เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
คลังข้อมูลบรรณานุกรมนักเขียน-กวีในสายธารวรรณกรรมไทยอ่าน-คิด-เขียน
คลังข้อมูลบรรณานุกรม จิระนันท์ พิตรปรีชา
  •        การจัดทำคลังข้อมูลนี้ เป็นส่วนหนึ่งของการเรียนการสอนในรายวิชา 2201252 วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย มีวัตถุประสงค์เพื่อรวบรวมและเรียบเรียงบรรณานุกรมใน "สื่อสิงพิมพ์" และ "สื่อออนไลน์" ที่เกี่ยวข้องกับ คุณจิระนันท์ พิตรปรีชาเพื่อประโยชน์ทางการศึกษาเท่านั้น ไม่อนุญาตให้ผู้ใดนำไปใช้ในการค้าหรือเพื่อแสวงหาผลกำไรใดๆ ทั้งสิ้น 

            ** ลิขสิทธิ์ของผลงานใน "สื่อสิงพิมพ์" และ "สื่อออนไลน์" ที่ได้รวบรวมไว้ในรูปแบบบรรณานุกรมนี้เป็นของผู้สร้างผลงาน**

            จัดทำโดย...พรรษชล  อัศวฤทธิไกร, พุฒิพงศ์. เจืออุปถัมย์, ยงยุทธ คำบุดดี, จิรเมธ  คูไพริน และ นีนนิมมาน ยอดเมือง  เมื่อปีการศึกษา 2559

            เผยแพร่ครั้งแรก เพจ "อ่าน-คิด-เขียน" เมื่อสิงหาคม 2563

             ** ผู้เข้าชมสามารถส่งข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและผลงานเพื่อร่วมจัดทำคลังข้อมูลบรรณานุกรมนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ทางอีเมล arts.readthinkwrite@gmail.com **



    ภาพวาด: ซอแก้ว ลิมปิชาติ 
    ลิขสิทธิ์เป็นของผู้วาดภาพประกอบและเพจ "อ่าน-คิด-เขียน" (สงวนลิขสิทธิ์)


     สังเขปชีวิตและบทบาทของจิระนันท์ พิตรปรีชา 

    • ประวัติ 
              จิระนันท์ พิตรปรีชา มีชื่อเล่นว่า "จี๊ด" เกิดเมื่อวันที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2498 ที่อำเภอเมือง จังหวัดตรัง จบการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้นจากโรงเรียนสภาราชินี จังหวัดตรัง และจบการศึกษาระดับมัธยมตอนปลายจากโรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา จากนั้นศึกษาต่อที่คณะวิทยาศาสตร์แผนกเตรียมเภสัช จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
              ชีวิตครอบครัว สมรสกับรองศาสตราจารย์ ดร.เสกสรรค์ ประเสริฐกุล หรือ สหายไท
      อดีตผู้นำนักศึกษาที่ร่วมต่อสู้มาด้วยกันตั้งแต่อยู่ในป่า ทั้งคู่มีบุตรชาย 2 คน ชื่อ แทนไท ประเสริฐกุล และ วรรณสิงห์ ประเสริฐกุล

    • บทบาททางการเมือง
              ในเหตุการณ์14 ตุลา 2516 เป็นหนึ่งในผู้นำนิสิตนักศึกษาในเหตุการณ์ครั้งนั้น และเป็น
      หนึ่งในแกนนำนิสิตนักศึกษาที่เข้าร่วมโครงการส่งเสริมประชาธิปไตยของศูนย์ส่งเสริมประชาธิปไตย (ศสป.) ในสมัยรัฐบาลสัญญา ธรรมศักดิ์โดยสังกัดของทบวงมหาวิทยาลัย กิจกรรมแรกที่ได้ทำคือการจัดการอบรมอาสาสมัครส่งเสริมประชาธิปไตย ที่จิตตภาวันวิทยาลัย อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี (พ.ศ. 2517) หลังจากนั้น จิระนันท์ก็ได้แต่งคำประพันธ์เพื่ออ่านบนเวทีชุมนุมเรียกร้องสิทธิและเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานและสตรี
              หลังเหตุการณ์6 ตุลา 2519 จิระนันท์ได้หลบหนีเข้าป่า เพราะมาตรการปราบปรามกลุ่มนิสิตนักศึกษา จึงหันไปเข้าร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยพร้อมกับ เสกสรรค์ ประเสริฐกุลผู้เป็นสามี จิระนันท์มีฉายาจัดตั้งในพรรคคอมมิวนิสต์ว่า “สหายใบไม้” โดยมีที่มาจากคำว่าพยาธิใบไม้หรือพยาธิตัวจี๊ด ซึ่งพ้องกับช่ือเล่นของเธอ
              หลังจากมีการผลักดันนโยบาย “การเมืองนำทหาร” ในสมัยรัฐบาลพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่66/2523 และ 65/2525 เพื่อยุติการทำสงครามสู้รบระหว่างพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยกับฝ่ายรัฐบาล ทำให้นิสิตนักศึกษาที่หนีเข้าป่าภายหลังเหตุการณ์6 ตุลา 2519 เพื่อจับอาวุธต่อสู้กับรัฐบาล มีโอกาสหวนมาเดินบนหนทางแห่งสันติภาพได้  จิระนันท์ ก็เป็นหนึ่งในนิสิตนักศึกษาที่ได้ออกจากป่าตามนโยบายดังกล่าว

