เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ประโยชน์ของความรู้ที่ไร้ประโยชน์ By เอบราฮัม เฟล็กซ์เนอร์
  • รีวิวเว้ย (1282) เราอยู่ในประเทศที่การทำงานวิจัยและงานศึกษาชิ้นต่าง ๆ จะถูกกำกับเอาไว้ด้วย "ผลที่คาดว่าจะได้รับ" ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องของการทำงานและการวิจัยเท่านั้น หากแต่เรื่องของการใช้ชีวิตในทุกวันนี้เราก็มักจะได้รับคำถามหรือคำบอกเล่าว่า "ถ้าทำแล้วไม่ได้ประโยชน์จะทำไปทำไมกัน" หรือแม้กระทั่งกระแสสังคมในปัจจุบันที่เน้นและเชิดชูเรื่องของความโปรดักทีฟ (Productive) จนกลายมาเป็นค่านิยมในช่วงหนึ่งของสังคมที่ทุกคนต้องทำตัวให้มีอะไรและสร้างผลผลิตบางอย่างอยู่ตลอดเวลา นอกจากนี้ถ้าย้อนกลับไปไกลขึ้นอีกหน่อยในช่วงเวลาที่เราเป็นเด็กเราอาจจะเคยได้ยินผู้ใหญ่พูดหรือบ่นว่า "ทำไมไม่เอาเวลาไปทำในสิ่งที่มีประโยชน์" ทั้ง ๆ ที่หลายครั้งเราก็นั่งอ่านหนังสือ ดูสารคดีและกำลังเตรียมตัวทำอะไรบางอย่างในแบบของเราอยู่แต่ผู้ใหญ่ก็มักเห็นว่าสิ่งที่เราทำมักไม่มีประโยชน์ น่าสนใจว่าสังคมแห่งนี้คลั่งความมีประโยชน์ตั้งแต่เมื่อไหร่กัน ทั้งที่สิ่งที่ไม่มีประโยชน์ในบางครั้งอาจจะมีประโยชน์ขึ้นมาในสักวันหนึ่งข้างหน้า ก็แค่วันนี้ยังไมถึงเวลาของมัน
    หนังสือ : ประโยชน์ของความรู้ที่ไร้ประโยชน์ (The Usefulness of Useless Knowledge)
    โดย : เอบราฮัม เฟล็กซ์เนอร์ แปล กิตติธัช สุมาลย์นพ
    จำนวน : 101 หน้า
    .
    "ประโยชน์ของความรู้ที่ไร้ประโยชน์ (The Usefulness of Useless Knowledge)" หนังสือที่ว่าด้วยเรื่องของการตั้งคำถามต่อสิ่งที่สังคมทุกวันนี้ให้คุณค่าอย่างมากอย่างเรื่องของ "ความมีประโยชน์" เราแทบจะพบคำถามต่อท้ายในหลายกิจกรรมและในหลาย ๆ เรื่องที่ปรากฏว่า มีประโยชน์อะไร (?)  มีประโยชน์อย่างไร (?) และประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับคืออะไร (?) ปัญหาของความมีประโยชน์ได้กลายมาเป็นสิ่งที่ตัดโอกาสในหลายสิ่งหลายอย่าง โดยเฉพาะการทำลาย "จินตนาการ" ของผู้คนโดยเฉพาะกับเด็ก ๆ ที่ในชีวิตของพวกเขามันต้องมีสักครั้งหนึ่งที่ถูกถามว่าสิ่งที่พวกเจาทำนั้นมีประโยชน์อย่างไร และยิ่งเมื่อเราเติบโตขึ้นในการศึกษาในระดับที่สูงขึ้น ในการทำงาน แน่นอนว่า "มีประโยชน์อย่างไร" คือคำยอดฮิตที่มักจะถูกถามอยู่บ่อยครั้ง
    .
    "ประโยชน์ของความรู้ที่ไร้ประโยชน์" ได้รวบรวมเอาบทความ 2 ชิ้นที่ชวนผู้อ่านให้ตั้งคำถามกับเรื่องของความมีประโยชน์ หรือประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ ว่าประโยชน์ที่เห็นตรงหน้าจากการลงมือทำงานสักชิ้นให้ปรากฎ ณ ขณะนั้นเลยมันจำเป็นและสำคัญขนาดนั้นจริง ๆ หรือ โดยที่บทความ 2 ชิ้นดังกล่าวได้แก่
    .
    (1) โลกอนาคต โดย รอบเบิร์ต ไดจค์กราฟ
    .
    (2) ประโยชน์ของความรู้ที่ไร้ประโยชน์ โดย เอบราฮัม เฟล็กซ์เนอร์
    .
    เมื่ออ่านบทความทั้ง 2 ชิ้นและบทนำของ "นำชัย ชีววิวรรธน์" จบลงมันชวนให้เราคิดว่าอันที่จริงประโยชน์ของทุกสิ่งทุกอย่างที่สังคมต้องการแบบเฉพาะหน้า ในหลาบครั้งหลายหนมันคือตัวบ่อนทำลายประโยชน์ในระยะยาว หรือเป็นการตัดความรู้พื้นฐานหรืองานวิจัยพื้นฐานออกไป ซึ่งในหลายหนสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรม ทฤษฎีทางวิชาการ ที่ยิ่งใหญ่ เปลี่บนโลกและพลิกสังคม ในหลายครั้งมันเกิดขึ้นมาจากการประกอบสร้างจากงานวิจัยพื้นฐานหรือองค์ความรู้ที่หลายคนมองว่าไร้ประโยชน์ ณ ขณะนั้น กระทั่งกลายมาเป็นสิ่งเปลี่ยนโลกและสังคม ดังนั้น "ประโยชน์ของความรู้ที่ไร้ประโยชน์" คือการกระตุ้นเตือนให้เราลองตั้งคำถามกับคำถามที่ว่า "ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ" ยังจำเป็นอยู่ไหมและมันได้ทำลายอะไรไปบ้าง

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in