นอร์มา คอมพานีส์ - ผู้อำนวยการด้านจัดอีเวนท์ของดอร์น่า สปอร์ต
ผู้เป็นหนึ่งในเสาหลัก เบื้องหลังความสำเร็จของฤดูกาลที่มีโรคระบาดกระจายไปทั่วโลก
เธอทำงานเป็นนักจัดอีเวนต์อิสระมาหลายปี และมองหาความมั่นคงในการทำงานนี้ และเธอได้ร่วมงานกับดอร์น่าในปี 2006
16 ปีหลังจากนั้น เธอคือหนึ่งในกุญแจสำคัญผู้อยู่เบื้องหลังความสำเร็จของฤดูกาลที่เต็มไปด้วยอันตรายจากโรคระบาดโควิด-19
เรากำลังพูดถึง 'นอร์มา คอมพานีส์' ผู้ อำนวยการด้านจัดอีเวนท์ของดอร์น่า สปอร์ต
พวกเราขอมอบวันที่ 8 ของเดือนสุดท้ายในปี 2020 ให้เธอคนนี้ เพื่อให้เธอเล่าถึงวิธีที่เธอใช้จัดการกับฤดูกาลนี้และถือเป็นการแสดงความเคารพต่อการตัดสินใจอันกล้าหาญของเธอในช่วงหลายๆเดือนที่ผ่านมา ช่วยให้เราลืมสถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ได้ แม้ว่าจะเพียงไม่กี่ชั่วโมงก็ตาม และทำให้เราได้รับความตื่นเต้นจากการได้ดูกีฬาสุดโปรดทางหน้าจอด้วย
"2020 ถือเป็นปีที่ท้าทายสำหรับทุกๆคน ในตอนที่ต้องกักตัวอยู่ที่บ้าน พวกเราเจอกันทางออนไลน์เป็นชั่วโมงทุกวัน เพื่อหาทางออกและพยายามร่างแผนการคร่าวๆถึงความเป็นไปได้ต่างๆ โดยที่ยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่าจะได้ออกจากบ้านเมื่อไหร่" นอร์ม่ากล่าว
"เราอยู่ท่ามกลางความไม่แน่นอน คาร์เมโล่และคาร์ลอส เอสเปเลต้าพูดคุยกับโปรโมเตอร์ตลอด เพื่อเช็คสถานการณ์ในแต่ละประเทศทุกวัน เมื่อสถานการณ์ดีขึ้นบ้างแล้ว เราจึงสร้างมาตรการความปลอดภัยขึ้นมาเพื่อปกป้องและคุ้มครองทุกคนที่ทำงานในแพดด็อก"
"โรคระบาดสร้างความน่ากลัวให้กับเราทุกคน พวกเราจึงต้องขอความร่วมมือกับคนในแพดด็อก ให้นำทีมงานเข้ามาน้อยที่สุดเท่าที่จะทำได้ ในสนามจึงมีเพียงครึ่งหนึ่งของผู้คนเมื่อเทียบกับเวลาปกติ" เธอระบุ
"เวลาที่ทีมแข่งมาถึง พวกเขาจะพักในโรงแรมที่มีความเสี่ยงน้อยที่สุด และการเตรียมยาต่างๆไว้ ถือเป็นความท้าทายใหม่สำหรับห้องแลปเช่นกัน และถึงแม้จะพบผู้ติดเชื้อในสนาม แต่เราก็สามารถจัดการได้ทันท่วงที"
การเข้าสู่แพดด็อกกลายเป็นประสบการณ์ใหม่ รวมถึงสำหรับนอร์มา ผู้รู้จักสภาพแวดล้อมนี้เป็นอย่างดี
"เราสร้างแอพที่ใช้ส่งผลการสแว๊บให้กับทุกคน และถ้าผลเป็นลบ คุณก็สามารถเข้าสู่แพดด็อกได้ แต่แค่นั้นยังไม่พอ เมื่อเข้าสู่สนามเเล้ว เรายังคงรักษาระยะห่าง แจกหน้ากากอนามัยที่มีคุณภาพและให้เพียงพอกับทุกคน และในสนามไม่มีผู้เข้าชม
พวกเขาจึงสร้างพื้นที่ว่างในโครงสร้างกลาง เพื่อให้เราสามารถทำงานได้อย่างปลอดภัยในขณะเดียวกันก็รักษาระยะห่างด้วย "
