เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
A Pop Culture EditionA'Nikolas
มิถุนา เวียนมา ถึงเวลา เกย์ไพรด์ | ขอเล่าได้ไหมพี่จี้
    • Pride Month คือช่วงเวลาในเดือนมิ.ย. ที่ชาว LGBTQ+ เฉลิมฉลองให้กับสิทธิและความเท่าเทียมทางเพศ
    • อีกทั้งยังเพื่อรำลึกถึงเหตุจลาจลต่อสู้เพื่อความเสมอภาคและการไม่เลือกปฏิบัติของกลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่าง Stonewall Roit ในปีค.ศ. 1969
    • ในงาน LGBTQ+ Pride  ไม่ได้จำกัดเพศหรืออายุ ทุกคนสามารถเข้าร่วมและพร้อมใจใช้สัญลักษณ์ที่มีสีรุ้งเพื่อเฉลิมฉลอง

    จุดกำเนิดการเรียกร้องสิทธิของชาว LGBTQ+

    ภาพเหตุการณ์จลาจลต่อสู้เพื่อศักดิ์ศรีและความเท่าเทียมสำหรับกลุ่ม LGBTQ+
    เมื่อเดือนมิถุนาเวียนมาอีกครั้ง ธงหลากหลายสีถูกโบกสะบัดขึ้นอย่างพร้อมเพียง เพื่อเฉลิมฉลองให้กับเดือนแห่งความสนุกสนาม ดื่มด่ำรสชาติของความเท่าเทียมกันในสังคมของมนุษย์ทุกเพศ และเพื่อสดุดีให้กับการต่อสู้ของพี่น้องชาว LGBTQ+ ที่ต่อสู้ผ่าฟันมาเพื่อสิทธิและความเท่าเทียม หากจะพูดถึง Pride Month ก็คงจะเป็นการยากที่จะไม่พูดถึงเหตุการณ์จุดเริ่มต้น อย่างเหตุการณ์ Stonewall Riots

    เหตุจลาจล สโตนวอลล์ หรืออีกชื่อที่ว่า Stonewall Uprising เกิดขึ้นในวันที่ 28 มิถุนายน 1969 เจ้าหน้าที่ตำรวจของกรมตำรวจนิวยอร์กใช้กำลังบุกเข้าล้อมปราบกลุ่มคนหลากหลายทางเพศในบาร์เกย์ที่ชื่อ Stonewall Inn ในมหานครนิวยอร์ก 

    ในช่วงทศวรรษที่ 1960s ประเทศสหรัฐอเมริกา อย่างเมืองนิวยอร์ก การดำรงอยู่กลุ่ม LGBT นั้นไม่ได้เป็นที่ยอมรับในสังคมและการกระทำบางอย่างเป็นสิ่งขัดต่อกฏหมาย ตัวอย่างเช่นการ การแต่งการไม่ตรงตามเพศสภาพ และการจับมือ กอดจูบระหว่างผู้มีเพศสภาพเดียวกันสามารถเอาผิดได้ ดังนั้นชาว LGBTQ+ จึงมีเหล่าบาร์หรือคลับต่างๆเป็นที่พักใจไว้ปลดปล่อยตัวตนอย่างเปิดเผย โดยไม่ต้องมีอะไรมากั้น 

    จุดพลิกพลันอันนำไปสู่เหตุจลาจลต่อสู้กับการกระทำอย่างเลือกปฏิบัติ นั้นคือ เมื่อ Marsha P. Johnson สาวข้ามเพศผิวสี ขว้างขวดใส่กระจก แต่ตะโกนบอกพวกตำรวจว่า “I got my civil rights!” (ฉันก็มีสิทธิและเสรีภาพ) ทำให้เกิดการลุกฮือของกลุ่มคนหลากหลายทางเพศ ไม่เพียงแค่เกย์ แต่ยังรวมไปถึง เลสเบี้ยนและหญิง-ชายข้ามเพศ แม้กระทั้งชาวเมืองที่อาศัยในละแวกใกล้เคียง ผู้คนหลายร้อยคนร่วมแรงลุกขึ้นต่อต้านการกดขี่และการกระทำรุนแรงของตำรวจ ผู้คนเริ่มขว้างปาสิ่งของที่หาหยิบได้ จนเกิดเป็นจลาจลปะทะกับเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งกินระยะเวลายาวนานถึงหกวัน

    ภาพของ Marsha P. Johnson แดร็กควีนผิวสีและนักต่อสู้เพื่อสิทธิของกลุ่ม LGBTQ+
    การเปร่งเสียงและขัดขืนไม่ยอมจำนนต่อการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรม ซึ่งขัดต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนนั้นวันนั้น ได้ตกทอดมรดกทางการต่อต้านการเลือกปฏิบัติในทางสังคมและทางการเมืองที่จุดประกายความสามัคคีในหมู่กลุ่มผู้มีความหลากหลายทางเพศมายาวนานหลายทศวรรษ ร่วมถึงยังก่อให้เกิดองค์กรสำหรับกลุ่ม LGBTQ+ ที่ต่อสู้เพื่อศักด์และศรีของการเป็นผู้มีความหลากหลายทางเพศ อย่าง Gay Liberation Front, GLAAD และ PFLAG

