เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Me X AppJpLingclinomaniac
ผู้ฟังที่ดีต้องเงียบตั้งใจฟัง? (あいづち)

  •  สวัสดีค่าา ทุกคนน กลับมาพบกันอีกแล้วนะคะ ขอบคุณที่ยังแวะเวียนเข้ามาอ่านกันนะคะ ทั้งๆที่ไม่ค่อยได้อัพเท่าไหร่ แหะๆ5555 ?


     ในที่สุด!!! เราก็ปิดเทอมแล้วค่ะ เย้!! หลังจากผ่านความเดือดของไฟนอลมาได้ 55555



     และแน่นอนนน วันนี้เราก็จะมานำเสนอเรื่องน่าสนใจในภาษาญี่ปุ่นอีกเช่นเคยค่ะ ( ไม่รู้ทุกคนจะสนใจรึเปล่านะ 5555 )  แต่วันนี้ไม่ได้นำมาจากอนิเมะที่ชอบนะคะ? ขออนุญาตไว้เป็นครั้งหน้า555 




     ทุกคนรู้รึเปล่าคะ ว่าการเป็นผู้ฟังที่ดีของญี่ปุ่นเป็นยังไง? 


      จะเหมือนกับไทยรึเปล่านะ ที่เวลาผู้พูดพูกอยู่ ผู้ฟังควรเงียบตั้งใจ สายตาจดจ้อง ฟังไม่พูดแทรก ??



      ตอนแรกเราเข้าใจแบบนั้นค่ะ ด้วยจากอิมเมจความขี้เกรงใจและเคร่งมารยาทของคนญี่ปุ่น มันก็น่าจะเป็นอย่างนั้น 



      แต่ว่าผิดค่าา ! !



    การเป็นผู้ฟังที่ดีสำหรับคนญี่ปุ่น 

     คือ การส่งเสียงตอบรับขานรับอย่างสม่ำเสมอ หรือ การแสดงความมีอารมณ์ร่วม เพื่อแสดงว่าตนตั้งใจฟังอยู่หรือเข้าใจเนื้อความที่อีกฝ่ายพูด ให้พูดต่อได้เลยค่ะ  


     ซึ่งเสียงขานรับอันนี้จะเรียกว่า あいづち(相槌) ค่ะ  

    คือ จะเป็นแค่การเปล่งเสียงเล็กๆน้อยๆ มีหน้าที่หลักๆในการทำให้บทสนทนาดำเนินอย่างราบรื่นค่ะ 



     ตัวอย่างคำ あいづち 

    うん、あー、はい、そう、そっか、ええ、ほー 


    หรือคำอุทานบางกลุ่มก็สามารถนับเป็นคำขานรับได้เช่นกันค่ะ 

    เช่น   へえ?、なるほど


    อ้างอิงจากหนังสือ แปดประเด็นภาษาศาสตร์ภาษาญี่ปุ่น

     พออ่านถึงตรงนี้หลายๆคนอาจจะคิดว่า ก็เหมือน  “ อ่อ  อาฮะ  อืม  ” ของไทยนี่นา ซึ่งก็ใช่ค่ะ 55555 แต่ขอบอกเลยนะคะ ว่าไม่ได้ใช้เหมือนกันขนาดนั้นค่ะ 


     แน่นอนว่าเวลาเราพูดคุยกัน คนเล่าหรือคนพูดก็จะมีจังหวะเว้น เพื่อให้คนเล่าตามทันหรือเพื่อเช็คว่าอีกฝ่ายเข้าใจมั้ย ฟังอยู่มั้ยใช่มั้ย แต่ของญี่ปุ่นคือคนพูดเขาแทบไม่เว้นเลยค่ะ55555 คือคนฟังต้องหาจังหวะพูด あいづち เอง  


     ซึ่งสำหรับเรารู้สึกว่ามันยากมากค่ะ?  ในความคิดเราจะรู้สึกตลอดว่าแบบมันดูเหมือนเราพูดแทรก



