เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
AKSORN CHULA REVIEWSporrorchor
รีวิววิชาอักษร จุฬาฯ ปี 3 เทอม 2 #หมดpassion
  • ADVERTISEMENT

    ADVERTISEMENT

    สวัสดีครับทุกคน 

    .

    ไม่อยากจะเชื่อว่า 4 เดือนในเทอมนี้จะผ่านไปอย่างร้าวรานแต่รวดเร็วดีเหมือนกันสำหรับผม 

    .

    เชื่อว่าทุกคนคงจะเบื่อกับสถานการณ์ต่าง ๆ ในทุกมิติชีวิตอย่างเต็มกลั้น โดยเฉพาะเพื่อนพี่น้องในทุกระดับชั้นการศึกษาที่คงป่วยการกับ Zoom และสื่อการสอนออนไลน์ทุกประเภท ขนาดผมเองยังท้อและเหนื่อยหน่ายพอสมควร ดังนั้น ในกระทู้นี้ เพื่อไม่ให้การรีวิวของผมยืดยาว (ดั่งที่เคยชอบทำ) และเพื่อไม่ให้ทุกคนต้องทนอ่านประสบการณ์ส่วนที่ ‘น่าเบื่อ’ ซึ่งมีมากเหลือเกินในเทอมนี้ ผมเลยจะรวบรัดการรีวิวในวิชาที่ผมเองไม่ได้ยินดียินร้ายอะไรมากมาย แต่ยังคงพูดอย่างละเอียดถึงวิชาที่ชอบมาก ๆ เหมือนเดิม (ซึ่งน่าจะเป็นการรีวิวที่ subjective ที่สุดของผมแล้วกระมัง)

    .

    .

    หมายเหตุ: รายละเอียดของรายวิชานั้น ๆ อาจเปลี่ยนแปลงได้ในปีการศึกษาถัด ๆ ไป 

    .

    .

    1) 2233012 SPANISH II: (ผมทะลึ่งเก็บเป็นเสรี (เกิน) เอง; เซค 2 กับอ.สุกิจ ทุกพุธ 13.00-16.00; คาบคอนเวอร์ฯ กับอ.ดาบิด ทุกพุธ 9.00-11.00)

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - แกรมมาจัดเต็ม ทั้ง pretérito perfecto, imperfecto, indefinido, pluscuamperfecto, subjuntivo, imperativo, pronombres relativos

    - คำศัพท์ ไม่ได้เพิ่มมามากเท่าไหร่ ส่วนใหญ่วนอยู่ในหมวดของกินของใช้ นิสัยคน ที่เพิ่มมาใหม่หน่อยก็คือการบอกทาง ศัพท์การทำอาหาร อะไรประมาณนี้

    - เพิ่มเติมจาก Spanish I: หนังสืออ่านนอกเวลา Cuento Contigo สองเรื่องย่อยคือ Catalina และ Taxi ถ้าจะได้ศัพท์ใหม่เยอะ (มาก ๆ) ก็จากในนี้ครับ

    .

    เกณฑ์การประเมินผล

    - สอบกลางภาค 20%, สอบปลายภาค+หนังสืออ่านนอกเวลา 25%, สอบไฟนอลคอนเวอร์กับอ.ฝรั่ง 35%, ควิซและการบ้าน 20% 

    .

