เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
App Jp Ling หรรษาspicygarlic
07. การเปลี่ยนแปลงกับภาษาญี่ปุ่น?
  • สวัสดีค่ะทุกคน มาพบกับบล็อกของเรากันอีกแล้ว 


    คำที่เราใช้พูดในอดีตและปัจจุบัน ถ้าหากเปรียบเทียบกัน คงไม่เหมือนกัน เพราะภาษาเราก็เหมือนสิ่งมีชีวิต คือมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามยุคสมัย สังคม หรือสภาพแวดล้อม หรืออาจจะเรียกได้ว่าภาษามีการพลวัตนั่นเอง


    คำว่า พลวัต ตามในราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายเอาไว้ว่า ในภาษาไทยมักใช้ขยายคำที่หมายถึงสิ่งที่ไม่หยุดนิ่งอยู่กับที่ และมีความสามารถเคลื่อนที่ไปข้างหน้าด้วยพลังในตัวเอง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าภาษามีพลวัตหรือมีการเปลี่ยนแปลงได้นั่นเองค่ะ


    ในภาษาไทยก็มีการเปลี่ยนแปลงของภาษา เช่น

    มีการกร่อนเสียง เช่น คำว่าหมากม่วง คำว่า หมาก โดนกร่อนเสียงไป จึงกลายเป็น มะม่วง 

    การสับที่เสียง เช่น คำว่าตะกร้า ในภาษาถิ่นบางภาษาจะเรียกว่า กะต้า

    การอุทานเสริมบท ในกรณีนี้คนไทยน่าจะเคยชินไปแล้ว เช่น วัด เป็น วัดวา(อาราม) 

    หรือจะเป็นภาษาวิบัติ เช่น จังเลย เป็น จุงเบย แปลก เป็น แปก เป็นต้น


    ในภาษาญี่ปุ่นเองก็มีการเปลี่ยนแปลงของภาษาเหมือนกัน เช่น

    1. metathesis หรือการสลับเสียง เพื่อทำให้ออกเสียงได้ง่ายขึ้น เช่น 

    ふんいき → ふいんき (บรรยากาศ) あらたしい → あたらしい (ใหม่) 

    あきばはら → あきはばら(อะกิฮะบะระ)


    2. การเปลี่ยนแปลงทางความหมายของคำ เช่น やばい คือคำนี้มีความหมายที่กว้างขึ้นกว่าเมื่อก่อนเยอะมากๆ แต่ที่เมื่อก่อนคำนี้จะมีเพียงแค่ความหมายในด้านลบ แต่ในปัจจุบันมีการใช้ที่หลากหลายหลากสถานการณ์มากขึ้น รวมทั้งมีความหมายในแง่บวกด้วย ดังตัวอย่างในรูปข้างล่าง

    (ที่มาภาพ https://twitter.com/kenlife202010/status/1495873714809974790)

    จากรูปนี้ก็จะเห็นได้เลยว่า คำว่า やばい ในปัจจุบันสามารถใช้ได้กับทุกสถานการณ์ไม่ว่าจะเป็นดีหรือไม่ดี


    3. การเติม る ลงไปเพื่อเปลี่ยนคำนามให้เป็นคำกริยา เช่น ググル → ググる(Google) คือเปลี่ยนจากกูเกิ้ลที่เป็นคำนามให้กลายเป็นคำกริยา และเมื่อเปลี่ยนแล้วก็ยังสามารถผันรูปได้แบบกริยาปกติได้ด้วย


    4. lexicalization หรือการเกิดคำใหม่ เช่น かもしれない ที่แปลว่า อาจจะ เดิมทีแล้วคำนี้มาจากคำว่า かも+知れない ซึ่งประกอบไปด้วย 2 คำ แต่เมื่อมีการใช้ในรูปปฏิเสธมากกว่า ทำให้ในภายหลังคำนี้กลายเป็นหนึ่งคำ และไม่สามารถตัดออกได้ในที่สุด


    โดยสรุปก็คือ ไม่ว่าจะเป็นภาษาไทยหรือภาษาญี่ปุ่น จะเห็นได้ว่าแม้แต่ในปัจจุบันภาษาก็ยังมีการเปลี่ยนแปลงไปเรื่อย ๆ ตามสังคม ยุคสมัย สภาพแวดล้อม หรือปัจจัยอื่นๆ และภาษาก็มีการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ไปเรื่อยๆ ตราบใดที่ยังมีผู้ใช้อยู่นั่นเองค่ะ


    สำหรับบล็อกวันนี้ ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้

    ขอบคุณผู้อ่านทุกคนนะคะ ไว้เจอกันบล็อกหน้า สวัสดีค่ะ


    --------------------------------------------------------------------------------------------

    อ้างอิง
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
縁ไก่ทอด  (@happyenkaitod)
พอลองออกเสียงดู あきはばら ออกเสียงง่ายกว่า あきばはら จริงๆด้วย
Sodasado (@Sodasado)
やばい นี่ใช้ได้ครอบคลุมทุกสถานการณ์จริง ๆ ค่ะ นึกอะไรไม่ออกก็ やばい ไว้ก่อนตลอด🤣
k.l.k (@k.l.k)
การเปลี่ยนแปลงภาษาเป็นหัวข้อหนึ่งที่คนสนใจมาก ตย.やばい ภาพนี้คนชอบมากเลย ต่อไปจะเปลี่ยนไปยังไง น่าติดตามนะคะ
spicygarlic (@spicygarlic)
@k.l.k เห็นด้วยค่ะอาจารย์ คำว่า やばい ถ้าไม่รู้บริบท หนูก็ไม่รู้ว่ามีความหมายดีหรือไม่ดีเลยค่ะ555