Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
การศึกษาของกระป๋องมีฝัน By สะอาด
รีวิวเว้ย (1689) ยุคหนึ่งสังคมเรามีความเชื่อว่าเด็กมีหน้าที่บางประการและหน้าที่เหล่านั้นเป็นสิ่งที่ "เด็กดี" พึงกระทำ หากเด็กที่ทำตัวต่างไปจากค่านิยมและคยามเชื่อของสังคมเด็กคนนั้นหรือเด็กเหล่านั้นจะกลายเป็น "เด็กเลว" ทันที การผลิตซ้ำความเชื่อและค่านิยมเหล่านั้นในครั้งอดีตเคยสะท้อนออกมาในรูปของเพลง "หน้าที่เด็ก"
.
เด็กเอ๋ยเด็กดี
ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
เด็กเอ๋ยเด็กดี
ต้องมีหน้าที่สิบอย่างด้วยกัน
หนึ่ง นับถือศาสนา
สอง รักษาธรรมเนียมมั่น
สาม เชื่อพ่อแม่ครูอาจารย์
สี่ วาจานั้นต้องสุภาพอ่อนหวาน
ห้า ยึดมั่นกตัญญู
หก เป็นผู้รู้รักการงาน
เจ็ด ต้องศึกษาให้เชี่ยวชาญ
ต้องมานะบากบั่น ไม่เกียจไม่คร้าน
แปด รู้จักออมประหยัด
เก้า ต้องซื่อสัตย์ตลอดกาล
น้ำใจนักกีฬากล้าหาญ
ให้เหมาะกับกาลสมัยชาติพัฒนา
สิบ ทำตนให้เป็นประโยชน์
รู้บาปบุญคุณโทษ สมบัติชาติต้องรักษา
เด็กสมัยชาติพัฒนา
จะเป็นเด็กที่พาชาติไทยเจริญ
.
และในยุคต่อ ๆ มา หน้าที่ของเด็กและความคาดหวังของสังคมที่มีต่อเด็ก ๆ มักปรากฏอยู่ใน "คำขวัญวันเด็ก" ที่นายกรัฐมนตรี (ผู้ใหญ่) มอบให้กับเด็ก ความเชื่อ ค่านิยม คุณค่า ที่สังคมคาดหวังต่อเด็กและเยาวชน ณ ช่วงเวลาหนึ่ง ๆ
หนังสือ : การศึกษาของกระป๋องมีฝัน
โดย : สะอาด
จำนวน : 320 หน้า
.
"การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" เป็นหนังสือที่บอกเล่าเรื่องราวของชีวิตตัวละครที่ผู้เขียนถ่ายทอดความเป็นตัวเอง ให้เห็นในเรื่องของการตั้งคำถามกับ "ระบบการศึกษา" ของประเทศไทย นับตั้งแต่ชีวิตช่วงต้นของการเข้าเรียนในระดับอนุบาล แต่สำหรับบางคนก็เริ่มขึ้นตั้งแต่ระดับก่อนอนุบาลด้วยซ้ำไป ไล่มาจนถึงหลังการเรียนจบในระดับอุมดศึกษาและออกเผชิญโลกแห่งความเป็นจริงในเรื่องของการทำงานและการใช้ชีวิต
.
"การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" ชักชวนให้เราตั้งคำถามกับทั้งตัวเราเองและกับระบบการศึกษาของประเทศไทย ตั้งแต่เรื่องของระบบการศึกษาที่มุ่งสร้างคนให้ออกมาจากเครื่องพิมพ์เครื่องเดียวกันตั้งแต่ระดับอนุบาลจนถึงมันธยมปลาย และหลายครั้งในระดับอุดมศึกษาเครื่องพิมพ์และแม่พิมพ์นั้นก็ยังคงทำงานต่อเนื่องยาวนานกระทั่งปัจจุบัน
.
ประเด็นสำคัญของ "การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" คือการชี้ให้เราเห็นถึง "ความไม่ปกติ" ของระบบการศึกษาไทย ที่ซ่อนตัวอยู่ในระบบดังกล่าวมาแสนนานจนเรามองเป็น "ปกติ" ทั้งที่จริง ๆ แล้วไม่น่าจะใช่ ไหนจะเรื่องของระบบอำนาจนิยมในโรงเรียนและในระบบการศึกษา การใช้ความรุนแรงโดยไม่มีเหตุจำเป็นและสมควร (ถึงมีเหตุสมควรการใช้ความรุนแรงก็ไม่ใช่สิ่งพึงกระทำอยู่ดี) และไหนจะเรื่องของ "การละเมิดสิทธิส่วนบุคคล" ที่โรงเรียนหรือระบบการศึกษาแบบอำนาจนิยมของไทย ทำให้เรามองสภาวะในลักษณะนี้ในฐานะของสภาวะ "ยกเว้นที่ถูกต้อง" ซึ่งมรดกของการปลูกฝังให้ยอมรับทัศนะในลักษณะนี้สะท้อนอยู่ในสังคมปัจจุบัน อาทิ เรื่องของการนิยมความรุนแรง การนิยมการใช้อำนาจนิยมและอำนาจพิเศษ และรวมไปถึงสภาวะของการสมยอมต่อความอยุติธรรม ที่ระบบการศึกษาของไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งในการเลี้ยงให้เยาวชนของชาติเกิดอาการ "เชื่อง" ต่อระบบไม่ต่างไปจากสัตว์เลี้ยงตัวหนึ่ง
.
"การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" สะท้อนสภาพชีวิตของผู้เขียน และของเราในฐานะของผู้อ่าน ที่เผชิญปัญหาดังกล่าวมาในแบบที่ใกล้เคียงกัน ซึ่งในปัจจุบันปัญหาดังกล่าวยังคงมีอยู่ในระบบการศึกษาและสังคมไทย แต่อาจจะมีจำนวนลดลงบ้าง (มั้ง) เพราะทุกวันนี้เยาวชนของชาติ "คิดเองได้" และ "ตั้งคำถามเป็น" อาจจะด้วยเพราะการเปลี่ยนแปลงของโลกและสังคมในช่วงหลาย 10 ปีที่ผ่านมา ทำให้ "ระบบอำนาจนิยมในระบบการศึกษา" เริ่มถูกสั่นคลอนและตั้งคำถาม แต่ก็ยังมีปัญหาสำคัญอีกประการหนึ่งที่ปรากฎอยู่ใน "การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" ที่ยังคงชัดเจนอยู่ในสังคมปัจจุบันด้วยเช่นกัน แต่ก็น่าดีใจที่ปัญหาดังกล่าวก็กำลังถูกท้าทายมากยิ่งขึ้นในทุกวัน และเราในฐานะของผู้อ่านก็เชื่อเหลือเกินว่าอีกไม่นานปัญหาและคำถามที่ถูกพูดถึงในเล่ม "การศึกษาของกระป๋องมีฝัน" จะถูกท้าทายและเผชิญการตั้งคำถามไปจนถึงอาจจะเผชิญการเปลี่ยนแปลงในอนาคตอันใกล้ก็เป็นได้
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in