เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
THEORY OF LOVE เหตุ ผล คน รักBANLUEBOOKS
01: เฮิร์ตแค่ไหน ทำไมต้องเฮิร์ต!


  • คุณเคยอกหักมั้ยครับ

    เคยต้องทุรนทุราย ร้องไห้ฟูมฟาย ส่งเมสเสจเป็นร้อยไปหาคนรักเก่า ขับรถไปหาเป็นกิโลๆ เหม่อมองของที่เขาเคยให้แล้วก็กินไม่ได้นอนไม่หลับ

    คงไม่มีคำไหนจะอธิบายสภาวะตอนนั้นได้ดีเท่าคำว่า

    “เจ็บ”

    แต่คุณรู้มั้ยครับ ว่าทำไมคุณถึงเจ็บปวด? ในเมื่อไม่มีร่างกายสักส่วนของคุณที่ฟกช้ำ

    “ก็แม่งเจ็บจริงๆ นี่นา”




  • นักวิทยาศาสตร์เองก็สงสัยเรื่องนี้เช่นกันครับ ทำไมเราถึงรู้สึกเจ็บจริงๆ ในภาวะอกหักทั้งๆ ที่ร่างกายเราไม่ได้เป็นอะไร พวกเขาก็เลยจับเอาคนที่เพิ่งถูกหักอกมาสดๆ ร้อนๆ ไม่เกิน 6 เดือน มาทำการทดลองชวนเฮิร์ต อย่างการให้ดูรูปของอดีตแฟน แล้วย้อนคิดถึงช่วงวันวานยังหวานอยู่ (จี๊ดสึส!) ป่าวครับ… นี่ไม่ใช่รายการคลับฟรายเดย์ นั่งเล่าชิลๆ แต่เขาทำกันจริงจังในเครื่อง fMRI (เรียกง่ายๆ ว่า ‘เครื่องสแกนสมอง’) เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นในสมองของอาสาสมัครบ้าง

    ต้องขอบคุณอาสาสมัครผู้เสียสละยอมชอกช้ำทางใจอีกครั้ง เพื่อให้เราได้รู้ความจริงว่า

    ‘การที่เราเจ็บจากการอกหักนั้น เป็นเพราะสมองของเราเจ็บจริงๆ!’

    ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สมองส่วน Anterior Cingulate Cortex หรือ ACC ของพวกเขาจะทำงานมากกว่าปกติเมื่อมองรูปอดีตแฟน! แต่สมองส่วนนี้กลับไม่ได้ทำงานอะไรเมื่อดูรูปเพื่อน ซึ่งสมองส่วน ACC นี้เป็นส่วนเดียวกับที่ทำงานหนักขึ้นเวลาที่เราเจ็บปวดทางกายด้วย สรุปง่ายๆ ก็คือ

    ไม่ว่าคุณจะเจ็บตัวหรือเจ็บใจ ก็กระตุ้นสมองส่วนเดียวกัน คุณเลยรู้สึกเจ็บไม่ต่างกัน
  • นักวิทยาศาสตร์เองก็สงสัยเรื่องนี้เช่นกันครับ ทำไมเราถึงรู้สึกเจ็บจริงๆ ในภาวะอกหักทั้งๆ ที่ร่างกายเราไม่ได้เป็นอะไร พวกเขาก็เลยจับเอาคนที่เพิ่งถูกหักอกมาสดๆ ร้อนๆ ไม่เกิน 6 เดือน มาทำการทดลองชวนเฮิร์ต อย่างการให้ดูรูปของอดีตแฟน แล้วย้อนคิดถึงช่วงวันวานยังหวานอยู่ (จี๊ดสึส!) ป่าวครับ… นี่ไม่ใช่รายการคลับฟรายเดย์ นั่งเล่าชิลๆ แต่เขาทำกันจริงจังในเครื่อง fMRI (เรียกง่ายๆ ว่า ‘เครื่องสแกนสมอง’) เพื่อดูว่าเกิดอะไรขึ้นในสมองของอาสาสมัครบ้าง

    ต้องขอบคุณอาสาสมัครผู้เสียสละยอมชอกช้ำทางใจอีกครั้ง เพื่อให้เราได้รู้ความจริงว่า 

    ‘การที่เราเจ็บจากการอกหักนั้น เป็นเพราะสมองของเราเจ็บจริงๆ!’

    ผลการทดลองแสดงให้เห็นว่า สมองส่วน Anterior Cingulate Cortex หรือ ACC ของพวกเขาจะทำงานมากกว่าปกติเมื่อมองรูปอดีตแฟน! แต่สมองส่วนนี้กลับไม่ได้ทำงานอะไรเมื่อดูรูปเพื่อน ซึ่งสมองส่วน ACC นี้เป็นส่วนเดียวกับที่ทำงานหนักขึ้นเวลาที่เราเจ็บปวดทางกายด้วย สรุปง่ายๆ ก็คือ

    ไม่ว่าคุณจะเจ็บตัวหรือเจ็บใจ ก็กระตุ้นสมองส่วนเดียวกัน คุณเลยรู้สึกเจ็บไม่ต่างกัน
  • แต่ยังก่อนครับ… แค่นี้ยังไม่สาแก่ใจนักวิทยาศาสตร์

    นักวิทย์ 1: ผมไม่เชื่อหรอกว่า เจ็บอกหักกับเจ็บมีดบาดจะเจ็บแบบเดียวกัน

    นักวิทย์ 2: แต่ผล fMRI ก็บอกแล้วนี่

    นักวิทย์ 1: เอางี้ ถ้าเจ็บเหมือนกันจริง คนอกหักกินพาราก็ต้องหายสิ

    นักวิทย์ 2: อ้าว อย่าท้า!

