เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
อยุธยาไม่สิ้นคนทำสารนิพนธ์Natacha Dantakean
3 จาก 10
  •          สวัสดีท่านผู้อ่านทุกท่านกลับมาพบกับเหมียวในซีรีส์สาวอยุธยาอีกครั้ง ในครั้งนี้มาพร้อมกับสารนิพนธ์ซึ่งเป็นงานชิ้นสำคัญก่อนจบการศึกษาจากสาขาวรรณกรรมสำหรับเด็กค่ะ  โดยงานชิ้นเป็นงานสื่อผ้าที่มีชื่อว่า “สื่อผ้าพาเที่ยวอยุธยา” แต่ก่อนอื่นเรามาพูดถึงกระบวนการทำงานตั้งแต่ขั้นเลือกหัวข้อกันดีกว่าค่ะ

             ก่อนอื่นเลยเหมียวอยากบอกเกี่ยวกับสิ่งที่อยากทำเป็นงานธีสิสเหมียวอยากทำสื่อผ้าค่ะ นี่เป็นสิ่งเดียวที่เหมียวรู้ว่าอยากทำแต่ส่วนอื่นเรือนลางมาก ๆ ทำให้การนำเสนอครั้งแรก นั่นคือ My Ideas for a Thesis ไม่ค่อยราบรื่นนัก หลังจากนำเสนอแล้วเหมียวก็เจอโจทย์สุดหิน คือจะทำสื่อผ้าอย่างไรให้น่าสนใจและไม่ซ้ำใคร ช่วงสองอาทิตย์ก่อนส่ง Proposal เลยสับสนมากเลยค่ะ (เกือบจะล้มเลิกความตั้งใจเกี่ยวกับสื่อผ้าแล้ว)แต่ก็ได้แนวคิดดี ๆ จากคนรอบข้างมากมาย ทั้งจากคนในครอบครัว เพื่อนในเอก เพื่อนสมัยมัธยม ญาติพี่น้องต่าง ๆจนตกตะกอนความคิดว่า เหมียวชอบประวัติศาสตร์มาก ๆ โดยเฉพาะประวัติศาสตร์สมัยอยุธยาซึ่งเป็นบ้านเกิดของเรา ทำให้เหมียวเลือกจะทำสื่อผ้าพาเที่ยวอยุธยาค่ะ

             หลังจากนั้นก็ประกาศอาจารย์ที่ปรึกษาโดยที่ปรึกษาของเหมียวคือ อาจารย์ ดร.ธันยา พิทยาพิทักษ์ หรือคุณครูกิ๊บเหมียวก็ได้คำแนะนำมากมาย ทำให้งานเป็นรูปเป็นร่างและมีความเป็นไปได้มากขึ้น

              โดยการเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่1 วันที่ 31 มกราคม 2566 เหมียวเริ่มเล่าและอธิบายถึงสิ่งที่อยากทำและจุดมุ่งหมายของงาน ซึ่งคุณครูกิ๊บให้การบ้านเหมียว 4 ข้อ คือ ธีมหลักสเกลงานที่อยากทำสถานที่หรือกิจกรรมที่เด็กชอบทำเมื่อไปเที่ยวอยุธยาและท่าพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็ก

             การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่ 2 วันที่ 7 กุมภาพันธ์2566 เหมียวตอบคำถามทั้ง 4 ข้อ โดยธีมหลักเหมียวคิดได้ 2 ธีม คือเที่ยวแบบกลางแจ้งและเที่ยวพิพิธภัณฑ์และหมู่บ้านโบราณซึ่งคุณครูกิ๊บได้ให้คำแนะนำว่าเหมียวต้องวาดออกมาว่าจะเป็นอย่างไร ทั้ง 2 รูปแบบแล้วนำมาเลือกว่างานไหนดีกว่ากัน โดยคุณครูแอบกังวลว่าธีมที่เกี่ยวกับพิพิธภัณฑ์จะทำออกมาแบบไหนเล่นอย่างไร ต่อมาคือด้านสเกลงานเหมียวคิดมา 2 รูปแบบเหมือนกันโดยเป็นแบบหนังสือและแบบผืนผ้าขนาดใหญ่ คุณครูกิ๊บแนะนำให้ทำแบบผืนผ้าเพราะรูปแบบหนังสือจะเล่นได้น้อยและมีข้อจำกัดหลายอย่าง แบบผืนผ้าจะให้อิสระกับผู้เล่นมากกว่าในส่วนของข้อมูลสถานที่ท่องเที่ยวก็เป็นข้อมูลจากแหล่งข้อมูลออนไลน์และหนังสือที่มีอยู่ที่บ้าน(หนังสือของคุณแม่ที่ชอบอ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์) และข้อมูลเกี่ยวกับท่าพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กก็มาจากวารสารและแหล่งข้อมูลออนไลน์การเข้าพบครั้งที่ 2 นี้ คุณครูกิ๊บก็ให้การบ้านคือการวาดออกมาว่าในงานจะมีอะไรบ้างนั่นเอง 

              วันที่11 กุมภาพันธ์ 2566ถือเป็นโอกาสดีที่ได้กลับบ้านหลังจากอยู่กรุงเทพฯมาหนึ่งเดือนเต็มจึงชวนคุณแม่ผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์อยุธยามาเที่ยวเก็บข้อมูลด้วยกันเสียเลยโดยที่แรกที่เราไปคือพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเจ้าสามพระยาพิพิธภัณฑ์นี้มีความสำคัญในด้านการขุดค้นพบวัตถุโบราณ ณ วัดราชบูรณะ

    (ภาพเครื่องราชกกุธภัณฑ์)

