คำอธิบายโปสเตอร์ของสถาบันภาพยนตร์นานาชาติโตรอนโต (Toronto International Film Institute) ตรงใจเรามากที่สุดแล้ว: โปสเตอร์แสดงถึงคอลิน ฟาเรลล์ที่ไว้หนวด กำลังมองเตียงโรงพยาบาลที่อยู่ตรงหน้าอย่างสุขุม ขณะที่โลกรอบๆตัวเขาค่อยๆสลายไป
ทวิตที่โพส Fig. 2 ตั้งคำถามว่า "หัวใจของคุณอยู่ถูกที่หรือเปล่า" (Is your heart in the right place?) ซึ่งเราก็อยากจะถามต่อว่า มีที่อยู่ที่ 'ถูกต้อง' สำหรับหัวใจหรือไม่ (Is there a right place to place your heart?)
กำลังเขียนบทความอยู่ ทวิตแอค #SacredDeer Movie ก็ปล่อยรูปด้านล่างมาสดๆ ร้อนๆ เมื่อคืน กรี๊ด
(ซ้าย) บทกลอนจาก The Bacchae ในบทนำ (Introduction) ของบทละคร Iphigenia At Aulis ที่ประพันธ์โดย Euphrides และ
(ขวา) เนื้อร้องเพลง Burn ส่วนที่ประกอบหนังตัวอย่างของ The Killing of a Sacred Deer (2017)
เท้าความก่อนว่า บทกลอนด้านซ้าย ประพันธ์ในปี 1993 เพื่อละคร The Bacchae แต่ถูกคัดสรรและแปลโดย Mary-Kay Gamel มาเกริ่นนำ Iphigenia At Aulis ใน หนังสือ From Women on the Edge: Four Plays by Euripides (The New Classical Canon), (2012) ส่วนเพลงของ Ellie Goulding ปล่อยออกมาในปี 2012 ประกอบอัลบัม Halcyon และนำทีมประพันธ์โดยนักแต่งเพลงมือดีอย่าง Ryan Tedder เพลง Burn ยังได้เสนอชื่อเข้าชิง British Single of the Year และ British Video of the Year ใน 2014 Brit Awards อีกด้วย หากนำมาประกอบหนังตัวอย่างแรกของ The Killing of a Sacred Deer (2017) ในเวอร์ชั่นร้องเดี่ยวแบบไร้ดนตรีประกอบ (Stripped down) โดย ราฟฟี่ แคสสิดี้ (Raffey Cassidy) ผู้รับบท คิม
ยังไม่พอ วลี "Torrents tumbling together" ("กระแสเลือดไหลไปด้วยกัน") สะท้อนความรู้สึกหมดหวัง ที่เลือดไหลกระฉอกออกมาจากทุกฝ่ายในเหตุการณ์ การสัมผัสอักษร (alliteration) ตัว 't' ซึ่งอ่านออกเสียงจะได้ยินเสียงเหมือนจังหวะ 'tuh tuh' แรง (force) และ การกระทบ (impact) ของเลือดขณะไหลออกอย่างไม่สามารถควบคุมได้ ช่างขัดกับอารมณ์คึกคะนองและการย้ำคำว่า 'เผา เผา เผา' ("burn burn burn") ให้พ้องกับ 'ไฟ ไฟ ไฟ' ("fire fire fire") อย่างน้อยสามครั้งแต่ละที (เท่ากันกับวลี torrents เลย) เหมือนคำสวดของชนเผ่าในเพลง ที่เริงร่าในการครอบครอง 'ไฟ' ของตัวเองพอที่จะประกาศให้โลกรู้ ("...we got the fire...") พร้อมยินยอมและยินดีให้ 'ไฟ' (ในตัวเอง) จุดประกายอะไรๆขึ้นมา ("And we gonna let it burn...") แต่กลับหมายถึงการทำลายล้างที่ห้ามไม่ได้ใน The Killing of a Sacred Deer (2017) ซึ่งย่อมนำมาสู่ความเสียหายเช่นกระแสเลือดที่ไหลไม่หยุด
คิมกำลังจุดไฟเพื่ออะไรกัน
พร้อมๆกับวลี "Torrents" วลีในบรรทัดสุดท้ายของกลอน "Blood bubbling in our hearts like fire" ("เลือดเดือดเป็นฟองฟุ้งในหัวใจดังไฟ") เพิ่มเติมคำอธิบายของกระแสเลือดว่าเดือดดังไฟ เป็นหมัดหนักสุดท้ายของกลอนที่ทำให้เรานึกถึงเพลง Burn ได้ไอเดียวิเคราะห์เปรียบเทียบกลอนกับเพลงเลย แถมการสัมผัสอักษร 'b' อ่านออกเสียงจะได้ยินเสียง 'buh buh' เหมือนฟองน้ำสีแดง กำลังเดือดบนพื้นผิวหัวใจ ความเดือดที่ไม่สามารถควบคุมได้เหมือนไฟป่าที่ลุกลามอย่างรวดเร็ว ซึ่งพ้องกับสองบรรทัดท่อน Bridge ที่สองของเพลง ("We can light it up up up/So they can't put it out out out"; "เราจะจุดมันให้ลุกโชน จนไม่มีใครสามารถดับมันได้") ในหนังตัวอย่างนั้น ใช้ประกอบฉากท้ายๆปิดคลิปพอดี เสียงเด็กสาวคนร้องค่อยๆแผ่วลงตามคลิปที่จบ คล้ายอารมณ์เยือกเย็น เปล่าเปลี่ยว ใกล้ตายของหนัง ซึ่งขัดกับประโยคปลุกใจให้ไฟลุกโชน ช่างเป็นที่น่าขนลุกของคนฟัง