    แม้ว่าเนื้อหาของมันจะหนักหนากว่าเดิมและเรียกว่า ได้หน้าลืมหลัง กระจาย verbos กันหัวหมุน จำสลับวุ่นวายชวนปวดเศียรไปหมดจนอยากจะบอกว่า !me duele el cerebro! (ที่หนักกว่านั้นคือ ตัวเองชอบเอาฝรั่งเศสมาปนเองอีก โอ๊ย) แต่การได้พบกับ mis profesores-padres สองท่านนั้นได้ช่วยประคองไฟในการเรียนของผมให้ไม่มอดม้วยไปซะก่อน อ.สุกิจสอนละเอียดมาก ใส่ใจจริง สอนไปเรื่อย ๆ แต่ไม่น่าเบื่อ แล้วเขาพยายาม cheer up นิสิตตลอดจริง ๆ ไม่ว่า ไม่กดดัน และไม่แซะเด็กเลยหากตอบคำถามไม่ได้ (แอบมี sarcástico ถึงสถานการณ์บ้านเมืองนิด ๆ ให้เราได้พอเอ๊ะ ๆ) เสียดายมาก ๆ ที่ไม่ได้เจออจ.เขาตั้งแต่ตอนสเปน 1 ไม่งั้นพื้นฐานสเปนของผมนี่คงจะแน่นกว่านี้แน่  ส่วนอ.ดาบิดที่หลายคนที่เคยเรียนก่อนหน้าผมกลัว ๆ เกร็ง ๆ กัน พอได้มาเรียนเองจริงนี่ก็ไม่รู้สึกว่าเขาโหดอะไรมากมายเลย คือเขาเป็นคนเสียงดัง ชอบยิงคำถามมารัว ๆ ก็จริงแหละ แต่อ.ดาบิดก็ไม่ได้ว่าเด็กถ้าตอบคำถามเขาไม่ได้ แล้วยังอธิบายให้เด็กฟังซ้ำอีกว่าพูดอะไรผิดตรงไหน หรือแกรมมาเรื่องนั้นนี้ใช้ยังไง เผลอ ๆ อ.ดาบิดนี่ใจดีกว่า mi hermano Mario เทอมที่แล้วด้วยซ้ำ 5555555 ให้เทียบการสอนของมาริโอ-ดาบิดนี่ ดาบิดเป็นคนที่สอนในห้อง (ซึ่งผมได้เรียน on-site กับเขาสองครั้ง) ดีกว่ามาก เพราะในออนไลน์เขาจะชอบพูดยาว ๆ คนเดียวซะมากกว่า ส่วนมาริโอสอนในออนไลน์ดีกว่าและ flow กว่า ให้เด็กมีส่วนร่วมเยอะกว่า โดยรวม ๆ แล้ว สเปน 2 คือหนึ่งในวิชาฮีลจิตใจของเทอมนี้เพราะอาจารย์ดี แม้เนื้อหาจะสาหัสสากันกว่าเดิมก็ตาม !Espero que pueda estudiar Español III el semestre próximo na! 

    .

    .

    2) 2202265 ENG LIT APP: วิชาภาคอิ้งสำหรับคนที่เรียนอิ้งเป็นโท (ไม่แน่ใจว่าเก็บเป็น gen lang หรือเสรีด้วยได้ไหม; ทุกอังคารและพฤหัสฯ 11.00-12.30)

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับวรรณคดี เช่น literary device, point of views, องค์ประกอบต่าง ๆ ในงานวรรณกรรม

    - ประเภทวรรณกรรมที่เรียน มี theater, poem, short-story ส่วนตีมอยู่ประมาณ children, minority, LGBT 

    .

    เกณฑ์การประเมินผล

    - สอบย่อย 3 ครั้ง 60 คะแนน, เข้าเรียน 10, การบ้าน 40, ปลายภาค 90

    .

    ไม่แน่ใจว่าจริง ๆ แล้วได้อะไรจากวิชานี้  (นอกจากที่เก็บเพื่อให้เรียนวิชาโทครบ) ยิ่งเจอ pace อจ.ที่ไปเรื่อยมากและชอบบ่น/นอกเรื่อง ก็ทำให้สมาธิหลุดได้ง่าย ๆ จะมาสนุกก็ตอนที่เรียน make-up เป็นเทปเกี่ยวกับละครแล้วกด speed x1.5 555 (แต่ต้องยอมรับอย่างนึงว่า อ. Kris ความรู้แน่นจริง หยิบเรื่องอะไรมาพูดแล้วเล่าได้ลื่นมาก) อีกสิ่งที่ไม่ค่อยชอบก็คือ มันเหมือนเป็นการเรียนเพื่อเอาไปตอบข้อสอบมากกว่าที่จะเรียนแล้วได้แนวคิด/ความคิดอะไรเป็นจริงเป็นจัง (แบบที่ผมเองได้จาก fr lit เทอมที่แล้ว) 

    .