    • ความสำคัญต่อวรรณกรรมไทย 
              ผลงานโดดเด่นที่สุดของจิระนันท์ พิตรปรีชา คือ กวีนิพนธ์ชุด ใบไม้ที่หายไป ซึ่งได้รับรางวัลซีไรต์ในปี2532 กวีนิพนธ์เล่มนี้นับว่าเป็นเรื่องสำคัญเรื่องหนึ่งในวงวรรณกรรมไทย มีความพิเศษ คือ จิระนันท์เลือกใช้คำประพันธ์ตามฉันทลักษณ์ไทยประเภทต่างๆ โดยเฉพาะกลอนและกาพย์ประกอบกับการใช้ภาพพจน์และกลวิธีทางวรรณศิลป์ถ่ายทอดเรื่องราวตามทัศนะของคนรุ่นใหม่ที่ให้ความสำคัญต่อผู้หญิงและหนุ่มสาว โดยเลือกประเภทของฉันทลักษณ์ให้สอดคล้องกับเนื้อหานั้นๆด้วย เช่น การเลือกใช้กลอนเพลงยาวในบทกวีที่ต้องการลีลารวดเร็ว
              สำหรับเรื่องราวที่ถ่ายทอดผ่านผลงานใบไม้ที่หายไป นับว่าเป็นอีกหนึ่งความเคลื่อนไหวสำคัญของวงวรรณกรรมไทย จิระนันท์ได้รับอิทธิพลจากผลงานของสุรศักดิ์ ศรีประพันธ์
      (พ.ศ. 2488-2513) ซึ่งเป็นกวีจำนวนน้อยที่สามารถถ่ายทอดอารมณ์รักผ่านงานเขียนยุคแสวงหา ผลงานของจิระนันท์ จึงไม่ได้เกิดขึ้นเพื่อเป็นเสียงเรียกร้องของสตรีและเป็นตัวแทนของหนุ่มสาวเท่านั้น แต่ยังผสมผสานการถ่ายทอดอารมณ์เป็นอย่างดี และด้วยเหตุที่ผสมผสานกับศิลปะการประพันธ์ทำให้บทกวีของจิระนันท์มีคุณค่าอยู่ที่เนื้อหา โดยมิได้ผูกพันกับกาลเวลาหรือตัวบุคคล ผลงานของจิระนันท์จึงมีความสำคัญต่อวงวรรณกรรมไทยในฐานะงานของผู้หญิงที่สร้างสรรค์กวีนิพนธ์ตามขนบเดิมเพื่อคนรุ่นใหม่
              นอกจากนี้จิระนันท์ยังมีบทบาทสำคัญในฐานะนักแปลที่มีผลงานแปลมากมาย และเรียกได้ว่าเป็นนักแปลอันดับต้น ๆของประเทศไทย เป็นแบบอย่างของนักแปลรุ่นใหม่ในปัจจุบัน

    • ผลงานคัดสรร    
              นอกจากกวีนิพนธ์เรื่อง “ดอกไม้จะบาน” และ “อหังการของดอกไม้” แล้ว ในหนังสือรวมบทกวีนิพนธ์ใบไม้ที่หายไป ยังมีกวีนิพนธ์อื่นๆ ที่น่าสนใจเช่น
              1. เศษธุลี – ได้รับรางวัลกวีดีเด่นประจำปีพ.ศ. 2524 จากสมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย จิระนันท์ได้ถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดผ่านตัวอักษรโดยเปรียบเทียบตนเองเป็นดั่งก้อนกรวด แรงบันดาลใจในการแต่งมาจากการใช้ชีวิตในป่าของตัวผู้เขียนเอง สะท้อนให้เห็นถึงอุดมการณ์ที่มีร่วมกันของเหล่านิสิตนักศึกษาที่หนีเข้าป่าในเวลานั้น
              2. จุดหมาย – แต่งขึ้นเมื่อปีพ.ศ. 2515 ชุมนุมนิสิตหญิง จุฬาฯ แต่งขึ้นในขณะที่ตัวผู้เขียนยังเป็นนิสิต ถือเป็นตัวอย่างของกวีนิพนธ์แนวเพื่อชีวิตเรื่องหนึ่ง
              3. ปณิธานหนุ่มสาว – เป็นกวีนิพนธ์ที่บอกเล่าเรื่องราวระหว่างหญิงสาวที่ได้เปลี่ยนผันความคิดของตัวเองกับชายหนุ่มที่ได้ต้ังปณิธานเอาไว้ทั้งสองคนได้มาเจอกันและได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับสภาพสังคมในเวลานั้น
              4. ความในใจจากภูเขา – เป็นกวีนิพนธ์ที่ยาวที่สุดในเล่ม เล่าเรื่องราวของกวีโดยพาดพิงถึงชีวิตในรั้วมหาลัย
              5. หิ่งห้อย – สิ่งที่ไม่มีแสงสว่างเท่ากับดวงดาวแต่ยังมอบแสงให้กับที่ที่แสงดาวไปไม่ถึง คำว่า "แสง" ในกวีนิพนธ์นี้เป็นอุปลักษณ์ของความหวัง แม้ว่าแสงของหิ่งห้อยจะ "เผาไหม้" ชีวิตของมัน แต่อย่างน้อยมันก็มอบแสงอันอบอุ่นให้กับที่มืดได้
              นอกจากนี้ยังมีผลงานด้านสารคดี เช่น สารคดีชีวิต อีกหนึ่งฟางฝัน บันทึกแรมทางของชีวิต ตีพิมพ์โดยสำนักพิมพ์ในเครืออมรินทร์ เป็นเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตและประสบการณ์ของจิระนันท์ผลงานแปล เช่น รักจากใจจร (Dear John) นวนิยายเกี่ยวกับความรักระยะไกลที่พระเอกนางเอกต้องติดต่อกันผ่านจดหมาย แต่สุดท้ายก็ไม่สามารถประคับประคองความรักนั้นต่อไปได้และต้องเลิกกันในที่สุด ชื่อเรื่องภาษาอังกฤษ (Dear John) มาจากสำนวนที่ว่า Dear John Letter แปลว่า จดหมายบอกเลิกดังนั้น เมื่อจิระนันท์นำมาแปลเป็นภาษาไทย จึงใช้ชื่อว่ารักจากใจจร ที่มีเสียงและความหมายสอดคล้องกับตัวเนื้อหา