ส่วนเสียงฮัมในคีย์ Minor ของราฟฟี่ที่ประกอบหนังตัวอย่างที่สอง เป็นลางสื่อเหตุการณ์น่าขนลุกที่กำลังจะเกิดขึ้นกับครอบครัวของเธอ (ปกติคนเค้าวอร์มเสียงร้องเพลงก็พ่วงคีย์อื่นที่มันสดใสกว่านี้ด้วยไม่ใช่เรอะ!!) ตามปกติแล้ว ทางด้านดนตรี คีย์ Minor จะฟังดูแปลกประหลาด ไม่เข้าหู คล้ายดนตรีผิดเพี้ยนไป และมักถูกใช้ในเหตุการณ์ร้ายๆในทางเดียวกัน ตรงข้ามกับคีย์สื่ออารมณ์สดใส อย่าง Major พอเราฟังคีย์ Minor โดดๆต่อเนื่องกันซ้ำๆนาทีกว่าๆแล้วขนลุกไปเลย
An Unavoidable Trap: A Brief Recap of Events In Iphinegia
ก่อนจะวิเคราะห์เชื่อมโยงบทละคร Iphinegia At Aulis (ประพันธ์โดย Euripides นักประพันธ์ชาวกรีก ระหว่างปี 408 - 406 ก่อนคริสตกาล) กับ The Killing of a Sacred Deer (2017) เราจะเกริ่นถึงเหตุการณ์ที่เกิดก่อนจะเริ่มละครค่ะ
การลักพาตัวเฮเลน (The Abduction of Helen, 1784) ภาพวาดสีน้ำมันโดยจิตรกรกาวิน แฮมิลตัน
ยอร์กอสประยุกต์เค้าโครง The Killing of a Sacred Deer(2017) จากบทละคร Iphigenia At Aulis เราจึงวิเคราะห์จากภาพ และ หนังตัวอย่างที่ปล่อยออกมาได้ว่ามีส่วนคล้ายกับบทละครในหลายด้าน โดยเฉพาะปัญหาหลักของตัวละครเอก (Protagonist's Central Conflict) และธีม (อรรถบท) หลักของหนัง (ซึ่งตรงกับที่ยอร์กอสพูดไว้ในหลายบทสัมภาษณ์) คือ ค่าของชีวิตคนๆหนึ่ง (Value of an individual life) และ กรณีที่ควรจะคร่าชีวิตนั้นไปจากเจ้าของ (circumstances life can be taken)
การขัดแย้งในตัวเองเรื่องความถูกต้องอันนำมาสู่ความลังเลในการตัดสินใจ (Internal Struggles of Morality -- Right/Wrong -- as related to Indecisiveness)
เส้นแบ่งระหว่างชีวิตส่วนตัวกับชีวิตในวิชาชีพ และ การเกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ฉันสามี - ภรรยา ในการเป็นหัวหน้าครอบครัว ทำหน้าที่พ่อ และ แม่ ในการดูแลลูกและครอบครัว (Line between Public vs. Private Lives as related to Husband-Wife relationship and Male vs. Female positions as Head of the Household/Family)
ความเปราะบางของชีวิต ความฉับไวของความตาย และ โศกนาฏกรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ในชีวิตประจำวันใต้อำนาจของโชคชะตา (Fragility of Life and Immediacy of Death, alongside Life's Inherent Tragedies and Fate's Control)
Closest to Justice: Internal Struggles of Morality
สตีเว่นนิยามมาร์ตินว่า เป็นเด็กที่ 'มีปัญหาทางจิตรุนแรง' ("He's got issues. Serious psychological issues." - Trailer 2) แต่ตัวเองกลับครุ่นคิด ลังเลในการตัดสินใจใน 'บางสิ่งบางอย่าง' ที่ตัวหนังตัวอย่างไม่ยอมเผย (เราเดาว่าต้องเลือกว่าจะสังเวยสมาชิกครอบครัวคนไหน) ฝ่ายมาร์ตินอธิบายเหตุผลของการแพร่โรคร้ายว่า "เป็นสิ่งเดียวที่ผมคิดได้ว่าใกล้เคียงความยุติธรรมมากที่สุดแล้ว" ("It's the only thing I can think of that's close to justice." - Trailer 1)