    .

    3) 2202202 ENG COMPO I: วิชาภาคอิ้ง (เซค 4 กับอ.เจนนี่ ทุกอังคาร 13.00-14.30 และทุกพฤหัสฯ 9.30-11.00)

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - การเขียนคอมโป pros & cons, cause & effect, compare & contrast จะละเอียดขึ้นหน่อยตรงที่มีสอนแยก FNP/SSD กับเขียน in-text citation แถมการเขียน paraphrase อีกนิดหน่อย

    เกณฑ์การประเมินผล

    - การบ้าน 10, paraphrase 10, สอบย่อยเขียน draft เอเส 2 รอบในคาบ 20 + เอามาปรับแก้หลังสอบ 20 + เขียนเอเสไฟนอล 30 

    .

    อารมณ์คล้ายกับเรียนเขียนเอเสในคลาส Eng I-II ปี 1 ของอักษรฯ เพิ่มเติมคือรายละเอียดจุ๊ก ๆ จิ๊ก ๆ ดังที่กล่าว และ practice ที่เข้มข้นขึ้น / อ.เจนนี่ยังน่ารักและแอคทีฟ (ในการสอนและการให้การบ้าน) เหมือนเดิม 

    .

    .

    4) 2231380 SEL STUD FR CULT: วิชาบังคับเลือกเอกฝรั่งเศส (ทุกจันทร์ 9.00-12.00)

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - วัฒนธรรมเฉพาะเรื่องฝรั่งเศส ซึ่งกองอยู่ช่วงปลายคริสต์ศวรรษที่ 18 ถึงต้น 20 อันได้แก่ la Révolution, la modernisation de Paris, les grands magasins, la Belle Epoque, les Années Folles, le féminisme 

    .

    เกณฑ์การประเมินผล

    - เนื่องจากงานที่ทำจริงกับเกณฑ์ที่ตั้งไว้ดูไม่สอดคล้องเท่าไหร่ ดังนั้นจึงขอบอกแค่ว่าทำอะไรไปบ้าง: พรีเซนต์คนละ 1-2 รอบ (งงอยู่ว่าทำไมถึงได้พรีฯ ไม่เท่ากัน), สอบ take-home กลางภาคเกี่ยวกับ la Révolution, การบ้านจุกจิกอะไรสักอย่าง, สอบปลางภาคทุกเรื่องยกเว้นเรื่อง la Rév. (ซึ่งเปิด documents ดูได้ merci mille fois, aj. Sophie), rapport (รายงาน) 2 เรื่องที่ต่อยอดจากเรี่องที่เรียน

    .

    การเรียนผ่าน documents+textes เป็นพรืด ๆ ที่ไม่ผ่านการสังเคราะห์ใด ๆ เลย ประกอบกับเปิดวีดิโอความยาว 30-50 นาทีให้ดูแบบงง ๆ นั้นไม่ได้ช่วยฝึกคิดวิเคราะห์ เชื่อมโยง หรือเห็นภาพรวมของวัฒนธรรมฝรั่งเศสในช่วงหัวเลี้ยวหัวตอที่สุดได้ เลยเสียดายวิชานี้มาก ๆ เพราะจริง ๆ แล้วเนื้อหาทุกเรื่องที่เรียนมัน connectés กับสิ่งที่ได้เรียนมาในเทอมก่อนหน้าและที่เรียนในคาบ sel stud fr ideas ในเทอมนี้ (ซึ่งจะพูดถึงต่อไป) ยังไงก็ตาม ต้องนับถือใจอ.โซฟีที่ทนกับความเหนื่อยหน่ายของนิสิตได้จนถึงจบเทอมจริง ๆ (แต่จะไม่นับถือตรงที่สั่งงานมา overload เหลือเกิน je n’ai pas déjà compris ce que vous m’avez appris loey na hahaha)

    .

