เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
โลกในนิทรรศการSALMONBOOKS
1. รูปปั้น 'สาวงาม' ตามคติจีนสมัยราชวงศ์ถังอายุกว่า 1,300 ปี (ค.ศ. 700)

  •       รูปปั้นเซรามิกสูงเพียงฟุตกว่าๆ ตัวนี้ สะท้อนการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของคตินิยมเรื่อง ‘ความงาม’
    ในสังคมจีน  ตลอดพันปีก่อนหน้า ‘สาวงาม’ ในความหมายของสังคมจีนตามภาษิตโบราณหมายถึงผู้หญิงร่างผอม  ‘บอบบางประหนึ่งแพรไหม’

          มีแค่ในจินตนาการ จึงไม่น่าแปลกใจที่ ‘ศีลธรรม’ ตลอดระยะเวลาหลายร้อยปีก่อนราชวงศ์ถังถูกให้ค่าสูงกว่ารูปลักษณ์ภายนอก สตรีสวมเสื้อผ้าเรียบง่าย ใช้ชีวิตอย่างเจียมตน
          จนมาถึงยุคของราชวงศ์ถัง บ้านเมืองรุ่งเรืองและสงบสุข จักรพรรดิแผ่ขยายอิทธิพล ชนชั้นกษัตริย์ ขุนนาง และพ่อค้าเริ่มมีอันจะกิน ระบบสอบขุนนางเปิดโอกาสให้บัณฑิตทั่วดินแดนแข่งขันประชันกันนวัตกรรมในสาขาต่างๆ ผุดขึ้นเป็นดอกเห็ด และศาสนาพุทธก็ถูกเผยแผ่ในจีนเป็นครั้งแรกเมื่อสันติภาพเป็นรูปธรรมเศรษฐกิจก็เติบโต
          ผู้หญิงร่างท้วม หน้าผากกว้าง หน้ากลม ใช้เครื่องสำอาง ประทินโฉม สวมเสื้อผ้าอาภรณ์งดงาม ท่วงท่าผ่อนคลายเพราะไม่ต้องตรากตรำทำงานหนัก—รูปลักษณ์อันสะท้อนความมั่งมีศรีสุข มีอันจะกินของครอบครัว ค่อยๆ แทนที่ภาพของสาวน้อยร่างอรชร จนกลายเป็นคตินิยม ‘สาวงาม’ ใหม่ของสังคมจีนค่านิยมสาวงามในช่วงราชวงศ์ถังมิใช่สาวร่างบางผู้ประหยัดมัธยัสถ์ ใช้ชีวิตเรียบง่าย ถึงพร้อมด้วยคุณธรรมศีลธรรมอีกต่อไป
          หากเป็นสาวสังคมสุขภาพดีเจอหน้าก็บอกได้ทันทีว่าบ้านของเธอมีอันจะกิน ในบรรดาสี่หญิงงามแห่งแผ่นดินจีน หยางกุ้ยเฟย (เดิมชื่อ หยางอี้หวน) สนมเอก หรือกุ้ยเฟยของฮ่องเต้ถังเสวียนจง ผู้มีชีวิตสมัยราชวงศ์ถัง จึงน่าจะเป็นสาวหน้าแป้นแล้นคิ้วโก่งร่างท้วม ไม่ต่างจากรูปปั้นเซรามิกในภาพ
          ซึ่งจัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์เซี่ยงไฮ้ หาใช่สาวน้อยบอบบางอย่าง ไซซี หวังเจาจวิน และเตียวเสี้ยน  สามหญิงงามในยุคก่อนหน้าเธอหยางกุ้ยเฟยได้ฉายาว่า ‘มวลผกาละอายนาง’ (สำนวนจีน 羞花) เนื่องจากชอบนำกลีบดอกไม้นานาชนิดมาบดให้ละเอียดเป็นแป้งฝุ่น ร่ำลือกันว่าทำให้เธอส่งกลิ่นหอมอบอวลยามเหงื่อไหลในฤดูร้อน ส่งผล ให้สาวจีนจำนวนมากทำตาม
          นับเป็นต้นกำเนิดของแป้งฝุ่นจีนตราบเท่าทุกวันนี้ค่านิยมความงามของสตรีจีนเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา ในราชวงศ์ซ่ง (ราวสองร้อยปีนับจากราชวงศ์ถัง)

  •       ในยุคที่ความอดอยากยากแค้น ตรากตรำทำงานหนักการออกไปกรำศึกหรือลิ้มรสหายนะแห่งสงครามเป็น ธรรมดาของชีวิต ใครเล่าจะมีเวลากินอยู่อย่างอิ่มหมีพีมัน  อย่าว่าแต่จะมีเวลาสรรหาเครื่องประทินโฉมหรืออุปกรณ์ประโลมใจเมื่อชีวิตช่างทรมาน และแสนสั้น
          สังคมที่สงบสันติความงามในอุดมคติได้พลิกขั้วอีกครั้ง สาวร่างท้วมหมดความนิยม สตรีที่งดงามต้องซูบผอม ไหล่บาง เอวกิ่วนมเล็ก หน้าซีด และที่ทำให้ผู้หญิงต้องทนทุกข์ทรมานเหนืออื่นใดคือ เท้าต้องเล็กประหนึ่งดอกบัวตูม หรือที่เรียกว่า ‘เท้าดอกบัว’
          ซึ่งมีขนาดราวๆ สามนิ้ว!เหตุผลเบื้องหลังของธรรมเนียมรัดเท้านั้นคืออิทธิพลจากพุทธศิลปะในสมัยนั้น ที่นิยมวาดรูปเจ้าแม่กวนอิม (พระโพธิสัตว์ภาคหนึ่ง) ประทับยืนบนดอกบัวอันเป็นสัญลักษณ์ของความดีงาม บริสุทธิ์ และเป็นมงคลด้วยคตินิยมของสังคมชายเป็นใหญ่สมัยราชวงศ์ ซ่ง
          ผู้หญิงที่ ‘ดี’ ต้องบอบบาง พึ่งพา และเชื่อฟังคำสั่งสอนของผู้ชายในบ้าน ตั้งแต่พ่อ สามี และลูกชาย เด็กผู้หญิงจึงถูกเอาผ้าไหมหรือผ้าฝ้ายมัดเท้าอย่างแน่นหนา ตั้งแต่อายุห้าขวบคนไหนไม่ยอมรัดเท้าก็จะถูกครอบครัวตบตี เพราะหากเท้าไม่เล็กประหนึ่งดอกบัวตูมก็ยากที่จะมีใครมาสู่ขอแต่งงานในตอนโต
          บางบ้าน แม่หรือย่าคนรัดเท้าให้ลูกหลาน แต่หลายบ้านก็จ้างคนที่รับรัดเท้าโดยเฉพาะมาทำให้
    เพราะทนไม่ได้ที่จะเห็นลูกในไส้ต้องเจ็บปวดทรมานจากน้ำมือตนเองสาวที่จัดว่า ‘สวย’ ในสมัยราชวงศ์ถัง นัยหนึ่งจึงนับว่าโชคดีเหลือแสนกว่าสาวงามรุ่นหลังเธอสืบมาอีกหลายร้อยปี ก่อนที่ขบวนการเรียกร้องสิทธิสตรีจะเบ่งบานอีกครั้งในศตวรรษที่ 20


    ข้อมูลเพิ่มเติม: wikipedia.org/wiki/สี่ยอดพธู


เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in