เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ By เจี๊ยบ-อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
  • รีวิวเว้ย (1286) "ท่านประธานที่เคารพ..." เป็นประโยคเปิดของสมาชิกสภาในเวลาที่จะลุกขึ้นกล่าวในสภาผู้แทนราษฎร หลายครั้งที่มีโอกาสนั่งฟังการประชุมสภา เรามักจะเกิดคำถามขึ้นบ่อย ๆ ว่า "ถ้าประธานสภาทำตัวไม่น่าเคารพ เรายังจำเป็นต้องพูดประโยคนี้อยู่ไหม" หรือ "มันมีประโยคอื่นที่นอกเหนือจากนี้อีกไหมที่ใช้พูดแทนได้" แต่คำถามเหล่านั้นเราก็ไม่ได้ใส่ใจจะหาคำตอบเพราะมันไม่ใช่สาระหลักสำคัญของการฟังประชุมสภา กลไกสำคัญประการหนึ่งของการประชุมสภาคือการถ่ายทอด ถกเถียง ขบคิด ตัดคำถาม ต่อทั้งการดำเนินงานของรัฐบาล การตัดสินใจ และอีกหลายภารกิจที่ประชาชนมีสิทธิ์ที่จะรับรู้ กลไกดังกล่าวนับเป็นกลไกหนึ่งที่ทำหน้าที่คอยบอกเล่าการดำเนินงานของรัฐ ให้กับประชาชนได้รับรู้และเป็นการตั้งคำถามแทนประชาชนไปด้วยในที
    หนังสือ : ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ
    โดย : เจี๊ยบ-อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล
    จำนวน : 280 หน้า
    .
    "ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ" หนังสือที่ทำหน้าที่คล้ายกับเป็นบันทึกความทรงจำ ความรับรู้ ความรู้สึกและความหวังของ ส.ส. เจี๊ยบ-อมรัตน์ โชคปมิตต์กุล จากพรรคอนาคตใหม่และพรรคก้าวไกล ส.ส. ที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนและตั้งคำถามต่อหลาย ๆ เรื่องที่เกิดขึ้นในสังคมไทย โดยเฉพาะเรื่องของ "ความเป็นมนุษย์" ที่ดูจะขาดหายไปจากสังคมแห่งนี้
    .
    "ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ" ทำหน้าที่เป็นบันทึกที่ถ่ายทอดเรื่องราวต่าง ๆ ของผู้เขียนนับตั้งแต่วัยเด็ก กระทั่งถึงช่วงเวลาที่ชีวิตเพิ่มเติมบทบาทของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรให้กับผู้เขียน นอกจากนี้ใน "ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ" ยังบอกเล่าถึงเรื่องราวของความต้องการในการเป็น ส.ส. เพียงสมัยเดียวของผู้เขียน ที่น่าแปลกกว่านักการเมืองหรือคนการเมืองคนอื่น ๆ ที่โดยส่วนใหญ่มักแสวงหาและทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาเก้าอี้และสถานะทางการเมืองของตนเอาไว้ (อย่าง ส.ว. บางคนที่ประกอบอาชีพเป็น ส.ว. มามากกว่า 10 ปี แถมยังกล้าลอยหน้าลอยตาว่าบทบาทของ ส.ว. มีความสำคัญต่อประชาธิปไตย -- พมต.)
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 5 องก์ 14 ตอน 3 ภาคผนวก (บทบันทึกการอภิปราย 3 ครั้งในสภา) แต่แต่ละองก์คือการแข่งช่วงชีวิตของผู้เขียนออกเป็นแต่ละช่วง ที่ช่วยให้ผู้อ่านเห็นภาพของความเปลี่ยนแปลงจากลูกสาวกำนัน มาสู่บทบาทของนักเรียน ขยับสู่นักศึกษา กระทั่งกลายมาเป็น แม่ ส.ส. ป้า และคุณยาย
    .
    "ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ" คือการฉายภาพของนักการเมืองคนหนึ่ง ที่บอกเล่าเรื่องราวของสังคมไทยช่วงหนึ่งผ่ายความคิด ความทรงจำ แน่นอนว่าในเหตุการณ์เดียวกันคนหนึ่งคนอาจจะมีภาพจำหรือการบอกเล่าเรื่องราวที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกและมิใช่เรื่องผิดที่คนเราจะจดจำสิ่งสำคัญในเหตุการณ์ต่างกัน ให้ความสำคัญและสนใจต่อเหตุการณ์ไม่เหมือนกัน ซึ่ง "ท่านประธานที่ (ไม่) เคารพ" สะท้อนให้ผู้อ่านได้คิดตามว่าการบันทึกสังคม ณ ช่วงเวลาหนึ่งของบุคคลหนึ่งคือการสะท้อนภาพความทรงจำของผู้เขียน มิใช่ความถูกต้องของความจริงของสังคมทั้งหมด หากแต่มันคือ "ความคิด ความทรงจำ" ของบุคคลหนึ่งที่ผูกอยู่กับห่วงเวลานั้น ๆ เมื่อเป็นเช่นนั้นความทรงจำของสังคมจึงมีหลากหลาย ความคิดและความรู้สึกต่อสิ่งหนึ่งสิ่งใดจึงมีหลากหลายไปด้วยไม่น่าแปลก แต่สิ่งที่น่าประหลาดคือความพยายามในการ "สร้างความทรงจำที่ถูกต้องเพียงชุดเดียวของสังคม" และ "บังคับให้คนในสังคมต้องเชื่อ" ว่าความทรงจำที่ถูกหยิบชูมานั้น "ถูกต้องที่สุดและเป็นความจริงที่มีเพียง 1 เดียว"

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in