เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
Today what I readYingYue_A
เมื่อรักดับสลายในสายธารแห่งอำนาจ
  • เมื่อไม่นานมานี้เกิดข่าวร้ายในประเทศเพื่อนบ้านและยังเป็นข่าวร้ายต่อประชาคมโลก นั่นคือ การรัฐประหารในประเทศพม่า ทุกอย่างเกิดขึ้นเร็วมากในเวลาเช้ามืดของวันที่จะมีการประชุมสภา ทหารบุกจับแกนนำ นักเคลื่อนไหว สมาชิกพรรคNLD รวมทั้งคุมตัวนางอองซานซูจีด้วย สรุปแล้วตอนนี้พม่าได้กลับไปสู่วังสนเช่นเดิมอีกครั้ง เป็นวังวนที่ใครหลายๆคนรวมทั้งเราเองก็ไม่คาดคิดว่าจะเกิดเหตุการณ์แบบนี้ขึ้น การรัฐประหารในดินแดนเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ถูกสายตาประชาคมโลกมองว่าเป็นประเพณีไปเสียแล้ว จะว่าอย่างนั้นก็ไม่ผิด เพราะแค่นับจำนวนการรัฐประหารที่เกิดขึ้นในแค่ประเทศไทยก็มีจำนวนมากแล้ว แต่วันนี้เราไม่ได้จะมาชำแหละประวัติสาสตร์ของประเทศพม่า หรือประวัติศาสตร์ของการรัฐประหารในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แตาเราจะมารีวิวหนังสือที่เกี่ยวข้องกับการรัฐประหารในประเทศพม่าเมื่อครั้งสมัยนายพลเนวินและเกี่ยวข้องกับปัญหาชนกลุ่มน้อยในพม่าที่ยืดเยื้อมายาวนาน

    Twilight over Burma หรือชื่อภาษาไทยที่แปลโดยคุณมนันยา ว่า "สิ้นแสงฉาน" 

    นวนิยายเรื่องนี้เป็นนวนิยายอิงประวัติศาสตร์ ที่เขียนโดยอิงเง่ ซึ่งเป็นผู้ที่อยู่ในเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้นในช่วงนั้น ตัวอิงเง่เองไม่ได้เป็นบุคคลธรรมดา เธอเป็นชาวออสเตรียที่พ่วงตำแหน่งมเหสีของเจ้าฟ้าเมืองสีป้อ ซึ่งก็คือ "เจ้าจาแสง" อิงเง่เธอนำเรื้องราวชีวิตที่เธอพบเจอเมื่อครั้งอยู่ในรัฐฉานมาตีแผ่ผานนวนิยายเรื่องนี้ มันเศร้า มันหดหู่ และเราคิดว่ามันควรค่าในการอ่านมาก ๆ 


    ส่วนตัวคือเราอินมากเพราะเป็นคนชอบประวัติศาสตร์ เรื่องนี้เป็นประวัติศาสตร์ผสมเกร็ดการเมือง 
    ความจริงที่ตีแผ่ผ่านตัวผู้เขียนที่ชื่ออิงเง่ หญิงสาวชาวออสเตรียที่พบรักและได้แต่งงานกับจาแสงขณะที่ทั้งคู่เรียนอยู่ที่แคนาดา ในระหว่างนั้นไม่มีใครรู้ แม้แต่เธอเองว่าภายใต้นักศึกษาชาวต่างชาติทั่วๆไปนั้น จาแสงคือเจ้าผู้ครองนครรัฐไทใหญ่แห่งหนึ่งในพม่า นั่นคือ รัฐฉาน หลังจากทั้งคู่กลับมาที่พม่า ก็ใช้ชีวิตอย่างสงบสุข เจ้าจาแสงพยายามที่จะเปลี่ยนให้รัฐฉานเป็นประชาธิปไตย ปรับปรุง เปลี่ยนแปลงให้ชีวิตชาวไทใหญ่ในรัฐฉานดีขึ้น ตัวอิงเง่เองเนี่ยก็ช่วยสามีในการพัฒนารัฐฉานให้ดีขึ้น แต่แล้ววันนึงนายพลเนวินก็เข้ามาปฏิวัติ พม่าตกอยู่ในการปกครองแบบเผด็จการภายใต้รัฐบาลของนายพลเนวิน เจ้าผู้ครองนครต่าง ๆ ถูกทางการจับไปรวมทั้งเจ้าจาแสง ส่วนอิงเง่ก็รู้ว่าสามีโดนจับไป เธอไม่รู้ความเป็นอยู่ของสามีตัวเองเลย เป็นตายร้ายดีอย่างไรก็ไม่รู้ มีทั้งข่าวว่าเจ้าจาแสงถูกฆ่าตายแล้ว มีทั้งข่าวที่ว่าเจ้าจาแสงยังมีชีวิตอยู่ อย่างไรก็ตามเธอไม่เคยเจอสามีแบบตัวเป็น ๆ เลย ข่าวก็โดนบิดเบือนไปมา จนผ่านไป2ปี!! ที่ไม่ได้เจอสามีเลย เธอเลยตัดสินใจพาลูกสาวทั้งสองกลับออสเตรีย แต่กว่าที่เธอจะเอาตัวรอดกลับไปยังออสเตรียได้นั่นก็ยากลำบากมาก  ปัจจุบันอยู่สหรัฐอเมริกา ทั้งเธอแล้วก็ลูกพยายามร้องขอรัฐบาลพม่ามาตลอดถึงการรับปิดชอบการหายตัวไปของเจ้าจาแสง แต่ก็เปล่าประโยชน์ องค์การระหว่างประเทศต่าง ๆ ก็ช่วยอะไรไม่ได้ ทั้งที่มันคือการละเมิดสิทธิมนุษยชนอย่างรุนแรง เนวินกับพวกก็ไม่สะทกสะท้านอะไรกับการกระทำที่เกินมนุษย์เหล่านั้น จนถึงวันนี้นับดูก็ประมาณเกือบ60ปีแล้วกับการหายตัวไปของเจ้าจาแสง คิดดูสิ คนที่รักโดนจับตัวไป ไม่รู้ว่าเป็นตายร้ายดียังไงบ้าง ไม่ได้เห็นหน้า ไม่รู้ว่าเค้าต้องเจออะไรบ้าง แม้แต่ร่างไร้วิญญาณของเค้าก็ยังไม่ได้เห็นเลย  

