Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ By เอริค ฮ็อบส์บอม
รีวิวเว้ย (1373) ย้อนกลับไปสมัยเรียนในโรงเรียน เรามักจะพบเจอคำพูดของครูอยู่บ่อยครั้งที่มักจะพูดถึงเรื่องของ "การปฏิวัติ" ครั้งสำคัญ ๆ ที่เปลี่ยนโฉมหน้าของโลกหรือสังคมหนึ่ง ๆ ไปตลอดกาล อย่างกรณีของการปฏิวัติวิทยาศาสตร์ การปฏิวัติวัฒนธรรม การปฏิวัติอุตสาหกรรม และการปฏิวัติฝรั่งเศส หรืออย่างในกรณีของสังคมไทยเองการปฏิวัติ พ.ศ. 2475 ก็อาจจะเรียกได้ว่าเป็นการปฏิวัติที่ (คง) เปลี่ยนสังคมไทยไปบ้าง หรืออย่างก่รปฏิวัติที่ร่วมยุคสมัยอย่างเหตุการณ์
อาหรับสปริงก็ถือว่าเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญในหน้าประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นร่วมยุคสมัยกับพวกเรา (ในที่นี้เราจะไม่ขยายความต่อถึงความสำเร็จหรือล้มเหลวอันเป็นผลที่ตามมาภายหลังการปฏิวัติ)
ในทางปฏิบัติการปฏิวัติดูจะสร้างผลกระทบที่ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ขึ้นในสังคมหนึ่ง และอาจจะขยายวงออกไปกระทั่งนำไปสู่การเปงี่ยนแปลงโครงสร้างสังคมหรือระบบระเบียบของหลายสังคมในโลกเป็นวงกว้าง ซึ่งตลอดประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาการปฏิวัติที่ส่งผลสะเทือนโลกมีอยู่ด้วยกันหลายครั้ง และยากจะปฏิเสธว่าการปฏิวัติ 2 ครั้งสำคัญอย่าง "การปฏิวัติฝรั่งเศส" และ "การปฏิวัติอุตสาหกรรม" นับเป็นการปฏิวัติครั้งสำคัญที่ส่งผลสะเทือนไปทั่วทั้งโลก
หนังสือ :
ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ
โดย : เอริค ฮ็อบส์บอม
จำนวน : 568 หน้า
.
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" ตีพิมพ์เป็นภาษาอังกฤษครั้งแรกเมื่อ ค.ศ. 1962 (พ.ศ. 2505) ในชื่อ
The Age of Revolution (1789–1848) และในปี พ.ศ. 2566 หนังสือเล่มดังกล่าวได้รับการแปลภาษาไทยเป็นครั้งแรกในชื่อ
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" ซึ่งห่างจากฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกยาวนานถึง 61 ปี ซึ่งหลายคนตั้งคำถามว่าหนังสือที่ตีพิมพ์เมื่อกว่า 60 ปีก่อน ยังคงมีความสำคัญและจำเป็นอยู่อีกหรือที่คนในยุคสมัยปัจจุบันต้องลงมืออ่าน ? คำถามดังกล่าวสุดแท้แต่ใครจะตอบจากมุมไหน หรือใครจะหาคำตอบแบบใดมาสนับสนุน ถึงความเหมาะสมในการอ่านหนังสือที่เคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อ 60 กว่าปีก่อน
.
สำหรับ
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" มุ่งนำเสนอมุมมองทางประวัติศาตร์ผ่านการมองโลกด้วยสำนักมาร์กซ์ ในการอ่านและศึกษาเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของโลก 2 เหตุการณ์ ที่ในหนังสือเลือกใช้คำว่า "
การปฏิวัติทวิภาค" (dual revolution) อันได้แก่ (1) การปฏิวัติฝรั่งเศส 1789 และ (2) การปฏิวัติอุตสาหกรรมของอังกฤษ ที่การปฏิวัติทั้ง 2 ครั้งได้เปลี่ยนโฉมหน้าของโลกใบนี้ไปอย่างสิ้นเชิง และการนำเสมอมุมมองต่อเหตุการณ์ในการปฏิวัติทั้ง 2 ครั้งผ่านมุมมองและสายตาของผู้เขียนดังที่ปรากฏใน
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" สามารถช่วยฉายให้ผู้อ่านได้เห็นถึงเหตุ ต้น ผล และความสำคัญของการปฏิวัติที่เกิดขึ้น
.
โดยเนื้อหาของ
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" แบ่งเป็น 2 ภาค 16 บท ที่บอกเล่าเรื่องของการปฏิวัติทั้ง 2 เหตุการณ์ ผ่านการฉายภาพร่วมของเหตุการณ์ ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นและผลพวงที่ตามมาจากการเกิดขึ้นของการปฏิวัติ โดยเนื้อหาของ
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" แบ่งเป็นดังนี้
.
[ภาค 1 พัฒนาการ]
.
บทที่ 1 โลกในทศวรรษ 1780
.
บทที่ 2 การปฏิวัติอุตสาหกรรม
.
บทที่ 3 การปฏิวัติฝรั่งเศส
.
บทที่ 4 สงคราม
.
บทที่ 5 สันติภาพ
.
บทที่ 6 คลื่นการปฏิวัติ
.
บทที่ 7 ลัทธิชาตินิยม
.
[ภาค 2 ผลพวงที่ตามมา]
.
บทที่ 8 ที่ดิน
.
บทที่ 9 สู่โลกอุตสาหกรรม
.
บทที่ 10 เส้นทางอาชีพเปิดโอกาสแก่ผู้มีความสามารถ
.
บทที่ 11 คนจนผู้ใช้แรงงาน
.
บทที่ 12 อุดมการณ์ : ศาสนา
.
บทที่ 13 อุดมการณ์ : ฆราวาส
.
บทที่ 14 ศิลปะวรรณกรรม
.
บทที่ 15 วิทยาศาสตร์
.
บทที่ 16 บทสรุป : มุ่งสู่ปี 1848
.
ย้อนกลับไปที่คำถามที่ว่า "เราจะอ่านหนังสือที่เคยตีพิมพ์ครั้งแรกเมื่อกว่า 60 ปีก่อนไปเพื่ออะไร" สำหรับสังคมที่ก้าวจ้ามการเปลี่ยนแปลงของสังคมไปแล้วการย้อนกลับไปอ่านงานที่ถูกสร้างขึ้นในครั้งอดีตคือการเรียนรู้ถึงประวัติศาสตร์ พัฒนาการ พลวัตร อีกทั้งแนวทางที่เหตุการณ์ต่าง ๆ นำไปสู่การเปงี่ยนแปลง แต่น่าแปลกที่เมื่ออ่าน
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" จบลง และลองมองสังคมไทยในปี พ.ศ. 2566 ควบคู่ไปกับมุมมองของระหว่างอดีตกับปัจจุบัน น่าแปลกที่หลายสิ่งหลายอย่างที่ปรากฏในเนื้อหาของหนังสือ
"ยุคสมัยแห่งการปฏิวัติ" ที่ตีพิมพ์มาแล้วกว่า 60 ปี ทำให้เรามองเห็นปรากฏการณ์และความน่าสนใจหลาย ๆ ประการที่กำลังดำเนินไปในสังคมไทยในปัจจุบัน (2566)
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in