เกณฑ์ต่างๆถูกสร้างโดยทีมของนอร์มา ซึ่งเป็นตัวแทนดอร์น่าติดต่อกับเจ้าหน้าที่สนามและโปรโมเตอร์ต่างๆ
"พวกเราเป็นฝ่ายทำข้อตกลงในสิ่งที่ต้องการไว้ล่วงหน้าและค่าใช้จ่ายต่างๆ"
ปกติการจัดงานแข่งรถจะใช้เวลาในการเตรียมการสามเดือน ซึ่งนอร์มาอธิบายว่า นั่นเป็นช่วงเวลาอย่างน้อยในการเตรียมงานตามปกติและขึ้นอยู่กับสถานการณ์จริงที่แตกต่างกันออกไป
"เราร่วมมือกับเจ้าของสนามเฆเรซมาตลอดหลายปีและใช้เวลาประมาณสองเดือนในการเตรียมการแข่งขัน
เนื่องจากสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้ ทำให้เฆเรซต้องจัดการแข่งขันติดต่อกันสองรอบเป็นครั้งแรก พวกเขาทำในสิ่งที่อยู่เหนือข้อยกเว้น และต้องเผชิญหน้ากับความเป็นจริงครั้งใหม่ ไปพร้อมๆกับการคิดแผนฉุกเฉิน ซึ่งปีนี้วิถีการทำงานทุกอย่างใหม่มากๆสำหรับทุกฝ่าย และในตอนนี้ฉันสามารถพูดได้เลยว่า งานของเราสำเร็จแล้ว และการแข่งขันเป็นไปตามช่วงเวลาที่ถูกบันทึกไว้"
หลังจากที่เราพูดถึงความสำเร็จของฤดูกาลที่ผ่านมากันพอหอมปากหอมคอแล้ว เราจะย้อนกลับไปยังปี 2006 ที่นอร์มาเริ่มต้นทำงานกับดอร์น่าในฐานะผู้จัดงานอีเว้นท์
"ฉันมีความหลงใหลในเรื่องมอเตอร์ไซค์มาก แต่ตอนนั้นยังไม่ได้รู้จักบริษัทด้านนี้มากเท่าไหร่ พอเห็นเขาลงโฆษณา ฉันจึงส่งใบสมัครไป และผลงานที่ผ่านมาก็เข้าตากรรมการ หลังผ่านการสัมภาษณ์ไปสองรอบ ฉันจึงได้ทำงานกับดอร์น่า"
หลังจากที่เรียนจบด้านประวัติศาสตร์ทางศิลปะมา
ณ ช่วงเวลานั้นนอร์มาทุ่มเทเวลาให้กับองค์กรด้านวัฒนธรรม เช่น การจัดนิทรรศการศิลป์ต่างๆ เทศกาลภาพยนตร์ และทันใดนั้นเธอก็ถูกดึงเข้าสู่สภาพแวดล้อมที่เต็มไปด้วยอะดรีนาลีนอย่างโมโตจีพี
. "การทำงานค่อนข้างต่างกันมาก ตอนที่ฉันจัดงานนิทรรศการ มันใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์เท่านั้น แต่กับโมโตจีพี เราใช้เวลาหลายเดือน เพื่อจัดการแข่งขันแค่สนามเดียว"
แต่สิ่งนี้สร้างการผจญภัยครั้งใหม่ที่ดึงดูดใจมากขึ้นให้กับนอร์มา ซึ่งก็คือโอกาสในการท่องเที่ยวและเรียนรู้วัฒนธรรมใหม่ๆที่แตกต่างกันออกไป และสร้างความตราตรึงใจให้เธอไปอีกหลายปี
"ในตอนที่เราจัดแจแปนนิชกรังปรีซ์ ฉันสังเกตเห็นความแตกต่างของวิถีชีวิตที่เราเป็น พวกเรามักจะสื่อสารกันผ่านล่ามที่รู้จักกันมานานหลายปี ซึ่งนอกเหนือจากด้านภาษาแล้ว ยังมีด้านองค์กรที่วิธีการทำงานแตกต่างกัน"
ในช่วงหลายๆปีที่ผ่านมา หน้าที่และความรับผิดชอบของนอร์มาเพิ่มมากขึ้น