    .

    5) 2231357 FR COMPOSITION: วิชาบังคับเอกฝรั่งเศส (ทุกจันทร์ 13.00-16.00) 

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - การเขียนคอมโปประเภท descriptif, portrait, argumentation + เรียน focalisation (point of view) 

    - ในคาบ ให้ช่วยกันทำแบบฝึกหัดในแต่ละเรื่องก่อนมีสอบย่อย (เรียน 2-3 สัปดาห์แล้วสอบย่อยครั้งนึง)

    - อ้อ เกือบลืมสนิท มี lecture personnelle เรื่อง Carmen ที่ยกยอดจากวิชา fr gram struc ปีก่อนที่ไม่ได้ทำ (เพราะติดโควิดรอบแรก แต่ปีนี้ก็ติดโควิดเหมือนเดิมอยู่ดี !puta madre, el covid!)

    .

    เกณฑ์การประเมินผล

    - สอบย่อยเขียนคอมโป descriptif, portrait, arguement. อย่างละครั้ง + สอบย่อย focal. 2 ครั้ง รวมกันทั้งหมด 50%, ไฟนอลคอมโป arguement. 40%, lecture pers. 10%

    .

    อีกหนึ่งวิชาคอมโปประจำเทอมนี้ ดีหน่อยที่ประเภทก.เขียนมันไม่ได้ทับไลน์กับอิ้งคอมโป ไม่งั้นเบื่อตายแน่ d’ailleurs มันเป็นวิชาที่ทรหดพอสมควร และต้อง actif มากเพื่อที่จะไม่ให้อ.แม่จูลีหงุดหงิดเอาได้ (สงสารน้องปี 1-2 มาก ๆ ที่โดนแม่ดุแม่ว่าหนักหนาสาหัส) แม้ตอนเรียน เวลาพักเพิ้กไม่ค่อยจะมี แถมคะแนนสอบย่อยออกมาแต่ละทีก็อุจาดตาไม่น้อย แต่ข้อดีมาก ๆ ของวิชานี้คือ แทบจะไม่มีการบ้านให้ทำเยอะหากเทียบกับวิชาทั้งหมดที่เรียน (จะงงหน่อยตรงที่เป็นวิชาคอมโป แต่ให้เรียน focalisation อย่างเป็นบ้าเป็นหลัง แทนที่จะเอามาพัฒนางานเขียนและภาษาให้เด็ก…) 

    .

    .

    6) 2231476 SEL STUD FR IDEAS: วิชาบังคับเลือกเอกฝรั่งเศส (ทุกศุกร์ 14.30-17.30)

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - panorama ประวัติศาสตร์และพัฒนาการในความคิดและปรัชญาฝรั่งเศส ตั้งแต่ยุค la Renaissance เรื่อยมาจนถึงยุค post-moderne 

    - เรียนความคิดของนักปรัชญาฝรั่งเศสผ่าน extraits ผลงานต่าง ๆ และแนวคิดเด่น ๆ ของพวกเขา เช่น เรียนความคิดของ Rabelais ผ่าน Gargantua,  Rousseau ผ่าน Du Contrat Social + Les Confessions, Sartre ผ่าน Huis Clos + L’existentialisme est un humanisme, Camus ผ่าน Le Mythe de Sisyphe

    .

    เกณฑ์การประเมินผล

    - bilan (สอบ take-home) 2 ครั้ง 60 คะแนน, entretien กับอาจารย์ ถามตอบ-ถกเถียงแนวคิด/ปรัชญาที่เรียนในห้อง 20 นาที 20 คะแนน, วีดิโอปรัชญา เกี่ยวกับแนวคิด/ผลงาน/นักปรัชญาฝรั่งเศสที่สนใจและไม่ได้สอนในห้อง 20 คะแนน

    .

