ภาคแรก: อำ LA SCALA: ปฐมบท
เกริ่นก่อนเรื่อง
“มันอยู่ได้เพราะใจรัก”
๕ กรกฎาคม ๒๕๖๓
วันสุดท้ายที่โรงภาพยนตร์สกาลาเปิดทำการภายใต้การบริหารงานของเอเพกซ์
ผมมาถึงโรงภาพยนตร์สกาลา ๔๕ นาทีก่อนที่ Cinema Paradiso
ผมพบกับคุณป้าอุ๊ที่กำลังยืนคุยกับคุณป้าเหมียว- ผู้เป็นพนักงานอีกคนหนึ่งของสกาลา แม้คุณป้าอุ๊จะสับสนว่าผมคือนักข่าว (อีกครั้ง) ที่มาขอสัมภาษณ์ แต่ผมเข้าใจว่าป้าอุ๊คงได้พูดคุยกับคนเยอะมากในช่วงหนึ่งสัปดาห์ที่ผ่านมา จึงอาจจำหน้าจำคนสลับไปบ้างเป็นธรรมดา ผมและคุณป้าทั้งสองก็ได้พูดคุยกันสั้น ๆ ท่ามกลางผู้คนมากมาย
“ดีใจมากที่จะได้หยุดสองวัน” ป้าอุ๊เอ่ยอย่างดีใจเมื่อผมถามว่าเขาจะยังคงต้องมาทำงานที่สกาลาอีกหรือเปล่า “พอเปิดมาวันพุธก็มาจัดการงานต่าง ๆ ให้เสร็จ ก็ยังมาทำงานอยู่ค่ะ”
“แต่หลังจากนั้นคงเหงาแย่เลยใช่ไหมครับ” ผมถาม คุณป้าทั้งสองพยักหน้ารับพลางยิ้ม
“ป้ายังไม่รู้เลยจะไปทำอะไร แต่ก็ถือว่าได้พักผ่อนแล้วกันค่ะ” ป้าเหมียวกล่าว แล้วมองไปยังบรยากาศรอบ ๆ
จากนั้นก็มีการเรียกให้เข้าโรงหนังพอดี “เดี๋ยวหลังหนังฉายจบ ก็จะมีผู้บริหารขึ้นกล่าวขอบคุณเป็นครั้งสุดท้าย แต่พวกป้าไม่ได้ขึ้นไปนะคะ เป็นกองเชียร์อยู่ข้างเวทีเฉย ๆ” ป้าอุ๊พูดเกริ่นถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นให้ผมฟัง ผมขอบคุณคุณป้าทั้งสอง ถ่ายรูปพวกเขาเก็บไว้ในกล้องฟิล์ม อวยพรให้มีสุขภาพแข็งแรง แล้วผมก็เดินเข้ามาในโรงหนัง มีคนจำนวนไม่น้อยที่ไม่ได้ถือตั๋วแต่ต้องการจะเข้าไปเก็บภาพบรรยากาศ แต่ทางโรงฯ นั้นยังไม่อนุญาตจนกว่าจะฉายหนังเสร็จ
พอเข้าไป คนส่วนมากต่างก็หยิบกล้องหรือมือถือมาถ่ายรูปเก็บบรรยากาศในโรงครั้งสุดท้าย บ้างก็ถ่ายรูปกับคุณลุงพนักงานในชุดสูทเหลืองอันเป็นเอกลักษณ์ บ้างก็ไปถ่ายบนเวทีด้านหน้า ด้วยเวลาที่ยังพอมีอยู่ ผมจึงไปยังเวที แล้วเดินเล่น ดูผู้คนจากบนนั้น
พอลงจากเวทีเพื่อจะเดินไปยัง P
คุณลุงนั้นชื่อบูน (ไม่แน่ใจว่าสะกดอย่างนี้หรือเปล่า ถ้าผิดต้องขอโทษด้วยครับ) นามสกุล พ่อไชยราช ที่รู้ละเอียดขนาดนี้เพราะลุงบูนเขาให้ดูนามสกุลจากบัตรประชาชนตอนที่ผมได้ยินไม่ค่อยชัด ผมบอก ไม่ต้องก็ได้นะครับลุง แต่ไม่ทันเสียแล้ว – อายุลุงบูนของเราปีนี้ก็เข้าสู่หลัก ๖๕ แล้ว แต่ยังคงแข็งแรงกระฉับกระเฉง ยิ้มแย้มแจ่มใสไม่มีแรงตก ลุงบูนเล่าว่าเคยทำงานที่โรงหนังประตูน้ำอินทรามาก่อนก่อนที่จะย้ายมาประจำอยู่ที่ลิโด แต่เมื่อสองปีก่อนลิโดปิดตัวลง จึงย้ายมาทำงานที่สกาลาแทน อายุงานรวมเกือบ ๔๐ ปี
“โห ลุงบูนอยู่นานขนาดนี้เลยเหรอครับ”
