เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
PAPAYAH's ARCHIVERocket man
Solitude Is Bliss : กระบอกเสียงแห่งยุคสมัย ผู้ส่งสาส์นจาก ราษฎร ถึง รัฐบาล
  • สัมภาษณ์ & ถ่ายภาพ : กฤษฎ์ พรหมใจรักษ์


    สกุณาใต้ฟ้าเรืองรองจงผ่องอำไพและพากันเปล่งเสียง 
    สกุณาร้องดังเพื่อหวังขับไล่ผู้นำจงพากันเปล่งเสียง



    ประโยคที่ทุกคนเพิ่งอ่านไปด้านบนคือเนื้อเพลง 2 วรรคทัดแรกของจากเพลง “Golden Whistle (สกุณา)” แทร๊ครองสุดท้ายจากอัลบั้ม “Please Verify That You Are Not A Robot” ผลงานสตูดิโออัลบั้มลำดับที่ 2 ของวง “Solitude Is Bliss” หนึ่งในคณะดนตรีร๊อกแอนด์โรลที่แฟนเพลงและผู้นิยมดนตรีนอกกระแสในบ้านเราต่างยกให้เป็น “กระบอกเสียงแห่งยุคสมัย” ที่นอกจากท่วงทำนองที่ปลุกเร้าเข้าถึงจิตวิญญานของคนหนุ่มสาวรวมไปถึงชั้นเชิงในการประพันธ์ดนตรีและการเล่นสดที่ไม่เป็นสองรองใคร อีกหนึ่งเหตุผลซึ่งส่วนตัวคิดว่าน่าจะเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดที่พาให้พวกถูกยกย่องปะหนึ่งผู้นำทางจิตวิญญานแห่งวงการดนตรีอินดี้คือ การใช้บทเพลงของพวกเป็นสื่อกลางเพื่อสะท้อนความเป็นไปในสังคมอย่างกล้าหาญและไม่ประนีประนอม 

    ในช่วงเวลาที่สถานการณ์ทางการเมืองและเศษฐกิจกำลังอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อที่สุดเช่นนี้น่าจะเป็นช่วงเวลาที่เหมาะสมที่สุดแล้วที่เราทุกคนจะต้องช่วยกัน “ส่งเสียง” ออกไปให้ได้มากที่สุด ด้วยเหตุนี้ เราจึงเชิญชวนพ่อ แม่ พี่ น้อง และประชาชนทุกหมู่เหล่ามาอ่านบันทึกการสนทนาสุดเข้มข้นระหว่าง PAPAYAH’s ARCHIVE และห้าหนุ่มผู้ใจรักประชาธิปไตยจากจังหวัดเชียงใหม่นามว่า “Solitude Is Bliss” ว่าพวกเขามีความเห็น มองสถานการณ์ รวมถึงคิดว่าทางออกจากวิกฤติทางการเมืองและอุดมคติในครั้งนี้อย่างไร



     Solitude Is Bliss 
     เฟนเดอร์—ธนพล จูมคำมูล (ร้องนำ, กีตาร์)
    เบียร์—เศษรฐกิจ สิทธิ (กีตาร์)
    โด่ง—จอมยุทธ์ วงษ์โต (เบส)
    ปอนด์—ทรงพล แก้ววงศ์วาร (คีย์บอร์ด)
    แฟรงค์—ศรัณย์ ดลพิพัฒน์พงศ์ (กลอง)


    ขอสารภาพ ณ ตรงนี้ ก่อนเลยว่าเพิ่งได้ฟังอัลบั้ม “Please Verify That You Are Not A Robot” ที่โดยส่วนตัวรู้สึกว่าเป็นอัลบั้มที่เต็มไปด้วยแมสเสจเกี่ยวกับการเมืองและสะท้อนสังคมเอามาๆ แบบเต็มๆ เป็นครั้งแรกระหว่างทางมาสัมภาษณ์ครั้งนี้นี่เอง เราสงสัยใสว่าตอนที่พวกคุณเริ่มทำอัลบั้มชุดนี้พวกคุณตั้งใจจะสื่อสารไปทางทีตั้งแต่แรกเลยไหม


    เฟนเดอร์ : สำหรับพวกเราและวงดนตรี active อยู่ในยุคนี้ มันไม่ได้อยู่ที่ว่าที่ตั้งใจเขียนหรือไม่ตั้งใจเขียนเพลงเกี่ยวกับการเมืองหรือเปล่า แต่สังคมเราเป็นยังงี้ มันหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่แมสเสจทางการเมืองจะสอดแทรกเข้าไปแม้จะพูดถึงเรื่องความรัก หรือว่าเรื่องอื่นๆ ยังไงจริตในการเขียนมันก็ต้องมีการปะปนแนวคิดที่ร่วมสมัยเข้าไปอยู่แล้ว


    เบียร์ : อย่างเพลง “Golden Whistle” มันเป็นเพลงที่ผมเขียนให้กับการเมืองในช่วงนั้น น่าจะ 2-3 ปีที่ผ่านมา ในอัลบั้ม “Please Verify That You Are Not A Robot” มันก็เลยมีหลายเรื่องอยู่ในอัลบั้มเดียวกัน




    อีกหนึ่งข้อสังเกต เราพบว่าเนื้อหาของหลายๆ มันยังมีความร่วมสมัยและเป็นปัจจุบันมากๆ ถ้าผลงานชุดนี้ไม่ใช่สิ่งที่มาก่อนกาล ก็อาจจะเป็นเพราะบริบทและการวิวัฒน์ของสังคมในด้านต่างๆ มันไม่ได้มีเปลี่ยนแปลงไปเลย


    SIB : (หัวเราะ)


    เฟนเดอร์ : มันไม่เปลี่ยนไปเลยครับ ทุกอย่างแค่ขยายสเกลใหญ่ มันชัดขึ้น กลายเป็นเรื่องกระแสหลัก กลายเป็นหัวข้อการสนทนาของคนในสังคมมากขึ้น จากเมื่อก่อนก็คือ เวลาพูดเรื่องพวกนี้มันเหมือนเป็นกับระเบิด มีเรื่องต้องระวังไปหมด เดินเข้ามาในดงนี้คือมันต้องลั่นสักอย่างหนึ่งล่ะวะ


    แฟรงค์ : ถ้าเป็นเมื่อก่อน บางท่อนในบางเพลงที่พวกเราเขียนกันมา บางทีพวกเราเถียงกันแทบตายเลยครับว่าจะเอาดีไหม ปลอดภัยไหม แต่ในบริบท ณ ปัจจุบัน การหยิบประเด็นพวกนี้มาเขียนมันได้กลายเป็นเรื่องธรรมดามากๆ ไปแล้วในยุคนี้


    เบียร์ : แต่ตอนนั้น ผมก็รู้สึกสนุกกับการที่ต้องระวังเรื่องคำนะ มันเหมือนได้เขียนแบบจิกกัดดีครับในอัลบั้มที่ผ่านมา มันมีลูกเล่น มีมุกอะไรที่มันสนุกดี



    จากวันที่เรื่อง “การเมือง” เคยเป็นหนึ่งในสิ่งที่แทบจะเรียกว่าเกือบจะต้องห้ามในการหยิบยกมาเป็นหัวข้อสนทนา แถมยังมีวาทกรรมชุดหนึ่งที่แพร่หลายสังคมในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมาที่พยายามแยกการเมืองออกจากชีวิตประจำวัน จนมาถึงวันนี้ที่ผู้คนกำลังตื่นตัวครั้งมโหฬารอีกครั้งกับวลีที่ว่า “การเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” พวกคุณคิดว่าอะไรคือปัจจัยหรือที่มาที่ทำให้ประชาชนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง เยาวชนและคนรุ่นใหม่ กลับมาตื่นตัวทางการเมืองได้ขนาดนี้


    เฟนเดอร์ : ก่อนหน้านี้ การเมืองเป็นเรื่องที่ถูกทำให้รู้สึกว่าเหมือนเป็นเรื่องที่มันไกลตัว เป็นเรื่องของอำนาจ เรื่องของผู้มีอิทธิพล  เราก็จะจำภาพมาประมาณนั้น เพราะว่าตั้งแต่สังคมระดับพ่อแม่เราลงมาเขาก็ไม่ค่อยพูดอะไร อย่างมากก็….นินทากัน ถ้าไม่ใช่แบบคอการเมืองนั่งร้านกาแฟ ตั้งสภากาแฟ 


    แฟรงค์  : มันเป็นแค่เรื่องเลือกตั้ง เป็นเรื่องของ สส. ของนักการเมืองเป็นเรื่องอะไรยังงั้น เมื่อก่อนนะ เป็นเรื่องของผู้ใหญ่พูดง่ายๆ 


    เฟนเดอร์ : แต่ผมว่าความเข้าใจเรื่องความการเกี่ยวข้องโดยตรงระหว่างการเมืองกับชีวิตและความเป็นอยู่ของทุกคนมันเริ่มเป็นเรื่องที่ได้รับการยอมรับอย่างแพร่หลายและกลายเป็นแนวคิดพื้นฐานแล้วว่า ชีวิตทุกคนแม่งเกี่ยวข้องกับการเมืองมาตั้งแต่เกิด เราจ่ายภาษีกันตั้งแต่วันแรก ตั้งแต่ซื้อนม ซื้อทุกอย่าง ตั้งแต่เสียภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% 