    คาบแรก ๆ สบประมาทวิชานี้ไว้มาก เพราะ [ประวัติศาสตร์ความคิดช่วง la Renaissance] มันน่าเบื่อ แห้ง ๆ ไม่นสจ. เลย แถม pace การสอนของอ.พ่อ พรยด. ก็ดูดร็อป ๆ ไป จนเผลอหลับไปคาบนึง ซึ่งไม่เคยเป็นมาก่อน (แง je suis profondément désolé krub, aj.) พอมาเรียนยุค classique (ยุค Louis XIV) เจอ Descarte กับ Pascal ก็ดีขึ้นมานิด ๆ แต่ก็ยังไม่เท่าไหร่… แต่พอเข้ายุค les Lumieres เท่านั้นแหละ คุณเอ๊ย ทำไมวิชานี้ (และคนสอนปังจังวะ) เราเห็นเลยว่า แนวคิดเรื่อง la liberté, l’égalité, la tolérance ไม่ได้เกิดขึ้นมาลอย ๆ แต่มีเหตุผล (la raison) มารองรับความคิดของนักปรัชญาแต่ละคน อีกทั้งในยุคนั้น ยังต้องต่อสู้กับอำนาจศาสนา การเมืองในระบอบสมบูรณ์ฯ และกระแสความคิดสุดโต่งต่าง ๆ (เช่น antisémitisme, nationalisme) จนกลายเป็นรากฐานสำคัญส่วนหนึ่งในความเป็นฝรั่งเศสได้ (ดังจะเห็นได้ชัดสุดจาก la Révolution หรือใน la Déclaration) แต่พอเข้าศตว.ที่ 20 หลังสงครามโลกทั้งสองครั้ง กระแสปรัชญามันก็หันเหมาตั้งคำถามใกล้ตัวเรามากขึ้น ไม่สิ… ตั้งคำถามกับตัวเรา-ตัวมนุษย์ มากขึ้นว่า ‘เกิดมาทำไม / เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีเหตุผล เป็นเจ้านายตัวเองและโลกจริง ๆ เหรอ / มีเสรีภาพจริง ๆ เหรอ / หรือโลกใบนี้มันเต็มไปด้วยความไร้เหตุผล ที่ซึ่งเราต้องทนอยู่กันไป’ 


    ที่ชอบอีกอย่างนึงในวิชานี้คือ  หลาย ๆ ทฤษฎี/แนวความคิดที่เรียนมันยังอธิบายความอิหยังวะของปท.ที่ชื่อว่าไทยได้ ทั้ง despotiste éclairé ในยุคศวต.ที่ 18 กับ propergande du roi-philosophe, ทฤษฎีการเมืองต่าง ๆ (เช่น ตาม Montesquieu อาการร้อนมีผลทำให้คนเชื่อง และไม่ค่อยพยย.ต่อสู่เพื่อการเมืองที่ดีขึ้น) หรือขยับมายุคศตว.ที่ 20 ก็มาเจอกับศาสตร์ la mythologie ของ Barthes ที่เอามาอธิบายมายาคติ/สิ่งประกอบสร้างหลาย ๆ อย่างได้ (เช่น ภาพธรรมดา ๆ ที่ทหารช่วยคนประสบอุทกภัย = คนไทยมีน้ำใจโอบอ้อมอารียิ่งนัก นี่แหละตัวตนของคนไทย) โอเคแหละว่า อาจจะไม่ได้เรียนทุกแนวคิดอย่างเจาะลึกในคลาสนี้ เพราะถ้าเรียนอย่างนั้น 3 เทอมถึงน่าจะสอนครบหมด แต่โดยรวมแล้ว มันก็ทำให้เราเห็นวิวัฒนาการความคิดฝรั่งเศส ได้เปิดหูเปิดตา และได้แนวคิดเยอะมาก ๆ เพื่อทำความเข้าใจถึงสิ่งต่าง ๆ ในโลกใบนี้ และชวนให้เราสงสัย/คิดต่อไปว่า แล้วมันจะมีแนวคิดอะไรใหม่ ๆ เกิดขึ้นอีกมั้ยในโลกยุคที่ความคิดสร้างสรรค์และวัฒนธรรมตีบตัน หากินกับของเก่าซ้ำ ๆ อยู่นั่น และข้อคิดที่สำคัญที่ผม (เพิ่ง) สรุปได้จากการเรียนปรัชญาฝรั่งเศสคือ แม้จะมีมารผจญหรือหรืออำนาจมืดใด ๆ ก็ตาม แต่พวกมันก็ไม่สามารถกำจัดขัดขวางความคิด การวิพากษ์วิจารณ์ และความสงสัยของคนไปได้ ความคิด (โดยเฉพาะของคนธรรมดา) จึงน่ากลัวสำหรับผู้มีอำนาจ และ (อาจ) นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ได้เสมอ - ดั่งที่เคยเกิดขึ้นมาแล้วในการปฏิวัติฝรศ. ช่วงศตว.ที่ 18 นั่นแล้วแล

