เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
App Jp Ling หรรษาspicygarlic
06. Do! Don’t! กับคนญี่ปุ่น
  • สวัสดีค่ะทุกคน มาพบกับบล็อกของเรากันอีกแล้ว 


    คนที่เคยเรียนภาษาญี่ปุ่นบางคนอาจจะเคยมีคำถามว่า เวลาคุยกับคนญี่ปุ่นหรือเวลาสนทนาโดยรูปแบบใดก็ตาม จะต้องทำยังไงดีน้า มีอะไรที่เราควรทำหรือไม่ควรทำมั้ย เพราะวัฒนธรรมเรากับเขาก็ค่อนข้างแตกต่างกัน 


    วันนี้บล็อกของเรามีตัวอย่างเล็กๆ น้อยๆ เกี่ยวกับสิ่งที่ควรและไม่ควรทำเมื่อสนทนากับคนญี่ปุ่นค่ะ 


    มาเริ่มกันที่สิ่งที่ควรทำก่อนค่ะ

    Do!

    1.การขอร้องแบบนึกถึงฝั่งคู่สนทนาเป็นหลัก

    เวลาเราจะเขียนอีเมลเพื่อขอร้องให้คู่สนทนา หรือผู้ที่รับสารให้ทำอะไรสักอย่างหนึ่งให้เรานั้น เราไม่ควรที่จะเขียนโดยใช้มุมมองของผู้รับสาร กล่าวคือ เราไม่ควรคิดว่าถ้าเราเป็นเขาเราจะเขียนยังไง ในทางกลับกันเราควรที่จะเขียนในมุมมองของตนเองเป็นหลัก พูดเหตุผลของตนและเราควรจะอธิบายสถานการณ์ของเราให้ผู้รับสารได้รับรู้ รวมถึงให้ผู้รับสารได้คิดและตีความเอง จะเหมาะสมมากกว่า


    2.รูปแบบหรือท่าทางการปฏิเสธ

    เวลาที่เราจะปฎิเสธการทำอะไรให้คนญี่ปุ่น เราควรจะบอกเหตุผลด้วย ไม่ใช่บอกแค่ว่าเราทำให้ไม่ได้ แต่การบอกเหตุผลนั้น ก็ควรบอกแต่พอประมาณ ไม่มากเกินไม่น้อยเกินไป รวมถึงต้องระวังเรื่อง privacy ด้วย


    ส่วนรูปแบบคำพูด ก็คือเราไม่ควรพูดตรงๆ หรือที่เราอาจจะคุ้นชินก็คือคำว่า ちょっと...พร้อมเสริมด้วยการทำสีหน้าลำบากใจ เพียงแค่นี้ คู่สนทนาก็จะรู้เป็นนัยๆ แล้วว่าเราจะปฎิเสธ

    ที่มาภาพ irasutoya


    ต่อกันด้วยสิ่งที่ไม่ควรทำกันเลยค่ะ

    Don’t!

    1.การจิ๊ปาก (舌打ち)

    เพราะบริบทการจิ๊ปากระหว่างคนไทยกับคนญี่ปุ่นไม่เหมือนกัน ถ้าเป็นคนไทย จะเป็นการจิ๊ปากในกรณีที่ไม่พอใจ ไม่พอใจตัวเองก็ได้ หรือไม่พอใจคนอื่นก็ได้ แต่ส่วนใหญ่ เท่าที่ผู้เขียนประสบมาจะเป็นการไม่พอใจตัวเองเป็นส่วนใหญ่ และทำเพราะความเคยชิน ไม่รู้ตัว รู้ตัวอีกทีก็ทำไปแล้ว แต่ในบริบทญี่ปุ่นคือถ้าจิ๊ปาก จะดูเป็นการโกรธ เหมือนเราต้องการหาเรื่องคู่สนทนามากกว่า เพราะฉะนั้น ถ้าคนไทยจิ๊ปากต่อหน้าคนญี่ปุ่น จึงอาจทำให้เกิดความเข้าใจผิดได้ เพราะบริบททางวัฒนธรรมมีความแตกต่างกันอย่างมาก ยิ่งในสถานการณ์ที่เป็นทางการ เช่นการคุยธุรกิจ คุยงาน หรือการประชุม ยิ่งไม่ควรทำเป็นอย่างมาก เพราะถือว่าไม่สุภาพสุดๆ ถ้าเราฝึกไม่จื๊ปากเวลาสถานการณ์ไม่เป็นดั่งใจ ก็จะเป็นข้อดีอย่างมากค่ะ


    2. การพูดว่า หา? (は?)