    แฟรงค์ : อย่างใน “Twitter” สังเกตว่าเราจะมี #ถ้าการเมืองดี ซึ่งตรงนี้มันคือชัดเจนมากว่า จริงๆ มันไม่ใช่เรื่องของคนข้างบนเลยนะ จริงๆ มันเป็นเรื่องของพวกเราเลย มันคือผลประโยชน์ของพวกเราเลยว่าถ้าการเมืองดีชีวิตพวกเราจะเป็นยังไง ผมคิดว่าการเกิดขึ้นของวาทกรรมต่างๆ ที่พยายามแยกเรื่องการเมืองออกจากชีวิตประจำวันในยุคก่อนหน้า มันเกิดจากกลุ่มคนที่รายได้ของตัวเองไม่ได้ผูกกับการเมืองมันถึงมีวาทกรรมพวกนี้ขึ้นมา ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้อาจจะอยู่ในชนชั้นนำเยอะ รายได้ของพวกเขาไม่ได้ผูกกับความเป็นความตายของเศษฐกิจ เผลอๆ สามารถมีเงินได้ในทุกสถานภาพทางเศษฐกิจมันถึงเกิดวาทกรรมอันนี้ขึ้นมา ไม่ยุ่งการเมือง กูหาเงินของกู กูทำของกูไป กูมีโอกาสของกู กูใช้โอกาสของกู โดยไม่ได้ไปดูว่าโอกาสของคนอื่นที่โดนบีบโดยการเมืองที่มันแย่ลงมันเป็นยังไง


    แฟนเดอร์ : ผมว่าการจัดแจงเรื่องระบบ เรื่องภาษี ทำให้คนตาสว่างกับเรื่องนี้เยอะเลย แบบ อ่าวจริงๆ กูก็จ่ายภาษีหนักนี่หว่า


    แฟรงค์ : แถมอาจจะเสียหนักกว่าชนชั้นนำที่เลี่ยงภาษีหลายๆ คนอีก หลายคนจะบอกว่าคนพวกนี้เสียภาษีเยอะ แต่ถ้าเทียบเป็นเปอร์เซ็นต์จริงๆ ยังน้อยกว่าคนข้างล่างอีก ที่เลี่ยงภาษียากมาก บางครั้งเราเลยจำเป็นต้องเถียงกับคนรุ่นเก่าที่มีแนวคิดว่าต้องเป็นคนที่มีงานทำ มีรายได้เท่านั้นถึงจะเสียภาษียังงี้ บ้าง ซึ่งบางคนก็ยังมี mindset แบบนี้อยู่



    เฟนเดอร์—ธนพล จูมคำมูล (ร้องนำ, กีตาร์)

    ในฐานะ ปัจเจกบุคคล ที่ผ่านมาแต่ละคนมีส่วนร่วมกับการเคลื่อนไหวทางการเมืองขนาดไหน


    เฟนเดอร์ : ตั้งแต่สองปีแรกของการรัฐประหารปี 2014 เลยครับ ความจริงตั้งแต่เคอร์ฟิววันแรกด้วยซ้ำแต่ในตอนนั้นเราเคลื่อนไหวในฐานะของนักดนตรีผู้โดนแคนเซิลงานทันที 5 วันรวด เพราะรัฐประหารเลย แล้วคือตอนนั้นผมต้องหาตังค์รายวัน แต่ละคนก็ต้องหาตังค์รายวัน


    โด่ง : ช่วงจุดประกายไฟกันแบบว่า เลือดร้อน


    เฟนเดอร์ : อารมณ์แบบ มึงเป็นเชี่ยอะไรกันวะ คือก่อนหน้านั้นผมค่อนข้างเข้าใจว่ามันจะก่ออะไรอยู่แล้ว หมายถึงการรัฐประหารหรือการแบบการหยุดงานอะไรยังงี้ แต่วันนั้นมันคือวันแรกที่สิ่งนี้มันมาตบประตูบ้านผมตู้ม (โด่ง : คือมันมาถึงเราแล้วยังงี้เลย)


    แฟรงค์ : ขนาดเจ้าของร้านที่เราจะไปเล่นกัน คือแกเพิ่งเปิดก่อนรัฐประหารประมาณ 2-3 วันเอง แกนั่งร้องไห้เลย กลัวร้านจะเจ๊ง กลัวอะไรยังงี้ ซึ่งเราเข้าใจซีนอย่างงั้นได้ในวันนั้นเลย


    เบียร์ : ข่าวคนฆ่าตัวตายก็เยอะด้วยช่วงนั้น



    วันที่ 22 พฤษภาคม 2014 พวกคุณทำอะไรกันอยู่


    เฟนเดอร์ : กำลังนั่งรอไปทำงาน เล่นดนตรี อยู่บ้านศรีนวลมั้ง จำได้เลยรอไปทำงานแล้วอยู่ๆ ก็มีการกระจายข่าวกันว่า เฮ้ย ไอ้เหี้ย มีเคอร์ฟิว มีรัฐประหารว่ะ สรุปวันนั้นนักดนตรีน่าจะครึ่งเชียงใหม่คือมานั่งรวมตัวกันแบบงงๆ ที่บ้านศรีนวล (หัวเราะ) 


    ปอนด์ : วันนั้นเซเว่นมันปิดเลยปะวะ วันแรก โคตรเซ็ง


    เฟนเดอร์ : วันนั้นเหมือนจะยังไม่ปิดนะ


    แฟรงค์ : ปิดวันหลัง ที่ปิดสี่ทุ่มใช่ไหม


    เฟนเดอร์ : ยังเว้นเซเว่นไว้อันนึง ตอนแรกก็ดีใจ แต่พอมองย้อนกลับไป เอ๊ะ ไอ้เหี้ยมึงมาเว้นให้เซเว่นอันเดียวได้ไง คือตอนนั้นเรายังไม่เข้าใจเรื่องความเชื่อมโยงระหว่างนายทุน เขาก็มาในรูปแบบของการเคลือบว่า เนี่ย อย่างน้อยเราก็เว้นเซเว่นให้นะ สะดวก ไปซื้อของกินนั่นนี่นะ ไม่ต้องห่วงว่าหลังเคอร์ฟิวจะต้องอดยากปากแห้งนะ ไปซื้อเซเว่นนะ 



    ต้องนั้นคุณทำยังไง วิธีที่คุณใช้ในการแสดงออกคืออะไร


    เฟนเดอร์ : หลังรัฐประหารวันแรกเลย ไปเปิดหมวกเฉยๆ ครับ พอมันเคอร์ฟิว ร้านเหล้าปิด อะ ไปถนนท่าแพ เปิดหมวกละกัน 


    เบียร์ : ละก็ไปเขียนป้าย


    เฟนเดอร์ : ละก็ไปเขียนป้ายว่า “WE NEED FREEDOM OF SPEECH” ก็วางไว้กับพื้นแล้ว สักพักก็มีทหารเดินมาเห็นละถามว่า “เนี่ยใครเขียนเนี่ย” ละเพื่อนก็บอกว่า “ฝรั่งเขียนให้ครับ” (หัวเราะทั้งวงสนทนา) ละทหารเขาก็บอกต่อว่า “เนี่ยระวังนะ อย่าไปตกเป็นเครื่องมือของชาวต่างชาติ เวลาเขาเขียนอะไรแล้วเราไม่รู้เรื่องยังงี้” (หัวเราะ) แต่ในใจคือ “ความจริงก็….รู้ไอ้สัส” (หัวเราะ) นี่คือช่วงวันแรกๆ ที่โดนผลกระทบเรื่องเคอร์ฟิวเลย อีกอันนั้นคือไปร่วมเรียกร้องให้ปล่อยตัว 14 นักศึกษา กลุ่ม “ดาวดิน” กับ “รังสิมันต์ โรม” ตรงหน้าหอศิลป์ที่โดนจับกันไป “รังสิมันต์ โรม” ตอนนั้นเขายังเรียนไม่จบเลย เรื่องนี้เกิดขึ้นหลังรัฐประหารประมาณเกือบสองปีละครับ



    ปอนด์—ทรงพล แก้ววงศ์วาร

    นอกจากคุณที่ออกไปแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในฐานะนักดนตรีกลางคืนผู้ได้รับผลกระทบโดยตรงจากการเคอร์ฟิว มีกลุ่มอื่นออกมาบ้างเคลื่อนไหวอะไรอีกไหม


    เฟนเดอร์ : แบบมาเป็นกลุ่มไม่มีครับ มีแบบประปราย แต่ว่าไม่ได้มีไฮด์ปาร์คไม่ได้อะไร อย่างเช่น วันที่ผมไปเปิดหมวก ก็มีเพื่อนที่ผมรู้จักคนหนึ่งนะครับ ตอนนั้นยังเรียนอยู่วิจิตรศิลป์มันก็ไปยืนอยู่เฉยๆ ยืนตรงเลย ผมเดินไปกำลังเซ็ทที่เล่น ละมันมีบูทอยู่บนหัว ผมตะโตนเรียกมัน “กิมง้อ! กิมง้อ!” ละมันก็ไม่สน ทั้งๆ ที่มันก็มองอยู่ ซึ่งไม่ตอบ คือเขาเพอฟอร์มอยู่ ประมาณว่าโดนบูทกดหัวอยู่พูดไม่ได้ ยืนอยู่คนเดียว ยืนสี่ชั่วโมง เข้าไปทักละแบบก็ไม่พูด เราก็เออๆ กูเข้าใจละว่ามึงเพอร์ฟอร์มอยู่ (หัวเราะ) มันก็มียังงี้แหละครับ ประปราย นิดๆ หน่อยๆ (ผู้สัมภาษณ์ : แต่คือที่บอกว่าประปราบ จริงๆ ก็มีคนออกมาเคลื่อนไหวหลายคนเหมือนกัน) ไม่ถึงขนาดนั้นครับ ไม่เกิน 5 คน หลังจากวันนั้นก็มีวันละนิดละหน่อยประปราย ช่วงนั้ ทหารเขาทำด่านถาวรไปตรงท่าแพ


