“ปัญหาคือ อะไร ?” “อะไร คือ ปัญหา ?”
คือคำถามที่คิดว่าหลาย ๆ คนคงเคยโดนตั้งคำถาม หรือเคยตั้งคำถามนี้กับตัวเอง เวลาที่ประสบพบเจอกับสิ่งที่คิดว่าเป็นปัญหาซึ่งมีทั้งเรื่องส่วนตัวและเรื่องงาน
คำตอบที่มักได้ยินจากการตั้งคำถาม “ปัญหา คือ อะไร ?” “อะไร คือ ปัญหา ?” มักจะเป็น
จะเห็นได้ว่าคำตอบที่ได้ส่วนใหญ่มักจะเป็นคำตอบกว้าง ๆ เป็นลักษณะ “อาการของปัญหา (Symptom)” ในเชิงนามธรรมไม่สามารถจับต้องได้ชัดเจน
สิ่งเริ่มต้นในการแก้ปัญหาคือ ต้องระบุหัวข้อปัญหาให้ชัดเจน มีตัวชี้วัดที่เป็นรูปธรรมที่สามารถจับต้องได้
นิยามของคำว่า “ปัญหา (Problem)” คือ “ความแตกต่าง (Gap)” ระหว่าง “สิ่งที่เป็นอยู่ (Actual)” กับ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” สามารถเขียนเป็นแผนภาพอธิบายได้ดังนี้
รูปที่1.1นิยามของคำว่า “ปัญหา (Problem)”
เพราะฉะนั้นการระบุหัวข้อปัญหาให้ชัดเจนต้องระบุให้ได้ว่า
1. เราใช้อะไรเป็นตัวชี้วัด(Indicator) ?
2. สิ่งที่เป็นอยู่(Actual)มีค่าเท่าไหร่ ?
3. สิ่งที่ต้องการ(Target)มีค่าเท่าไหร่ ?
ดังนั้นจะสามารถระบุหัวข้อปัญหาให้ชัดเจนได้ดังนี้
1. ลดน้ำหนักตัวจาก85กิโลกรัมให้เหลือ 75 กิโลกรัม
2. ลด%ของที่ส่งไม่ทันกำหนดจาก 10% ให้เหลือ 2%
3. เพิ่มเงินออมจาก0บาทต่อเดือน ให้เป็น 2,000 บาทต่อเดือน
4. ลด%ของเสียจาก 5% ให้เหลือ 1%
หากย้อนกลับไปดูรูปที่ 1.1นิยามของคำว่า “ปัญหา (Problem)” ก็จะพบว่าถ้าเรานำ “ค่ามาตรฐาน (Standard)” ที่เราเคยทำได้ไปเปรียบเทียบกับ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” ก็จะมีความเป็นไปได้ของปัญหา 2 กรณี คือ
กรณีที่1 “สิ่งที่ต้องการ (Target)” มากกว่า “ค่ามาตรฐาน(Standard)”
ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 1 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาท้าทาย (Challenge Problem)” ที่เราไม่สามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาใช้ได้อีกต่อไปเพราะมันไม่เพียงพอที่จะนำเราไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)”
โดยเราจำเป็นที่จะต้องคิดค้นหาวิธีการใหม่ๆ เพื่อให้ไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” โดยการใช้วิธีการออกแบบระบบ (Systems Design) ที่เราจะกล่าวในรายละเอียดในบทที่ 3
กรณีที่2 “สิ่งที่ต้องการ (Target)” น้อยกว่าหรือเท่ากับ “ค่ามาตรฐาน (Standard)”
ปัญหาในรูปแบบกรณีที่ 2 นี้เป็นปัญหาประเภท “ปัญหาพื้น ๆ (Standard Problem)” ที่เราสามารถที่จะใช้วิธีการเดิมในอดีตที่เคยทำสำเร็จตาม “ค่ามาตรฐาน (Standard)” มาปรับใช้ได้
โดยเราจำเป็นที่จะต้องคิดวิเคราะห์สาเหตุหาวิธีการปรับปรุงเพื่อให้ไปสู่ “สิ่งที่ต้องการ (Target)” โดยการใช้วิธีการวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) ที่เราจะกล่าวในรายละเอียดในบทที่4
แบบฝึกหัดท้ายบท
จงระบุหัวข้อปัญหา(เรื่องงาน หรือเรื่องส่วนตัว) ที่ต้องการปรับปรุงให้ชัดเจน
“นายเรียนรู้”
“อาจารย์บุญเลิศ คณาธนสาร”
“วิทยากร Systems ProblemSolving” และ “วิทยากร Systems Thinking”
boonlert.alert@gmail.com
086-7771833
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in