    .

    .

    7) 2402357 GLOBAL POL FILM: วิชาภาค IR รัฐศาสตร์ ที่ผมเก็บเป็นเสรีอีกแล้ว (ทุกศุกร์ 9.00-12.00) 

    .

    เรียนอะไรบ้าง

    - ทฤษฎีการเมือง (เชิงวิพากษ์) ผ่านหนังซอมบี้ที่เลือกสรร รวมไปถึงประวัติศาสตร์ พัฒนการ และนัยยะต่าง ๆ ของ ‘ซอมบี้’ ในกระแสธารภาพยนตร์โลก + มี text ต่าง ๆ ให้อ่านก่อนเข้าเรียนในเกือบทุกสัปดาห์

    - ดูหนังในคาบ (เป็นบางวีค) แล้วอภิปราย/วิเคราะห์หนังเรื่องนั้น ๆ ควบคู่กับ text ที่เรียนไป เช่น World War Z (2013) กับความร่วมมือระหว่างประเทศ (ที่เป็นไปได้?) ในการจัดการวิกฤตโลก, Seoul Station (2016) กับเรื่องชนชั้น และการเมืองแบบ necropolitics, Night of the Living Dead (1968) กับการเปลี่ยนโฉมคุณสมบัติซอมบี้ (ให้ ‘กินคน’ ได้เป็นครั้งแรก) และการพลิกบทบาทของคนผิวสี/ผู้หญิง/พ่อในหนังสยองขวัญอเมริกัน

    .

    เกณฑ์การประเมินผล 

    - ควิซ 5 ครั้ง 30 คะแนน, เข้าเรียน+ร่วมอภิปราย 10 คะแนน, เปเปอร์กลางภาค 2,000 คำ 25 คะแนน, เปเปอร์ปลายภาค 4-5,000 คำ 35 คะแนน

    .