    แฟรงค์ : ทำเป็นเหมือนบังเกอร์ จะมีทหารกับตำรวจจะนั่งประจำการกันตรงนั้นตลอด


    เฟนเดอร์ : คนที่จะออกมาประท้วงตอนนั้นจะเป็นในลักษณะของการแอบทำ ไม่ก็ทำคนเดียว ไม่ต้องประกาศให้ใครรู้ ตำรวจมาเขาก็ไม่รู้ว่าทำอะไรอยู่ ทำเป็นของตัวเอง ละก็ถ้าเป็น Online คนที่ Call Out เขาก็จะ Call Out ตั้งแต่วันแรกเลย อย่างผมก็ Call Out ตั้งแต่วันแรกเลยว่า ไม่เอารัฐประหาร



    ตรงนี้น่าสนใจ ในขณะที่ช่วงนั้นยังไม่มีแม้แต่การรวมตัวหรือการลุกฮือใดๆ ของมวลชนเหมือนปัจจุบันนี้เลย อะไรคือปัจจัยทำให้คุณกับเพื่อนๆ รวมไปถึงประชาชนชาวเชียงใหม่และพี่น้องทางภาคเหนืออีกหลายท่าน กล้าที่จะออกมาแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ในที่สาธารณะเช่นนี้ต่อให้หมายถึงการที่จะต้องทำมันด้วยตัวคนเดียวก็ตาม


    เฟนเดอร์ : ผมคิดว่าคนเหนือน่าจะมีความ “ต่อนยอน” หรือว่าความกลัวในความเสี่ยงน้อยกว่า ถ้าพูดกันตามตรงตามประวัติศาสตร์ เชียงใหม่เคยเป็นเมือหลวงของคนเสื้อแดงมาก่อน คือไม่ใช่ไม่มีคนที่มีแนวเป็นอนุรักษ์นิยมเลย แต่ที่นี่เคยเป็น Capital ของ คนเสื้อแดงจริงๆ (ผู้สัมภาษณ์ : ที่มันเคยเป็นแบบนั้นมันเป็นเพราะตระกูล ”ชินวัตร” ปะ) น่าจะเป็นส่วนหนึ่งครับ แต่ผมว่าประวัติศาสตร์ร่วมของอาณาจักรล้านนาและของเมืองเชียงใหม่เองก็ค่อนข้างเจ็บปวด ถ้าเป็นคนเก่าๆ รุ่นที่เพิ่งเสียไป หรือว่าอายุ 80 จนถึง ร้อยนิดๆ เขายังจำได้และเขามักจะบอกว่า “ห้ามลืมเด็ดขาดว่าสยามเคยทำอะไรไว้กับล้านนาบ้าง” สิ่งที่สยามทำไว้กับล้านนาก็อย่างที่รู้ครับ ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ก็คือเริ่มด้วยการเข้ามาเผาเอกสารและทำลายอัตลักษณ์ของชาวล้านนา ห้ามใช้ภาษาตัวเขียนเมือง ทุกวันนี้คือต้องกับมารื้อกันอีกรอบนึง 


    แฟรงค์ : ตัดถนนผ่านวัดหลวงของเชียงใหม่


    เฟนเดอร์ : แล้วก็เอาเจ้าดารารัศมีเข้าวังแล้วก็สั่งให้ปรับคำเมืองให้ฟังง่ายขึ้น กลายเป็นที่มาของ “สำเนียงเชียงใหม่” ที่มีสำเนียงไทยปนเข้าไปอยู่ในภาษาเมืองมากขึ้นอะไรยังงี้ แล้วก็ไม่กี่ปีก่อน กรมศิลปากร เขาสงสัย ซึ่งอันนี้เป็นข้อสังสัยและเป็นข้อสันนิฐานมานานแล้วว่า ในคูเมืองเชียงใหม่ มีวัด มีโบราณสถานต่างๆ เต็มไปหมดเลย แต่ทำไมถึงไม่มีวัง วังมันหายไปไหน แล้วไม่กี่ปีก่อนเขาขุดเจออยู่ใต้คุกครับ คุกคูเมืองครับ ก็คือแม่ง สยามทำกันขนาดนั้นอะ มันก็เลยถูกฝังอยู่ในยีนส์ของคนเมือง คือคนเมืองในยุคเก่าเขาคิดยังงี้ตลอดเลย


    แฟรงค์ : คือในยุคที่เริ่มมีการรวมประเทศเนี่ย ทางสยามเขาไม่ได้ compromise อะไรขนาดนั้น เขากดมากกว่า


    เฟนเดอร์ : แต่ที่ยกตรงนี้มาเล่าให้ฟังคือมีเจตนาไม่ได้อยากมีความแบ่งแยกอะไรกันนะ (หัวเราะ) แต่มันน่าจะพออธิบายว่ามันมีรากเหง้าของความไม่พอใจอำนาจส่วนกลางตรงนี้อยู่



    เราเข้าใจและรับรู้มาตลอดว่าเหตุการณ์ทำนองนี้มันมันเกิดขึ้นทั่วประเทศในยุคการสร้างรัฐชาติและการขยายอิทธิพลของสยาม แต่ในฐานะคนอีสาน เราเองกลับไม่ค่อยรู้สึกถึงบรรยากาศและสำนึกทางประวัติศาสตร์ความคับข้องใจที่ส่งต่อกันมาขนาดนี้ พวกคุณคิดว่าปัจจัยอะไรทำให้ชาวเชียงใหม่หลายๆ คนถึงยังมีเชื้อของความไม่พอใจตรงนี้อยู่


    เฟนเดอร์ : ผมคิดว่ามันอาจจะเป็นเรื่องเชิงภูมิศาสตร์ด้วย ภาคอีสานมีขนาดพื้นที่ที่ใหญ่กว่ามาก ขณะที่จุดที่เป็นศูนย์รวมทางวัฒนธรรมมันก็จะเป็นจุดเล็กๆ ในขณะที่พื้นที่มันใหญ่มาก แต่ของเชียงใหม่มันเป็นดอยและป่า ถ้าไม่ใช่คนดอยก็จะเป็นคนที่อยู่ในเมืองอย่างเดียว ไม่ก็อยู่ตามหมู่บ้านที่ในอยู่เส้นทางยังไงก็เลี่ยงไม่ได้ที่มันต้องผ่านเมือง


    แฟรงค์ : จริงๆ ผมว่าที่อีกสิ่งที่ทำให้ประเทศของเรามีรูปร่างหน้าตาแบบอย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ คือ มันมีเรื่องการพีอาร์ของพระมหากษัติย์ในรัชกาลก่อนเป็นอีกปัจจัยด้วยที่คอยเชื่อมทุกคนเข้าด้วยกันเป็นศูนย์รวมจิตใจ เป็นเพราะเครื่องมือตรงนี้ด้วย


    เฟนเดอร์ : ด้วยการสนับสนุนของอเมริกา


     แฟรงค์ : ใช่ ด้วยการสนับสนุนของรัฐบาลอเมริกาในช่วงสงครามเวียดนาม ประเทศมันเลยหน้าเป็นแบบนี้ คนที่โตมาในช่วงนั้นเขาก็เลยรับข้อมูลที่มันเข้มแข็งว่าต้องสู้เพื่อสัญลักษณ์ของเขานะ แต่ว่าเรื่องการเมืองตอนนี้มันเหมือนว่า คนจากที่เป็น Ignorance เริ่มตาสว่างกันเยอะขึ้น หมายถึงว่าเริ่มได้รับข้อมูลด้านอื่นเข้ามา นอกจากของที่เคยได้รับการพีอาร์กันมาด้านเดียว มันก็เลยเป็นเกิดสิ่งที่ตอนนี้เรียกกันว่าการ ”เบิกเนตร” 


    “………. หลังจากที่แฟรงค์ พูดจบประโยคมีการถกกันในวงสนทนาเล็กน้อยว่าจะคุยกันในประเด็นนี้ต่อไปดีไหม ก่อนที่จะสรุปกันตามประโยคที่ เฟนเดอร์ กำลังจะพูดต่อจากนี้…..”




    เฟนเดอร์ : เอางงี้ไหม เราถือว่าเพดานคือนักวิชาการที่ยังไม่โดนจับดีไหม ก็คือเราพูดกันในกรอบเชิงวิชาการ


    แฟรงค์ : มันควรจะมาถกกันได้ ตอนนี้เรามองว่า ผลผลิตของคณะราษฎรมันเริ่มทำงานแล้ว เหมือนที่จอมพล ป. พิบูลสงคราม เคยบอกไว้ว่าเราจะสู้กันแบบนี้ไปอีกหลายปีเลย หลังจากที่แกตายเนี่ย คือหลายปีแน่นอน


    เฟนเดอร์ : ถึงระลอกนี้ ไม่ได้ผลยังไง ผมว่าการเปลี่ยนแปลงมันจะต้องมาถึงในสักวัน 


    แฟรงค์ : ซึ่งเดี๋ยวคงจะไม่นานแล้ว เพราะจากอะไรไม่เคยเห็นก็ได้เห็น


    เฟนเดอร์ : ใครจะไปนึกว่าจู่ๆ จะตื่นมาแล้วมีเรื่องให้เซอร์ไพร์สทุกวันได้ขนาดนี้ ทั้งเรื่องเพดานความคิด ทั้งศัพท์แสลงใหม่ๆ


    แฟรงค์ : ทั้งเรื่องไม่รับปริญญา เรื่องรับเสด็จอีกอะ


    เบียร์ : อย่างเรื่องไม่เข้ารับปริญญาที่ไม่เข้ารับทั้งคณะนี้สุดท้ายเขาโดนอะไรไหมพี่