    ในสมัยนั้นเราจะบอกว่ารัฐฉานคือประเทศพม่าเหมือนเชียงใหม่ที่อยู่ในประเทศไทยไหม? จริง ๆ แล้วเป็นที่รู้กันดีว่ารัฐฉานเป็นรัฐที่มีชนกลุ่มต่าง ๆ ไม่ว่าจะ ไทใหญ คะฉิ่น ฯลฯ ซึ่งเป็นประเด็นปัญหาใหญ่ของพม่ามาจนถึงทุกวันนี้ก็ว่าได้ เรื่องราวเริ่มต้นมาจากการเข้ามาปกครองพม่าและรัฐฉานของพวกอังกฤษ แต่คราวนี้รัฐฉานมีการประชุมระดับเจ้าฟ้ากันว่าอยากเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ ตอนนั้นนายพลอูนุก็ได้ไปสังเกตการณ์ประชุมกันด้วย ตอนแรกพม่าก็ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรหรอก แต่ไป ๆ มา ๆก็ได้มาทำสนธิสัญญากันระหว่างรัฐฉานกับพม่า ที่เรียกกันว่า "สนธิสัญญาปางโหลง" ซึ่งระบุไว้ว่าทั้งสองดินแดนจะช่วยกันเรียกร้องเอกราชจากอังกฤษ แต่รัฐฉานจะแยกตัวออกจากพม่าได้ก็ต่อเมื่อเวลาผ่านไป 10 ปีหลังได้รับเอกราช โดยฝ่ายพม่าผู้เป็นหัวหอกสำคัญในการประชุมและลงนามในสัญญานี้คือนายพลอองซาน อย่างไรก็ตามนายพลอองซานกลับถูกฆาตกรรมไปเสียก่อนในปี 2490 ทำให้ทุก ๆ อย่างยุ่งเหยิงไปหมด ทั้งสองดินแดนได้รับเอกราชในปี 2491 ถ้าหากนำไปอีก 10 ปีก็จะเป็นปี 2501 คนที่ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนคืออูนุ อูนุได้ทำการฉีกสนธิสัญญาปางโหลงทิ้งอย่างไม่ใยดี การแยกตัวออกเป็นเอกราชของรัฐฉานดูเหมือนจะเป็นความหวังที่ริบหรี่ใกล้มอดดับเต็มที หลังจากนั้นบรรดาผู้นำต่าง ๆ ในรัฐฉานก็จับอาวุธขึ้นต่อสู้กับทางการพม่า ทางการพม่าก็ปราบปรามอย่างหนัก ดินแดนรัฐฉานจึงไม่ใช่ดินแดนที่สงบอีกต่อไป ช่วงนายพลเนวินทำการรัฐประหารซึ่งเป็นช่วงเดียวกันกับระยะเวลาในหนังสือสิ้นแสงฉาน ไม่ได้มีเพียงเจ้าจาแสงเท่านั้นที่ถูกจับตัวไป แต่ยังรวมถึงบรรดาเจ้าฟ้ารัฐฉานคนอื่น ๆ ด้วย นอกจากนั้นยังมีการบังคับให้ประชาชนในรัฐฉานย้ายที่อยู่อาศัยเข้าไปอยู่ในค่ายทหารที่พม่าจัดไว้ ใครไม่ไป ทหารพม่าก็จะเผาบ้านเรือน เผายุ้งฉาง ตั้งแต่นั้นมารัฐฉานก็ไม่สงบอีกเลย...