    ตลกร้ายเหมือนกันที่ลงทะเบียนวิชานี้ในรอบแรกและกดลดไป เพราะไม่อยากเรียนหน้าซูมเยอะไปกว่านี้แล้ว แต่พอวีคแรกของการเรียนรู้สึกว่าเทอมบักห่านี่มันต้องน่าเบื่อแน่ เลยกลับลำมาลงเรียนใหม่ในวีคถัดมา… แม้จะไม่ได้เรียนกับอ.สรวิศเหมือนนิสิตปีก่อน ๆ (ผมล่ะอย่างชอบนส. ทำไมต้องตกหลุมรัก ของอจ.เขามากเมื่อตอนปี 1) แต่ตีมซอมบี้ของอ.กรพินธุ์ก็ไม่ได้ทำให้ผิดหวังเลย (ปล. ผมอย่างชอบความตลกและความแซะสิ่งต่าง ๆ ในปท.นี้อย่างหน้าตายด้วยน้ำเสียงเรียบนิ่งของอจ.แม่มาก) ไม่เคยคิดมาก่อนว่าซอมบี้มันจะมีประวัติยาวนานย้อนไปถึงการค้าทาสและการปฏิวัติในเฮติ ซึ่ง refer ถึงกลุ่มแรงงานทาสแอฟริกันที่ถูกปลุกขึ้นมาจากความตายเพื่อมาทำงานไปชั่วกัลป์ (ตามตำนานเล่าขาน) และทาสที่ลุกขึ้นมาปฏิวัตินายทาส แล้วความหมายเชิงสัญลักษณ์ของซอมบี้ก็ถูกตีความ/ปู้ยี้ปู้ยำเรื่อยมา ตั้งแต่เป็นภาพแทนของแรงงานผู้โกรธเกรี้ยว เป็นกลุ่มคนขาวเหยียดผิว เป็นฝูงชนในสังคมบริโภคนิยม เป็นชีวิตที่เปลือยเปล่าของคนชั้นล่าง/ผู้อพยพ อีกทั้งยังได้เรียนทฤษฎีที่ไม่เคยรู้มาก่อน เช่น corpse economy, necropolitics, realpolitik, Universal Adversary เลยว้าวมาก (แม้หลาย text จะอ่านยากก็ตาม)


    มาถึงเรื่องเปเปอร์ของวิชานี้ที่ต้องพูดถึงสักหน่อย กลางภาคอาจารย์ assign ให้ ‘คิดพล็อต’ หนังซอมบี้มาคนละหน้า แล้วก็ให้วิเคราะห์พล็อตที่ตัวเองแต่งเอง นี่เลยเอาเรื่องของแรงงานในสมุทรสาครมาแต่ง จนได้พล็อตหนังในสต๊อกเพิ่มมาอีก 1 เฉยเลย (แล้วเอาไปใช้ตอนยื่นฝึกงานอีกนะ ใช้ให้คุ้ม) ก็สนุกและแอบกดดันนิด ๆ เพราะให้เวลาทำวีคเดียว ส่วนเปเปอร์ปลายภาคให้นิสิตวิเคราะห์หนัง ซีรีส์ หรือสื่ออะไรก็ได้ที่เกี่ยวกับซอมบี้ นี่ก็อุทิศเวลาและแรงกายแรงใจไปสูงมากกับบทวิเคราะห์ Santa Clarita Diet ที่รัก จนเหนื่อยและแอบเอียนกับสื่อซอมบี้แล้ว 555555 แต่พอทำงานเสร็จและปิดคอร์สนี้ไป มันทำให้ผมมีความสุขมาก เป็นวิชาที่ทำให้เราได้ปลดปล่อยความ geek ของตัวเองที่มีต่อสื่อบันเทิงเพื่อมาบรรจบกับศาสตร์ที่เราไม่เคยรู้ลึกซึ้งอย่าง รัฐศาสตร์และการเมืองระหว่างประเทศ ผลที่ได้คือ materials ชั้นดีสำหรับคนอยากทำสื่อ และ materials สำหรับคน ๆ หนึ่งที่พยายามทำความเข้าโลกใจและความขัดแย้งต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น ถ้าใครที่ชอบดูหนัง ชอบการเมือง ชอบการวิเคราะห์ และชอบเขียน ผมเชื่อว่า global pol film จะทำให้คุณได้มุมมองใหม่ ๆ ที่เรามีต่อโลกและต่อ [สิ่งมีชีวิตชวนน่าเกลียดน่าขยะแขยงอย่าง] ซอมบี้ บางที เราก็อาจจะเป็นพวกตายซากอยู่ข้างในลึก ๆ จากการถูกโลกบ้า ๆ บอ ๆ ใบนี้ดูดพลังกายพลังใจไป - ไม่ต่างอะไรจากซอมบี้หรอก 