    แฟรงค์ : ก็เพิ่งแถลงออกมา เขาบอกว่าถือเป็นการละเมิด ถ้าไม่รับปริญญา


    เฟนเดอร์ : เฮ้ยไม่ใช่ละ อันนี้แม่งเหมือน build กฎขึ้นมาใหม่เลย ไม่ใช่ละ แล้วเมื่อก่อนคนไม่ไปรับกันตั้งเยอะตั้งแยะก็หมิ่นกันชิบหายอะดิ (หัวเราะ) ที่พูดมาทั้งหมดคือเราไม่ได้ต้องการจะลบหลู่หรือว่าดึงฟ้าให้ลงมาต่ำ แต่เราอยากให้มันคลีน เอาที่มันเป็นจุดประสงค์ know how หรือว่า workflow หลักหลังจากนี้มันควรเป็นยังงี้ 


    แฟรงค์ : ใช่ คือเราก็อยากให้มีแหละ แต่อยากให้คลีน


    เฟนเดอร์ : หลังบ้าน หน้าบ้าน จะได้อยู่กันแบบสบายใจตั้งแต่หัวขบวนยันท้ายขบวน


    แฟรงค์ : แล้วเขาจะได้รู้ว่าสิทธิที่เขามีกับประชาชน เขาจะทำอะไรได้บ้างอะไรไม่ได้บ้าง ซึ่งทุกวันนี้มันมืดไปหมด และพอระบบแบบนี้มันเกิดขึ้น มันก็มีคนที่ได้ประโยชน์จากระบบนี้ตามมาอีกหลายกลุ่มเลย ซึ่งกลุ่มคนเหล่านี้ ไม่อยากจะเสียประโยชน์จากการปฎิรูปสถานบัน พอเขามีอำนาจมากๆ ทหารก็จะมีอำนาจมากๆ อ้างอะไรก็ได้ กฎหมายเขาก็สามารถคุมได้


    เฟนเดอร์ : บิดได้หมดอะ บิดซะจนตอนนี้กลายเป็นวิฤตการณ์แล้ว และประเทศของเราขณะนี้ยังมีวิกฤตอันนี้ด้วยครับ เรื่อง “อัตลักษณ์ความเป็นไทย” เรื่องการสอน การหล่อหลอมและนิยามของการเป็นพลเมืองที่ดีของประเทศไทย มีข้อสังเกตที่น่าสนใจอันหนึ่ง หลายๆ อาจจะเคยเห็นไม่กี่สัปดาห์ก่อนที่มีการจัดทำโพลสำรวจว่าว่าคนกลุ่มช่วงอายุไหนมาร่วมชุมนุมมากที่สุด ผลที่ได้ออกมาปรากฎว่าเป็นคนที่อยู่ในรุ่น “Gen Y” ซึ่งความย้อนแย้งของเรื่องนี้มันอยู่ตรงนี้ครับ คือ จริงๆ แล้วคนในเจเนอร์เรชั่นนี้คือคนที่เกิด เติบโต และถูกหล่อหลอมขึ้นจากพ่อแม่ที่เป็น Gen X” หรือคนรุ่นก่อนหน้านั้น และสิ่งที่เด็กทำกันอยู่ทุกวันนี้ คือการขีดเส้นที่ผู้ใหญ่เหล่านั้นสอนมาทั้งหมด เรื่องของการนอบน้อมในการสื่อสาร เรื่องความสะอาด การไม่เอาและปฏิเสธความรุนแรง ความมีอารยะในการถกเถียง คือมันครบหมดเลย มันครบอย่างที่ผู้ใหญ่เขาอยากให้เป็น ขีดเส้นมา แต่มันกลายเป็นว่า คนที่อยู่อีกฝั่งหนึ่ง คนที่เป็น conservative คนที่ด่าเด็กอยู่ทุกวันนี้เหมือนกำลังด่าสิ่งที่ตัวเองเคยส่งเสริม ที่สั่งสอนเด็กเหล่านี้มา


    แฟรงค์ : อยากให้เด็กเป็นคนกล้าคิด กล้าทำ กล้าแสดงออก


    เฟนเดอร์ : เป็นตัวของตัวเอง รู้ชอบเป็นชอบ รู้ผิดเป็นผิด


    แฟรงค์ : ละพอเป็นปั๊ป อ่าว ทำไมเป็นคนยังงี้ อยากให้เลือกอาชีพเองนะ อยากให้เป็นตัวของตัวเอง อ่าว แล้วทำไมไม่เป็นหมอ ไม่เป็นพยายาบาล อะไรแบบนั้น



    แฟรงค์—ศรัณย์ ดลพิพัฒน์พงศ์ 


    พวกคุณคิดว่าความขัดแย้งทางความคิดระหว่างเจเนอเรชั่นตรงนี้มันมีที่มาจากอะไร


    แฟรงค์ : จริงๆ เคยคุยกับเฟนเดอร์เรื่องนี้นะครับว่า สิ่งขาดไปสำหรับคนรุ่นก่อนๆ น่าจะเป็นเรื่องของการ “Critical Thinking” หรือการคิด วิเคราะห์ แยกแยะ ว่าอันไหนดี อันไหนชอบ โดยที่ไม่ต้องให้คนอื่นมาบอก


    เฟนเดอร์ : ละก็สกิลการเปิดกว้างเรื่องการถกเถียงด้วยครับ ผมรู้สึกว่าคนไทยไม่ชินกับการถก การ debate กันขนาดนั้น 



    เพราะหลายๆ คนมักจะตีความไปว่าการถกเถียงคือชวนการทะเลาะ


    เบียร์ : โดยเฉพาะคนที่โตหน่อยจะค่อนข้างชัดเจนมาก ผมเคยมีเพื่อนสนิทคนหนึ่งที่อายุห่างกันมากๆ เคยถกเถียงเรื่องหนึ่งซึ่งชัดเจนเลยครับว่าถกกัน ถกกันเฉยๆ เนี่ย เขามองว่ามันเป็นการชวนทะเลาะ


    แฟรงค์ : ยิ่งผู้ใหญ่กว่านั้นก็จะมองอย่างนั้นเหมือนกัน จะมองว่าแบบ ทำไมถึงเถียง


    เบียร์ : ละเขาก็จะใช้อารมณ์ด้วยนะ อะไรวะ กูก็พูดดีๆ 


    เฟนเดอร์ : ก็แม่ทำไมไม่ทำนี่เอง แม่ก็จะสวนกลับมา เถียงเหรอ ! (วงหัวเราะ) แล้วแม่ก็จะตามด้วย “คิงนี่มึงตึง ภาษาไทยมันจะแปลประมาณว่า “มึงนี่มัน” แล้วก็ต่อด้วย@!#!@#$!% ไป จนผมโตมาระดับนึงแม่ก็ยังใช้คำเดิมอยู่ อย่างตอนที่ผมไม่ได้อยูกับแม่มาพักหนึ่งแล้วผมไปเจอแม่ แม่ก็ใช้คำนี้แหละ “คิ่งนี่มึงตึง” เราก็แบบ “มึงตึงอะหยัง” (หัวเราะ) คือ มันอะไร พูดมาดิ


    แฟรงค์ : คือพอโตมา เราถึงเข้าใจว่าที่เขาสอนพวกเราแบบนั้นน่ะ เพราะเขาเคยผ่านการเลี้ยงดูแบบที่เราไม่เคยเจอมาก่อน เขาอาจจะโดนไม้เรียวเขาอาจจะโดน คือการโตมาของแต่คนแต่ละเจเนอเรชั่นมันต่างกันชัดเจนมากทำให้มันเกิดคอนฟลิกตรงนี้ขึ้น


    เฟนเดอร์ : และความที่ตอนนี้ข้อมูลมัน flow ต่างกัน ความสว่างของเทคโนโลยี ความเข้าถึงง่ายของเทคโนโลยี มันมีคำหนึ่งตอนล่าสุดที่แม่ผมโทรมาสองสามอาทิตย์ก่อนบอกว่าแบบ “อย่าไปม๊อบนะลูก อย่าไปอยู่แนวหน้านะ” นู่นนั่นนี่ โอ้ยแม่ยังจะมาห้ามอีกเหรอ แม่เขาบอกว่า ในฐานะแม่ แม่ขอพูดยังงี้ แต่ถ้าแบบในฐานะคนรักความถูกต้องแม่ก็ โอเค แต่แม่แค่ห่วงว่าอย่าไปอยู่แนวหน้า แค่นั้นแหละ ผมก็ตอบแม่กลับไปว่า เราก็เข้าใจว่าแม่ทุกคนก็คงบอกลูกยังงี้แหละ



    ย้อนกลับไปเรื่องเจเนอร์ชั่นของคนที่ไปม๊อบ ส่วนตัวเรารู้สึกว่าที่คนในเจเนอเรชั่น Y เป็นคนรุ่นที่ออกมาร่วมชุมนุมกันเยอะสุดเพราะเรารู้สึกว่าเด็กรุ่นใหม่ทำพวกเรากลับมามีความหวังกับประเทศนี้อีกครั้ง เพราะพวกเราเติบโตมาในยุคที่งงๆ และไม่มีความหวังเอาเสียเลย


