่องของการก่อสงครามระหว่างรัฐ
การก่อสงครามระหว่างรัฐนี้ก็เป็นผลพวงอีกอย่างหนึ่งที่เกิดขึ้นมาจากปัจจัยในเรื่องของการล่าอาณานิคม การแย่งชิงทรัพยากร รวมถึงการกีดกันประเทศมหาอำนาจบางประเทศให้ออกจากระบบการผลิตแบบอุตสาหกรรมที่กำลังดำเนินไปอย่างเติบโตในโลกยุคนั้น
นอกจากปัจจัยทั้ง 2 ข้อที่ได้กล่าวไปแล้ว ยังมีอีกปัจจัยหนึ่งที่ถือได้ว่าเป็นชนวนสำคัญที่ก่อให้เกิดเป็นองค์การระหว่างประเทศขึ้นในโลก และยืนหยัดมาจนปัจจุบัน โดยปัจจัยสำคัญอีกข้อหนึ่งก็คือเรื่องของ Borderless หรือเขตแดนของรัฐที่เคยแบ่งกันอย่างชัดเจนแบบในสมัยของสนธิสัญญาเวสฟาเลียนั้นถูกทำให้จางหายไป
Borderless นี่เองที่เป็นการจุดกระแสของแนวคิดการเกิดขึ้นขององค์การระหว่างประเทศขึ้นมาบนโลกอย่างเป็นรูปธรรม ด้วยการที่ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นภายในโลกในช่วงของ ศตวรรษที่ 18-19 เริ่มทวีความรุนแรงของปัญหา ในรูปแบบของปัญหาแบบข้ามเขตแดนของรัฐ ถ้าพูดให้เข้าใจง่ายขึ้นก็คือ ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในช่วงเวลานั้น เป็นปัญหาที่ประเทศใดประเทศหนึ่งไม่สามารถรับมือแต่เพียงผู้เดียวได้อีกต่อไป เช่น ปัญหาเรื่องของสงครามโลก ปัญหาเรื่องของวิกฤติพลังงาน ปัญหาเรื่องของวิกฤติโลกร้อน ปัญหาเรื่องของความมั่นคงทางอาหาร ปัญหาเรื่องของโรคระบาดร้ายแรง ฯลฯ
เมื่อพิจารณาจากปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ ก็จะพบว่าปัญหาต่าง ๆ นั้นเป็นปัญหาที่มีอำนาจทำลายล้างที่แผ่ขยายออกมานอนเหนือดินแดนของรัฐ หรือเป็นปัญหาที่รัฐเพียงรัฐเดียวไม่สามารถรับมือได้ ทำให้เปรียบเสมือนเส้นเขตแดนของรัฐนั้นถูกทำให้จางหายไป (Borderless) และด้วยความที่โลกสมัยใหม่นั้นต้องเผชิญกับปัญหาที่มีอานุภาพการทำลายล้างที่เหนือกว่าอำนาจของรัฐใดรัฐหนึ่งจะจัดการได้ ด้วยเหตุนี้ องค์การระหว่างประเทศ จึงถูกก่อตั้งขึ้นมาเพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ เหล่านี้ที่เกิดขึ้นในโลก
ร่วมไปถึงกระแสโลกชนิดใหม่ที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 20 ที่บรรดานักวิชาการเรียกกันว่า โลกาภิวัตน์ หรือ โลกานุวัตร (globalization) ก็เป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่ยิ่งโหมกระพือให้องค์การระหว่างประเทศมีบทบาทเพิ่มมากขึ้นในโลกปัจจุบัน เพราะกระแสโลกาภิวัตน์ได้ทำให้โลกทั้งใบอยู่ใกล้กันมากกว่าเดิม และกระแสโลกาภิวัตน์ นี่เองที่ได้ทำลายเขตแดงของรัฐลงอย่าสิ้นเชิง (ในแง่ของความรับรู้) ด้วยความที่โลกถูกทำให้เล็กลง ปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นบนโลกจึงถูกพบเห็นได้มากขึ้ง และคนทั้งโลกสามารถมีความรู้สึกรวมกับปัญหาเหล่านั้นได้ง่ายและเร็วขึ้น ด้วยเหตุนี้องค์การระหว่างประเทศจึงยิ่งทวีบทบาทมากยิ่งขึ้นในโลกยุคปัจจุบัน
ปัจจัยต่าง ๆ ที่ได้หยิบยกมานั่นอาจจะเป็นเพียงบางส่วนที่ส่งผลให้เกิดการก่อตั้งองค์การระหว่างประเทศขึ้นในโลก แต่เชื่อเถอะว่าองค์การระหว่างประเทศไม่ว่าจะถูกตั้งขึ้นมาด้วยวัตถุประสงค์ใด หน่วยงานต่าง ๆ เหล่านี้ก็มีเป้าหมายเดียวกัน นั่นคือการแก้ปัญหาที่รัฐเพียงรัฐเดียวไม่สามารถแก้ไขได้อีกต่อไป
แต่ผลการดำเนินงานขององค์การระหว่างประเทศจะเป็นอย่างไรนั้น คุณผู้อ่านอาจจะต้องเป็นผู้ที่ตัดสินด้วยตัวเอง เพราะคนแต่ละคนมีรสนิยมไม่เหมือนกัน มีความคิด ความเห็น ที่ไม่เหมือนกันซะทีเดียว อย่างไรก็ตาม คุณผู้อ่านสามารถติดตามองค์การระหว่างประเทศได้ในตอนต่อ ๆ ไป และคุณผู้อ่านจะเป็นผู้ตัดสินเองว่า องค์การระหว่างประเทศนั้นดีหรือไม่ดีอย่างไรในสายตาของเรา(คุณ)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in