  • คลังข้อมูลบรรณานุกรมจิระนันท์ พิตรปรีชา


     ก. ประวัติ 

    •  หนังสือ 

      นพพร สุวรรณพานิช. “อี.บี. บราวนิง และจิระนันท์พิตรปรีชา : กวิณีผู้ยิ่งใหญ่ของสองประเทศ.” 
      ใน เหนือ ใต้ออก ตก. กาญจนบุรี: ไทรโยค เพรส, 2548.
      ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

      ประทีป เหมือนนิล. “จิระนันท์ ประเสริฐกุล” 100 นักประพันธ์ไทย. กรุงเทพฯ: สุวีริยาสาส์น, 2553.
      ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

      ลำจุล ฮวบเจริญ. “จิระนันท์ พิตรปรีชา.” ใน นักเขียน และนักเขียนรางวัลซีไรต์แห่งสยาม. กรุงเทพฯ:
      ดวงกมลพับลิชชิ่ง, 2555. 
      ภาพ : http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786165111607

    • บทความ

      - “จิระนันท์ พิตรปรีชา.” 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: https://th.wikipedia.org/wiki/จิระนันท์_พิตรปรีชา สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

      - “จิระนันท์ พิตรปรีชา – รางวัลซีไรต์ประจำปีพ.ศ 2532.” 2554. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.thaiwriter.org/?p=215 สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.


      - “ทำเนียบนักประพันธ์”. [ม.ป.ป.]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.praphansarn.com/จิระนันท์ พิตรปรีชา/writer/24 สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

      - “นักเขียนคนตรัง.” 2555. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://trang.nfe.go.th/lib02/?name=knowledge1&file=readknowledge&id=42 สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

      - สุพัตรา วัฒนวาทิน. “อัตชีวประวัติของจิระนันท์ พิตรปรีชาและเสกสรรค์ ประเสริฐกุล: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างเพศสถานะกับเรื่องเล่า.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก :
      https://www.google.com/urlsa=t&rct=j&q=&esrc=s&source=web&cd=2&cad=rja&uact=8&ved=2ahUKEwiviN3Jw3fAhXUdCsKHc7LC1YQFjABegQICRAC&url=http%3A%2F%2Fdoi.nrct.go.th%2FListDoi%2FDownload%2F233493%2Fc880d0c590b2c453cc387d88b7d4f00d%3FResolve_DOI%3D10.14457%2FMU.the.2013.270&usg=AOvVaw23_6w_ewDafYIKCu1GaZu_ สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.


      - วิหคพลัดถิ่น. “...ขอคั่นเรื่องราวในป่ากับ ...ส.ใบไม้และ จิระนันท์ พิตรปรีชา (ตามคำขอ).” 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://oknation.nationtv.tv/blog/vihokpludtin/
      2007/07/14/entry-1
       สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.
         
         
    • คลิปวิดีโอ


      416231 พัฒนาการวรรณกรรมไทย - ใบไม้ที่หายไป



    นักเขียนและนักแปลที่มีชื่อเสียง คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา          



    ❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀




     ข. ผลงาน 

    • หนังสือ

             1. เป็นผู้แต่ง
                        1) กวีนิพนธ์

    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “เกิดเมืองตรัง.” ใน หัวใจออกเดิน : 30 นักเขียน-นักเดินทางร่วมสมัย. กรุงเทพฯ: กองวารสาร การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย, 2543.



    ภาพ : http://61.19.86.222/ULIB/searching.php?&searchdb[su]=เรื่องสั้น&startrow=24

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ชีวิตและเงื่อนไข.” ใน รื่นฤทัย สัจจพันธุ์, บรรณาธิการ. ดอกไม้สองแผ่นดิน. กรุงเทพฯ: เอโนเวล, 2553.



    ภาพ : http://lib.bcnyala.ac.th/ULIB57P4/dublin.php?ID=13399107729

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ดอกไม้จะบาน.” ใน บทกวีคัดสรร ชุด 1. กรุงเทพฯ : มูลนิธิสถาบันวิชาการ 14ตุลา, 2546.



