เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต By ชลิดา แย้มศรีสุข
  • รีวิวเว้ย (1854) เวลาพูดถึงจังหวัดภูเก็ตเราจะคิดถึงอะไร ? ลองถามคำถามนี้กับ ChatGPT คำตอบที่ได้มา ประกอบไปด้วย แหลมพรมเทพ หาดป่าตอง กิจกรรมทางน้ำ ร้านอาหาร เมืองเก่าและท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร ถ้าลองกวาดตาดูไว ๆ จะพบว่าเรื่องของเหมืองแร่และแร่ดีบุกหายไปจากคำตอบ อาจด้วยภาพจำใรปัจจุบันของภูเก็ตกลายเป็นภาพจำของจังหวัดท่องเที่ยวที่ GDP ของพื้นที่มาจากกิจกรรมทั้งทางตรงและทางอ้อมจากการท่องเที่ยว ทำให้ภาพจำของจังหวัดที่เป็นแหล่งทำเหมืองแร่ดีบุกกลายเป็นภาพจำสีจางของพื้นที่ไปโดยปริยาย
    หนังสือ : เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต
    โดย : ชลิดา แย้มศรีสุข
    จำนวน : 171 หน้า 
    .
    "เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต" หนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของภูเก็ตตั้งแต่ยุคก่อนเป็นจังหวัดภูเก็ต กระทั่งในยุคสมัยที่พื้นที่นี้ได้รับการขนานนามว่า "จังค์ซีลอน" (Junk Celone) กระทั่งถึงช่วงเวลาปัจจุบัน โดยที่ "เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต" มุ่งความสนใจไปที่การศึกษายุคสมัยของภูเก็ตใน 2 ยุคหลัก ได้แก่ ยุคเหมืองแร่ตั้งแต่สมัยอยุธยากระทั่งก่อรูปขึ้นเป็นยุคสมัยแห่งอุตสาหกรรมการทำเหมืองแร่ในจังหวัดภูเก็ตและพื้นที่ใกล้เคียง และยุคการท่องเที่ยวที่เริ่มก่อรูปตั้งแต่ พ.ศ. 2500-2530) กระทั่งถึงบริบทช่วงเวลาของจังหวัดภูเก็ต ใน พ.ศ. 2560 ที่เป็นกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่แสนสำคัญของพื้นที่ภูเก็ตจากอดีตกระทั่งปัจจุบัน
    .
    สำหรับเนื้อหาของ "เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 5 บท ที่จะฉายให้เห็นถึงพัฒนาการของพื้นที่ตั้งแต่ยุคอดีต กระทั่งถึงช่วงเวลาการคลายตัวลงของอุตสาหกรรมเหมืองแร่ดีบุกในจังหวัดภูเก็ต จนนำมาสู่การเปลี่ยนแปลงไปสู่จังหวัดแห่งการท่องเที่ยวที่ได้รับฉายาว่าไข่มุกแห่งอันดามัน โดยเนื้อหาทั้ง 5 บทของ "เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต" แบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทที่ 1 บริบทพื้นฐาน
    .
    บทที่ 2 การก่อรูปทางเศรษฐกิจของภูเก็ต
    .
    บทที่ 3 ความเฟื่องฟูทางเศรษฐกิจของภูเก็ต
    .
    บทที่ 4 ความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของกิจการเหมืองแร่ดีบุกภูเก็ต
    .
    บทที่ 5 กระบวนการเปลี่ยนแปลงวิถีการผลิตของจังหวัดภูเก็ต
    .
    บทสรุป
    .
    จะเห็นได้ว่าภาพจำของจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน มีรากฐานของพัฒนาการเชิงพื้นที่มาจากประวัติศาสตร์ที่ยาวนาน ที่ผูกโยงอยู่กับการทำเหมืองแร่ดีบุก ดังที่ปรากฏข้อมูลอยู่ใน "เศรษฐกิจการเมืองภูเก็ต" แต่ปัญหาสำคัญคือภาพจำเรื่องเหมืองแร่ถูกบดบังอยู่ภายใต้เงาของอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวที่เริ่มมีพัฒนาการในพื้นที่ช่วง พ.ศ. 2500 เป็นต้นมา ซึ่งไม่ใช่เรื่องแปลกเนื่องด้วยอุตสาหกรรมยุคแรกของพื้นที่อย่างเหมืองแร่ (แร่ธาตุ) ย่อมมีร่อยหรอลงไปตามกาลเวลา และถูกแทนที่ด้วยอุสาหกรรมการท่องเที่ยวและกลายมาเป็นกิจกรรมที่สร้างผลตอบแทนให้กับพื้นที่อย่างมาก

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in