Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
รัฐศาสตร์สารปีที่ 44 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2566)
รีวิวเว้ย (1529) "
ในปัจจุบันปรากฎเรื่องเล่าของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์นั้นมีอยู่มากมายทั้งจากบันทึกความทรงจำ และงานเขียนที่มีความเกี่ยวข้องกับคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยหรือบทความวิชาการที่เกี่ยวข้องกับคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ก็ยังคงมีอยู่ค่อนข้างน้อย อาทิ งานวิจัยของ อ. อนุสรณ์ ลิ่มมณี และบทความของ อ.นครินทร์ เมฆไตรรัตน์ บทความชิ้นนี้จึงมีความประสงค์ที่จะเติมเต็มช่องว่างของเรื่องราวในคณะรัฐศาสตร์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยอาศัยการศึกษาทางมิติประวัติศาสตร์ (Historical Perspective) ในการบอกเล่าเรื่องราวของคณะ โดยผ่านจุดกำเนิดของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ การเปลี่ยนแปลงหลักสูตรของคณะรัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ความสัมพันธ์ของคณาจารย์ในคณะและความเกี่ยวข้องของคณะรัฐศาสตร์กับการเมืองภายในประเทศ การเกิดขึ้นและความเปลี่ยนแปลงของคณะรัฐประศาสนศาสตร์ ซึ่งบทความชิ้นนี้จะบอกเล่า และเติมเต็มเรื่องราวเหล่านี้ให้มีความครบถ้วนมากยิ่งขึ้น
" (บทตัดย่อ//บทความเรื่อง "หนุนนำอำนาจรัฐ"
พชร ล้วนวิจิตร, น. 153-243)
หนังสือ : รัฐศาสตร์สารปีที่ 44 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2566)
โดย : คณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์
จำนวน : 270 หน้า
.
บทความเรื่อง "หนุนนำอำนาจรัฐ" โดย
พชร ล้วนวิจิตร (
หน้า 153-243) นับเป็นหนึ่งในงานศึกษาประวัติศาสตร์ของ "คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์" ชิ้นสำคัญชิ้นหนึ่ง เนื่องด้วยบทความขนาดยาวชิ้นนี้ได้ตั้งคำถามสำคัญต่อ "บทบาท" ของคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นับตั้งแต่ช่วงก่อตั้ง (พ.ศ. 2492) ว่าแท้จริงแล้วคณะรัฐศาสตร์ ถูกตั้งขึ้นมาเพื่อส่งเสริมการปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือถูกตั้งขึ้นมาเพื่อวัตถุประสงค์ใดกัน ?
.
ความน่าสนใจประการหนึ่งของ
"หนุนนำอำนาจรัฐ" คือการนำเสนอหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องและเชื่อมโยงเข้ากับคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงแรกตั้งกระทั่งถึงช่วงเวลาของการเข้ามาของ "รัฐศาสตร์สมัยใหม่" ที่นับเป็นช่วงเวลาแห่งความง่วงงุนของคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ที่จำเป็นต้องจัดวางที่ทางของตัวเองเสียใหม่ผ่านการเลือกแนวทางของการปรับตัวสู่ความเป็น "ศาสตร์" หรือจะคงสถานะของตนในแบบเดิมนับแต่ก่อตั้งในปี พ.ศ. 2492
.
ในฐานของคนที่เข้าเรียนในคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในช่วง พ.ศ. 2554 สิ่งหนึ่งที่เราได้จากการอ่านบทความ
"หนุนนำอำนาจรัฐ" คือความตื่นตาตื่นใจกับการตั้งคำถามของผู้เขียน และการนำเสนอคำตอบของคำถามผ่านหลักฐานทางประวัติศาสตร์ที่ปรากฏอยู่ตามที่ต่าง ๆ ทั้งจากเอกสารชั้นต้นของมหาวิทยาลัย บันทึกการประชุมรัฐสภา ประวัติของบุคคล รายนามของอาจารย์ และอีกหลายหลักฐานชั้นต้นและชั้นรองที่ถูกนำมาร้อยเรียงเป็นข้อเสนอเพื่อหาคำตอบของคำถามที่ปรากฏอยู่ในคณะรัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ในมุมมองของสถาบันการศึกษาที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อ
"หนุนนำอำนาจรัฐ" ?
.
นอกจากนี้
รัฐศาสตร์สารปีที่ 44 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2566) ยังมีบทความที่น่าสนใจอีก 3 ชิ้นให้ติดตามอ่านกัน ได้แก่
.
(1) ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเปลี่ยนผ่านระบบงบประมาณไทย โดย ศิกานต์ อิสสระชัยยศ
.
(2) วิทยาศาสตร์สร้างชาติ การก่อตัวของนโยบายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีไทย พ.ศ.2431-2531 โดย สิกขา สองคำชุม
.
(3) พรรคพลังประชารัฐ และการเมืองของการดึง เข้ามาเป็นพวก โดย จันจิรา ดิษเจริญ
30th May 2024, 6:59 am
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
106
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
0
0
0
0
0
0
Comments
(0)
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in