    แฟรงค์ : รุ่นเราเป็นยุคเปลี่ยนผ่านของหลายๆ อย่างเลย จากอนาล๊อก เป็นดิจิตอล แล้วยิ่งปัจจุบันข้อมูลข่าวสารมันเยอะเนี่ย เด็กรุ่นหลังเราเขาต้องเก่งกว่าเราแน่นอน เด็กที่เขาไปม๊อบเขาตัดสินใจไปเพราะข้อมูลที่มีอย่างมหาศาลตรงนี้เพราะเขาเข้าถึงได้เร็วกว่า แล้วก็อีกอย่างหนึ่งที่เป็นภาพสะท้อนเรื่องนี้ได้ชัดเจนที่สุดเลยคือ ครูกับเด็กนักเรียนจะมีปัญหากันมากขึ้น ยิ่งเป็นโรงเรียนรัฐบาล ครูกับนักเรียนตอนนี้คือสู้กันชิบหายเลย ทั้งเรื่องกฎระเบียบ วัฒนธรรมประเพณีทั้งต่างๆ พิธีที่เอาเด็กไปนั่งกลางสนามร้อนๆ ต้องไหว้ครูยังงี้ ทุกคนเริ่มไม่โอเคละ (ผู้สัมภาษณ์ : ซึ่งจริงๆ เรื่องพวกนี้รุ่นเราก็ไม่ได้รู้สึกโอเค แต่ปัญหาของรุ่นพวกเราคือพวกเราไม่กล้า )  ใช่ แต่พูดไม่ได้ไง เรื่องที่มันดีงามในสมัยก่อนที่เราเคยคิดว่ามันดีงาม มันเริ่มกลายเป็นเรื่องผิดแปลกไปจากปกติละ มันเริ่มเป็นเรื่องการริดรอนสิทธิ์การอะไรไปละ เราจะเห็นได้ชัดเลยจากยุคนี้ ว่าอันไหนถูก อันไหนจะยังเหลืออยู่ในอนาคต วิถีแบบไหนจะเหลืออยู่ สมัยก่อนเราจำได้ว่า ตอน เนติวิทย์ ออกมาพูดใหม่ๆ ตอนนั้นยังมีคนเกลียดเนติวิทย์โคตรเยอะเลย เรื่องทรงผม ชุดนักเรียน ไม่เครารพธงชาติ


    เฟนเดอร์ : แต่ผมว่ากรณีนี้มันเป็นเรื่อง Culture Shock มากกว่าครับ เพราะว่าสิ่งที่แบบ อย่างกรณีของ เนติวิทย์ เพนกวิ้น จ่านิว หรือคนหลังจากนั้นที่ตามๆ มาหรือที่ออกมาพูด มันคือเมล็ดพันธุ์ที่แม่งรอวันปริออกมาอยู่แล้ว แล้วพอมันมีคนเข้าไปสะกิดมันก็มีทั้งคนที่ยังไม่รู้ตัวว่าเมล็ดพันธุ์ตัวเองกำลังปริก็จะไป ไอ้เหี้ยมึงทำไมไปพูดยังงั้น กูเกลียดขี้หน้ามึงมากเลยนู่นนั้นนี่ แต่ความจริงแล้วมันสิ่งเหล่านี้มันเกิดจากความรู้สึกที่ว่าตัวเองวางไปแล้ว วางเมล็ดพันธุ์ตัวเองไปนานและผ่านช่วงเวลาที่ตัวเองรู้สึกทำอะไรไม่ได้จนวิวัฒนาการและลดทอนคุณค่าในตัวเองกลายเป็นคนอยู่เป็น พอมาเจอคนที่กล้าพูดความความเจ็บปวดในใจตรงนี้นี่อาจจะระเบิดขึ้นมาอีกทีหนึ่ง 



     โด่ง—จอมยุทธ์ วงษ์โต


    ตรงนี้เราพอเข้าใจเพราะตัวเราเองจำได้ว่าตอนที่เนติวิทย์ออกมาพูดใหม่ๆ เราก็ไม่ชอบหน้าเขาเหมือนกัน


    แฟรงค์ : ใช่ แบบ มันเป็นใครวะ คนอื่นเขายังทำได้เลยมึง ทำไมทำไม่ได้วะ แต่เอาเข้าจริงๆ มันก็พูดถูกนี่หว่า พอบริบททางการเมืองมันเปลี่ยน คำพูดที่เคยผิดไปในช่วงหนึ่งมันกลายเป็นเรื่องที่ควรกันพูดตั้งนานละ คือเราไม่กล้าพูดไง เราจำได้ว่าตอนมัธยมเราก็อยากไว้ผมยาว 



    พวกคุณคิดว่าทำไมคนรุ่นนี้ถึงมึความกล้าที่ลุกขึ้นมาพยายามเปลี่ยนแปลงประเทศนี้ให้ไปดีขึ้นด้วยตัวเอง มากกว่าคนในรุ่นเรา หรือคนในยุคก่อนๆ


    เฟนเดอร์ : ผมว่ามวลชนหรือว่า movements ตอนนี้ที่มันได้ผลและเป็นวงกว้างขนาดนี้เพราะว่า คนรุ่นใหม่รู้จักขมวดปมจากสิ่งที่เกิดขึ้นทั้งหมดในรอบหลายๆ ปีที่ผ่านมาแล้วก็เอามาแบ่งเหมือนเป็น Category หลายๆ อัน บวกด้วยความล้ำหน้าของเทคโนโลยีและความสว่างของข้อมูล รวมทั้งการสร้างคอมมิวนิตี้ หรือว่า การใช้สื่อ social networks อะไรทั้งหลาย คือการมาถึงของเทคโนโลยีเหล่านี้มันทำให้คนที่มีความคิดเสียงดังขึ้น ณ ทุกพื้นที่ อย่างตอนที่ผมโทรไปหาแม่แล้วท่านบอกว่า “ความจริงน่ะ แม่ก็มีความรักในความผิดชอบอะไรอยู่เหมือนกันนั่นแหละ ถ้าตัวเองออกไปได้ก็อยากออกไป แต่เราก็ไม่ได้กล้า ไม่ได้ฉลาดเท่ากับเด็กรุ่นใหม่@!!$#@%” ผมรีบตอบกลับไปว่า แม่อย่าไปคิดอย่างนั้น มันต่างกัน ยุคของแม่มันแบบโทรศัพท์มือถือมันยังไม่มีด้วยซ้ำ ยังแบบเพิ่งเริ่มจะใช้เพจเจอร์กันอยู่เลย เทียบกับยุคนี้ คือเด็กแม่งดูข่าว ดูฟีดทุกวัน แล้วก็สามารถไลฟ์ได้ แล้วก็มีสกิลการใช้เทคโนโลยีกับเครื่องมือ พวกเขาเกิดมาพร้อมกับทักษะตรงนี้เลย มันคนละแบบกัน



    แต่ถ้าพูดเรื่องข้อมูล ถ้าว่ากันจริงๆ ในยุคเราก็น่าจะมีข้อมูลเรื่องพวกนี้เหมือนกันนะ


    เฟนเดอร์ : ใช่ มันก็มี แต่คนยุคเราก็ยังเป็นระลอกรอกแรกๆ ไง มันไม่ใช่แบบทั้งเจ็น หรือทั้งสังคมที่ใช้สิ่งนี้แล้ว แล้วตอนนั้นข้อมูลและองค์ความรู้หลายๆ อย่างมันก็ไม่ได้อยู่ในนั้น ตอนนั้นมันยังมีข้อมูลดักควายยังมีอะไรอยู่เยอะแยะ คือแบบ เรายังไม่สามารถแยกได้ว่ามันเป็นข้อมูลจริงหรือข้อมูลดักควาย แต่ทุกวันนี้คือพอต้นข่าวมาปุ๊ป เราดูแบบนิดๆหน่อยๆ  สองสามวิมันก็เริ่มแบบพิสูจน์ได้แล้วว่าอันไหนจริงไม่จริง



    แต่ที่พูดมาทั้งหมดทั้งมวลมันคือการได้มาซึ่งข้อมูลและองค์ความรู้ แล้วในส่วนของความกล้าล่ะ


    โด่ง : มันน่าจะเพราะทุกคนโดนผลกระทบกันหมด เมื่อก่อนอาจจะเป็นแค่คนที่อยู่ในวัยทำงานที่อาจจะโดนผลกระทบ แต่ตอนนี้มันเหมือนนักเรียน นักศึกษา เด็กๆ ทุกคนโดนกันหมด และตอนนี้เรามีข้อมูลที่สามารถปะติดปะต่อเรื่องราวจนสามารถรู้ได้ว่าผลกระทบตรงนี้มันมาจากอะไร มันเชื่อมโยงกันมาเรื่อยๆ จนมีความกล้าจนรู้สึกว่าตัวเองต้องออกมาแล้ว พวกเขาไม่ได้โดนผลกระทบแล้วรู้สึกว่าตัวเองทำอะไรไม่ได้


    เบียร์ : ผมขอยกตัวอย่างง่ายๆ ให้ฟังสักหนึ่งอัน  ออกตัวก่อนว่าผมเป็นครูสอนพาร์ทไทม์ในโรงเรียนมัธยมแห่งหนึ่ง มีครั้งหนึ่งผมเห็นเด็กมัธยมต้นซึ่งบางคนผมเขาสั้นอยู่แล้ว ก็ยังโดนทำโทษให้มันสั้นเท่าติ่งหู ผมแค่ยืนดูห่างๆ ผมยังรู้เลยว่ามันมีความรู้สึกโกรธมากๆ ของเด็กกลุ่มนั้นอยู่ ละคือมันไม่เหมือนกับตอนที่เราเรียน แค่เราดูแววตา เรารู้สึกได้เลยแบบ ไอ้เหี้ย มันโกรธมากเลย 


    เฟนเดอร์ : กดแล้วกดอีก แล้วไม่คิดว่าเด็กมันไม่มีความโกรธเหรอ


    เบียร์ : แล้วไอ้คนที่ทำก็แบบ ไอ้เหี้ย มึงก็คนรุ่นกูหรือเปล่าวะ หรือไม่ก็ไม่ได้แก่ไปกว่ากันเท่าไหร่แล้วไปทำยังงั้น เหมือนมันมีความจิตของอะไรบางอย่างอยู่ (แฟรงค์ : มันยังมีความโซตัส) ใช่ๆๆ คือเรื่องพวกนี้มันยังไม่หายไป 