“Sometimes something sent by the gods goes astray and turns your life upside down. Other times men’s ideas—various, hard to satisfy—tear you to pieces.” (วรรค 21-27)
อกาเม็มนอนอ้างอิงถึงความยุติธรรมอีก เมื่อกล่าวว่า "ข้าจะไม่ฆ่าลูกตัวเอง เพราะจะเป็นความไม่ยุติธรรม" ("I will not kill my children. It would be unjust." วรรค 395) คล้ายสตีเว่น ที่พยายามที่จะตัดสินใจให้ใกล้เคียงความยุติธรรมมากที่สุด
ส่วน Old Man หรือผู้เฒ่า คนสนิทของอกาเม็มนอน ผู้รับหน้าที่ส่งสารกลับไปอาร์กอส ก็มักจะกล่าวคำเตือน คำตอบสนองต่อคำบ่นต่างๆของอกาเม็มนอน โดยกล่าวปลอบพระราชาว่า
“You have to have both happiness and pain; you were born mortal, and even if you don’t like it, that’s what the gods decided, and it stands.”
(วรรค 31-34)
ซึ่งเป็นประโยคตอบสนองการถกกับตัวเองของอกาเม็มนอนที่สอดคล้องกับธีมย่อยที่สามด้าน โศกนาฏกรรมที่ซ่อนเร้นอยู่ในชีวิตประจำวันใต้อำนาจของโชคชะตา พูดง่ายๆแล้ว เป็นมนุษย์ก็ต้องมีทั้งทุกข์และสุขเป็นธรรมดา ต่อมา ผู้เฒ่าก็ยังถามอกาเม็มนอนอีกว่า "ท่านมีอาการทุกอย่างของคนใกล้บ้า ท่านกำลังต่อสู้อะไรอยู่รึ" (“You give every sign of going mad; What are you struggling with?” วรรค 41-42) ซึ่งอกาเม็มนอนคงสีหน้าไม่ต่างจากสตีเว่นในหนังตัวอย่างทั้งสองนัก เมื่อเหตุการณ์เลวร้ายขึ้นเรื่อยๆกับครอบครัวของเขา
( “You’ve brought her to the Greeks to beslaughtered.” วรรค 134-135) ซึ่งเหมือนจะเป็นคำตอบต่อคำถามที่สตีเว่นซักมาร์ตินอย่างร้อนใจในหนังตัวอย่างว่า "เธออยู่ไหน? แกทำอะไรกับเธอ?" ("Where is she? What did you do to her?" - Trailer 1)
กาเมลชี้อีกว่า อาร์ทีมีสไม่ได้สั่งบังคับให้อกาเม็มนอนฆ่าอิฟินิไจอาสังเวยแก่ตน หากมอบ 'อำนาจการตัดสินใจ' ให้อกาเม็มนอน เช่นกับการคำพยากรณ์ในตำนานกรีกเรื่องอื่นๆ ที่มี 'การตัดสินใจ' ของ 'ทางเลือก' มาเกี่ยวข้องทั้งสิ้น รูปโปรโมทที่ทวิตเตอร์ #Sacred Deer Movie เพิ่งปล่อยมาเร็วๆนี้ นิยามสตีเว่นว่า "เขาติดอยู่ระหว่างทางเลือก กับ ผลที่จะตามมา" ("He's stuck between a choice and a consequence.")
คล้ายอกาเม็มนอน สตีเว่นต้องเลือกระหว่างบทบาทหัวหน้าครอบครัวในชีวิตส่วนตัว และ บทบาทศัลยแพทย์ในวิชาชีพของตน เป็นการขัดแย้งด้านจริยธรรมและอารมณ์ (ethical and emotional conflict) ซึ่งตามหลัก อริสโตเตล (Aristotle) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองตามสไตล์โศกนาฎกรรมคือ ความสงสาร และ ความหวาดกลัว จากคนดู -- สองอารมณ์ที่คุณอาจรู้สึกตอนดูคลิปหนังตัวอย่างของ The Killing of a Sacred Deer (2017)
ว่ากันว่า การสังเวยคือการเลือกสิ่งที่เลวร้ายน้อยกว่า (the lesser of two evils) จากคำถามที่ตรงกับธีมหลักของหนัง: คุณจะเสียสละ หรือ ทำอะไร มากแค่ไหนเพื่อรักษาชีวิตของคนๆหนึ่งไว้ (How far would you go to save a life?)