    ข้อนี้ถือได้ว่าเป็นกรณีเดียวกับข้อก่อนหน้าค่ะ เพราะว่าคนไทยพูด ‘หา?’ หรือ ‘ห๊ะ?’ คือแสดงความสงสัย ความไม่เข้าใจ หรืออาจจะต้องการให้คู่สนทนาพูดซ้ำอีกรอบ ก็จะพูดคำนี้ออกมา และคำนี้สำหรับคนไทยก็ไม่ใช่คำที่ไม่สุภาพด้วย ทำให้คนไทยติดพูดคำนี้บ่อย แต่สำหรับคนญี่ปุ่นแล้ว เป็นคนละความหมายกันเลย คือคำว่า は นั้นเหมือนเป็นการหาเรื่อง คนญี่ปุ่นที่ได้ยินเราพูดคำนี้อาจจะงง ว่าเราโกรธอะไรหรือไม่ หรือต้องการหาเรื่องหรือเปล่า อาจสร้างความเข้าใจผิดกันได้ค่ะ ดังนั้น เวลาอยู่ที่ญี่ปุ่น หรือคุยกับคนญี่ปุ่น เลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง หรือไม่ควรพูดเลยค่ะ 


    แต่ว่าในกรณีที่เราสงสัยจริงๆ อาจจะพูดว่า え?แปลประมาณว่า เอ๊ะ?  ในภาษาไทยเพราะเป็นคำปกติที่คนญี่ปุ่นใช้กันอยู่แล้ว หรืออาจจะพูดว่า もう一回言ってもいいですか แปลว่า พูดอีกครั้งได้ไหมคะ ก็ได้เช่นกันค่ะ


    3. สถานการณ์ที่เรายังไม่ควรพูดขอบคุณ

    ในกรณีที่เราขอให้ใครทำอะไรให้ ถ้าเป็นภาษาไทย เราก็จะมีวลีที่ว่า ‘ขอบคุณล่วงหน้านะคะ/ครับ’ แต่กับภาษาญี่ปุ่นเวลาเราขอให้ใครทำอะไรให้ ถ้าเขายังไม่ยืนยันหรือตอบรับกับเราตรงๆ หรือยังไม่ได้บอกว่าจะทำให้ เรายังไม่สามารถพูดว่า ‘ありがとうございます’ ได้ เพราะว่าในภาษาญี่ปุ่นนั้นให้ความสำคัญกับสิทธิ์ในการตัดสินใจของผู้ฟัง เพราะฉะนั้น ถ้าเราขอให้คนญี่ปุ่นทำอะไรให้ ถ้าผู้ฟังยังไม่ได้ตัดสินใจว่าจะช่วยเรา ให้เราพูดว่า ‘よろしくお願いします’ จะดีกว่า แต่ถ้าเขาได้ช่วยเราแล้ว ในกรณีนั้น เราก็สามารถพูดขอบคุณได้ตามปกติ


    เช่น 

    A : B先生、こんにちは。レポートのことですが。。

    送ったファイルは第一稿のレポートです。これをチェックしていただけないでしょうか。よろしくお願いします。

    ในกรณีนี้ คือเราแค่ถาม ยังไม่ได้การตอบรับจากอีกฝ่ายว่าจะทำให้หรือไม่ ถ้าใช้ よろしくお願いします จะดูเหมาะสมกว่านั่นเองค่ะ


    4.สถานะสำคัญกว่าความสนิท

    อย่างที่ทุกคนอาจจะทราบว่าคนญี่ปุ่นค่อนข้างให้ความสำคัญกับ 上下関係 มาก ทำให้เวลาเราพูดกับคนที่มีสถานะสูงกว่า ถึงจะสนิทกัน แต่ก็ต้องมีความสุภาพด้วย อีกทั้งเวลาเราพูด เราไม่ควรที่จะยกตนเองให้สูง ไม่ควรชมตัวเองมากเกินไปด้วยเช่นกันค่ะ ซึ่งในข้อนี้จะค่อนข้างต่างภาษาไทยพอสมควร เนื่องจากว่าถ้าเป็นคนไทย ความสนิทจะมีผลอย่างมาต่อการใช้คำสุภาพ กล่าวคือ ยิ่งสนิทมาก ความสุภาพก็จะน้อยลง แต่กับภาษาญี่ปุ่นนั้น ความสนิทถือว่าไม่ค่อยมีผลเท่าไร เพราะว่าให้ความสำคัญกับ 上下関係  มากกว่าดังที่กล่าวไปข้างต้น