    แฟรงค์ : ซึ่งหน้าทึ่งมากที่พอบริบทของการเมืองมันมีเรื่องนี้เข้ามา โซตัสก็เริ่มกลายเป็นเรื่องงี้เง่า ใน ณ เวลา นี้



    เออ เรื่องหนึ่งที่เรารู้สึกมหัศจรรย์มากในปีนี้คือ มหาวิทยาลัยแม้โจ้ หนึ่งมหาวิทยาลัยที่มีระบบ SOTUS ที่เข้มข้นและเข้มแข็งที่สุด อยู่ๆ ก็ติดสินใจยกเลิกระบบโซตัสกันทั้งมหาลัย 


    เฟนดอร์ : เนี่ยคนอยู่นี่อยู่นี่ไง คนนำเลยครับ (เฟนเดอร์ ชี้ไปที่น้องโฟล AR ของวงที่ยืนอยู่ด้านหลังผู้สัมภาษณ์) 


    โฟล : สร้างกลุ่มในเฟสบุ๊กคืนเดียวพี่ อีกวันนึงคือทั้งมอยกเลิกเลย (เฟนเดอร์ : กลุ่มใหม่แม่โจ้)  คณะกันหยงแม่โจ้


    …..ด้วยความทึ่งปนตกใจผมลุกขึ้นจากวงสัมภาษณ์และแสดงความนับถือน้องโฟลว์ด้วยการขอจับมือ สำหรับผม คนเหล่านี้แหละคือวีรบุรุษของชาติ คนที่ทำให้เกิดการเปลี่ยงแปลงและพาสังคมไปในทางทิศทางขึ้นได้สำเร็จ…. ขอแสดงความนับถือครับ….


    w/ น้องโฟล หนึ่งในแกนนำผู้ล้มล้างระบอบโซตัสแห่งมหาวิทยาลัยแม่โจ้


    เนี่ยการเปลี่ยนแปลงมันเป็นแบบนี้เลย พอทุกคนมีฉันทมาติในเรื่องใดเรื่องหนึ่งมันสามารถนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและฉับพลันได้เลย


    เฟนเดอร์ : ก็แค่ดึงคนที่มีความคิดมาอยู่ด้วยกันแล้วมันจะกลายเป็นเสียงที่ดังขึ้นมากๆ ซึ่งผมยกความดีความชอบตรงนี้ให้เทคโนโลยีเลย เพราะมันทำให้คนเห็นว่ามันมี solution ที่ปลอดภัยหรือว่าช่วยทำให้เรากล้ากันมากขึ้น


    แฟรงค์ : อย่างที่ถามว่าทำไมคนรุ่นนี้ถึงกล้า เพราะเมื่อก่อนเราอาจจะคิดแบบนี้ แต่เราไม่รู้ว่าคนอื่นจะคิดเหมือนเราหรือเปล่า สมัยนี้มันมี # ใน twitter ที่เราสามารถคลิกเข้าไปแล้วรู้ได้เลยว่ามีใครอยู่กับกูบ้าง เนี่ย อันนี้ล้านคน ห้าแสนคน และแฟรงค์ก็มองว่าที่ม๊อบมันรอบนี้มันจุดติดเพราะเมืองมันเครียดจริงๆ กับการมาของโควิดด้วย ที่รัฐบาลแม่งแบบไม่มีปัญญาแก้ปัญหาได้อย่างประสิทธิภาพในแบบที่ควรจะเป็น เกิดจากความกดดันตรงนี้ด้วย คือบางคนไม่มีอะไรจะเสียละ บางบ้านที่เด็กมันกล้าออกมาก็คือเพราะพ่อมันก็โดนปัญหานี้เหมือนกัน พ่ออาจจะโดนให้ออกจากงาน หรือตัวเขาเองก็อาจจะโดนให้ออกจากงาน หลายๆ ปัญหามันรุมเร้าเข้ามาทีเดียว



    อยากให้พูดถึงสถานการณ์การเมืองปัจจุบันกันหน่อย ทั้งในภาพรวมและท่าทีของทั้งในฝั่งของประชาชน และฝั่งของรัฐบาล


    เฟนเดอร์ : ผมกำลังมองความขัดแย้งที่ประเทศของเรากำลังเผชิญอยู่ตอนนี้ ข้อเรียก 3 ข้อ ที่ฝั่งเยาวชนปลดแอก หรือ ราษฎร เสนอขึ้นไป มันเป็นข้อเรียกร้องที่ตั้งอยุ่หลักการที่เป็นสากลมากๆ ในลักษณะที่แบบถึงผ่านไปอีกร้อยปีมึงย้อนกลับมามาดูมันก็ยังยอมรับได้


    แฟรงค์ : ซึ่งผิดกับอีกฝั่งหนึ่งซึ่งทำไมถึงไม่ให้วะ ทั้งๆ ที่ข้อเรียกร้องพวกกูคือแบบโคตรง่ายเลย


    เฟนเดอร์ : แต่ผมมองยังงี้คือ มันยังชัดเจนอะครับว่าสังคมที่เราอยู่ประกอบไปด้วย 3 ชนชั้น คือ ชนชั้นล่าง ชนชั้นกลาง ชนชั้นสูง ละก็มี อีลีทที่ลอยตัวไปอีกทีหนึ่ง ชนชั้นสูงจะโดยมากมักจะเอนไปในฝั่ง conservative อยู่ละ แต่ชนชั้นกลางยังมีอะไรจะเสียอยู่ มันยังมีอะไรยึดโยงที่ทำให้ไม่กล้าจะออกตัวกับการเคลื่อนไหวครั้งนี้มากเท่าที่ควร ในขณะที่คนข้างล่างที่เขาออกมาสู้ ที่เรานับถือเขาว่ามีความกล้าชิบหาย เอาเข้าจริงคือเขาไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และจริงๆ เขาก็กลัวด้วย แต่เขาเห็นว่ามันเป็นทางเดียวที่เขาต้องทำ ซึ่งบางทีผมมองเข้าไปและเอามาเปรียบเทียบกับหลายๆ คนที่รู้สึกว่ามีอะไรต้องเสียหรือต้องแลก  เอาจริงๆ มันน้อยมากเลยนะเว้ยที่มึงจะเสีย แต่คนที่เสียไปแล้วคือแม่งเสียเหี้ยๆ แล้วเขาก็เสียสละสิ่งเหล่านั้นไปเพื่อส่วนรวมด้วย ผมว่าช่วงนี้เรามันเป็นช่วงเวลาที่เราต้องสร้างแนวร่วม อย่างน้อยอยากให้เข้าใจว่าตอนนี้มันมีคนที่ไม่มีอะไรจะเสียแล้ว และไม่มีอะไรจะเสียไม่พอ ยังต้องการคนที่จะมาพูดแทนพวกเขาด้วย ชนชั้นกลางที่ยังแบบ พอใช้ชีวิตได้ พอจะพยุงชีวิตตัวเองได้ควรจะออกมาสนับสนุนให้มันชัดเจน ไม่ควรอ้อมกันไปอ้อมกันมาอีกแล้ว รวมไปถึงสื่อมวลชนก็ยังไม่กล้าเล่นเรื่องนี้แบบชัดเจน ยังไม่ยอมรับว่าตัวเองว่าครึ่งหนึ่งของตัวเองคือคุก ซึ่งความจริงแม่งควรคิดยังงี้ได้แล้ว ว่าครึ่งหนึ่งของตัวเองคือคุก เพราะคำว่า “สู้” คือคุณต้องไปต่อต้านกับเขาอยู่แล้ว ครึ่งนึงของตัวคุณคือเหยีบยคุกไปแล้วแน่นอน แต่ว่าก็นั่นแหละ บางคน บางกลุ่ม ชีวิตเขาก็ยังตอบเชื่อมกับอีกกลุ่มอย่างเจ้านาย สปอนเซอร์  มันก็คงเป็นเหตุผลเดียวกับดาราไม่ค่อยออกมา Call Out อะแหละ


    เบียร์—เศษรฐกิจ สิทธิ


    เนี่ย เราค่อนข้างแปลกใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในส่วนนี้มากๆ ว่าทำไมแวดวงธุรกิจบันเทิงถึงเลือกที่จะเงียบกับเรื่องนี้ ทั้งๆ ที่ธุรกิจเหล่านี้กลุ่มลูกค้าหลักคือคนรุ่นใหม่ด้วยซ้ำ


    เฟนเดอร์ : เท่าที่ผมเห็นผมว่าคิดน่าจะเป็นเรื่องของบทเรียนล่าสุดจากยุค “กปปส.” คือเขาคิดว่าการตัดสินใจหรือแสดงจุดยืนอะไรไปมันอาจจะถูกในช่วงเวลาหนึ่ง แต่พอเวลาผ่านไปแล้วมันอาจจะผิด เขากลัวเรื่องนั้นกัน แต่ในมุมมองของผม ผมก็คิดว่า อ่าวถ้าคิดยังงั้นทุกอย่างมันก็กลายเป็นความเสี่ยงหมดสิวะ เราควรจะคิดยึดโยงหรือว่าโฟกัสตามบริบท ณ ปัจจุบัน สิ สมมุติว่าอีก 10 ปี ข้างหน้าไอ้สิ่งที่เราคิดสิ่งที่เราทำมันผิด เราก็เปลี่ยนไดเรกชั่นสิ คือใน ณ เวลานี้มันไม่มีทางผิดอยู่แล้ว โอเค ณ เวลานั้น มึงผิด แต่โอเคกูไม่ว่ามึงหรอก


    เบียร์ : ผมนับถือดาราที่เขาออกมาพูดนะ อย่าง คุณ โอปอ พี่หม่ำ หรืออย่างพี่ตุล อพาร์ทเมนต์คุณป้า ที่เขาตั้งสเตตัสที่ผมชอบมากๆ เลย เขาบอกว่า “ศัตรูของท่านไม่ใช่เยาวชน แต่เป็นยุคสมัยที่ไม่มีวันหวนคืนแล้ว” 


    แฟรงค์ : ซึ่งออกมาจากปากพี่ตุล ซึ่งครั้งหนึ่งเคยขึ้นไปเล่นดนตรีบนเวที กปปส.