    ภาพ: http://readery.co/9786167552767

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ต่ำ-ลึก นึก-คิด.” ใน ความกดอากาศต่ำ : เรื่องเล่าหลากสไตล์หลายคนเขียน. กรุงเทพฯ: ผจญภัยสำนักพิมพ์, 2559.



    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “นายผีคืนถิ่น แผ่นดินแม่.” ใน เวียง-วชิระ บัวสนธิ์, บรรณาธิการ. ชีวิตและผลงานของนายผี : อัศนีพลจันทร  (2461-2530). [ม.ป.ท.], 2540.


    ภาพ: นีนนิมมาน ยอดเมือง

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “นิ่ง ไหว.” ใน ชุมศักดิ์นรารัตน์วงศ์, บรรณาธิการ. หัวใจเดียวกัน : บทกวีและภาพถ่ายเพื่อชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: สำนักหัวใจเดียวกัน, 2554.



    ภาพ : http://www.amarinpocketbook.com/Book_Detail.aspx?BID=3440

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. ใบไม้ที่หายไป. พิมพ์ครั้งที่ 23. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์, 2550.


    ภาพ : http://www.chulabook.com/description.asp?barcode=9786167202457

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ฝนแรก.” ใน ชาญวิทย์เกษตรศิริ, บรรณาธิการ. พฤษภา-พฤษภา สังคม-รัฐไทยกับความรุนแรงทางการเมือง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์, 2556.



    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ฝนแรก.” ใน รักษ์ มนัญญา, บรรณาธิการ. เรื่องสั้นและบทกวีดีเด่น พ.ศ. 2532-2538. กรุงเทพฯ: ดับเบิ้ลนายน์พริ้นติ้ง, 2542.



    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. รู้รัก สามัคคี. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์, 2540.



    ภาพ : http://library.nhrc.or.th/ulib/dublin.php?ID=8458

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ลำนำกวี.” ใน ธีรภาพ โลหิตกุล, บรรณาธิการ. กระบี่ : ขอบฟ้าอันดามัน. กระบี่: สำนักงานจังหวัดกระบี่, 2553.



    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ลำนำลำน้ำเหลือง.” ใน กนกพงศ์ สงสมพันธุ์, บรรณาธิการ. จากสนามหลวงถึงเทียนอันเหมิน : ชุมนุมกวีนิพนธ์บันทึกความรู้สึกข้ามขอบฟ้า. กรุงเทพฯ: รวมทรรศน์, 2532.



    ภาพ : https://www.10000tipbook.com/product/6998/100-ปี-จากบุคคลัภย์สู่ไทยพาณิชย์-ปกแข็ง-หนังสือครบรอบ-100-ปี-ธนาคารไทยพาณิชย์

    นวพร เรืองสกุล, 100 ปีจากบุคคลัภย์สู่ไทยพาณิชย์. กรุงเทพฯ: ธนาคารไทยพาณิชย์, 2550.
    (จิระนันท์ พิตรปรีชา - ร้อยกรอง / คำบรรยายใต้ภาพ)



    ภาพ : http://library.tcdc.or.th/record/view/b00011736

    สตีฟ แวน บีค และจีรนันท์ พิตรปรีชา. รำลึกร้อยปี กรุงเทพมหานคร. พิมพ์ครั้งที่ 2. นนทบุรี: เอ บีพับลิคเคชั่นส์, 2544.



            2) สารคดี
                2.1) อัตชีวประวัติ


    ภาพ : http://www.bloggang.com/viewblog.php?id=meowlady&date=09-04-2012&group=33&gblog=4

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. อีกหนึ่งฟางฝัน บันทึกแรมทางของชีวิต. กรุงเทพฯ: แพรวสำนักพิมพ์, 2549.


                  2.2) สารคดีทั่วไป

    ภาพ : http://biblio.in.th/books/5561/ชะโงกดูเงา

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. ชะโงกดูเงา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: แพรวเอนเตอร์เทน, 2542.




    ภาพ : 
    http://osaoldbook2.tarad.com/product.detail_852627_th_6835868

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. ตำนานนักเดินทาง: เปิดบันทึกโลกตะวันออก. กรุงเทพฯ: สารคดี, 2543.


    จิระนันท์ พิตรปรีชา. ใน เกรียงไกร ไวยกิจ, บรรณาธิการภาพ. ในน้ำมีใจ. กรุงเทพฯ: สำนักงานปลัดกระทรวงวัฒนธรรม, 2555.


    ภาพ : 
    http://www.lib.ku.ac.th/web/index.php/2012-10-18-07-22-55/2344-women-power

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. พลังสันติภาพ : ผู้หญิงสามจังหวัดชายแดนใต้. กรุงเทพฯ: องค์การอ๊อกแฟมประเทศไทย, 2556.



    ภาพ : https://www.taradplaza.com/kaimookbook/

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. ลูกผู้ชายชื่อนายหลุยส์. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพฯ: สยามบันทึก, 2552.


    ภาพ : http://www.korbooks.com/product/2351/โลกที่สี่-ประวัติศาสตร์หน้าใหม่-ของหญิงไทย-จิระนันท์-พิตรปรีชา

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. โลกที่สี่. กรุงเทพฯ: ฝ่ายวิชาการ สโมสรนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2518.



