ซึ่งจะว่าผิดก็ไม่ใช่เสียทีเดียว
แต่สิ่งที่สำคัญมาก (อย่างน้อยก็ในสายตาเราระหว่างฝึกงาน) คือการหาเรฟ ซึ่งนั่นแปลว่าคุณต้องรู้จักผลงานในประเภทที่คุณทำอยู่เยอะพอสมควร (ซึ่งทำให้รู้เลยว่าเราดูโฆษณามาน้อยมาก ๆ)
ประโยคพวกนี้ชวนให้ฉันนึกถึงประโยคหนึ่ง (ขออภัยที่จำที่มาและประโยคเป๊ะ ๆ ไม่ได้) แต่ใจความสำคัญก็คือ การคิดจะสร้างงานศิลปะโดยไม่หาเรฟอื่นๆ แม่งโคตรส่อให้เห็นถึงอีโก้อันเปราะบางของผู้สร้างเลย
เราก็ไม่ปฏิเสธว่าคงมีคนที่สามารถคิดงานโดยไม่สนใจหาเรฟอื่น ๆ ได้ แต่อย่าลืมว่า
หนึ่ง: ในการทำงาน ทุกงานมีเวลาจำกัด ทุกงานมีเดดไลน์ทุกงานมีลูกค้ารอกระทืบเราให้ตายคาบรีฟอยู่ (หนึ่งเดือนเราไม่ได้ทำโฆษณาตัวเดียวนะเว้ย) จะมานั่งฟุ้ง ๆ ปล่อยให้อารมณ์ไหลไปมันยากนะคุณ
สอง: อย่าลืมว่าการหาเรฟ ไม่เท่ากับ การลอก – เอาจริง ก็เช่นเดียวกับตอนที่ฉันเขียนเปเปอร์ส่งในคณะแน่นอนว่าฉันไม่นั่งเทียนเขียนใหม่ตั้งแต่ต้น โดยปฏิเสธไม่อ่านสิ่งที่นักปรัชญาคนอื่น ๆ เขาเขียนกันมาก่อนเป็นพัน ๆ ปี แต่ฉันใช้เรฟเหล่านั้นมาพัฒนางานของตัวเองต่อ (ถึงจะใช้คำว่า
สาม: การหาเรฟทำให้ลูกค้าเข้าใจงานมากขึ้น เพราะบางทีงานที่เราคิดมันอาจเล่นท่ายากเยอะเกินไปและมันไม่ได้สามารถเข้าใจกันได้ง่าย ๆ ผ่านการเล่าให้ฟังหรือพรีเซนต์เป็นตัวอักษรอย่างเดียว (เราต้องพึงตระหนักเช่นกันว่าลูกค้าทำงานคนละสายกับเรา มีไอเดียคนละแบบกับเรา เคยเสพงานมาไม่เหมือนเราและโดยส่วนใหญ่จะน้อยกว่าเรา แต่เขาเป็นคนตัดสินใจแทบทุกอย่าง – ก็เขาออกเงิน)
เราจึงต้องทำยังไงก็ได้ให้เขาเห็นภาพที่เป็นรูปธรรมมากที่สุด เพื่อที่เขาจะได้ตัดสินใจถูกว่ามีอะไรต้องแก้ไหม และนี่แทบจะเป็นงานหลักที่เราช่วยพี่เขาทำระหว่างฝึกงานเลย ก็คือการทำแคปบอร์ด (แคปบอร์ด
การคิดว่างานของเราเพอร์เฟคมาตั้งแต่ดราฟต์แรกมันเป็นอะไรที่ไม่มีวันเกิดขึ้นจริงหรอกนะ
(เศร้าแต่ปฏิเสธไม่ได้ T_T)
ส่วนจะแก้มาก แก้น้อย ขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายอย่างที่นอกเหนือความควบคุมของเรา
(บางครั้งลูกค้าบรีฟมาว่า “อยากได้กาแฟที่นำเข้าจากประเทศอิตาลี และช่วยชงมาแบบ
บางงานแก้กลับไปกลับมากันหลายรอบ เหมือนก้อนมะเร็งเรื้อรัง *หมายเหตุ: มะเร็ง (น.) ใช้เรียกงานที่แก้กันไปกันมาไม่จบไม่สิ้น* ซึ่งตอนแรกเราก็ไม่เข้าใจว่าจะแก้อะไรกันนัก มันไม่เคลียร์ยังไง
แต่พอได้ยินการคุยงานกับลูกค้าหลาย ๆ รอบเข้า เราก็เริ่มรู้สึกว่ามันเข้าใจได้ เนื่องจากภาษาของมนุษย์มันซับซ้อนเหลือเกินและหลายคำนิยามก็โคตรจะ subjective
เอาง่าย ๆ เลย มีครั้งหนึ่งลูกค้าอยากได้นางเอกโฆษณาที่ลุคดู “เป็นคนหัวเมืองต่างจังหวัด” ซึ่งไอ้คำนิยามเหล่านี้มันพอเข้าใจได้แหละถ้าเรามองแบบรวม ๆ แต่เมื่อเอารูปแคสติ้งมาเทียบกัน 3 คนจริง ๆ แล้ว บางครั้งคนที่เราคิดว่าดูหัวเมืองต่างจังหวัดสุด อาจจะไม่ใช่คนเดียวกับที่ลูกค้ารู้สึกว่าหัวเมืองต่างจังหวัดที่สุดก็เป็นได้
หรือแม้กระทั่งเวลาลูกค้าบอกว่า “อยากได้คนที่ดูสวยแบบโฆษณา ไม่ใช่นางเอกละครทีวี” ก็มีปัญหาบ้างเหมือนกัน เช่นคนนี้ละครไป คนนี้ดูแพงเกินไป คนนี้ดูสวยเว่อร์เกินไป ฯลฯ สารพัดคำที่ฉันจะนึกออก
ถามก่อนทำบ้างก็ดีจะได้ไม่ต้องนั่งช้ำใจตอนโดนดีบรีฟ
(แต่บางทีต่อให้ถามแล้ว ก็ต้องช้ำใจตอนโดนดีบรีฟอยู่ดี
– อาจนับเป็นอีกคุณสมบัติจำเป็นของการเป็นครีเอทีฟน่ะนะ)
ขอเป็นกำลังใจให้เหล่าครีเอทีฟและคนอยากเป็นครีเอทีฟทั้งหลาย
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in