เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้ By วิภู กุตะนันท์
  • รีวิวเว้ย (1696) ยุคหนึ่งสมัยหนึ่งแบบเรียนไทยเคยนำเสนอว่า "คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต" อันมีที่มาจากหนังสือหลักไทย ของขุนวิจิตรมาตรา ที่ตีพิมพ์ออกมาเมื่อ พ.ศ. 2471 และกลายเป็นการปลูกฟังความคิดและความเชื่อว่าคนไทยอพยพมาจากเทือกเขาอัลไต ซึ่งในเวลาต่อมาความเชื่อดังกล่าวกลายเป็นรากฐานที่แข็งแรงในสังคมไทย กระทั่งมีงานวิชาการหลายชิ้นออกมานำเสนอความเป็นไปได้ใหม่ ๆ จากทั้งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ โบราณคดี และวิทยาศาสตร์ ความเชื่อที่ว่า "คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต" ก็ยังแข็งแรงอยู่ในความเชื่อและความทรงจำของคนในสังคมนี้
    หนังสือ : ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้
    โดย : วิภู กุตะนันท์
    จำนวน : 256 หน้า 
    .
    "ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" หนังสือที่เปิดโลกวิชาการด้าน มานุษยวิทยา โบราณคดี ทำให้เราเห็นว่าโลกวิชาการของสาขานี้ขยายขอบเขตไปสู่ พันธุศาสตร์มานุษยวิทยา (Anthropological Genetics) และ พันธุศาสตร์โบราณคดี (Archaeogenetics) ที่บูรณาการณ์ข้ามศาสตร์ระหว่างวิทยาศาสตร์ มนุษยศาสตร์ และสังคมศาสตร์ โดยการศึกษาผ่านเรื่องของดีเอ็นเอ (Deoxyribonucleic Acid: DNA) ที่เชื่อมโยงผู้คนกลุ่มต่าง ๆ ในสังคมเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งสิ่งเหล่านี้เราไม่อาจจำแนกคนกลุ่มต่าง ๆ ได้ด้วยภาษา วัฒนธรรม พฤติกรรม ที่เกิดจากการสังเกตและเก็บข้อมูลด้วยระเบียบวิธีทางวิชาการในแบบเดิม หากแต่ "ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" ช่วยเปิดมุมมองใหม่ ๆ ผ่านการศึกษาที่บูรณาการณ์องค์ความรู้ใหม่ข้ามศาสตร์ เพื่อตอบบางคำถามที่วิธีวิทยาแบบเดิมไม่สามารถกระทำได้ ช่วยเปิดพรมแดนความรู้และความเป็นไปได้ใหม่ ๆ ทางวิชาการที่น่าตื่นตาตื่นใจ
    .
    อาจเรียกได้ว่า "ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" มุ่งนำเสนอองค์ความรู้ใหม่ในการตอบคำถามว่า "คนไทยมาจากไหน" และเป็นการนำเสนอมุมมองและทางเลือกใหม่ ๆ ต่อความเชื่อที่ว่า "คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต" ผ่านการนำเอาองค์ความรู้จากหลากหลายศาสตร์มาบูรณาการณ์ร่วมกันเพื่อแสวงหาคำตอบว่า "คนไทยมีที่มาที่ไปอย่างไร" ผ่านการศึกษาจากดีเอ็นเอและหลักฐานทางประวัติศาสตร์และโบราณคดีในฐานะชุดเครื่องมือที่ใช้ร่วมกัน
    .
    ในส่วนของเนื้อหา "ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" แบ่งการเล่าเรื่องออกเป็น 9 บท ที่เริ่มต้นตั้งแต่การบอกเล่าถึงการทำความเข้าใจในระดับเริ่มต้นในเรื่องของดีเอ็นเอและความเชื่อมโยงของพันธุกรรมของคนแต่ละกลุ่ม ซึ่งทาบทับลงกับภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ในเรื่องของการเคลื่อนย้ายผู้คนในภูมิภาค และลงลึกไปในเรื่องของการจำแนกดีเอ็นเอของคนไทยในครั้งอดีต และคนไทยในแต่ละภูมิภาคในบุคปัจจุบัน รวมถึงการฉายให้เห็นถึงความสำคัญและความสัมพันธ์กันของอดีต ปัจจุบันและอนาคตของการศึกษาดีเอ็นเอของกลุ่มคน ซึ่งเนื้อหาทั้ง 9 บท แบ่งเป็นดังนี้
    .
    บทที่ 1 การถ่ายทอดทางพันธุกรรมระดับพื้นฐาน และวิถีศึกษาดีเอ็นเอเพื่อหาบรรพชน
    .
    บทที่ 2 ประวัติศาสตร์การอพยพเคลื่อนย้าน ของคนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
    .
    บทที่ 3 ดีเอ็นเอของชาวมานิ คนดั้งเดิมเมื่อหลายหมื่นปีก่อน
    .
    บทที่ 4 ดีเอ็นเอของคนภาคเหนือ
    .
    บทที่ 5 ดีเอ็นเอของคนภาคอีสาน
    .
    บทที่ 6 ดีเอ็นเอของคนภาคกลาง
    .
    บทที่ 7 ดีเอ็นเอของคนภาคใต้
    .
    บทที่ 8 ดีเอ็นเอจากกระดูกโบราณ เครื่องจักรย้อนเวลาเพื่อไปศึกษาคนโบราณ
    .
    บทที่ 9 ความเชื่อมโยงของอดีต ปัจจุบัน และอนาคตจากดีเอ็นเอ
    .
    "ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" ช่วยเปิดโลก และเปิดชุดข้อมูลใหม่ ๆ สำหรับคนที่สนใจในคำถามว่า "คนไทยมาจากไหน" และหนังสือยังช่วยเพิ่มทางเลือกของชุดของมูลจากคำถามเดียวกัน โดยไม่ได้ยุยงส่งเสริมให้ผู้อ่านตัดขาดและดูแคลนความรู้ ความเชื่อเดิม ๆ ที่บอกว่า "คนไทยมาจากเทือกเขาอัลไต" ซึ่งไม่แน่ว่าถ้าในอนาคตที่เทคโนโลยีด้านพันธุกรรมพัฒนาขึ้นอีก และหากมีการขุดค้นพบมนุษย์โบราณและดีเอ็นเอของมนุษย์โลราณเพิ่มเติม ไม่แน่ว่าเรื่องราวที่เคยปรากฏอยู่ใน "ดีเอ็นเอไม่ไทย บรรพชนไทยไม่แท้" ก็อาจจะถูกพัฒนา ท้าทาย และต่อยอดจากความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและระเบียบวิธีของการศึกษาข้ามพรมแดนความรู้เดิม ๆ

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in