    จิระนันท์ พิตรปรีชา. สะอาดเขียว เขียวสะอาด. [ม.ป.ท.], 2538.


    ภาพ : http://164.115.22.43/library/mylib/bookdetail.php?book_id=12306

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. หม้อแกงลิง : คำให้การของคนให้คำ. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ:                    แพรวเอนเตอร์เทน, 2542.




    ภาพ : http://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=hobbit&month=08-2006&date=31&group=2&gblog=9

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. หม้อแกงลิง 2 : จารึกขอบจอ. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส, 2546.


    ภาพ : http://164.115.22.43/library/mylib/bookdetail.php?book_id=12308

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. หม้อแกงลิง 3 : รำพึงถึงบทหนัง. กรุงเทพฯ: เอ.อาร์.บิซิเนส เพรส, 2546.



    ภาพ : http://www.book.rmutt.ac.th/?p=129397

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. หลวงพระบาง : หัวใจของล้านช้าง. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: ร่วมด้วยช่วยกัน, 2543.


    ภาพ : http://booklikes.com/book/book,11053995

    มณฑล ใบบัว และจิระนันท์ พิตรปรีชา. หยุดเข็มนาฬิกา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2556.


    เสกสรรค์ ประเสริฐกุล และ จิระนันท์ พิตรปรีชา. บันทึกวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2533.


    2. เป็นผู้แปล


    กอร์เดอร์, โยสไตน์. ส้มสื่อรัก. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2550.





    กิลแมน, ชาร์ลอตต์ เพอร์กินส์. ห้องสีเหลืองกับผู้หญิงคนนั้น. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: กอไผ่, 2527.





    คิม ชีฮา. ข่าวลือเท็จ. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: แมงสาบ, 2523.




    คิมซีอา. โจรร้ายทั้งห้า. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: ประพันธ์สาส์น, 2532.



    แครอลล์, ลิวอีส. อลิซในดินแดนพิศวง. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ฟรีฟอร์ม, 2552.





    เซียร์สตัด, อัสนี. ถนนหนังสือสายคาบูล. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2550.




    เบิร์น, รอนดา. เดอะซีเคร็ต. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: อมรินทร์, 2552.





    เบิร์นนี่, เดวิด. ชุดเปิดโลกวิทยาศาสตร์ไขปริศนาธรรมชาติเล่ม 1. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น, 2539.



    เบเมลแมนส์, ลุดวิก. หนูน้อยเมเดไลน์. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ซิเมนต์ไทย, 2552.




    โบนันซิงกา, เจย์และ เคิร์กแมน, โรเบิร์ต. คนตายเดินดิน : อุบัติการณ์เมืองสยอง. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา.  กรุงเทพฯ: แพสชั่น, 2556.




    มังเกล, อัลเบร์โต. บันทึกรักนักอ่าน. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2552.





    สปาร์กส์, นิโคลัส. ก้าวรักในรอยจำ. พิมพ์ครั้งที่ 5. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2549.




    ภาพ : https://th.wikipedia.org/wiki/ไฟล์:ปกหนังสือ_"ปาฏิหาริย์บันทึกรัก".jpg

    สปาร์กส์, นิโคลัส. ปาฏิหาริย์บันทึกรัก. พิมพ์ครั้งที่ 14. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ:       มติชน, 2548.



    สปาร์กส์, นิโคลัส. รักจากใจจร. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2551.


    สปาร์กส์, นิโคลัส. เรือนรักแรมใจ. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2557.



    ภาพ : 
    http://www.matichonbook.com/index.php/translated-literature/the-lucky-one.html

    สปาร์กส์, นิโคลัส. ลิขิตฟ้าชะตารัก. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: มติชน, 2554.




    สแตรนด์, ฟิลิป. โรงเรียนป(ล)าฏิหาริย์ !. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ยูเรก้า, 2550.





    สไปเนลลี่, เจอร์รี่. เด็กสาวจากดาวใส. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: แจ่มใส, [ม.ป.ป.].






    อาร์มสตรอง, จอห์น. ความลับในความรัก. แปลโดย จิระนันท์พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ฟรีฟอร์ม, 2551.






    ฮอฟฟ์แมน, พอล. ยมทูตขยับปีก. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2559.






    ฮอฟฟ์แมน, พอล. สี่สิ่งสุดท้าย. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2556. 





    ฮอฟฟ์แมน, พอล. หัตถ์ซ้ายของพระเจ้า. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์, 2553.





    ฮาร์ดี, ดิตาเนียร์. ปริศนาวงกตกุหลาบ. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: เพิร์ล พับลิชชิ่ง, 2552.





    แฮร์ริส, ชาร์เลน. ทรูบลัด ตอน ผจญภัยในดัลลัส. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ทรูดิจิตอลคอนเท้นท์แอนด์มีเดีย, 2555.




    แฮร์ริส, ชาร์เลน. ทรูบลัด ตอน รักฝังเขี้ยว. แปลโดย จิระนันท์ พิตรปรีชา. กรุงเทพฯ: ทรูดิจิตอล คอนเท้นท์แอนด์มีเดีย, 2554.