    5.สิ่งที่ไม่ควรพูด

    เวลาเราเขียนอีเมลขอร้อง หรือเวลาเราคุยกับใคร ถ้าคุยกับคนญี่ปุ่นเราไม่ควรนำข้อที่ผู้ฟังหรือคู่สนทนารู้แล้วขึ้นมาพูดอีก และเรื่องที่ไม่จำเป็นก็ไม่ควรจะพูดถึงเช่นกัน รวมถึงเรื่องที่ไม่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังสนทนาอยู่ก็ไม่ควรพูด 



    สุดท้ายนี้ ผู้เขียนก็อยากจะฝากไว้ว่า กรณีหรือตัวอย่างที่ผู้เขียนได้เขียนไปนั้นแล้วแต่คนที่เจอ ต่างคนต่างนิสัยกัน ไม่ว่ากับใครก็ต้องพูดสุภาพ แต่ก็แล้วแต่คนที่สนทนาด้วย ถ้าคู่สนทนาโอเค ก็อาจจะพูดได้ แต่ก็ไม่ใช่ว่าจะผิดพลาดไม่ได้ ถ้าเราพูดหรือกระทำผิดพลาดโดยไม่ได้ตั้งใจ เราก็เก็บสิ่งนั้นไปเป็นบทเรียน


    และสิ่งที่อยากจะสื่ออีกสักนิดก็คือ ต่างภาษาก็มีบริบททางวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน การที่เราพูดคำคำหนึ่งได้ในภาษาเรา โดยไม่โดนมองว่าไม่สุภาพ ก็ไม่ได้หมายความว่าในอีกภาษาจะเป็นคำสุภาพ ดังนั้น การที่เราศึกษาเกร็ดเล็กเกร็ดน้อยของการพูดหรือข้อควรระวังของแต่ละประเทศไว้ก่อนที่จะได้สนทนากับเจ้าของภาษานั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรทำ นอกจากจะหลีกเลี่ยงการพูดไม่สุภาพแบบไม่รู้ตัวแล้ว ยังเป็นการสร้างภาพลักษณ์ที่ดีให้กับตัวเองได้อีกด้วย ว่าเป็นคนที่ใส่ใจกับภาษาของผู้สนทนา และอาจจะทำให้การพบเจอกันครั้งแรกเต็มไปด้วยความประทับใจได้ด้วยค่ะ



    สำหรับบล็อกวันนี้ ก็ขอจบแต่เพียงเท่านี้

    ขอบคุณผู้อ่านทุกคนนะคะ ไว้เจอกันบล็อกหน้า สวัสดีค่ะ

    ที่มาภาพ irasutoya

    --------------------------------------------------------------------------------------------


    อ้างอิง

    https://youtu.be/aYqmq1RhI7Y


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
เราติดจิ๊ปากมาก ๆ เลยค่ะ เวลาคุยกับคนญี่ปุ่นต้องพยายามระวังสุด ๆ 5555 ขอบคุณที่มาแบ่งปันนะคะ ต่อไปนี้จะได้ระวังได้ถูกจุดมากขึ้นด้วย😆
縁ไก่ทอด  (@happyenkaitod)
เราว่าเรื่องความสนิทน่าสนใจมากค่ะ สำหรับคนไทยเรารู้สึกว่าถ้าพูดสุภาพดูห่างเหินกันแปลกๆเนอะ
Sodasado (@Sodasado)
อธิบายได้ละเอียดมาก ๆ เลยค่ะ ถ้ายกตย.สถานการณ์เพิ่มก็น่าจะทำให้อ่านสนุกและทำเห็นภาพมากขึ้นอีกค่ะ 💕
k.l.k (@k.l.k)
สิ่งที่ควรทำน่าสนใจนะคะ ถ้ามีตย.เพิ่มเติมจะดีมาก สิ่งที่ไม่ควรทำนึกภาพออกเลยค่า
spicygarlic (@spicygarlic)
@k.l.k ขอบคุณสำหรับคำแนะนำค่ะอาจารย์🙇🏻‍♀️🙏