"ในช่วงแรกๆที่เริ่มทำงาน ในทีมของฉันมีทั้งหมดหกคน แต่ตอนนี้เพิ่มเป็นสิบเอ็ดคนแล้ว"
นอร์มาเลื่อนเป็นระดับผู้จัดการเพราะความเป็นมืออาชีพของเธอและในปี 2016 เธอก็ถูกเลื่อนขึ้นเป็นตำแหน่งผู้อำนวยการ
การท่องเที่ยวคือหนึ่งในมุมที่น่าสนใจของอาชีพนี้ แต่การใช้ช่วงเวลาหลายสัปดาห์ห่างจากบ้านเกิด สามารถสร้างความทุกข์ได้เช่นเดียวกัน
"ชีวิตคนเราบางครั้งมันก็ยากที่จะจัดการ เพราะฉันต้องกลายเป็นทั้งครู ทั้งแม่ ทั้งนักจิตวิทยาให้กับเพื่อนร่วมงานของฉันในช่วงเวลาสั้นๆนี้ด้วย
เพราะการต้องออกจากบ้านเป็นเวลานาน ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว มันก็เป็นเรื่องยากที่ต้องจัดการกับความเหนื่อยล้าต่างๆที่เกิดขึ้น"
ขณะที่ต้องจัดการกับเรื่องเวลาในแต่ละทวีปที่ต่างกัน ชีวิตการทำงานนี้ทำให้เธอนึกถึงอดีต ในสมัยที่เธอเพิ่งเรียนจบใหม่ๆ เธอมองดูภาพของตัวเองด้วยความภูมิใจและพอใจเป็นอย่างมาก
"นี่ไม่ใช่เป้าหมายชีวิตที่ฉันวางไว้เลย แต่ฉันก็ทุ่มเทและมุ่งมั่นตั้งใจในสิ่งที่ฉันทำอยู่เสมอ และฉันก็ภูมิใจว่าฉันสามารถทำได้สำเร็จในบทบาทหน้าที่ที่ได้รับ"
สุภาพสตรีที่ทำงานในสนาม นับเป็นเปอร์เซ็นต์ถือว่ายังน้อยมาก ถ้านับรวมกับคนที่ทำงานทั้งหมดในแพดด็อก แต่นอร์มายืนยันว่า การปรากฏตัวของเหล่าสุภาพสตรีในสภาพแวดล้อมนี้ ต้องถูกทำให้เป็นเรื่องปกติ
ดังนั้น ถ้าจะมีผู้หญิงที่อยากทำงานในสนามโมโตจีพีมากขึ้น ก็ต้องขอบคุณนอร์มาด้วย ถึงความมืออาชีพ กล้าเผชิญหน้ากับความท้าทายและความยากลำบากต่างๆด้วยการมองโลกในแง่บวกและด้วยความดื้อรั้นเป็นเวลาหลายปีได้ เพราะอย่างที่เธอบอก
เวลาที่ต้องเผชิญหน้ากับเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน 'ให้คิดซะว่ามันคือส่วนหนึ่งของการถ่ายทอดสด'
และเมื่อใช้เวลากลับมาทบทวนถึงสิ่งที่เกิดขึ้น : 'สิ่งที่สำคัญที่สุดคือการตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างไร'
หลังจากที่ฤดูกาลการแข่งขันโมโตจีพี 2020 เสร็จสิ้นลง นอร์มาจะมีเวลาพักผ่อนก่อนจะกลับไปเริ่มต้นเรื่องราวของเธอในปี 2021 อีกครั้ง
https://www.motogp.com/en/news/2020/12/08/the-2020-championship-was-a-challenge-but-we-won/359712
1️⃣st : 20.9.2021 เริ่มแปล
2️⃣nd : 22.9.2021 แปลเสร็จ
3️⃣rd : 24.9.2021 เช็คประโยค
DONE ✅: 25.9.2021
ผิดพลาดประการใด ขออภัยด้วยนะคะ?
ไม่ได้แปลมาสองเดือนแล้ว?
@mmaysp93
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in