    ขอยกตัวอย่างเป็นบทสนทนาที่เราเรียนในวิชาConver เมื่อเทอมที่แล้ว 


    จากหนังสือ 伝わる発音が身につく にほんご話し方トレーニング


    ตรงที่ไฮไลท์สีเหลืองคือ あいづち นะคะ 

    ทุกคนลองสังเกตตรงส่วนที่ขีดเส้นสีแดงนะคะ  จะเห็นว่าประโยคด้านหน้าไม่ได้ลงท้ายด้วย มารุ( 。) ซึ่งก็คือยังไม่จบประโยคนั้นเองค่ะ  และจะบอกว่าจากไฟล์เสียงตรงนี้เขาพูดเร็วกันมากค่ะ 5555 คนเล่าแรปมาก ไม่เว้นช่องเลย


    ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด เช่นในประโยคบรรทัด 2  ซึ่งถ้าแปลเป็นภาษาไทยคงประมาณนี้ค่ะ


    35% (ค่ะ) ของคนอายุ18ถึง19 ไม่อยากมีความรัก 


     

     ส่วนตัวเราจึงคิดว่ามันไม่ค่อยเหมือนกับไทยที่เราจะขานรับเวลาผู้พูดพูดจบประโยค  หลังจากได้ฟังใจความหลักของเนื้อหา หรือ หลังจากที่ผู้พูดพูดเน้น เช่นการที่ผู้ฟังจะรีแอคหลังจากผู้พูด พูดว่า “เออ พอเป็นอย่างงั้นใช่ป่ะ” อะไรประมาณนี้ค่ะ 


     แต่ส่วนมากก็จะขานรับตอนจบประโยคเหมือนไทยแหละค่ะ5555 แต่แค่มันคือผู้อ่านไม่จำเป็นต้องเว้นวรรคให้ผู้ฟังขานรับโดยตั้งใจขนาดนั้นค่ะ สำหรับผู้ฟังที่เป็นชาวต่างชาติอย่างเราเลยรู้สึกยากตะขิดตะขวงใจเวลาจะต้องขานรับ ทั้งๆที่ไม่รู้จะพูดอะไร (ดิฉันเป็นบ่อยมากค่ะ555) แล้วคือคนญี่ปุ่นเขา あいづち กันอินเนอร์มาเต็มมากค่ะ และนอกจากจะต้องหาช่วงที่จะขานรับแล้ว ยังต้องหลากคำให้อินเนอร์ได้ ดูเป็นธรรมชาติด้วยค่ะ


    เช่น เวลาฟังเรื่องที่น่าสนใจ รู้สึกทึ่งก็จะพูดว่า  へー、ほう、すごい!



    นอกจากนี้ ยังต้องเลือกใช้คำให้ระดับคำสัมพันธ์กับคู่สนทนาเราด้วยนะคะ


    เราเองก็พึ่งรู้ตอนที่เรียนกับอาจารย์เลยค่ะ ว่าเจ้าตัว あいづち เนี่ย มีการแบ่งระดับคำเหมือนกัน 


    ก็คือจะแบ่งเป็น 2 ระดับค่ะ คือ

    ระดับลำลอง  -  ที่ใช้พูดกับเพื่อน คนสนิท  

    ระดับสุภาพ  -  ที่ใช้กับคนไม่สนิท ผู้ที่อายุมากกว่าเรา  ซึ่งก็ใช้ให้สัมพันธ์เหมือนการผันรูปประโยคของเราเลยค่ะ


     

    ตัวอย่าง あいづち แบบลำลอง

    うん、あー、そうね、そうか


    ตัวอย่าง あいづち แบบสุภาพ

    はい、えー、そうですね、そうですか



    แต่ก็สามารถใช่ปนกัน หรือ ใช้สลับกันได้นะคะ ไม่ได้ตายตัวมาก 

    อย่างเช่นที่เราได้ยินบ่อยๆ うん、そうですね。/  あー、そうですか。


    จะสังเกตว่าตัวหน้าเป็นรูปกันเองนะคะ แต่ด้วยความที่ตัวหลังที่เป็นเมนหลักเป็นรูปสุภาพ ดังนั้นก็ไม่ได้ดูไม่สุภาพหรือไม่เหมาะสมแต่อย่างไรค่ะ?