    ------------------------------------------------------------------------------


    “ทุกอย่างมันแอ๊บเสิร์ด (tout est absurde)” คือวลีที่ผมอยากใช้เรียกเทอม ๆ นี้ ไม่สิ… นับตั้งแต่ตอนต้นปีบนโลกใบนี้เลยต่างหาก เราได้เห็นกันแล้วว่า โลกวุ่นวายหนักเหมือนเดิม กว่าเดิม ปัญหาสังคมไม่เคยจางหาย ความเท่าเทียมในทุกมิติก็กลายเป็นเรื่องต้องห้าม หนำซ้ำศีลธรรมยังกลับหัวกลับหาง คนเลวเชิดหน้าลอยตา คนธรรมดาผู้ซื่อสัตย์ก้มหัวยอมรับชะตาชีวิต แถมอนาคตของชาติจะหมดอนาคตโดยคนแก่งี่โง่เง่าบางคนที่บอกว่าทำทุกอย่างเพื่ออนาตของชาติ ราวกับว่าทุกอย่างดูไร้แก่นสารและเต็มไปด้วยความ non-sense อย่างที่ Camus ได้บอกเอาไว้ 

    .

    เชื่อประเทศที่วุ่นวายตาลปัตรแบนี้ทำให้หลายคนเครียด ท้อแท้ได้ง่ายกว่าเดิม บวกกับต้องมาเจอการเรียนที่ไร้ประสิทธิผลเกือบจะสมบูรณ์เพราะการเรียนออนไลน์ การจัดการอันห่วยแตกของสถาบันการศึกษา/กระทรวง หรือความอยุติธรรม/เล่นแง่ในระบบที่ไม่เคยเท่าเทียม ก็ยิ่งทำให้หมดแพสชั่นกับเทอมนี้ยิ่งขึ้น... ผมเองก็เบื่อและหมดแรงใจกับชีวิตการศึกษาในช่วงนี้ไม่ต่างจากเพื่อนพี่น้องหลาย ๆ คนหรอกครับ (ขนาดว่ายังได้มีโอกาสเจอเพื่อนฝูงบ่อยกว่าเพื่อน ๆ ปีเดียวกัน และได้ไปเรียนออนไซต์นิดหน่อย) 

    มันเลยไม่ใช่เรื่องแย่ ถ้าเราจะรู้สึกขี้เกียจแกมหมดอาลัยตายอยากกับการเรียน [ออนไลน์] แล้วเอาเวลามานั่งดูซีรีส์ เต้นติ๊กต๊อก คอลกับเพื่อน ออกกำลัง ทำกับข้าว เล่นเกม อ่านฟิค หรือนอนตื่นสายบ้าง อย่าให้การเรียนออนไลน์มาทำให้เรา (ทั้งนักเรียนและครูบาอาจารย์) เป็นเครื่องจักรทางการศึกษาที่ต้องทำงานอยู่ตลอดเวลา จนลืมทำกิจกรรมเล็ก ๆ น้อย ๆ ในชีวิตประจำวัน หรือแม้แต่พักผ่อนอย่างเหมาะสม

    .

    ขอให้ทุกคนก้าวข้ามยุคสมัยที่แอ๊บเสิร์ดยุคหนึ่งบนโลกแอ๊บเสิร์ดใบนี้ รักษาสุขภาพกายและใจให้แข็งแรง และขอให้เรื่องแอ๊บเสิร์ดดี ๆ ที่น่าจะเกิดได้แล้วในประเทศนี้ เกิดขึ้นสักทีต่อกลุ่มคนที่เราอยากให้มันเกิดมากที่สุดตามข่าวลือเถิด

    .

    .

    ขอบคุณสำหรับการติดตามรีวิวนี้ พบกันใหม่ปลายเทอมหน้าครับ

    Adios, buena suerte

    Au revoir, bonne chance

    .

    ภาพปก การช่วยแมวที่ติดอยู่บนร้านมอร์แกนแล้วลงมาไม่ได้ โรงอาหารอักษรฯ 19 มกราคม 2564

    written by kfctherevieWER ll


Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in