Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
พยัคฆ์แห่งมาลายา By แปล ฮาร่า ชินทาโร
รีวิวเว้ย (1672) สมัยเรียนในโรงเรียน (เนิ่นนานมาแล้ว) เนื้อหาหนึ่งที่เราจะได้เรียน คือ เรื่องของประวัติศาสตร์ "การเสียดินแดน" ของสยาม-ไทย ที่มีอยู่ด้วยกันมากกว่า 10 ครั้ง กระทั่งมีการนำเอาเรื่องราวของการเสียดินแดนมาแต่เป็นเพลง-กลอน ที่ว่าด้วยเรื่องของการเสียดินแดนโดยเฉพาะ กระทั่งหลายสิบปีต่อมาเมื่อเข้าเรียนมหาวิทยาลัย ชุดความรู้และความเชื่อเดิมที่เคยถูกสอนในระดับโรงเรียน (ไทย) ถูกท้าทายและสั่นคลอนด้วยการถูกสอนให้เติมเครื่องหมายคำถาม ? เข้าไปในส่วนหลังของชุดความรู้ที่เราเคยร่ำเรียน ท่องจำและเชื่อถือตลอดมา ว่าจริงหรือ ? ใช่ใช่ไหม ? แน่ใจหรือเปล่า ? กระทั่งการเรียนในระดับมหาวิทยาลัยได้ทำให้เราลองมองและตั้งคำถามต่อความเคยชินเดิม ๆ และผลักให้เราลองหาคำตอบหรือมองเหตุการณ์หนึ่ง ๆ จากมุมมองอื่นดูสักหน่อย อย่างกรณีของ "การเสียดินแดน" เมื่อเราลองขยับมุมมองและลองตั้งคำถามในแบบที่ต่างออกไปจากชุดความรู้เดิม เราจะมองเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ เสมอ แม้กระทั่งเรื่องราวเหล่านั้นจะถูกบอกเล่ากันมาแสนนานว่ามันเป็น "ความจริง" ก็ตามที
หนังสือ : พยัคฆ์แห่งมาลายา
โดย : แปล ฮาร่า ชินทาโร
จำนวน : 280 หน้า
.
"
พยัคฆ์แห่งมาลายา
" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราว ชีวประวัติของ "เติงกู มะห์หมูด มะหยิดดีน" ผู้ต่อสู้เพื่อเอกราชของปาตานี
บุตรชายคนสุดท้องของรายาปาตานีองค์สุดท้ายอย่าง เติงกู อับดุล กาดีร์ กามารุดดิน อดีตผู้ปกครองปาตานี ก่อนที่สยามจะเข้าไปมีส่วนสำคัญในการยกเลิกตำแหน่งเจ้าเมืองปาตานีในกาลต่อมา ทค่ปฏิบัติการดังกล่าวของสยามเริ่มนับตั้งแต่ช่วงเวลาของการอาศัยกลไกของการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาลที่เป็นหัวใจหลักของการปฏิรูปการปกครองของสยาม กระทั่งนำไปสู่การก่อรูปของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชในกาลต่อมา
.
"
พยัคฆ์แห่งมาลายา
" นำเสนอเรื่องราวชีวิตของ
เติงกู มะห์หมูด มะหยิดดีน ที่ช่วงชีวิตทาบทับคาบเกี่ยวอยู่กับเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์สำคัญ ๆ ทั้งในช่วงก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ. 2475 สงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามอินโดจีน และการต่อสู้เพื่อเอกราชของชาวมลายูจากญี่ปุ่นและอังกฤษ ซึ่ง
"
พยัคฆ์แห่งมาลายา
" ทำให้เราได้เห็นมุมมองและเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ในช่วงเวลาเหล่านั้นที่บอกเล่าผ่านเรื่องราวชีวิตของบุคคลคนหนึ่งที่มีความสำคัญต่อการต่อสู้ของชาวมลายู โดยเฉพาะในช่วงเวลาหลังจากการขับไล่ญี่ปุ่นออกไปได้ การขับเขี้ยวกันระหว่างสยาม-ไทย และดินแดนทางภาคใต้จึงกลายมาเป็นสิ่งที่ปรากฏอยู่ในการต่อสู้ของ
"
พยัคฆ์แห่งมาลายา
"
.
สำหรับเนื้อหาของ
"
พยัคฆ์แห่งมาลายา
" แบ่งออกเป็น 5 บท ที่แต่ละบทจะนำเสนอเรื่องราวชีวิตของ
"เติงกู มะห์หมูด มะหยิดดีน" ที่เชื่อมโยงเข้ากับเหตุการณ์ต่าง ๆ ทั้งประวัติศาสตร์ บริบทสังคม วัฒนธรรมและแนวทางการต่อสู้ในช่วงเวลานั้น ๆ โดยเนื้อหาทั้ง 5 บท แบ่งเป็นดังนี้
.
บทที่ 1 ผู้พิทักษ์ชาติมลายู
.
บทที่ 2 การต่อสู้เพื่อเอกราชของดินแดนมลายู
.
บทที่ 3 การต่อสู้เพื่อปลดแอกอิสลามปาตานี
.
บทที่ 4 ผู้รักชาติที่ถูกลืม
.
บทที่ 5 ความเห็นของบุคคลที่รู้จักท่าน
.
แน่นอนว่าด้วยขนบวิธีในการเขียนของ
"
พยัคฆ์แห่งมาลายา
" นับเป็นการเขียนหนังสือชีวประวัติของบุคคลที่มีส่วนสำคัญในการต่อสู้ของชาวมลายู ที่ถูกเขียนขึ้นโดยชาวมลายู หากจะมีความรู้สึกของการสร้างความรู้สึกและความทรงจำร่วมบางประการที่เราอาจจะรู้สึกไปบ้างก็ไม่แปลก เพราะดังที่กล่าวไว้ในเบื้องแรกว่า การลองวางเครื่องหมายคำถามลงไปหลังความเคยชิน และขยายพรมแดนของการแสวงหาคำตอบต่อเหตุการณ์หนึ่ง ๆ ออกไปให้กว้างขึ้น เราอาจจะเห็นความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ซึ่งอาจจะขัดเขินและขัดเคืองต่อความคุ้นชินของเราไปบ้างก็ไม่แปลก
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in