    แต่ถ้าเป็นการพูดคุยเชิงธุรกิจก็ต้องระวังขึ้นพอควรค่ะ?

    หลักๆ เหล่ามนุษย์เงินเดือน Salary man ก็จะใช้ はい กับ えー เวลาตอบรับรับฟังคำพูดจากลูกค้าหรือหัวหน้าค่ะ 


     

    นอกจากนี้อาจารย์ก็มีการยกเรื่องการแบ่งตามหน้าที่อย่างละเอียดของ あいづち ให้ดูด้วยค่ะ  


    คือ

    ❶ คำขานรับเพื่อให้บทสนทนาดำเนินต่อ 

    เช่น うん、はい、エヘエヘ(พวกเสียงหัวเราะ) 、あー


    ❷ คำขานรับแสดงความเข้าใจถ่องแท้ (พูดจบ) 

    เช่น ああー、ほお、そうですね、そうだったんですね



    แต่ก็ไม่ได้แบ่งแบบซีเรียสชัดเจนหรอกนะคะ ใช้ตามความเหมาะสมให้ตรงกับบริบทก็เพียงพอแล้วค่ะ?





    เป็นอย่างไรบ้างคะทุกคน หวังว่าจะเป็นประโยชน์กับทุกคนบ้างนะคะ5555


    วันนี้ก็ขอจบไว้เพียงเท่านี้นะคะ  ทุกคนเวลาคุยกับคนญี่ปุ่นก็อย่าลืมลองใช้ あいづち ดูนะคะ อาจจะทำให้เราดูโปร ดูเก่ง พูดภาษาญี่ปุ่นเป็นธรรมชาติขึ้นก็ได้ค่ะ (รึเปล่านะ5555)




    ถ้ามีอะไรผิดพลาดต้องขออภัยด้วยนะคะ


    ขอบคุณที่เข้ามาอ่านกันค่าา?


    - CLINOMANIAC -





Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
padumpalm (@padumpalm)
เขียนแบ่งเป็นข้อๆได้เข้าใจง่ายมากค่ะ การเป็นผู้ฟังที่ดีเป็น Soft skill ที่สำคัญมากจริงๆค่ะ ยิ่งพอเราลองฝึกเป็นผู้ฟังแบบคนญี่ปุ่นทำให้เราติดนิสัยการใช้ あいづちแบบ うん うん うんไปแล้วค่ะ ไม่รู้ว่าเพื่อนจะมองเราแปลกมั้ย แต่เพื่อนในเอกก็ うん うん ใส่เราเหมือนกันค่ะ 5555555
iroha (@iroha)
สรุปได้เข้าใจง่ายมากเลยค่ะ ทุกวันนี้เรายังไม่ชินกับ あいづち เลย ทั้งเวลาใช้เองและคนญี่ปุ่นใช้กับเราค่ะ เราชินกับการเงียบและใช้สมาธิตั้งใจฟังมากกว่า พอต้องมาฝึกใช้ あいづち จะรู้สึกฝืน ๆ มากเลย ส่วนเวลาคนญี่ปุ่นใช้ あいづち เวลาเราพูด เราก็ชอบเผลอหยุดชะงัก และบางทีลืมด้วยค่ะว่าตัวเองจะพูดอะไรต่อ คงต้องฝึกอีกนานกว่าจะชินค่ะ?
k.l.k (@k.l.k)
あいづち แบบลำลองกับแบบสุภาพ คนไม่ค่อยรู้กัน สรุปได้ดีมาก มีตัวอย่างและชีทเก่าด้วย น่าจะเป็นประโยชน์สำหรับทุกคนค่ะ