เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Look a Breathe (Series 1 - 2)nimon
#508 พระธรรมเทศนา (เทสก์ เทสรังสี) จำนวน ๔ เล่ม
  • เปรียบราศีตุลย์ - คันชั่ง

         พระธรรมเทศนาของหลวงปู่เทสก์เปรียบเหมือนคันชั่งแห่งความยุติธรรม เพราะว่า ธรรมะคือสิ่งประเสริฐ และเป็นความยุติธรรมประจำกายและจิต เมื่อเราดำเนินไปในทางที่ถูกต้องแล้ว ชีวิตเราต้องพบกับความเจริญโดยแท้ หลวงปู่เทสก์ท่านสอนเสมอว่า ทานเป็นขั้นต้นของการบำเพ็ญเพียร และทานมีหลายอย่างที่ไม่จำเป็นต้องใช้เงินเท่านั้น แต่ทานที่สำคัญสุดคือใช้ใจ และหลังจากนั้น ทุกคนค่อยบำเพ็ญศีล สมาธิ และปัญญาในเบื้องหลัง

    เรื่องราวทั้งหมด ๔ เล่ม เป็นคำสอนที่หลววงปู่เทสก์ท่านได้สอนไว้ต่างๆ ดังนี้ 

    ๑. ธรรมคือความจริง ผู้ปฏิบัติตามธรรมคือปฏิบัติตามความจริง ย่อมได้รับความสันติสุข ดังผู้เกิดมาในโลกนี้รู้จักบุญคุณของโลก ไม่ทำตนให้เป็นคนชั่วรกโลกเขา

    ๒. คนเราเกิดขึ้นมาในโลกนี้ ย่อมติดข้องอยู่ด้วยอายตนะทั้ง ๖ คือ ตา หู จมูก ลิ้น กาย ใจ ไม่อย่างใด ก็อย่างหนึ่ง

    ๓. กายกับจิตเป็นของสำคัญที่สุด เราจะทำดีอะไร ก็ต้องทำที่กายและจิตนั้นแหละ

    ๔. การทำผิดศีลทุกข้อ เป็นกรรม เป็นเวร เป็นบาป บาปเป็นของใคร ของเรานั้นแหละ อยู่ที่ตัวเรานั้นแหละ เกิดขึ้นที่ตัวของเรา

    ยกตัวอย่างเช่น

    “มรดกอันล้ำค่ายิ่งกว่านั้น ซึ่งมนุษย์คนเรามองเห็นได้ยาก คือ คุณธรรม”


    (หมายความว่า คุณธรรมสำคัญสำหรับมนุษย์ยิ่ง หากมนุษย์ผู้ใดอยู่และดำรงตนอยู่ในคุณธรรมนั้น ย่อมนำพาความสุขมาให้แก่ตน)

    “เพราะเหตุที่จิตไม่วางนั้นเอง ถ้าเป็นกรรมฐานแล้ว มันวางหมดทุกสิ่งทุกอย่าง

    ความว่างนั้นแหละ ผู้รู้ ความว่างนั้นแหละคือ ตัวจิต

    ทำกรรมฐานให้มันแน่วแน่เต็มที่จึงจะเห็นตัวจิต”


    (หมายความว่า เมื่อมีสติระลึกรู้ถึงอารมณ์ที่ปรากฎแก่จิตเหล่านั้น อารมณ์เหล่านั้นก็จะหายไป และเข้าสู่ความไม่เที่ยง ปล่อยวาง ว่าง อยู่นั้นเอง)

    “การปฏิบัติจะต้องตั้งต้นเสียก่อน เริ่มต้นที่เราจะต้องปฏิบัติ ก็ไม่มีอะไรหรอก

    คือ ตัวของเรานี่แหละ กาย วาจา ใจ นี่แหละที่จะปฏิบัติ”


    (หมายความว่า พื้นฐานของการปฏิบัติ คือ เริ่มต้นที่กาย วาจา ใจ ของตัวเจ้าของนั้นแหละ)

    “เราให้แล้วย่อมเกิดความดีใจพอใจ เกิดปลื้มปิติ 

    อิ่มอกอิ่มใจ อันนั้นเป็นประโยชน์แก่ตน 

    เป็นประโยชน์แก่คนอื่น แก่ผู้อื่น

    อันนั้นเป็นประโยชน์แก่ตน”


    (หมายความว่า การให้ทานที่ดี คือ การบำรุงสุขของตนเอง และบำรุงประโยชน์ของผู้อื่น อย่างเช่น การให้ทานโดยการให้อภัย เป็นต้น เพราะเมื่อเราเกลียดคนๆหนึ่ง เราเผลอแสดงไม่ดีออกมาทางกาย วาจา และใจ นั้นย่อมไม่ดี แต่เมื่อเราให้อภัย เรามีสุข ไม่แสดงแะไรที่ไม่พอใจออก เขาก็หมดทุกข์ เช่นกัน)

         หนังสือทั้งสี่เล่มนี้เป็นหนังสือที่ทรงคุณค่าอย่างยิ่ง ทำให้เราอ่านและปฏิบัติตามก็พบความสุขได้อย่างแท้จริง บางครั้ง คนเรามักจะชอบพาตนไปพบกับความทุกข์อยู่ตลอดเวลา โดยที่เราลืมไปว่า ความสุขนั้นอยู่เพียงทุกชั่วขณะเดียว และเมื่อตื่นรู้ มีสุข เมื่อไม่ตื่นรู้ ก็พบทุกข์ เท่านั้นเอง แต่สุดท้ายแล้ว ทั้งสุขและทุกข์ก็ต้องปล่อยวางทั้งนั้น

         กราบวันทาอภิวาทหลวงปู่เทสก์

    อ่านเรื่องเทศนาที่ท่านสอน

    นำไปฝึกฝนและปฏิบัติจนหมดก้อน

    ทุกข์และสุขสอนให้ระลึกรู้ใจ

    ความสุขมลายสิ้นไปหมดแล้ว

    สุดจะแคล้วความทุกข์รู้เหตุไฉน

    หากเข้าข้างจิตใจมากเกินไป

    พบทุกข์ใดตลอดใจนิจนิรันดร์

    LOOK A BREATHE

Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in