             ต่อมาคือพิพิธภัณฑ์ล้านของเล่นบ้านครูเกริกซึ่งเป็นสถานที่ที่ได้รับความนิยมจากเด็ก ๆ และผู้ปกครอง มีของเล่นตั้งแต่สมัยโบราณอย่างตุ๊กตาดินเผาจนถึงของเล่นยุคปัจจุบัน 

    (ภาพตุ๊กตาดินเผา)

             สถานที่สุดท้ายคือหมู่บ้านโปรตุเกส ซึ่งที่นี่เหมียวไม่ได้ถ่ายรูปมานะคะเพราะภายในมีการซ่อมแซม ปรับปรุง จึงไม่สะดวกถ่ายมาค่ะ แต่เหมียวจะบรรยายให้ฟังง่ายๆ ค่ะ ที่หมู่บ้านนี้เป็นหมู่บ้านของชาวโปรตุเกสสมัยกรุงศรีอยุธยา ทำให้ภายในหมู่บ้านมีซากของโบสถ์และสุสานหลงเหลืออยู่ค่ะ นอกจากนี้ยังมีโครงกระดูกที่คาดว่าเป็นของชาวโปรตุเกสในสมัยนั้นอยู่มากมายถ้าหากไปเที่ยวตอนเย็น ๆ ก็แอบน่ากลัวอยู่เหมือนกันนะคะ

           สถานที่ที่เหมียวเลือกไปในวันนั้นอาจไม่ครบถ้วน ไม่มากมาย แต่เหมียวต้องการไปดูรายละเอียดภายในที่หลงลืมไปแล้ว เพื่อนำมาปรับใช้กับงานได้ง่ายขึ้น

    (ภาพผลประกอบการที่ได้จากสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ มีทั้งหนังสือ แผ่นพับ ของเล่น และโปสการ์ด)

             การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่ 3 วันที่14 กุมภาพันธ์ 2566 เหมียวลองออกแบบร่าง 2 แบบคือ เที่ยวกลางแจ้งและเที่ยวพิพิธภัณฑ์

    (ภาพแบบร่างเที่ยวกลางแจ้ง)

    (ภาพแบบร่างเที่ยวพิพิธภัณฑ์)

            คุณครูกิ๊บถามว่าเหมียวอยากทำแบบไหนมากกว่ากันเหมียวชอบแบบเที่ยวกลางแจ้งมากกว่า คุณครูกิ๊บจึงแนะนำว่าให้เพิ่มพิพิธภัณฑ์และเอกลักษณ์ของความเป็นอยุธยาลงไปด้วยและไปลงรายละเอียดว่าจะให้ส่วนไหนเป็นสองมิติหรือสามมิติ

              การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่4 วันที่ 21 กุมภาพันธ์ 2566 เหมียวไปแก้แบบร่างและเพิ่มพิพิธภัณฑ์เจ้าสามพระยาวัดหลวงพ่อมงคลบพิตร ป้อมเพชร และ เจดีย์นักเลงเข้าไป นอกจากยังลงรายละเอียดในส่วนของสองมิติจะเป็นส่วนที่เด็กเล่นไม่ได้แต่ใส่เพื่อเพิ่มบรรยากาศ เช่น วัดต่าง ๆ ส่วนของสามมิติจะเป็นส่วนที่เด็กเล่นได้เช่น ช้าง โรตีสายไหม เป็นต้น

    (ภาพแบบร่างครั้งที่2)

    เมื่อคุณครูกิ๊บดูแบบร่างจึงให้คำแนะนำเกี่ยวกับทิศทางของสถานที่ต่างๆ เพราะอาจทำให้เด็ก ๆ เล่นยาก การบ้านในครั้งนี้เหมียวจึงต้องไปปรบทิศทางของสถานที่และควรเริ่มทำต้นแบบของปลาตะเพียน โดยแบ่งระดับความยากง่าย เด็ก ๆ จะได้เล่นได้

              การเข้าพบที่ปรึกษาครั้งที่5 วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2566 นำแบบร่างใหม่ให้ครูกิ๊บดู 

    (ภาพแบบร่างครั้งที่3)

    คุณครูกิ๊บบอกว่ายังขาดความสวยงาม คุณครูจึงให้คำแนะนำโดยการหารูปแบบการจัดวางแผนที่ในPinterest ต่อมาคือส่วนของต้นแบบปลาตะเพียนที่แบ่งเป็นสามระดับ คุณครูกิ๊บให้นำตัวอย่างนี้ไปใช้ในการนำเสนอความคืบหน้าด้วยคุณครูท่านอื่นจะได้เข้าใจงานของเรามากขึ้น

    (ภาพต้นแบบปลาตะเพียน)

             ในที่สุดการนำเสนอความคืบหน้า 30%ก็มาถึงอย่างรวดเร็ว จากเกมบันไดงู เหมียวได้คิวนำเสนอวันแรก คือ วันอังคารที่7 กุมภาพันธ์ 2566 ลำดับที่ 8

              หลังจากนำเสนอคุณครูท่านอื่นให้คำแนะนำมากมายทั้งเรื่องผ้าที่ใช้ บรรจุภัณฑ์ แบบร่าง รวมถึงวิธีการเล่นแต่โดยรวมแล้วก็ไม่มีปัญหาอะไรมากมายนัก

              สิ่งที่เหมียวจะทำต่อไปก็คือแก้ไขแบบร่างให้เสร็จและเริ่มทำต้นแบบอื่นๆ อย่าง ช้าง โรตีสายไหมและยานพาหนะต่าง ๆ

              3จาก 10 ของเหมียวก็จะประมาณนี้ค่ะ เหมียวจะพยายามแก้ไขและทำงานต่อไป แล้วเจอกันใหม่ช่วงเดือนเมษายนนะคะ







เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in