เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
คิดเป็นระบบ สยบทุกปัญหาNairienroo
บทที่ 3 การออกแบบระบบ (Systems Design)
  • เมื่อย้อนกลับไปดูที่บทที่ 1 ในเรื่องปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 ซึ่งเป็นกรณีที่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ดังแสดงในรูปที่ 3.1

    ปัญหาในรูปแบบกรณีที่1นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าทาย (Challenge Problem)” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาใช้ได้อีกต่อไป เพราะมันไม่เพียงพอที่จะนำเราไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)”

    โดยเราจำเป็นที่จะต้องคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” โดยการใช้วิธีการออกแบบระบบ (Systems Design)

    จากบทที่ 2 ถ้าเราเชื่อมโยงแผนภาพความคิดเชิงระบบในแบบวงจรสมดุล (BalancingLoop) เข้ากับปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 ก็จะได้วงจรสมดุลที่ระบบพยายามปรับตัวเองเข้าสู่เป้าหมายที่ต้องการดังแสดงในรูปที่ 3.2



  • ดังนั้นหลักสำคัญที่จะบรรลุสิ่งที่ต้องการ (Target) ที่เราไม่เคยทำได้มาก่อน เราจะต้องทำการออกแบบระบบ (Systems Design) เพื่อคิดค้นหาวิธีการใหม่ ๆ ที่เราเรียกว่า “Initiatives” โดยใช้แนวคิดพื้นฐาน “Input-Process-Output” ที่จะต้องไปตอบโจทย์วัตถุประสงค์ (Objectives) ที่เราต้องการ ดังแสดงในรูปที่ 3.3

    โดยในหลักการคิดที่สำคัญจะต้องเริ่มคิดที่วัตถุประสงค์ (Objectives) เป็นสำคัญ คือ เริ่มต้นที่ภาพในใจที่ชัดเจน (Begin with the end in mind) ยกตัวอย่างเช่น ผู้เขียนมีเป้าหมายในใจมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนอยากเป็น “วิทยากรมืออาชีพ” ก็ต้องมาตั้งคำถามกับตัวเองว่าคำว่าเป็นมืออาชีพ คือ อะไร หน้าตาหรือผลลัพธ์ (Output) ที่เราต้องการเห็นคืออะไร แล้วจะใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด (Indicator) จากนั้นก็ต้องคิดย้อนต่อไปอีกว่าแล้วจะต้องมีกระบวนการ (Process) อะไรบ้าง เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ที่ต้องการสุดท้ายก็ต้องคิดย้อนต่อไปว่าเราต้องมีปัจจัยนำเข้า (Input) อะไรบ้างเพื่อให้กระบวนการสามารถดำเนินงานได้อย่างราบรื่น ดังแสดงในรูปที่ 3.4




  • จากแผนผังแสดงความเชื่อมโยง Objectives– Output – Process – Input หากเรามีความเข้าใจในแนวคิดดังกล่าวเราก็จะสามารถเข้าใจรูปแบบความคิดในทางธุรกิจ อย่างเช่น ในเรื่อง Balanced Scorecard ที่จะมีรูปแบบความคิดในทำนองเดียวกัน

    ในปัจจุบันก็มีหลายคนนิยมนำแนวคิด Business Model Canvas มาใช้ในการคิดในการเริ่มต้นแผนธุรกิจใหม่ ๆดังแสดงในรูปที่ 3.5

    รูปที่ 3.5 Business Model Canvas

  • แต่ในท้ายที่สุดไม่ว่าจะใช้รูปแบบการคิดในแบบใดก็ตามก็ต้องหาออกมาให้ได้ว่ามีวิธีการใหม่ ๆ ที่เราเรียกว่า “Initiatives” ที่จะสามารถทำให้บรรลุ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” ได้หรือไม่ ?

    แบบฝึกหัดท้ายบท

                จงเขียนแผนผังแสดงความเชื่อมโยง Objectives– Output – Process – Input ในเรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัวเพื่อให้บรรลุ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” 

     

    “นายเรียนรู้”

    “อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร”

    “วิทยากร Systems ProblemSolving” และ “วิทยากร Systems Thinking”

    boonlert.alert@gmail.com

    086-7771833

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in
Hacker Dewdie (@A-SOKE)
มีสาระ มีประโยชน์ดี