    3. เป็นบรรณาธิการ

    ภาพ : http://clm.up.ac.th/BibDetail.aspx?bibno=324035

    จิระนันท์ พิตรปรีชา, บรรณาธิการ. ไทย-เมียนมาร์ภราดรภาพ. แปลโดย กฤตยาอกนิษฐ์. 
    กรุงเทพฯ: กรมเอเชียตะวันออก กระทรวงการต่างประเทศ, 2557.



    ภาพ : https://www.bookcaze.com/index.php?route=product/product&product_id=11424

    ชเล วุทธานันท์. เร้นรอยทราย. ใน จิระนันท์ พิตรปรีชา, บรรณาธิการ. กรุงเทพฯ: เอโนเวล, 2554.





  • •  บทความ

    จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ประวัติศาสตร์ลาว-ไทย มิติใหม่ของมุมมอง.” ใน การสัมมนาความสัมพันธ์ไทย-ลาว จากมิติทางวัฒนธรรม. ความสัมพันธ์ไทย-ลาว จากมิติทางวัฒนธรรม : การสัมมนา 2-4 เมษายน 2537. [ม.ป.ท.], 2537.


    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    จิระนันท์ ประเสริฐกุล. “ปัญหาโครงสร้างประวัติศาสตร์นิพนธ์และแหล่งข้อมูลในการศึกษาอดีตของลาว.” ใน การสัมมนาความสัมพันธ์ไทย-ลาว จากมิติทางวัฒนธรรม. ความสัมพันธ์ไทย-ลาว จากมิติทางวัฒนธรรม : การสัมมนา 2-4เมษายน 2537. [ม.ป.ท.], 2537.

        

            - จิระนันท์ พิตรปรีชา. “ตามหา “เมตตาธรรม”.” 2559. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.bangkokbiznews.com/news/detail/703304 สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

            - จิระนันท์ พิตรปรีชา. “บทกวีแห่งแสงแรกแห่งอุษา “อองซาน ซูจี”.” 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://prachatai.com/journal/2007/06/13158 สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560


    •  บทภาพยนตร์แปล/บทบรรยายใต้ภาพยนตร์

            - Back to the Future Trilogy (1985-1990)

            - The Last Emperor (1987)

            - Schindler's List (1993)

            - Babe (1995) / Babe: Pig in the City (1998)

            - Forrest Gump (1997)

            - Titanic (1997)

            - 007 Tomorrow Never Dies (1998)

            - The Man in the Iron Mask (1998)

            - The Matrix (1999)

            - The Lord of the Rings (2001-2003)

            - Chicago (2002)

            - Hugo (2011)

            - Always 

            - Sunset on Third Street 1 (2005) 2 (2007) 3 (2012)

            - Across the Universe (2007)

            - Ocean (2009)

            - Black Swan (2010)

            - Biutiful (2010)

            - The help (2011)

            - This Means War (2012)

            - Safe Haven (2013)

            - ฯลฯ


    •  เพลง


    เพลงกอดแม่วงก์ - จิระนันท์ พิตรปรีชา และ โฮป แฟมิลี่ 




    เพลงคนปากบารา มาลีฮวนน่า (จิระนันท์ พิตรปรีชา คำร้อง)
              



    เพลงศศิน ไข่ มาลีฮวนนา และ จิระนันท์ พิตรปรีชา ภาพโดยทีมข่าวเฉพาะกิจ
    อิสรภาพวาระพิจารณ์
              



    เพลงหมดเวลา - คำร้อง: จิระนันท์ พิตรปรีชา ทำนอง เรียบเรียง
    กีตาร์: ยืนยง โอภากุล ขลุ่ย: ธนิสร์ศรี กลิ่นดี




    •  คลิปการอ่านบทกวี


    ร้อยใจกวีน้อมสดุดีถวายสักการ : จิระนันท์ พิตรปรีชา




    จิรนันท์ พิตรปรีชา" อ่านบทกวี"เปิดหีบ"




    จิระนันท์ พิตรปรีชา อ่านบทกวีอาลัยน้าแดง อินโดจีน




    บทกวี - จิระนันท์ พิตรปรีชา 




    บทกวี By จิระนันท์ พิตรปรีชา งาน ๒๐ปีมาลีฮวนน่า ไร่หุบกะพง ชะอำ 6 ธันวาคม 2557



    บทกวีจาก จิระนันท์ พิตรปรีชา แสงจากพ่อสู่ความยั่งยืน




    รายงาน จาก"ทุ่งมะขามหย่อง" ถึงกวีบทสุดท้ายในรัชกาลที่ ๙ | ข่าวช่อง 8




    อ่านบทกวีตรัง 




  • บทสัมภาษณ์ / คลิปสัมภาษณ์ / รายการที่จิระนันท์เป็นผู้ให้สัมภาษณ์ หรือเป็นวิทยากร    

    • บทความสัมภาษณ์
              
              - “จิระนันท์ พิตรปรีชา : 30 ปีในชีวิตนักเขียนที่ก้าวพ้นรั้ววิชาการ.” 2554. [ออนไลน์].
      เข้าถึงได้จาก: http://www.happyreading.in.th/article/detail.php?id=595 
      สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