    เบียร์ : ใช่ พีคไหมล่ะ แต่พอเขามาพูดยังงี้มันก็เออ เราก็ Respect เขา


    แฟรงค์ : เราว่าหลายๆ คนควรใช้โอกาสนี้ในชุบตัวเอง เรื่องแซวเรื่องแซะมันมีอยู่แล้ว อย่าง วรรณสิงห์ ยังงี้ เมื่อก่อนก็พลาดมาเหมือนกัน ขนาดพ่อเขาเป็นวีรชน 14 ตุลา นะ อาจารย์เสกสรร นะเว้ย พ่อมึงเข้าป่านะเว้ย


    เฟนเดอร์ : นั่นแหละครับ ถึงจะพูดยังงี้มันก็ต้องทำให้ทุกคนสามารถเป็นส่วนหนึ่งอย่างที่เขาพยายามชูธงเรื่องคอนเซปต์ว่า ไม่มีแกนนำ ให้ได้ ซึ่งความจริงมันก็มีแหละแกนนำ แต่ในเรื่องของแนวคิดหรือวิธีการปฏิบัติมันไม่ได้แบบฝากไว้ที่แกนนำอยู่แค่กลุ่มเดียว มันกระจายออกไปแล้ว ละมันก็อยู่บนบ่าเรานี่แหละที่จะทำให้ลมมันไปในทิศทางไหน บังคับลมให้มันเฉซ้ายนิดนึงเพื่อที่ให้ไอ้ที่มันมีกำลังมากกว่าเอื้อมมือลงมาและกล้าที่จะเข้ามาร่วมสู้ไปด้วยกัน


    แฟรงค์ : แต่อีกฝั่งนึง หลายคนก็ยังติดอยู่กับมายาคติที่ว่า ม๊อบมีเบื้องหลังยังงี้ ไอ้เหี้ยเบื้องหลังมึงต้องเป็นอะไรเหรอ ก็ยังเป็นธนาธร ยังเป็นปิยบุตร เป็นพรรคก้าวไกลอยู่ ทุกวันนี้ความจริงคือ พรรคก้าวไกลไม่ได้เป็นแบ๊กอัพให้ม๊อบนะ แต่ม๊อบต่างหากที่เป็นแบ๊กให้พรรคก้าวไกล คือมึงเอาเขาออกไปก็คือมึงเอาคนพวกนี้ที่เขาถูกเลือกโดยคนรุ่นใหม่ออกไป พอมึงเอาตัวแทนของเขาในสภาออกไป คนที่เข้ามาตามกฎหมายตามกฎกติกาของที่พวกมึงตั้งกันเองด้วย เขาเลยต้องออกมา อันนี้คือถูกต้อง mindset ทั้งหมดมันควรจะคิดยังงี้ แต่ก็ยังพยายามดิสเครดิตกัยอยู่ว่ามีต้องอะไรอยู่เบื้องหลัง



    เราคิดว่าเรื่องที่คนที่ไม่เห็นด้วยกับการชุมนุมหลายๆ คนมองว่าม๊อบนี้ต้องมีเบื้องหลังแน่ๆ เพราะเอาเข้าจริงๆ การเคลื่อนไหวทางการเมืองภาคประชาชนที่ผ่านหลายๆ ครั้งในยุคก่อนหน้านี้ก็ล้วนมีผู้ที่เป็นแบ๊กหรืออยู่เบื้องหลังจริงๆ


    เฟนเดอร์ : ใช่ครับ เหมือนคนเหล่านี้เขาฟรีชความฝัน แช่แจ็งอุดมคติของตัวเองเอาไว้แล้ว และจะไม่ออกจากตรงนี้อีกแล้ว



    ซึ่งทุกครั้งเวลาที่เราเจอคนคิดแบบนี้ เราอยากให้ชวนให้เขาลองมาดูการชุมนุมรอบนี้สักครั้งหนึ่ง ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วยก็ได้ แต่อยากให้มาสัมผัสแล้วค่อยตัดสินใจอีกที


    เฟนเดอร์ : อย่างข่าวที่ผมเจอมาในฟีดเกี่ยวกับลุงเสื้อเหลืองที่มายืนอยู่ในม๊อบคนเดียว คือแบบ โคตรดี แค่มีคนรุ่นราวคราวเดียวกับเขา เข้าไปคุยกับแก ละแกได้เห็นว่ามันเกิดอะไรขึ้น what’s going on มั่ง ได้เห็นว่าข้อมูลมัน flow ยังไง ต้นคือยังไง จบคือยังไง อย่างน้อยเขาก็ได้ข้อมูลที่สามารถเอาไปประเมินได้ด้วยตัวเองแบบ 100%


    แฟรงค์ : เขาสามารถประเมินได้ด้วยตัวเองจากทั้งสอบม๊อบ เขาได้เขาเสียอะไร ไปชูรูปเหมือนเดิม คอนเทนต์เดิม ไปชูม๊อบเสื้อเหลืองแม่งโดนตี อยู่ฝั่งสามนิ้วนี่คือไม่มีปัญหาเลย อย่างมากก็มอง แต่มันก็คือเป็นข้อเรียกร้องที่ม๊อบอยากได้อยู่แล้ว คือเราเอาสถาบันกษัติย์เหมือนเดิมแต่เราอยากปฎิรูปให้มันดีขึ้น ชัดเจนขึ้น อยากให้มันไม่มีข้อครหาในเรื่องการเมืองมากขึ้น 


    เฟนเดอร์ : ตอนนี้ผมรู้สึกว่ารัฐแม่ง Call out ไปในทางที่ย้อนแย้งกับตัวเองมากเลยอะ ทั้งที่ข้อมูลพวกนี้มันเป็น fact ที่ยืนอยู่บนปัญหาโครงสร้างที่มันอยู่บนโต๊ะมึงจริงๆ แล้วเขาสรุปออกมาให้เป็นข้อๆ ยังงี้ คือไม่ต้องชวนให้คนมาเห็นด้วยกับข้อเรียกร้องพวกนี้ก็ได้ แต่มันสามารถ Call out เอาข้อมูลออกมาให้คนศึกษา ให้คนมาวิเคราะห์ตามวิจารณญาณของตัวเองได้



    ไหนจะเรื่องความรุนแรงที่ใช้ในการพยายามสลายการชุมนุมอีก


    แฟรงค์ : ล่าสุด Technician วงผมถ่ายรูปมาให้ดู โอโห กำลังบวกกับโล่ตำรวจเลย โดนฉีดน้ำด้วย ส่งมาอวดแบบภูมิใจมากบอก “ถ้าวันหนึ่งผมมีลูกจะเอารูปนี้ให้ลูกผมดู” (หัวเราะ)


    เฟนเดอร์ : มีล่าสุดผมเพิ่งไปอ่านในกรุ๊ป เขาสรุปมาว่า ตอนนี้ในองค์กรฝั่งตุลาการเริ่มมีความส่ำระส่ายแล้ว คือพนักงานระดับกลางและระดับปฏิบัติการเริ่มไม่ยอมละ แต่ที่นี่คนสั่งมันยังเป็นขวาจัดอยู่ เหลือแค่ข้างบนจะเปลี่ยนไปทางไหน ยังไง เมื่อไหร่เท่านั้นแหละ


    เบียร์ : แต่เราเดาว่าคนแบบนั้นนี่น่าจะลงยาก


    แฟรงค์ : อย่างตำรวจบางคำสั่งเขาก็เริ่มจะเข้าเกียร์ว่างละ เพราะบางคนมันก็ไม่โอเค แบบ ไอ้เหี้ย จะทำไปทำไมวะ


    เฟนเดอร์ : สังเกตดูสิว่าตอนนี้คนสั่ง คนบัญชาการจะถูกเปลี่ยนหน้าไปเรื่อยๆ แต่ว่าเปลี่ยนอีกกี่คนๆ พอถึงหน้างานผมว่ามันก็ต้องปล่อยเกียร์ว่างอะ ไอ้เหี้ย มันน่ากลัวนะเว้ย อยากให้ลองคิดเล่นๆ ในระยะยาวต่อสิ่งที่ฝั่ง conservative ทำทุกวันนี้คือ ไอ้เหี้ย มึงจะกลายเป็นตัวเหี้ยในประวัติศาสตร์เลยนะเว้ย ทำไมมึงไม่คิดถึงเครดิตในระยะยาวของมึงมั่งวะ แล้วสิ่งที่เรากังวลกับสิ่งที่เราพยายามเรียกร้องก็คือ เราไม่อยากให้เรื่องพวกนี้เกิดขึ้น มึงอย่าทำสิ่งที่กูคิดว่ามึงจะทำเลย แบบ อย่าทำเลย อยู่ด้วยกันดีๆ ดีกว่า


    แฟรงค์ : เพราะตำรวจสมมุติว่าเขาสั่งอะไรขึ้นมายังงี้ ชื่อเขาติดอยู่กับเหตุการณ์นั้นเลยตลอดชีวิต ตลอดไป 