    อาจกล่าวได้ว่านี่คือตัวอย่างของความโหดร้ายต่อประชาชนในรัฐฉานของรัฐบาลทหารภายใต้การนำของนายพลเนวิน และนี่คือตัวอย่างหนึ่งที่เห็นได้ชัดถึงการใช้อำนาจในทางที่ผิด ปล้นอำนาจของประชาชน จับคนเห็นต่าง การบังคับสูญหาย และอีกหลายอย่างที่ไม่ควรเกิดขึ้นในประเทศใดก็ตามในโลกนี้ 
    แม้หนังสือเล่มนี้เขียนขึ้นโดยคนที่เผชิญกับเหตุการณ์จริงที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น แต่เราก็ไม่สามารถการันตีได้ว่าสิ่งที่ระบุไว้ในหนังสือทุกตัวอักษรนั้นเป็นความจริงแท้ทั้งหมด แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเรื่องบางเรื่องในนี้เป็นเรื่องโกหกพกลม เพราะอย่างที่บอกไปว่าไม่มีใครรู้ ไม่มีใครรู้ดีเท่าตัวผู้เขียนจริง ๆ เพียงแต่ว่าตัวผู้เขียนนั้นจะถ่ายทอดออกมาให้ผู้อ่านเห็นในแง่มุมใดก็เท่านั้นเอง 

    แต่ที่ปฏิเสธไม่ได้แน่ ๆ คือ ความโหดร้ายของรัฐบาลนายพลเนวิน แต่เอาจริง ๆ ก็พูดรวมถึงรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารทั้งหมดนั่นแหละ ขึ้นชื่อว่าการรัฐประหารก็คือการขึ้นมามีอำนาจแบบไม่ชอบธรรมอยู่ดี ไม่ว่าจะอ้างว่ามาเพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย มาเพื่อธำรงไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญ หรืออ้างว่าเข้ามาแค่ไม่นานแล้วจะจัดการเลือกตั้งให้เร็วที่สุด ในประเทศที่ปกครองแบบประชาธิปไตย การรัฐประหารถือเป็นการขัดต่อข้อกฎหมายอย่างร้ายแรง อย่างไรก็ตามในบางประเทศกลับไม่มีการดำเนินคดีกับผู้ก่อการรัฐประหารเลยด้วยซ้ำ โดยเฉพาะประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เราก็รู้ดีว่าคือประเทศอะไรบ้าง รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารมักไม่ยอมรับว่าตนเองทำผิด แต่กลับมองว่าสิ่งที่ตนเองทำคือสิ่งที่ดีที่สุด มองว่าสิ่งนี้คือประชาธิปไตย  มันก็เป็นการบอกเป็นนัยว่าแม้แต่ตัวผู้ก่อการเองก็ยังรู้และตระหนักว่าการรัฐประหารไม่ใช่เรื่องดี แต่เพื่อกลบเกลื่อนสิ่งที่ตัวเองทำลงไป เลยได้แต่พร่ำบอกว่าประเทศภายใต้การนำของตนเองนั้นเป็นประชาธิปไตย แต่ก็นั่นแหละ มันเป็นประชาธิปไตยแค่ในทางทฤษฎี หรือแย่หน่อยก็พูดไปงั้น ทั้งที่จริงแล้ว ในการปฏิบัติ สิ่งที่รัฐบาลที่มาจากการรัฐประหารทำนั้นสวนทางกับสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตย 
                 แค่ขึ้นชื่อว่ามาจากการรัฐประหาร รัฐบาลนั้นก็หมดความน่าเชื่อถือไปแล้ว



    ..... หนังสือเล่มนี้ถูกสร้างเป็นหนังแต่ก็น่าจะเดาออกว่ารัฐบาลพม่าสั่งแบน และไทยก็ไม่ให้ฉาย เพราะเกรงว่าจะกระทบต่อความสัมพันธ์ไทย-พม่า
Views

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in