        - กองบรรณาธิการ www.addtrang.com. ”ทับเที่ยง” ในความทรงจำ “จิระนันท์ พิตรปรีชา”.” 2558. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.addtrang.com/web/index.php/talk/84-jiranan สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

    •         - สุวิทย์ วงศ์รุจิราวาณิชย์. “‘จิระนันท์ พิตรปรีชา’ สานฝัน สร้างชุมชน จากภาพถ่าย
      ‘’สห +ภาพ’.” 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.creativemove.com/
      interview/jirananfotounited/ 
      สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

       
    • คลิปวิดีโอ/คลิปรายการ

        BonusLife TapE 5/1 Talk คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา




              BonusLife TapE 5/2 Talk คุณจิระนันท์ พิตรปรีชา




      PLAY ASEAN ตอนที่3 จิระนันท์ พิตรปรีชา




      กรุณา TALK TO ME - คุณ จิระนันท์ พิตรปรีชา ช่วงที่1 ออกอากาศวันที่ 30 กันยายน 2557




      กรุณา TALK TO ME - คุณ จิระนันท์ พิตรปรีชา ช่วงที่2 ออกอากาศวันที่ 30 กันยายน 2557




      ตอบโจทย์ไทยพีบีเอส : "ออง ซาน ซูจี" ผู้หญิง "เหนือ" อำนาจ (4 เม.ย. 59)




      ไทยเดียวทอล์ค : Active citizenship : คุณจิรนันท์ พิตรปรีชา




      บ.บันดาลใจ จิระนันท์ พิตรปรีชา 1/3




      บ.บันดาลใจ จิระนันท์ พิตรปรีชา 2/3




      บ.บันดาลใจ จิระนันท์ พิตรปรีชา 3/3




      รายการ Book variety | 35ปีซีไรต์| เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์และ จิระนันท์ พิตรปรีชา |
      13พ.ค. 56 




      ศิลป์สโมสร - กวีแม่ 1/3




      ศิลป์สโมสร - กวีแม่ 2/3




      ศิลป์สโมสร - กวีแม่ 3/3 



  •      [2016] 1/2 Tourism Trend Talk #2 ช่วงที่1 [27 มีนาคม 2559] 
             (การปรับตัวของวัด วัง และพิพิธภัณฑ์ท่ามกลางกระแสการท่องเที่ยวใหม่ในเมือง) 




            [2016] 2/2 Tourism Trend Talk #2 ช่วงที่2 [27 มีนาคม 2559] (การปรับตัวของวัด วัง 
    และพิพิธภัณฑ์ท่ามกลางกระแสการท่องเที่ยวใหม่ในเมือง) 




            Ignite Hatyai++ : จิระนันท์ พิตรปรีชา 


           

     Wisdom - จิรนันท์ พิตรปรีชา 


           
    ขยายข่าว : TK-Park มิวเซียมสยาม ปรับเพื่ออยู่สร้างสมองไทย


            
    หลงเวลากับชาตินิยม 1 



           
    หลงเวลากับชาตินิยม 2 



            หลงเวลากับชาตินิยม 3 



  • ❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀❀




    ค. งานศึกษาที่เกี่ยวข้อง

    • วิทยานิพนธ์

              - กฤตยา นาฑี. “การศึกษากลวิธีในการหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนทางภาษาและวัฒนธรรมในการแปลบทภาพยนตร์จากภาษาอังกฤษแบบอเมริกันเป็นภาษาไทย : กรณีศึกษาบทบรรยายภาษาไทยของจิระนันท์ พิตรปรีชา.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล, 2543.


              - กุลชาติ ศรีโพธิ์. “การสื่อสารผ่านการแปลคำสบถ และคำหยาบคายในภาพยนตร์ต่างประเทศ.” วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548.

              - ภคพล พิริยะเบญจวัฒน์. “กลวิธีการแปลประโยคกรรมวาจกของจิระนันท์ พิตรปรีชาในบทบรรยายใต้ภาพยนตร์.”วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา, 2554.


    • บทวิจารณ์ / บทความวิชาการ  

    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    กอบกุล อิงคุทานนท์. “ถ้าการแบ่งปันเป็นดีของมนุษยชาติใน ‘ใบไม้ที่หายไป’.” ใน ๒๕ ปีซีไรต์รวมบทวิจารณ์คัดสรร, 364-370. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: 2547.

    ภาพ: นีนนิมมาน ยอดเมือง
    กอบกุล อิงคุทานนท์. “ถ้าการแบ่งปันเป็นดีของมนุษยชาติใน ‘ใบไม้ที่หายไป’.” ใน จากใบไม้ที่หายไปถึงโรแมนติคของเวิร์ดเสวิร์ธ. กรุงเทพฯ: แสวงหา, 2533.


    ชูศักดิ์ ภัทรกุลวณิชย์. “๒๐ ปี‘อหังการของดอกไม้’.” ใน ๒๕ ปีซีไรต์รวมบทวิจารณ์คัดสรร, 371-378. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: 2547.

    ภคพล พิริยะเบญจวัฒน์. “กลวิธีการแปลประโยคกรรมวาจกของจิระนันท์ พิตรปรีชา ในบทบรรยายใต้ภาพยนตร์.” วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา. 20, 33 (2555): 129-150. http://digital_collect.lib.buu.ac.th/journal/Huso/v20n33/p129-150.pdf

    รื่นฤทัย สัจจพันธุ์. “ใบไม้ที่หายไป อารมณ์กวีของผู้หญิงที่มีอุดมการณ์.” ใน ๒๕ ปีซีไรต์รวมบทวิจารณ์คัดสรร, 355-363. สมาคมภาษาและหนังสือแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์. กรุงเทพฯ: 2547.