“ก็อยู่มาเรื่อย ๆ เนี่ยแหละ เงินเดือนก็ไม่ได้มากมาย แต่เราก็อยู่ได้ มันอยู่ได้เพราะใจรัก ถ้าเป็นเด็กสมัยนี้ เห็นอย่างนี้เขาไม่เอาหรอก แล้วงานเหนื่อยด้วย” จากนั้นคุณลุงก็เล่าถึงเรื่องชีวิตของพนักงานในสกาลา ที่มีเรื่องมีราวด้วยกันเองบ้างโยกย้ายไปบ้าง เรื่องสวัสดิภาพสวัสดิการบ้าง แต่ทุกสิ่งและทุกคนก็ผ่านความเป็นไปต่าง ๆ ได้เรื่อยมา จนถึงวันสุดท้าย...วันนี้
“ลุงว่าโรงหนังอยู่มานานขนาดนี้ก็ถือว่าเก่งนะ เขาต้องแบกรับค่าเช่าเยอะ เดือน ๆ นึงก็หลายตังค์แหละ เพราะที่ดินแถวนี้ก็มีมูลค่ายิ่งมีทีวี มีเน็ต คนไม่ค่อยมา ก็อยู่กันลำบากขึ้น” ลุงบูนคุยกับเราไปก็มีคนมาขอถ่ายรูปไป โดยที่พลังงานของลุงบูนไม่มีอ่อนลงเลย
“แล้วหลังจากวันนี้ไปลุงบูนยังต้องมาอีกไหมครับ”
“มา ๆ ตอนลิโดปิดลุงก็ไปช่วยเขาย้ายของรื้อของ คราวนี้ก็ต้องมาเหมือนกัน” ลุงบูนเว้นหายใจ “แต่เราก็ไม่อยากให้เขาทุบนะโรงหนังอย่างนี้มันเหลือที่เดียวในกรุงเทพฯ แล้ว จะมีที่ไหนอีก”
แล้วบทสนทนาระหว่างผมกับลุงบูนก็ต้องหยุดลงเมื่อหนังจะเริ่มฉาย ผมถ่ายรูปลุงบูนไว้ในกล้องฟิล์ม ไฟในโรงค่อย ๆ ดับลง เครื่องฉายยิงหนังโฆษณาขึ้นบนจอผมขอบคุณลุงบูนและเดินไปนั่งที่ของตัวเอง แม้จะมีหน้ากากของผมและ face shield
และภาพยนตร์ที่จะฉายต่อจากนี้ ก็ตอกย้ำความหมายของประโยคดังกล่าวอย่างตรงแผง อีกทั้งสะท้อนให้เห็นถึงสถานะของสกาลา ที่กำลังจะเป็น “สรวงสรรค์” ที่จะอยู่ในความทรงจำของคนรักหนังในอีกไม่กี่ชั่วโมงนี้
Cinema Paradiso -
หนังฉายภาพของพาราดิโซ ที่พร้อมจะเกิดความสนุกสนานแกมอลม่านเป็นทุกทีไปเมื่อมีหนังเข้าฉาย ผู้ชมทุกคนต่างมีอารมณ์ร่วมหัวเราะร้องไห้ไปพร้อมกัน แม้จะเกิดสิ่งแปลก ๆ (หากวัดกันตามมาตรฐานของโรงหนังในปัจจุบัน) ในโรงฯ บ้างก็ตาม อย่างคนช่วยตัวเอง คนเมา การทะเลาะวิวาท ฯลฯ ทั้งนี้ ก็ยังมีอีกหลายสิ่งจากหนังที่ยังคงอยู่จวบจนปัจจุบันไม่ว่าจะเป็นกองเซนเซอร์ (ในหนังคือบาทหลวง) จอมสปอยหนังประโยคต่อประโยค หรือคนที่มาพบรักกันในโรงหนัง ทั้งหมดทั้งมวลนั้นเป็นความทรงจำและประสบการณ์ร่วมที่ถูกจารึกไว้ จนทำให้พาราดิโซเป็น
แต่ความทรงจำต่าง ๆ จะเกิดขึ้นไม่ได้เลยหากขาดบุคลากรของโรงหนังไป ทั้งเจ้าของที่ต้องติดต่อบริหารโรงหนังให้ราบรื่น พนักงานเดินตั๋วที่คอยดูแลระหว่างรอบหนัง คนส่งฟิล์มที่ต้องทำงานแข่งกับเวลาและความหงุดหงิดของคนดู และ พนักงานฉายหนังที่ต้องชมหนังเรื่องเดิมซ้ำไปมาเป็นร้อยรอบและต้องเสี่ยงอันตรายจากฟิล์มหนังที่ติดไฟง่าย งานของทุกคนสำคัญและแทบจะไม่มีวันได้หยุดพัก ดังนั้น พวกเขานั้นจะทำหน้าที่ตรงนี้ไม่ได้และจะไม่มีความอดทนในงานเลยหากขาดคำว่า “ใจรัก” ไป - เหมือนอย่างที่ลุงบูนได้บอกกับผมไว้