Two Lives: Family Dynamics & Relationship Ties
ตามธรรมเนียมกรีก ครอบครัวนั้นสำคัญกว่าบุคคลเสมอ และผู้ชาย ในฐานะหัวหน้าครอบครัว ก็สลับหน้าที่ในสองชีวิตส่วนตัวและวิชาชีพ ระหว่างปกป้องทรัพย์สมบัติและครอบครัว (philoi ในภาษากรีก) หากการสังเวยทำให้เส้นแบ่งระหว่างสองชีวิตนี้พร่ามัว จนอกาเม็มนอนออกปากถาม "ข้าไม่มีสิทธิ์เป็นหัวหน้าครอบครัวของข้าเองแล้วหรือ" ("Am I not allowed to be head of my own household?" วรรค 331) ซึ่งเป็นคำถามที่เราอาจเห็นสะท้อนในสีหน้ากลุ้มใจ เคร่งเครียดของสตีเว่น ในภาพ และ หนังตัวอย่างที่ปล่อยออกมา เมื่อรู้สึกว่าหน้าที่หัวหน้าครอบครัวของตนถูกคุกคาม
ในบทละคร กาเมลสังเกตว่า อกาเม็มนอนเปลี่ยนไปขณะพยายามตัดสินใจหาทางเลือก เขาไม่มีสติมั่นคง ใจโลเล และ พยายามที่จะโกหกปิดบังครอบครัวตัวเอง เพราะมองตัวเองว่าไร้ทางเลือก และถูกคนรอบข้างกดดันให้ตัดสินใจ ในสิ่งที่ไม่อาจปฏิเสธได้ อกาเม็มนอนโอดครวญอีกว่า "ข้าใช้คำโกหกเหล่านี้กับภรรยา!" ("I used these lies on my wife." วรรค 104) แม้แต่เมเนเลอุสก็ติใจอันโลเลของพี่ชายว่า "หัวใจที่โลเล ดวงที่มิตรสหายไม่สามารถพึ่งพาได้ ย่อมเป็นสิ่งที่ไม่สมควรมี" ("A fickle heart, one that your friends can't depend on, is an unworthy thing to have." วรรค 333-334) ทำให้เรานึกถึง Fig. 2 ภาพโปรโมทรูปกายวิภาคของหัวใจ
ทั้งความระทมของไคเทมเนสตราที่ลูกของเธอและอกาเม็มนอนต้องมาถูกฆ่า "เด็กคนนั้น--ลูกของข้าและเจ้า--เจ้าตั้งใจจะฆ่าเธอลงหรือ" ("That child, yours and mine--do you intend to kill her?" วรรค 1131) คล้ายคำถามของแอนนาใน Fig. 2 (หัวใจ) และคลิปหนังตัวอย่าง ว่า "ฉันไม่เข้าใจว่าทำไมฉันต้องชดใช้ ทำไมลูกๆของฉันต้องชดใช้" ("I don't understand why I should have to pay the price. Why my children should have to pay the price." - Trailer 1) และความปวดร้าวใจของไคเทมเนสตราที่ต้องติดกับสถานการณ์เลวร้ายนี้ "ข้ามีเหตุผลอันน่าสะเทือนขวัญที่ทำให้ข้าปวดร้าวใจ" ("I have a dreadful reason to feel anguish in my heart." วรรค 1434)
'เดี๋ยว.... ผู้ชายที่แก่กว่ามากๆงั้นหรอ' ทุกคนหัวเราะคอลินระหว่างการสัมภาษณ์กับ The Hollywood Reporter ที่เทศกาลภาพยนตร์นานาชาติในกรุงโตรอนโต ประเทศแคนาดา (Toronto International Film Festival, TIFF)
นิโคล คิดแมน เสริมว่า ธีม (บริบท) โดยรวมของหนัง เป็นเรื่องมืดมัว ซึ่งคนไม่กล้าที่จะถกกันในชีวิตประจำวัน The Killing of a Sacred Deer (2017) ผลักดันให้คนดูกล้าออกมาพูดคุยกันเรื่องประเด็นหนักๆของหนัง และเริ่มถามคำถามเยอะๆ ยอร์กอสชอบบอกเธอว่าเรื่องนี้เป็นหนังตลก (Comedy) และตัวบทมีจังหวะของมันเอง ซึ่งเป็นจังหวะที่แปลกมาก เพราะต้องแสดงโดยให้บททำหน้าที่ของมัน โดยไม่ได้เพิ่มเติม หรือ ลดส่วนเกิน อะไรจากบท
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in