    เพราะเงื่อนไขที่จะทำให้เกิดความรุนแรงมันไม่มีทางเกิดจากฝั่งประชาชนอยู่แล้ว


    แฟรงค์ : สิ่งหนึ่งที่ต้องขอบคุณคือ ม๊อบที่ออกมากันรอบนี้คือ สุภาพกันมาก พยายามอดทน อดกลั้นกันชิบหายเลย พยายามไม่รุนแรงเลย ไม่ทุบตี ไม่ทำลายข้าวของ คือเก่งมาก เก่งมากที่คุมกันได้ขนาดนี้


    เฟนเดอร์ : ม๊อบทุกยุคบอกเป็นเสียงเดียวกันเลยว่า ม๊อบตอนนี้คือเจ๋งที่สุดแล้ว เป็นวิวัฒน์ขั้นสุดในรอบหลายสิบปี


    เบียร์ : กล้ามาก เก่งมาก ขอบใจมาก





    ถ้ารัฐบาลฟังเราหรือกำลังอ่านสัมภาษณ์ชิ้นนี้อยู่ เราอยากจะบอกอะไรกับเขาหรืออยากแนะนำอะไรที่จะทำให้ผ่านวิฤตนี้ไปได้


    เฟนเดอร์ : ก็อยากให้ทำตามข้อเรียกร้องของประชาชนทั้ง 3 ข้อเลย เพราะว่าข้อเรียกร้องทั้งหมดจะเป็นสิ่งที่จะนำไปสู่การสร้างกฎหมายและกติกาที่แฟร์ที่เข้าสู่คอนเซปต์ประชาธิปไตยจริงๆ ไม่ใช่บอกว่าตัวเองเป็นประชาธิปไตยแล้วกติกาเหลวเป๋วเหี้ยอะไรก็ไม่รู้ คืออะไรก็ได้ที่มันหลีดไปสู่กติกาแบบปกติ เป็นสากลจริงๆ ผมสนับสนุนหมด และการทำตามข้อเรียกร้องของราษฎรทั้งสามข้อมันคลอบคลุมแล้ว



    อยากให้ช่วยฝากถึงคนที่ยังเกียร์ว่างหรือยังไม่ตัดสินใจว่าจะเข้าร่วมกับฝั่งไหน พวกคุณอยากบอกอะไรกับพวกเขา


    เฟนเดอร์ : ผมรู้สึกว่า ก่อนอื่นหรือก่อนที่จะตัดสินใจจะสนับสนุนหรือไม่สนับสนุน หรือจะ take action กับคนในครอบครัวอะไรยังไง ผมอยากให้เข้าไปศึกษาข้อเรียกร้องและที่มาของข้อเรียกร้องทั้งหมดว่า ที่มาที่ไปมันเพราะอะไร ทำไมมันถึงได้เกิดข้อเรียกร้องเหล่านี้ขึ้นมา และปัญหาโครงสร้างที่เราดึงมาบนโต๊ะจริงๆ แล้วมันมียังไงและมันลึกซึ่้งต่อข้อเรียกร้องยังไงบ้าง จากนั้นให้ตัดสินใจตามวิจรณญาน


    แฟรงค์ : อย่างน้อยก็รับข้อมูลตรงนี้ไปก่อน


    เฟนเดอร์ : อยากให้ได้รับข้อมูลจริงๆ ไม่ใช่ว่าเห็นแค่บุคลิกหรือวิธีการสื่อสารแล้วแบบ ไอ้เหี้ยแม่งพวกนี้กูไม่เอา ผมอยากให้แบบตัดอย่างอื่นออกแล้วดูแค่คอนเทนต์พอ โอเค วิธีการพูดมันอาจจะไม่เข้าหู บุคคลิกมันอาจจะไม่เข้าตาคุณ ตัดออก คุณฟังคอนเทนต์ที่เขานำเสนออย่างเดียวก็พอ แล้วมันจะช่วยให้คนคุยกันได้ ถ้าเป็นคนในครอบครัวก็ได้ไม่มีแบบ….ยกตัวอย่างเพื่อนผมยังงี้ มีปัญหาเรื่องทัศนคติทางการเมืองไม่ตรงกันกับที่บ้านถึงขั้นพ่อบอกว่าจะเอาหมาไปปล่อย หมาที่อยู่ที่บ้านของมันที่อยู่กับมันก่อนจะย้ายไปเรียนและไปทำงานที่กรุงเทพ จะเอาไปปล่อย หรือแบบต่างๆ นาๆ จะตัดแม่ตัดลูก แจ้งความลูก มันเกินไป คือสุดท้ายผมว่าคนในครอบครัวไม่จำเป็นคิดแบบเดียวกันทุกคนก็ได้ แค่ต่างคนตามทำตามเจตจำนงของตัวเองก็ดีแล้ว แต่หลายๆ เคสคือแม่งห่วงจริตตัวเองมากกว่าห่วงชีวิตของลูก


    แฟรงค์ : เหมือนที่มีแชทหลุดออกมาอะ ที่พ่อเป็นตำรวจ แล้วลูกพิมไปถามว่าถ้าลูกไปม๊อบแล้วเขาสั่งให้พ่อยิง พ่อยิงไหม พอตอบว่า ยิง เราเป็นลูกคงแบบ อ่าว ไอ้เหี้ย


    โด่ง : คือตอบแบบมั่นใจเหี้ยๆ สมองแบบไม่มีกระบวนการคิดแล้วอะ


    ผู้สัมภาษณ์ : Please Verify That You Are Not A Robot…… (หัวเราะกันทั้งวงสนทนา)


    แฟรงค์ : หรือชื่ออัลบั้มนี้มันจะมาก่อนกาลวะ


    เฟนเดอร์ : ผมว่าหลายเพลงในอัลบั้มนี้มันก็ส่งเสริมแนวคิดหลายๆ อย่างในช่วงนี้พอสมควรนะ เพราะการเคลื่อนไหวของมวลชนในครั้งนี้มันคือการรวบยอดปัญหาของหลายๆ ปีที่ผ่านมา มันก็เลยไม่แปลกที่เพลงที่พวกเราเขียนในช่วงนั้นมันจะฟังดูร่วมสมัยกับทุกวันนี้ คือเรื่องมันเกิดขึ้นมานานแล้ว แต่ทุกคนเพิ่งมาขมวดปมกันในวันนี้ อีกเรื่องอยากฝากถึงที่ยังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะเอายังไง คือ ผมอยากให้ดู ให้เห็นของความเสียสละของคนที่ออกมาเคลื่อนไหวในรอบนี้ว่าเค้าก็ต้องเสียอะไรบ้าง เขาต้องวางอะไรบ้าง เขาต้องเผชิญกับความกลัวและสร้างความกล้ายังไงบ้าง หรืออย่างน้อยก็ขอให้เข้าใจความเป็นมนุษย์ของคนๆ หนึ่งก็ดี ว่าคนๆ หนึ่งที่พูดคำว่าฉันต้องต่อสู้เท่านั้น ไม่มีทางอื่นสำหรับชีวิตนี้อีกแล้ว อย่างน้อยเราควรต้องทำความเข้าใจด้วยว่าอะไรคือสิ่งที่มันบีบให้คนๆ หนึ่งต้องทำได้ขนาดนั้น





    ฝากถึงทุกคนออกไปต่อสู้และเคลื่อนไหวตอนนี้


    SIB : ขอขอบคุณครับ ขอขอบคุณและเป็นกำลังใจให้ครับ และเราจะยืนเคียงข้างพวกคุณเสมอเแน่นอน จะไม่ทิ้งใครไว้ เราจะไปด้วยกันทั้งหมด



    สุดท้าย อยากให้ฝากถึงศิลปินที่อยากจะสนับสนุนการลุกฮือของประชาชนในครั้งนี้แต่ยังไม่กล้าหรือลังเลอยู่


    เฟนเดอร์ : ถ้าอยากทำ ทำเลยครับ เราต้องไม่อ้อมแล้ว เราไม่จำเป็นต้องชี้ชวน หรือ Call Out ให้คนแบบทำสิ่งใด หรือเข้าข้างอะไรเป็น specific ชัดเจน แต่เราสามารถกระตุ้นให้ผู้คน Educate ตัวเองมากขึ้นได้และทุกคนมีพลังจะส่งเสริมให้เกิดการพูดคุยอย่างเป็นอารยะให้เกิดขึ้นเป็นวงกว้างในสังคมมากขึ้นได้ ผมคิดว่านี่แหละจะเป็นหนทางที่ทำให้ทุกคนหันหน้ามาคุยและนำไปสู่การหาทางออกของวิกฤตการณ์ครั้งนี้อย่างที่ดีที่สุดได้ speak out ไปเลย ถ้าคิดจะสู้คือมันจะครึ่งๆ กลางๆ ไม่ได้ละ


    แฟรงค์ : ใช่ครับ ตัดสินใจ มัน it’s time to fight แล้วครับ










    ติดตามผลงานและความเคลื่อนไหวของ “Solitude Is Bliss” ได้ทาง facebook https://www.facebook.com/solitudeisbliss.band , https://www.facebook.com/MinimalRecords  และ Instragram @solitudeisbliss.cnx 



    ____________________________________________________________________________________


    https://www.facebook.com/AFAMT2020





    เมื่อรัฐประกาศศึกกับประชาชนเต็มรูปแบบ ก็ไม่มีอะไรเสีย นอกจากซากเดนศักดินา.25 พฤศจิกายนนี้! เวลา 15.00 น. พร้อมกันที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย! ก่อนไปสำนักทรัพย์ฯ ทวงคืนทรัพย์สินที่ควรจะเป็นของราษฎรทุกคน—



Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
KIK (@kikkoythekoy)
เป็นบทสัมภาษณ์ที่ยาวแล้วดีมากๆเลยฮะ รักวงนี้