    ภาพ: นีนนิมมาน ยอดเมือง

    สัจภูมิ ละออ. “ใบไม้ที่หายไป.” ซีไรต์ไดอารี่. กรุงเทพฯ: สุขภาพใจ, 2551.

    ภาพ : นีนนิมมาน ยอดเมือง

    แสงศรัทธา ณ ปลายฟ้า. “ใบไม้ที่หายไป.” ใน ตำนานผลงาน : นักเขียนรางวัลซีไรต์ (คนแรก - ปัจจุบัน2554). 
    กรุงเทพฯ: ก้าวแรก พับลิชชิ่ง, 2554


         - bgtsu tsu. “วิเคราะห์วรรณกรรมปัจจุบัน ใบไม้ที่หายไป - จีระนันท์ พิตรปรีชา.” 2557. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://krubigthairoom.blogspot.com/2014/05/blogpost_4339.html สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.


    •         - paphartnet. “วัจนลีลาในการแปลหนังสือของจิระนันท์ พิตรปรีชา.” 2550. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=papfaize&month=10-2007&date=09&group=10&gblog=2 สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

              - pim.miq. “คุณค่าบทกวีอหังการของดอกไม้(จิระนันท์ พิตรปรีชา).” 2555. [ออนไลน์]. 
      เข้าถึงได้จาก: http://j3-taimc-writing.blogspot.com/2012/05/blogpost_17.html 
      สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

              - กนกวรรณ ตาสา. “ ”ใบไม้ที่หายไป” สะท้อนสภาพสังคมการเมืองในแต่ละช่วงชีวิตของ
      จิระนันท์ พิตรปรีชา.” 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://26042536.blogspot.com/
      2013/10/blogpost_3.html
       สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

              - จันทมณี ถือเงินทอง. “ชีวิตและบทกวี.” [ม.ป.ป.]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก : http://www.sarakadee.com/essay_1/essay_1_50_08.htm สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

              - เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์. “ไม้ดอกนี้ชื่อจิระนันท์.” ใน จิระนันท์ พิตรปรีชา. ใบไม้ที่หายไป. (9)-(13). [ม.ป.ท., ม.ป.ป.]. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.arts.chula.ac.th/~complit/
      etext/octobertext/octtext/jiranunt2.htm
       สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560.

              - อภิญญา เหลาเกตุ. “บันทึกประวัติศาสตร์แห่งอารมณ์และความรู้สึกของคนร่วมยุคสมัย “ใบไม้ที่หายไป”.” 2556. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://laoket.blogspot.com/2013/10/
      543410010234.html
       สืบค้น 3 กุมภาพันธ์ 2560

  • คณะผู้จัดทำ
    นิสิตภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
    และนิสิตคณะอักษรศาสตร์ที่ลงทะเบียนเรียนในรายวิชา "วิวัฒนาการวรรณกรรมไทย"

    จิรเมธ คูไพริน
    เรียบเรียงข้อมูลบรรณานุกรม ตรวจสอบข้อมูล

    นีนนิมมาน ยอดเมือง
    ค้นคว้าข้อมูลจัดทำบรรณานุกรม (เว็บไซต์ คลิปวิดีโอ) ถ่ายภาพปกหนังสือ

    ยงยุทธ คำบุดดี
    ค้นคว้าข้อมูลจัดทำบรรณานุกรม (สื่อสิ่งพิมพ์) และเรียบเรียงข้อมูล

    พรรษชล อัศวฤทธิไกร
    ค้นคว้าภาพปกหนังสือ (จากอินเทอร์เน็ต) รวบรวมข้อมูลผลงานเกี่ยวกับภาพยนตร์
    ค้นคว้าตัวบท (สารบัญ บทความ)

    พุฒิพงศ์ เจืออุปถัมย์
    ดาวน์โหลดคลิปวีดิโอ ค้นคว้าตัวบท (สารบัญ บทความ)

    บรรณาธิกรต้นฉบับ             หัตถกาญจน์ อารีศิลป
    กองบรรณาธิการ                 ธีรศักดิ์ คงวัฒนานนท์ และ โสภิตา คงวัฒนานนท์ 
    ภาพวาดประกอบ                 ซอแก้ว ลิมปิชาติ
    เผยแพร่ครั้งแรก                  เพจ "อ่าน-คิด-เขียน"   เมื่อสิงหาคม 2563         
                                                   https://www.facebook.com/arts.readthinkwrite/


    ** สามารถส่งข้อเสนอแนะหรือข้อมูลเกี่ยวกับประวัติและผลงานเพื่อร่วมจัดทำคลังข้อมูลบรรณานุกรมนี้ให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้นได้ทางอีเมล arts.readthinkwrite@gmail.com **


    © สงวนลิขสิทธิ์ตามพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ (ฉบับเพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 เผยแพร่เพื่อประโยชน์ทางวิชาการเท่านั้น 

     



เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in