    ธงสีรุ้งปลิวไสวบนท้องฟ้าวันใหม่

    หากจะพูดถึงช่วง Pride Month ก็คงจะไม่พูดถึงหนึ่งสัญลักษณ์ที่เห็นจนชินตาไปแล้วอย่าง "ธงสีรุ้ง"
    โดยธงสีรุ้งนั้นก็มีหลากหลายเวอร์ชั่น และเวอร์ชั่นออริจินอลที่เห็นบ่อยๆ ก็คงเป็นธงสายรุ้ง 8 แถบ หรือที่เรียกว่า Gilbert Baker Pride Flag โดยธง 8 แถบนี้ถูกออกแบบโดย Gilbert Baker ในปี 1978 ธงนี้ถูกโบกสะบัดประกาศศักดาสู่สายตาชาวโลกครั้งแรกในงาน Gay Freedom Day Parade ที่เมืองซานฟรานซิสโก โดย 8 แถบสีบนธงก็ยังตัวแทนของความหมายต่างๆ 


    • ชมพูฮอตพิงก์  หมายถึง  เพศ
    • แดง                   หมายถึง  ชีวิต
    • ส้ม                     หมายถึง  การเยียวยา
    • เหลือง               หมายถึง  แสงอาทิตย์
    • เขียว                 หมายถึง  ธรรมชาติ
    • เทอร์ควอยซ์     หมายถึง  ศิลปะและเวทย์มนต์
    • คราม                หมายถึง  ความกลมเกลียว
    • ม่วง                  หมายถึง  จิตวิญญาณ


    โดยภายหลังจากการเปิดตัวธงของ Baker ไปในปี 1978 ธงสีรุ้งในปีต่อๆมานั้นเหลือเพียงเเค่ 6 สี หรือในชื่อ 6 Striped LGBTQ+ Pride Flag โดยมีการตัดสีชมพูฮอตพิงก์และสีเทอร์ควอยซ์ออก เนื่องจากเป็นสีพิเศษที่ยากต่อการผลิต

    ในปัจจุปันธงสีรุ้งที่เราคุ้นตาที่สุด คงเป็นธงสีรุ้ง 6 แถบ และมีมุมเหลี่ยมทาบทับ ที่เรียกว่า Progress Pride Flag ถูกออกแบบโดย Daniel Quasar ธงพื้นนี้เป็นธงที่แสดงถึงความเท่าเทียมและการรวมเป็นหนึ่ง โดยมีพื้นฐานมากจากธง 6-Striped LGBTQ+ Pride Flag และได้เพิ่มแถบสีชมพู สีฟ้าและสีขาว ที่เป็นสีแสดงตัวตนของกลุ่ม Transgender และแถบสีน้ำตาลและสีดำที่เป็นสีแทนของความหลากหลายทางสีผิวและกลุ่มคนที่กำลังเผชิญหน้ากับ HIV และ AIDS 


    LGBTQ+ กับวงการ Hollywood

    ในช่วงหลายต่อหลายปีมานี้ วงการ Hollywood แง้มบานประตูต้อนรับชาว LGBTQ+ ให้ได้มีโอกาสบอกเล่าเรื่องราวของพวกเขาบนจอเงิน อีกทั้งยังได้รับเสียงตอบรับในด้านวิจารณ์และด้านรายรับ อย่างเช่น

    Paris Is Burning (1990)

    ก่อนจะมี RuPaul Drag Race และ Pose นั้นมี Paris Is Burning สารคดีของเจนนี่ ลิฟวิงสตันถ่ายทอดในช่วงปลายทศวรรษ 1980 เล่าถึงยุคทองของวัฒนธรรมแดร็กบอลในนิวยอร์กซิตี้ และยังเหล่าถึงเรื่องราวของกลุ่มคนผิวดำ ละติน และเควียร์ในช่วงวิกฤตเอดส์

    Milk (2008)

    เรื่องราวของ ฮาร์วีย์ มิลก์ (ฌอน เพนน์) นักต่อสู้เพื่อสิทธิของชาวรักร่วมเพศที่ได้รับเลือกให้เป็นเทศมนตรีของซานฟรานซิสโก ซึ่งได้พลิกโฉมหน้าประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญของประเทศอเมริกา เป็นต้นกล้าสำคัญในการต่อสู้จนนำมาสู่การยอมรับ และการกล้าเปิดเผยตัวเองมากขึ้นในปัจจุบัน
    The Imitation Game (2014)
    ภาพยนตร์อิง​ประวัติศาสตร์และชีวิตของ อลัน ทัวร์ริ่ง (เบเนดิกต์ คัมเบอร์แบทช์) ผู้เป็นนักคิด นักคณิตศาสตร์ และนักตรรกศาสตร์ในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เขาเข้ามาร่วมในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของโลก ทัวร์ริ่งต้องต่อสู้กับสังคมที่ไม่มีความเข้าใจทางรสนิยมทางเพศที่แตกต่างออกไป

    Portrait of a Lady on Fire (2019)

    เรื่องราวความรักต้องห้ามระหว่าง Héloïse หญิงผู้สูงศักดิ์ที่ถูกจับแต่งงานแบบคลุมถุงชนและ Marianne ศิลปินผู้วาดภาพงานแต่งงานของ Héloïse เรื่องราวเกิดขึ้นฝรั่งเศสในช่วงปลายศตวรรษที่ 18


    ที่มา:
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in