    และแล้วการทดลอง ‘คนอกหักกินพาราแล้วหายเจ็บจริงเหรอ’ จึงได้อุบัติขึ้นบนโลก โดยนักวิทยาศาสตร์แบ่งคนอกหักออกเป็นสองกลุ่มทดลอง กลุ่มหนึ่งให้กินยาพารา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งกินยาพาราหลอกๆ (เม็ดแป้งธรรมดา) เป็นเวลา 3 สัปดาห์ และระหว่างนั้น อาสาสมัครก็ต้องทำแบบทดสอบระดับความเฮิร์ตไปด้วย (Hurt Feeling Scale)

    ผลปรากฏว่า คนที่กินยาพาราจริงๆ นั้นมีอาการเฮิร์ตน้อยกว่าคนที่กินยาหลอก! และเมื่อสแกนสมองด้วยเครื่อง fMRI อีกครั้ง ก็พบว่า สมองส่วน Amygdala ที่ทำให้เกิดอาการทุรนทุรายจะเป็นจะตายของคนที่กินยาพาราทำงานลดลงกว่าคนที่กินยาหลอก ซึ่งเป็นการยืนยันว่ายาพารานั้นสามารถช่วยอาการเจ็บเพราะอกหักได้จริงๆ


  • แล้วทำไมธรรมชาติต้องใจร้าย ติดตั้งโปรแกรม ‘เจ็บ’ ใส่ตัวเรามาตั้งแต่เกิดด้วยล่ะ

    นั่นก็เพราะความเจ็บมันมีประโยชน์ของมันอยู่ครับ

    สิ่งมีชีวิตทุกตัวจำเป็นต้องมีสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอด และหนึ่งในสัญชาตญาณในการเอาชีวิตรอดก็คือการรับรู้ถึงอันตราย สิ่งมีชีวิตเซลล์เดียว อาจรับรู้อันตรายผ่านสารเคมีรอบๆ ตัว เช่น ตรงนี้มีเกลือเข้มข้นมากไปแล้วนะ ตรงนี้มีกรดมากไปแล้วนะ ส่วนสัตว์ที่ใหญ่ขึ้นมาหน่อยก็จะรับรู้ด้วยประสาทสัมผัสอื่นๆ เช่น ตา หู จมูก แต่ส่วนที่สำคัญมากที่สุดก็คือ ‘ความเจ็บ’ เพราะมันแปลว่าอันตรายกำลังประชิดถึงตัวเราแล้วนะ เราต้องรีบทำอะไรเข้าสักอย่างแล้ว จะสู้ จะหนี จะแกล้งตาย ก็รีบๆ ทำเข้า

    แต่สำหรับมนุษย์ที่ซับซ้อนอย่างเราๆ นอกจากอันตรายภายนอกแล้ว เรายังมีอันตรายภายในใจอย่าง ‘เพื่อนไม่คบ’ ด้วย สาเหตุที่อันตรายก็ เพราะในอดีตเราเป็นคนป่าที่อยู่กันเป็นฝูง มนุษย์สมัยก่อนไม่สามารถจะทำตัวอินดี้ติสต์แตก อยากอยู่คนเดียว อยากมีโลกส่วนตัว อะไรแบบนั้นได้เลย เพราะการอยู่คนเดียวในป่า = ความตาย ธรรมชาติจึงผูกเรื่องความสัมพันธ์ทางสังคมของเราไว้กับความรู้สึกเจ็บด้วย เพื่อให้มนุษย์ไม่สามารถทนกับสภาวะเช่นนี้ได้ ต้องทำอะไรสักอย่างเพื่อให้ความสัมพันธ์กลับคืนมา (เช่น การส่งเมสเสจไปง้อแบบนอนสต็อป) เพื่อให้เรากลับมาถูกยอมรับอีกครั้ง และเราจะได้มีชีวิตรอด


    และถึงแม้ตอนนี้ วิทยาการต่างๆ จะช่วยให้มนุษย์สามารถอยู่คนเดียวได้โดยไม่ตายง่ายๆ แล้ว แต่กระบวนการหลายล้านปีที่ธรรมชาติสร้างเรามาก็ยังคงอยู่ในตัวเรา และคงต้องใช้เวลาอีกแสนนาน กว่าเราจะวิวัฒนาการไปเป็นแบบอื่นๆ

    จนกว่าจะถึงเวลานั้น เราก็คงต้องทุรนทุรายกับการอยู่คนเดียว หาวิธีเยียวยาแผลใจจากการ ‘อกหัก’ กันต่อไปครับ :P

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in