ภาพความสัมพันธ์และมิตรภาพของโตโต้และอัลเฟรโดนั้น เปรียบได้กับผู้ชมประจำที่ได้เห็นหน้าและรู้จักกับคนในสกาลามานาน จนคุ้นเคยกันเสมือนญาติมิตร แม้ว่าความผูกพันธ์ที่ผมมีต่อสกาลาจะไม่ถึงขั้นนั้น แต่จากการได้คุยกับป้าอุ๊และลุงบูนเพียงสั้นๆ ก็พอจะบอกผมได้ว่าที่นี่ก็มีไมตรีจิตเช่นนั้นเหมือนกัน นี่จึงเป็นอีกปัจจัยสำคัญยิ่งที่จะทำให้โรงหนังแห่งหนึ่งเป็น พาราดิโซ ได้อย่างแท้จริง
การเล่าเรื่องของหนังดำเนินไปอย่างเรียบง่ายไม่ซับซ้อน ค่อย ๆ ทำให้ผู้ชมกว่า ๔๐๐ ชีวิต - ที่มารวมตัวกันโดยได้นัดหมาย - ได้หัวเราะและซาบซึ้งไปกับบทสรรเสริญโรงหนังบทนี้อย่างพร้อมเพรียงกัน ความรู้สึกสุขเศร้าได้รับการขับเน้นอย่างทรงพลังผ่านดนตรีประกอบของเอนนิโอ มอร์ริโคเน (ที่เพิ่งเสียชีวิตไป - ขอให้ไปสู่สุขติครับ) นี่จึงเป็นประสบการณ์ที่เปี่ยมด้วยความรู้สึกและสะเทือนใจเป็นอย่างยิ่งครั้งหนึ่งเลยก็ว่าได้
เมื่อคำว่า “
“โรงหนังปิดไปแล้วเขาจะอยู่กันยังไงนะ” ผมได้ยินพี่คนหนึ่งพูดขึ้นมา พลางมองไปยังห้องฉายหนังนั้น
ระหว่างที่เดินออกมา ผู้บริหารและพนักงานได้ยืนต่อแถวอำลาผู้ชมเป็นครั้งสุดท้าย ผมได้จับมือกับคุณลุงบูนผู้เปี่ยมรอยยิ้มที่เพิ่งพบกัน ได้กล่าวบอกลาคุณป้าอุ๊ผู้ใจดี และได้อำลาพี่ ๆ คุณลุงคุณป้าของสกาลาทุกคนที่มายืนรอ ถือเป็นบทสรุปแห่งโปรแกรม LA SCALA และตำนานราชาโรงหนังของเมืองไทย
แม้วันนี้สกาลาภายใต้การบริหารของเพเซกซ์จะปิดทำการไปแล้ว แต่ไม่ได้หมายความว่าความทรงจำต่าง ๆ และ “ใจรัก” ที่ทุกคนมีต่อโรงภาพยนตร์สกาลาจะหายไป เพียงแต่เมื่อสถานการณ์เปลี่ยนแปลง กาลเวลาผ่านไป อีกทั้งมีเหตุผลทางธุรกิจเข้ามา การปิดกิจการครั้งนี้ก็ย่อมเข้ามาอย่างไม่อาจเลี่ยงได้
สิ่งที่พวกเราพอจะทำได้คือการใช้ “ใจรัก” ที่มีต่อสกาลา มาใช้เพื่อติดตามและผลักดันให้สถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์และศิลปะแห่งนี้อยู่คู่สยามสแควร์ ให้สาธารณชนได้มาศึกษาและใช้ประโยชน์ร่วมกันต่อไป ไม่เช่นนั้น พาราดิโซเมืองไทย อาจสูญหายและถูกแปรเปลี่ยนให้เป็นอาคารพาณิชย์อีกหลังหนึ่งของใครเขา
จนกว่าจะเห็นโคมไฟกลับมาสว่างไสว
จนกว่าจะเห็นตัวอักษรต่างๆ ได้ขึ้นป้ายหน้าโรงฯ
จนกว่าจะเห็นภาพยนตร์โลดแล่นบนจออีกครั้ง
จนกว่าจะพบกันใหม่
สกาลา
ปล. ถ้าได้รูปมาเมื่อไหร่จะเพิ่มรูปของคุณป้าอุ๊-คุณป้าเหมียว คุณลุงบูน และคุณกัมพล-คุณนันทา แน่นอนครับ
เรื่องและภาพโดย kfc
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in