Makers
Store
Log in
You don't have any notification yet.
See All
My Wallet
null
Library
Settings
Logout
เราใช้คุ๊กกี้บนเว็บไซต์ของเรา กรุณาอ่านและยอมรับ
นโยบายความเป็นส่วนตัว
เพื่อใช้บริการเว็บไซต์
ยอมรับ
ไม่ยอมรับ
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
ชีวิตเชลยศึก By เทพ บุญตานนท์
รีวิวเว้ย (1498)
สงครามมหาเอเชียบูรพา หรือหลายคนอาจจะเคยได้ยินในชื่อของสงครามแปซิฟิก นับเป็นสมรภูมิหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ให้กับโลกทั้งใบ และแน่นอนว่าประเทศไทยเองก็เป็นส่วนหนึ่งที่ถูดสั่นคลอนจากสงครามดังกล่าว เพราะในช่วงเวลาของสงครามมหาเอเชียบูรพา รัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในช่วงเวลานั้นได้นำไทยเข้าสู่สงครามในฐานะของคู่มิตรของประเทศญี่ปุ่น ซึ่งแน่นอนว่านั้นคือการประกาศตัวเป็นศัตรูกับประเทศสัมพันธมิตร และในช่วงเวลานั้นญี่ปุ่นได้ใช้ไทยเป็นฐานสำคัญของการเกิดทัพเข้าสู่พม่าและอินเดีย ทำให้ต้องมีการใช้กำลังแรงงานในการสร้างเส้นทางเพื่อเข้าสู่ประเทศเหล่านั้น และได้กลายเป็นว่าแรงงานที่ถูกใช้ในการสรก้างเส้นทางสายมรณะนั้นเป็นแรงงานจากกลุ่มประเทศสัมพันธมิตรที่ญี่ปุ่นได้จับตัวเป็นเชลยเพื่อใช้แรงงาน กระทั่งเมื่อสงครามสิ้นสุดลงและความพ้ายแพ้เกิดขึ้นกับญี่ปุ่น (แต่ไทยรอด) ปัญหาในการจัดการส่งคน (เชลย) กลับประเทศจึงกลายเป็นเรื่องใหญ่ของไทยในช่วงเวลาต่อมาภายหลังจากสงครามสิ้นสุด
หนังสือ : ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา
โดย : เทพ บุญตานนท์
จำนวน : 173 หน้า
.
"
ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา" ว่าด้วยเรื่องของประวัติศาสตร์ของ "เชลย" ที่อยู่ในประเทศไทยหลังการสิ้นสุดลงของสงครามโลกครั้งที่ 2 ที่รัฐไทยในช่วงเวลานั้นต้องบริหารจัดการเรื่องของคนในสภาวะหลังสงคราม และประเทศไทยเองก็ยังอยู่ในสภาวะก้ำกึ่งระหว่าง "ผู้แพ้หรือผู้ชนะ" อันเป็นผลจากการพาประเทศเข้าร่วมสงครามในฐานะของมิตรของญี่ปุ่น
.
"
ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา" ชวนผู้อ่านตั้งคำถามถึงสภาวะหลังสงครามที่รัฐไทยต้องรับมือกับเรื่องของการจัดการเชลยศึก ทั้งญี่ปุ่น อังกฤษ ออสเตรเลีย ดัตช์ ไต้หวัน เวียดนาม และชวา ที่ถูกจับ-เกณฑ์เข้ามาเป็นแรงงานของกองทัพญี่ปุ่นในช่วงสงคราม และคนญี่ปุ่นในฐานะของผู้แพ้สงคราม ที่บรรดาผู้คนเหล่านี้ต้องถูกเตรียมการเพื่อการส่งกลับประเทศภายหลังสงครามสิ้นสุด
"
ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา" ฉายให้เห็นถึงความสลับซับซ้อนของการจัดการปัญหาดังกล่าว ด้วยสภาวะก้ำกึ่งของไทยเองและด้วยความโกลาหลหลังควันสงคราม การจัดการเชลยศึกจึงเป็นเรื่องใหญ่ไม่แพ้การจัดการสถานะของไทยภายหลังสงคราม
.
โดยเนื้อหาของ
"
ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา" แบ่งออกเป็น 5 บทดังนี้
.
บทที่ 1 และแล้วสงครามก็สิ้นสุด ?
.
บทที่ 2 เชลยศึกหรืออาชญากรสงคราม: สถานการณ์ของเชลยศึกญี่ปุ่นหลังสงครามยุติ
.
บทที่ 3 พันธมิตรหรือผู้ยึดครอง: นโยบายของรัฐบาลไทยต่อเชลยศึกชาวดัตช์
.
บทที่ 4 ผู้กระทำหรือผู้ถูกกระทำ: เชลยศึกชาวเกาหลีกับสภาวะกลืนไม่เข้าคายไม่ออก
.
บทที่ 5 บทสรุป
.
ความน่าสนใจประการหนึ่งของ
"
ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา" คือ การนำเสนอมุมมองใหญ่ที่เราเองอาจจะละเลยไปเมื่อพูดถึงสงครามมหาเอเชียบูรพา สิ่งที่เราให้ความสนใจโดยส่วนมากจะเป็นเรื่องของใครรบกับใคร ใครชนะใคร และทำไมไทยจึงไม่เป็นผู้แพ้สงคราม แต่คำถามสำคัญที่ขาดหายไปจากงานศึกษาในภาษาไทยคือคำถาใสำคัญในเรื่องของการจัดการผู้คนในสภาวะหลังสงคราม อย่างกรณีที่ปรากฏใน
"
ชีวิตเชลยศึก: หยดเลือดและหยาดน้ำตาในค่ายกักกันไทยหลังสงครามมหาเอเชียบูรพา" นับเป็นการบอกเล่าเรื่องราวของผู้คนที่ถูกละเลยไปในห้วงเวลาดังกล่าว
Chaitawat Marc Seephongsai
Report
Views
รีวิวเว้ย (3)
–
Chaitawat Marc Seephongsai
View Story
subscribe
Previous
Next
Comments
()
Facebook
(
0
)
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in
ยืนยันการซื้อ ?
เหรียญที่มีตอนนี้: null
มีเหรียญไม่พอซื้อแล้ว เติมเหรียญกันหน่อย
เหรียญที่มีตอนนี้ : null
Please Wait ...
ซื้อเหรียญเรียบร้อย
เลือกแพ็คเกจเติมเหรียญ
20
20 บาท
50
50 บาท
100
100 บาท
300
300 บาท
500
500 บาท
เลือกวิธีการชำระเงิน
Credit Card
Cash @Counter
Line Pay
ระบบจะนำคุณไปสู่หน้าจ่ายเงินของผู้ให้บริการ
เข้าสู่ระบบเพื่อแสดงความคิดเห็น
Log in