เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง By พีระ เจริญวัฒนนุกูล
  • รีวิวเว้ย (1236) เชื่อเรื่องปาฏิหาริย์กันไหมครับ (?) เวลาเราเริ่มต้นเรื่องต่าง ๆ ด้วยคำว่าปาฏิหาริย์หรือความเชื่อ ในปัจจับันนี้ (2566) หลายคนมักจะส่ายหน้าให้กับเรื่องราวดังกล่าวทั้งที่จริง ๆ แล้วหลายคนเคยเชื่อใน "ปาฏิหาริย์" มาก่อน โดยเฉพาะปาฏิหาริย์ของ ทรงสิทธิ์ รุ่งนพคุณศรี แต่พอเราลองเอาเรื่องของปาฏิหาริย์มาพูดในเรื่องวิชาการหรือสิ่งที่ต้องใช้หลักก่รและเหตุผลในการอธิบาย การอรรถาธิบายเรื่องต่าง ๆ ภายใต้กรอบคิดเรื่องของปาฏิหาริย์และความบังเอิญจึงถูกตั้งคำถามด้วยเครื่องหมายคำถามตัวโต ๆ ว่า เราจะสามารถอธิบายปรากฏการณ์หรือเรื่องราวต่าง ๆ ด้วยเรื่องของปาฏิหาริย์และความบังเอิญได้หรือไม่ (?)
    หนังสือ : ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่สอง
    โดย : พีระ เจริญวัฒนนุกูล
    จำนวน : 354 หน้า

    "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" หนังสือที่ผู้เขียนมุ่งเน้นการศึกษาเหตุการณ์ทางกานเมืองของไทยภายหลังการสิ้นสุดของสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งเป็นสถานการณ์หลังสิ้นสุดสงครามที่น่าสนใจว่าเหตุใดสยาม-ไทย จึงรอดพ้นจากสถานะของผู้แพ้สงครามในครั้งนั้น อันนอกเหนือไปจากชุดอธิบายหลักที่อยู่คู่กับสังคมไทยมาช้านานอย่างเรื่องของ "การมีขวบการเสรีไทย" ทำให้ไทยรอดจากสถานะของผู้แพ้สงคราม แต่ในความเป็นจริงเราสามารถอธิบายปรากฏการณ์ดังกล่าวในมุมมองอื่นได้อีกหรือไม่

    ซึ่งหนังสือ "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" ผู้เขียนได้เขียนงานเล่มนี้ขึ้นมาบนฐานของคำถามสำคัญ 2 ประการ คือ (1) หนังสือตั้งต้นด้วยคำถามที่ว่าในการศึกษาวิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ (Internation Relation) นั้น "ความบังเอิญ" สามารถนำไปสู่ผลลัพธ์ใด ๆในกรณีศึกษาได้หรือไม่ และจะสามารถศึกษารวมถึงพิสูจน์ถึงความสำคัญของ "ความบังเอิญ" ได้อย่างไร และ (2) หนังสือเล่มนี้จึงได้ตั้งคำถามต่อมาว่า กรณีศึกษาที่จะนำมาใช้ตอบคำถามดังกล่าวโดยเฉพาะในกรณีการรอดพ้นของไทยจากการลงโทษของอังกฤษภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 (สิงหาคม-ธันวาคม 2488) ความบังเอิญมีบทบาทสำคัญอย่างไรบ้างที่ช่วยให้ไทยรอดพ้นจากวิกฤติการณ์ดังกล่าวได้

    "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" จะพาเราไปหาคำตอบของคำถามผ่านการศึกษาหลักฐานชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ บันทึกการประชุมคณะรัฐมนตรี และบันทึกส่วนบุคคลที่เกี่ยวข้องกัลเหตุการณ์ดังกล่าว โดยเฉพาะบันทึกของคณะผู้เจรจาที่ถูกส่งไปจากทางการสยาม-ไทย

    สำหรับเนื้อหาของ "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" แบ่งออกเป็น 7 บทหลัก และภาคผนวกที่รวบรวมเอาหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ผู้เขียนใช้ในงานชิ้นนี้มารวบรวมไว้ในส่วนของภาคผนวก โดยเนื้อหาของ "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" แบ่งออกเป็นดังนี้

    บทที่ 1 สภาพปัญหา ปาฏิการิย์ และวิธีคิดอันสวนทางจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น

    บทที่ 2 ปัญหาของวันที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2488: ท่าทีอังกฤษ อเมริกา และไทย

    บทที่ 3 ยอมทุกอย่างเพื่อยุติสงคราม: เจรจาที่แคนดีครั้งที่ 1

    บทที่ 4 ต่อรองและเตะถ่วง: การเจรจาที่แคนดีครั้งที่ 2

    บทที่ 5 ลงนามหรือไม่: ความแตกแยกในรัฐบาลกับการเจรจาครั้งสุดท้ายที่สิงคโปร์

    บทที่ 6 ด้วยปาฏิหาริย์และความบังเอิญ

    เมื่ออ่าน "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" จบลง สิ่งหนึ่งที่เราได้รับจากการอ่านคือเรื่องของการทำความเข้าใจเหตุการณ์ในช่วงเวลาดังกล่าวผ่านมุมมองที่แตกต่างออกไปจากชุดการศึกษาหลักที่ถูกสังคมนี้ให้ความสำคัญ "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" ช่วยให้เราเห็นอีกด้าน อีกมุมของเรื่องเล่าทางวิชาการเกี่ยวกับวันสันติภาพไทย และเหตุการณ์ทางการเมืองของไทยในช่วงเวลานั้น น่าสนใจว่าหากการเจรจาครั้งที่ 1 จบลงตามความต้องการของอังกฤษ ทุกวันนี้ประเทศไทยจะมีหน้าตาเป็นอย่างไร

    สำหรับผู้ที่สนใจหนังสือ "ปาฏิหาริย์นั้นมีจริง: ความบังเอิญของไทยในการเอาตัวรอดจากอังกฤษหลังสงครามโลกครั้งที่ 2" เตรียมตัวจับจองเป็นเจ้าของได้ที่บูธ J06 อิลู-โครงการตำรา (ที่นี่ที่เดียว) ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 51 นี้

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in