เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ นโยบายความเป็นส่วนตัว เพื่อใช้บริการเว็บไซต์ ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)Chaitawat Marc Seephongsai
กฎหมายสิ่งแวดล้อม By อำนาจ วงศ์บัณฑิต
  • รีวิวเว้ย (1265) รีวิวเว้ย × สถาบันสัญญาธรรมศักดิ์เพื่อประชาธิปไตย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

    การรักษาสิ่งแวดล้อมหรือการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมที่กลายมาเป็นกระแสสำหรับสังคมไทยในช่วงหนึ่ง แท้จริงแล้วกระแสของการรักษาสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องใหม่ หากแต่องค์ประกอบของสิ่งที่ถูกให้ความสำคัญในเรื่องของสิ่งแวดล้อมมีการขยายขอบเขตของสิ่งแวดล้อม วิธีการ ขั้นตอน รูปแบบ ของการอนุรักษ์ที่แตกต่างและพัฒนาไปตามช่วงเวลา ที่แต่เดิมอาจจะมุ่งเน้นที่เรื่องของการจัดการปัญหาขยะ แม่น้ำลำคลอง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก ในปัจจุบันเรื่องของปัญหาฝุ่น pm 2.5 ปัญเรื่องการเผ่าป่าและไฟป่าได้กลายมาเป็นหนึ่งในประเด็นสำคัญที่ถูกพูดถึงและให้ความสำคัญในเรื่องสิ่งแวดล้อม ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของบริบทด้านสิ่งแวดล้อม การที่ประเด็นด้านสิ่งแวดล้อมมีความหลากหลาย ทำให้การเรียนรู้และทำความเข้าใจในประเด็นดังกล่าวโดยเฉพาะเมื่อทำความเข้าใจผ่านประเด็นทางกฎหมายจึงมิใช่เรื่องง่าย โดยเฉพาะกับประเทศไทยที่กฎหมายมีอยู่มากมายหลายร้อยฉบับ อีกทั้งกฎหมายหลายฉบับยังเกี่ยวโยงกันไปมาจนยากต่อการทำความเข้าใจ โดยเฉพาะกับผู้ปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องสิ่งแวดล้อมอย่างองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นด้วยแล้วยิ่งไม่ใช่เรื่องง่ายแต่ประการใด
    หนังสือ : กฎหมายสิ่งแวดล้อม
    โดย : อำนาจ วงศ์บัณฑิต
    จำนวน : 680 หน้า

    "กฎหมายสิ่งแวดล้อม" หนังสือเล่มใหญ่และหนาที่ว่าด้วยเรื่องของกฎหมายสิ่งแวดล้อมที่วางกรอบโครงของกฎหมายสิ่งแวดล้อมเอาไว้ได้อย่างครบถ้วน (ตามกาล) และชัดเจนในการทำความเข้าใจ ให้ส่วนขยาย และชี้ให้เห็นถึงความเชื่อมโยงของกฎและระเบียบในหลายด้านที่เกี่ยวโยงกับเรื่องของสิ่งแวดล้อมในกฎหมายของไทย รวมถึงกฎบัติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมที่ประเทศไทยเข้าไปมีส่วนด้วย

    สารบัญฉบับย่อของ "กฎหมายสิ่งแวดล้อม" แบ่งออกเป็น 10 บทที่ร้อยเรื่องของกฎหมายสิ่งแวดล้อมจากภาพใหญ่ไปสู่ประเด็นปลีกย่อยในรายละเอียด และปิดท้ายด้วยตัวแสดงที่จะต้องเข้ามาทำหน้าที่ มีส่สนเกี่ยวข้องกับไม้ต่อกันในฐานะตัวแสดงที่เกี่ยวโยงภายใต้กฎหมายสิ่งแวดล้อม โดยบทต่าง ๆ ของ "กฎหมายสิ่งแวดล้อม" แบ่งเป็นดังนี้

    บทที่ 1 บททั่วไป

    บทที่ 2 นโยบายสิ่งแวดล้อม

    บทที่ 3 การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม

    บทที่ 4 มลพิษทางน้ำ

    บทที่ 5 มลพิษทางอากาศ เสียง ความสั่นสะเทือน

    บทที่ 6 มูลฝอย สิ่งปฏิกูลและของเสียอันตราย

    บทที่ 7 วัตถุอันตราย

    บทที่ 8 มาตรการเสริมในการป้องกันและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    บทที่ 9 ความรับผิดทางแพ่ง

    บทที่ 10 องค์กรและเจ้าหน้าที่ในการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

    เมื่ออ่าน "กฎหมายสิ่งแวดล้อม" จบลง เราจะพบว่าปัญหาในเรื่องของกฎหมายสิ่งแวดล้อมไม่ใช่เรื่องงาน และเป็นเรื่องที่มีความท้าทายอย่างมากเพราะเรื่องของปัญหาสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นที้มีพลวัตสูง ทั้งความเปลี่ยนแปลงและความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อมใหม่ ๆ ที่พร้อมเกิดขึ้นแทบตลอดเวลา ทำให้การเข้าใจรากฐานของกฎหมายสิ่งแวดล้อมจึงเป็นเรื่องสำคัญยิ่งโดยเฉพาะกับผู้เกี่ยวข้องหรือตัวแสดงที่ต้องมีส่วนในการจัดการเรื่องของสิ่งแวดล้อม ทั้งในระดับหน่วยงานและในระดับของปัจเจกบุคคล

เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น

Log in